Group Blog
 
<<
เมษายน 2550
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
6 เมษายน 2550
 
All Blogs
 

สำแดงโง่ (3) : ว่าด้วยเรื่องของเผด็จการ

[เรื่อย ๆ เปื่อย ๆ ตอนอื่น]



อำนาจนั้นหอมหวล แล้วก็จะกัดกร่อนจิตใจคนใช้อำนาจนั้น นาน ๆ เข้าก็จะหลงไหลไปกับมันจนตั้งตัวไม่ได้ ลืมตัว ทำอย่างโน้นอย่างนี้ แล้วก็ไม่ให้เกียรติคนอื่น ไม่ให้เกียรติผู้อยู่ใต้อำนาจ นำไปสู่การต่อต้านในที่สุด

เอาว่าเผด็จการนั้น มันอันตรายต่อตัวผู้เผด็จการเองอยู่แล้ว เว้นว่าเผด็จการผู้สูงส่งนั้น สามารถควบคุมจิตใจผู้คนได้ จึงจะอยู่รอดปลอดภัย

ข้าพเจ้าคิดว่า ถ้าจะเป็นเผด็จการต่อไปก็ดีเหมือนกัน แต่ก็ขอให้เผด็จการในทางการเมืองเท่านั้น จะได้ทำอะไรอย่างเด็ดขาด แต่อย่าได้เผด็จการในแง่จิตใจไปด้วยเลย การที่ผู้นำจะรับฟังคำเตือนหรือฟังเสียงคนอื่นบ้างไม่ใช่เรื่องเสียหายอะไร

เป็นการให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชาอีกด้วย จะเผด็จการต่อไป คนเขาก็ยังพอทำใจให้รักได้ ก็พูดง่าย ๆ คือ มันเป็นศิลปในการใช้อำนาจเผด็จการ

ส่วนเรื่องประชาชนนั้น มุมมองที่มองว่าประชาชนไม่เข้าใจ หรือ ไม่พร้อมต่อการปกครองตนเองอย่างเสรีนั้น ก็มองกันมานานแล้ว ซึ่งอาจจะเป็นการดูถูก (คือดูผิดเพราะประเมินต่ำ) หรือดูผิด (คือผิดไปจริง ๆ) ก็ได้

หากว่าประเมินได้ถูกต้องแล้ว ก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ประชาชนจะพร้อมเสียที ปัญหาน่าจะอยู่ที่การศึกษา

เป็นความจริงว่า ชาวบ้านที่ทำงานเพื่อหาเลี้ยงตัวเองทุกวันนั้น ไม่มีเวลาจะมาสนใจศึกษาการเมืองหรอก แม้สนใจก็ได้แต่เพียงผิวเผินเท่านั้น

อยากให้มีการปลูกฝังแต่เด็ก ให้รู้สิทธิ และ หน้าที่ ปัญหาคือจะทำอย่างไรถึงทำให้พวกเขาเข้าใจจริง ๆ ไม่ใช่เอาแต่ท่องจำ

บางทีการเน้นสอนปรัชญาการเมืองการปกครอง ตั้งแต่แรก ก็อาจจะไม่เหมาะสม เพราะรังแต่จะเข้าใจแบบงู ๆ ปลา ๆ ผิด ๆ เข้าไปอีก

นั่นสิ แล้วจะทำอย่างไร เพราะข้าพเจ้าตอบไม่ได้ว่าจะปลูกฝังอย่างไร ได้แต่สำแดงโง่แบบนี้ บ้านเมืองจึงไม่เคยปลอดจากเผด็จการ

ใช่หรือไม่

ดัดแปลงจากจดหมายที่ข้าพเจ้าส่งถึงสหาย เมื่อ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2549




หมายเหตุ สำแดงโง่ (1), (2) จนถึง (3) นี้ ตัดตอนมาจากจดหมายฉบับเดียวกัน


[เรื่อย ๆ เปื่อย ๆ ตอนอื่น]




 

Create Date : 06 เมษายน 2550
7 comments
Last Update : 6 เมษายน 2550 2:18:32 น.
Counter : 1190 Pageviews.

 

เริ่มที่การศึกษาก็ดี แต่คนทำหน้าที่สอนก็ยังมีที่รู้สึกว่าตัวเองเป็นนายคนอื่น ยังใช้อำนาจในทางที่ผิดๆ

 

โดย: หน้าม้าแถวบ้าน 6 เมษายน 2550 13:26:30 น.  

