ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
25 มิถุนายน 2554

ชีวิตเด็กวัด ตอนที่ 8

ชีวิตการทำงาน ตอนที่ ๓

ต่อมาไมานาน เราก็ได้ ศาสตราจารย์ นพ. พูนพิศ อมาตยกุล มาเสริมทีม ทำให้แข็งแกร่งขึ้นอีกมาก ท่านผู้นี้เป็นผู้ที่สร้างผลงานไว้ให้ ศูนย์สังคีตศิลป์ อย่างไม่มีวันจบสิ้น ท่านเป็นผู้รู้ มีความสมารถหลายอย่าง ทำได้ทั้งพูด ทั้งเขียน เป็นสัพพัญญูทางดนตรีไทยคนหนึ่ง

ระยะนี้เองก็มีโครงการพิเศษมาให้ทำอีกอย่างหนึ่ง นั่นคือ การจัดประกวดดนตรีไทย "ประลองเพลง ประเลงมโหรี" ที่รับสนองพระราชเสาวนีย์จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงห่วงใยว่า วงมโหรี จะหายสาบสูญไป กิจกรรมนี้จึงดำเนินการมาเกือบ ๒๕ ปีแล้วเช่นกัน ผมก็ยังเป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการจัดการประกวดมาตราบเท่าทุกวันนี้

ขอย้อนกลับไปนิดหนึ่ง หลังจากที่คุณประจวบ อินอ๊อด กลับจากอเมริกา ได้มีโครงการหลายอย่างเสนอคุณบุญชู ฯ งานหนึ่งก็คือ การทำภาพยนต์ประชาสัมพันธ์ โดยสร้้างภาพยนต์สั้น ๆ จากนิทานอีสป

การถ่ายทำเริ่มขึ้นเป็นเรื่องแรก คือ คนตัดฟืน ที่ทำขวานตกลงไปในน้ำ เอาคืนไม่ได้ ร้อนถึงเทวดาต้องลงมาช่วย

ผมแสดงเป็นเทวดา เรื่องนี้ถ่ายทำไม่จบ ฟิลม์ก็หาย เลยอดโชว์

ต่อมาก็ร่วมกับ คุณมานิตย์ รักสุวรรณ ผู้ถ่ายทำสารคดี "สองทางรถไฟ" มาก่อน ให้มาทำสารคดี "ของดีในประเทศไทย" ออกอากาศทางสถานีไทยทีวี ช่อง ๔ บางขุนพรหม และมีการจัดประกวดภาพยนต์สารคดี ร่วมกับกรมประชาสัมพันธ์ เช่น เรือง "สายน้ำไม่ไหลกลับ" และ "ประชาธิปไตยในสายเลือด" เป็นต้น ทำให่เกิดนักสร้างสารคดีขึ้นอีกหลายคน

ที่ฝ่ายการประชาสัมพันธ์ มีคุณสนิท เจริญรัฐ ซึ่งเป็นนักหนังสือพิมพ์อาวุโส เป็นที่ปรึกษาคุณบุญชู ฯ ท่านเกิดสบอัธยาศัยผมเข้า ก็เลยจูงให้ผมไปเป็น เลขานุการคณะกรรมการประชาสัมพันธ์ ซึ่งตอนนั้น ท่านวิระ รมยะรูป เป็นประธาน ผมเป็นเลขานุการ คู่บุญท่านจนผมเกษียณอายุ ตรงนี้ก็เป็นอีกโอกาสอย่างที่ผมบอก ตำแหน่งตรงนี้ทำให้ผมมีทางรู้จักกับท่านผู้หลักผู้ใหญ่ของธนาคารหลายท่าน ผมจึงเป็นที่รู้จักของคนในธนาคารกรุงเทพ แทบทุกระดับชั้น

ผมขอกล่าวถึง ท่านประธานกรรมการ คุณประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ และท่านประธานกรรมการพัฒนาสังคม คุณวิระ รมยะรูป ท่านทั้งสองนี้เป็นผู้ทำให้ผมเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เพราะคอยเป็นกำลังสนับสนุนอยู่ข้างบนตลอดเวลา ท่านสอนให้เรารู้จักประมาณตน การวางตัว การทำงานที่มีปัญหาและอุปสรรค ชี้ทางออกให้เสมอ ผมก็ถือปฏิบัติตลอดมา ท่านทั้งสองจึงเป็นที่เคารพรักของผมในธนาคารกรุงเทพ

ชีวิตการทำงานของผม จึงมีที่เป็นหลักฐานมั่นคงอยู่ ๒ แห่ง คือ ที่สถานีวิทยุยานเกราะ อันเป็นที่เกิด และธนาคารกรุงเทพ อันเป็นที่ดับ

ส่วนที่น่าจะต้องบันทึกไว้ก็คือ ช่วงที่ไปเป็นนายกสมาคมวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสคร์ อันเป็นสถาบันที่ผมรักและบูชายิ่ง

ผมเป็นคนปัญญาทึบ เรียนหนังสือไม่เก่งเลย แต่ที่จบวิชาการหนังสือพิมพ์มาได้เป็นลำดับที่ ๑ จึงเป็นที่ภาตภูมิใจที่สุด ในฐานะนายกสมาคมวารสารศาสตร์ ทำให้ชีวิตตรงนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดี มีคุณค่า และมีความหมายขึ้นอีกมาก