 

มีหนังสือแนะนำสำหรับคนอยากเขียนวรรณกรรมเยาวชน
ชื่อ Trust Your Children โดย Mark I. West
มีขายที่ amazon.com
เป็นรวมบทสัมภาษณ์ชีวิตและงานของนักเขียนวรรณกรรมเยาวชนชื่อดังทั้งอเมริกันและอังกฤษ

 

โดย: หน้าม้าแถวบ้าน 6 เมษายน 2550 15:53:24 น.  

 

ผมเคยคิดเหมือนกันครับว่า อำนาจที่แท้จริงใช่ของประชาชนจริงหรือ
เพราะลองคิดจากเท่าที่รู้ประวัติศาสตร์มาบ้าง
ส่วนใหญ่คนที่มีอำนาจนั้น มืออีกข้างก็ต้องกำอาวุธไว้ตลอด
ประชาธิปไตย เป็นคำตอบจริงๆหรือเปล่า...
.
บางทีผมก็คิดเรื่องเผด็จการเหมือนกันครับ
หากแต่ว่าผู้นำนั้นอาจจะต้องเป็นบุคคลในอุดมคติจริงๆ
ที่มีสติการตัดสินใจและอำนาจที่เด็ดขาดนั้น
มีความยุติธรรม และมีความโปร่งใส
.
บางทีก็คิดเลยเถิดไปว่าสังสัยคงต้องเอาพวกซุปเปอร์คอมพิวเตอร์กระมัง อย่างหนังวิทยาศาสตร์
เพราะคงจะหาคนอย่างนั้นได้ยากเหลือเกินครับ

 

โดย: อิสรภาพแลนด์ 6 เมษายน 2550 23:16:52 น.  

 

อำนาจ ช่างหอมหวานนัก

 

โดย: กายแก้ว 8 เมษายน 2550 0:24:40 น.  

 

ความจริงแล้ว
วิธีการแสดงความเห็นอย่างที่ "ฉัน"จะสำแดงต่อไปนี้
เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ที่เชื่อตาม และคิดเป็นแบบดังจะว่านี้...เป็นคนไม่ค่อยอยากออกความเห็น ..วิวาทะ กับ ใครเขาไปเสียก็มาก (อันนี้ว่าตามประสบการณ์ของตนเอง)
แต่ ณ ที่นี้ จะเขามาคุยกับเพื่อนเก่าอะนะ

-- หากว่าเราจะเริ่มถกกันด้วยเรื่องเข้าประเด็นใด ๆ ด้วยการอ้างเป็นเหตุเป็นผลกันแล้วนั้น ฉันคิดว่าคนเรามักจะเริ่มต้นที่การ "จับคำหลักมา ตั้งไว้ในประเภทก่อน" คือคนเราจะต้องสร้าง "กรอบ -คอก-จัดกลุ่ม" ให้คำหลักที่จะถกกันเสมอไป (เพราะมนุษย์เรามีวิธีการคิดได้เช่นนี้, และต่างคน ต่างกลุ่ม ต่างประสบการณ์ก็ต่างจะต้องเหมือน-หรือต่างกันไปนั้นแหละ)

--อย่างเรื่อง "อหิสา" เราตั้งหลักว่า คือ การไม่ใช้ความรุนแรงกับคนอื่นหรือชีวิตอื่น แล้วก็ไล่ไปเรื่อย ๆ ...จนสุด...ที่ "สันติภาพสมบูรณ์...โดยไม่ทำร้ายใครเลย" แล้วเราจะพบว่า "การป้องกันตนเอง กับ อหิสา" นั้นขัดแย้งกันเอง เพราะท้ายที่สุดของสุด ๆ แล้วมันเป็นไปไม่ได้ (ลองคิดถึงการฟาดกบาลคนร้ายที่ขับรถถังเข้ามาพังบ้านเรา แล้วมันกำลังจะยิ่งถล่มลูกเมีย/ผัวของเราและตัวเราดู...ว่าการกระทำของเรานี้เป็นการอหิสาแบบว่าป้องกันตนเองได้หรือไม่)

-- "เผด็จการ" นี้ก็ต้องหาที่ตั้งหลักให้มันเหมือนกันนั้นแหละ แล้วก็จะพบว่า "เผด็จการ คือ การใช้อำนาจตัดสิน จัดการ กระทำการใด ๆ โดยคน ๆ เดียว หรือ กลุ่มเดียว หรือ กลุ่มน้อย(หลายกลุ่ม) ไปจนถึงเผด็จการโดยคนหมู่มาก" นั้นมันก็ย่อมขัดแย้งกับ "การกระจายอำนาจตัดสินใจ จัดการ กระทำการใด ๆ โดยคนทั้งหมดในสังคม" ...เหตุเพราะเมื่อว่ากันโดยสุด ๆ แล้ว...การให้คนทั้งหมดมามี-ใช้อำนาจเสมอกัน มันเป็นไปไม่ได้ ใช่ไหมละ?