ผมได้รับความไว้วางใจจากคณาจารย์ในคณะวารสารศาสตร์ ให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน หลายปี จนกระทั่งได้รับการเสนอชื่อให้ได้รับโล่ ผู้บำเพ็ญประโยชน์แก่มหาวิทยาลัย ซึ่งทั้ง ๓ สถาบัน ล้วนเป็นงานด้านการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ทั้งสิ้น ซึ่งตรงกับอุปนิสัยใจคอ ที่ยากพอที่คนทั่วไปจะหาได้ในชีวิตจริง

ขอเรียนย้ำอีกครั้งว่า ผมทำงานทุกแห่ง ทั้งที่ธนาคารกรุงเทพ นับแต่วันแรกจนกระทั่งวันสุดท้าย และในที่ต่าง ๆ ผมทำงานด้วยความตั้งใจ มุ่งมั่น มานะ อดทน ใช้สติปัญญาเต็มกำลังกับทุกเรื่อง ก็มีทั้งที่สำคัญและไม่สำคัญมากมาย ไม่เคยท้อถอย ทำด้วยความสนุกสนาน ตื่นเต้น ตลอดชีวิตการทำงาน




 

Create Date : 25 มิถุนายน 2554
0 comments
Last Update : 27 มิถุนายน 2554 22:46:21 น.
Counter : 825 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


พ คชา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




พยงค์ คชาลัย
เกิด ๒๔๗๘ (น่าจะแก่) จ. ราชบุรี
ตกฝากเวลาพระออกบิณฑบาต(๐๖.๐๐ น.)

เจ็บ เป็นครั้งคราว(เคยหนัก แต่รอด)
ตาย ยังไม่ได้กำหนด(วัน /เวลา)
สมรส หม่าย
บุตร ๒ คน และ หลาน ๒ คน

การศึกษา
ประถมที่ รร.เทศบาล๑ หน้าวัดสัตตนาถ ปริวัตร ราชบุรี
รร.ประชาบาลไพลประชานุกูล วัดบางแคกลาง อ.อัมพวา จ,สมุทรสงคราม (หนีภัยสงครามโลกครั้งที่ ๒)

มัธยม ที่ รร.บำรุงราษฎร์และรร.เบญจมราชูทิศ หลังวัดสัตตนาถฯ จ,ราชบุรี / โรงเรียนทหารม้า(ยานเกราะ)และ
สูงสุด ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิชาการหนังสือพิมพ์ แผนกวารสารศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

การงาน
รับราชการทหาร และเป็นเจ้าหน้าที่สถานีวิทยุยานเกราะ เป็นผู้ควบคุมเสียง เป็นผู้ประกาศ เล่นละครวิทยุ ประจำกองบรรณาธิการนิตยสารยานเกราะ เขียนบทความ เขียนสารคดี เป็นบรรณาธิการผู้ช่วยนิตยสารช่อฟ้าของอภิธรรมมูลนิ ฯลฯ

เข้าทำงานธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่ปี ๒๕๑๒ เป็นเจ้าหน้าที่ตั้งแต่เป็นพนักงานอันดับหนึ่งจนถึงเจ้าหน้าที่บริหารชั้น AVP ในฝ่ายการประชาสัมพันธ์(ยุคบุกเบิก)รวมเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี(และยังช่วยทำอยู่)

มีผลงานที่น่าคุย คือ เสนอก่อตั้งศูนย์สังคีตศิลป์ ที่สร้างชื่อให้ธนาคารได้มาก และ

ร่วมประสานงานโครงการหนังสือ”ลักษณะไทย”
จนบรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรมที่สำคัญ คือ

ธนาคารจัดพิมพ์ทูนเกล้าฯถวายในวโรกาส ๘๐ พรรษามหาราช(นับจากจะพิมพ์เนื่องในวันเปิดอาคารสำนักงานใหญ่ สีลมเมื่อ ปี ๒๕๒๕)
และงานอื่น ๆอีกเยอะมาก
ทั้งยังร่วมก่อตั้งชมรมประชาสัมพันธ์ธนาคารด้วย

งานเขียน
หนังสือชื่อ ๓๖๖ อดีต พิมพ์แจกห้องสมุดประจำจังหวัด
เขียนเรื่องสั้นชื่อ”คำสั่ง”ลงในป๊อกเก็ตบุ๊ค(คงไม่มีใครได้อ่าน)
และเขียนอะไรต่อมิอะไรในหน้าที่การงานเยอะเหมือนกัน

งานพิเศษ ร่วมกับอาจารย์ประจวบ อินอ๊อด สอนวิชาประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ในคณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ หลายปี
รับเชิญบรรยายตามสถาบันการศึกษาหลายแห่งด้วย

เกียรติยศ ได้รับเหรียญกาชาดสรรเสริญชั้น ๒ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ๕ เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน มหาวิทยาธรรมศาสตร์

กีฬา กอล์ฟ (พอเล่นได้ถ้วยบ้างเท่านั้น)
[Add พ คชา's blog to your web]