จากตัวอย่างทั้งสองดังกล่าวแล้ว--- จะเห็นว่าการเชื่อ-ชอบ-ใช้สิ่งใดนั้น มันเกี่ยวข้องกับ...เอาเป็นว่า การเชื่อ-ชอบ-ใช้ "เผด็จการ และ ไม่เผด็จการ" ก็แล้วกัน

เกี่ยวข้องกับ
(1) อารมณ์/ความรู้สึกของคนว่า...เป็นความพอใจของคนในกลุ่มสังคมนั้น ...ใครพอใจการมี-การใช้อำนาจนั้นบ้างละ และใครบ้างล่ะที่ไม่พอใจการมี-การใช้อำนาจที่เกี่ยวข้องกับคนหลาย ๆ คนเหล่านั้นอยู่

(2) การที่คนเรา(สมาชิกกลุ่ม)ได้มีส่วนร่วมในการมี-การใช้อำนาจ ซึ่งที่สุดแล้วก็คือ ผลประโยชน์ ส่วนได้ ส่วนเสีย ที่แต่ละฝ่ายจะได้รับนั้นเอง (เขาจึงว่า การเมืองเป็นเรื่องผลประโยชน์)

เอาแค่สองข้อนี้ ...ก็หาความพอดี หรือ ที่ลงให้กับ "คนและอำนาจ" ได้ยากเสียแล้ว ว่าไหม?

ดังนั้นหากจะตัด "อารมณ์/ตัณหา/ชอบ/ชังของผู้คน/ปุถุชน ออกจากอำนาจ" แล้วละก็...

ฉันว่า สิ่งที่ควรจะเหลือ แล้วนำมันมาถกกันต่อไปก็คือ "พลวัตรของการมี-การใช้อำนาจของกล่มชน" นั้นเอง

ดังนั้น คำ "อำนาจ หรือ เผด็จการ" จึงไม่ใช่สิ่งตายตัว สมบูรณ์ คุณจะเรียกมันว่าอะไรก็ตาม แต่ว่า หากมนุษย์และสังคมมนุษย์จะต้องอยู่ร่วมกับมันโดยไม่อาจเอามันออกไปจากวิถีชีวิตได้แล้วละก็..

-- ไม่ว่าคุณจะเรียกมันว่า "การใช้อำนาจ หรือ เผด็จการ หรือ ประชาธิปไตย" มันก็เป็นเรื่องของวิธีการที่เคลื่อนเปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัย ที่..."มนุษย์ต่างควบคุม..อำนาจ...ของกันและกันได้อย่างเท่าเทียมและเท่าทันกันได้ มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้" (อ้อ..แล้วก็คงต้องตั้งศัพท์ใหม่มาถกกันอีกตามเคยแหละเนอะ... ได้แก่ อิสรภาพและความยุติธรรม)

และที่แน่ ๆ ...เราต้องเชื่อว่า "อำนาจดังว่านี้ ---มันมีอยู่จริง"

หากใครยังไม่เชื่อว่ามันมีอยู่จริง ก็... ดูกลุ่มคนในตัวย่อต่อไปนี้ก็ได้... คมช. สสร. ครม. และฯลฯ

สวัสดี

 

โดย: a_somjai 8 เมษายน 2550 21:48:21 น.  

 

 

โดย: Plin, :-p 9 เมษายน 2550 9:35:06 น.  

 

ตามอ่านมาถึงไตรภาค แลท่านทั้งหลายจะไม่เว้นช่องไฟให้ข้าพเจ้าเล้ย

 

โดย: chandra IP: 203.113.61.37 10 เมษายน 2550 20:41:21 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Plin, :-p
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]









Instagram






บันทึก ท่องเที่ยว เวียดนาม


e-mail : rethinker@hotmail.com


Friends' blogs
[Add Plin, :-p's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.