ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
 
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
17 พฤษภาคม 2554

สามทศวรรษ ลักษณะไทย ตอนที่ ๑๐

เล่ม ๔ วัฒนธรรมพื้นบ้าน

ศิลปและหัตถกรรมพื้นบ้าน
ผู้เขียน รศ.แสงอรุณ รัตกสิกร
นิจ หิญชีรนะนันทน์

ผู้เขียนเรื่องของศิลปพื้นบ้านในหนังสือชุดนี้ ให้คำจำกัดความของศิลปและหัตถกรรมพื้นบ้านไว้ว่า ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน คือประจักษ์พยานด้านหน้าที่ใช้สอยและด้านสุนทรีย์ของวัฒนธรรมทางวัตถุอันผลิตขึ้นและใช้สอยโดยคนธรรมดาสามัญ

คนไทยสามารถจะกล่าวได้อย่างภาคภูมิว่า ศิลปพื้นบ้านและงานช่างฝืมือของไทยนั้น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่แตกต่างออกไปจากงานศิลปของชนชาติอื่น และถือกันเป็นผลงานที่ดีเด่นอย่างยิ่งในเอเชียอาคเนย์ ทั้งนี้เพราะศิลปพื้นบ้านของไทยเรายังสามารถรักษาความมีชีวิตชีวาไว้ได้มาก เนื่องจากชาวไทยในชนบทได้พัฒนาทักษะของตนขึ้นมาเองตามธรรมชาติสืบเนื่องติดต่อกันมาในอดีตอันยาวนานโดยไม่ขาดตอน รูปแบบของศิลปพื้นบ้านของไทยจึงพัฒนาขึ้นมาเป็นรูปแบบศิลปกรรมที่สมบูรณ์ มีลักษณะต่าง ๆ กันออกไปและงดงามอย่างยิ่ง

เช่นเดียวกับพัฒนาการของทัศนศิลป์ พัฒนาการของศิลปและหัตถกรรมพื้นบ้านขึ้นอยู่กับลักษณะพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดในส่วนต่าง ๆ ของประเทศ เช่นที่ราบสูงในภาคอีสานซึ่งแห้งแล้ง บริเวณป่าทางภาคใต้ซึ่งมีฝนตกชุกฉ่ำชื้นอยู่ตลอดเวลา ที่ราบอันอุดมสมบูรณ์บนฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลางและภาคเหนือที่ค่อนข้างหนาวเย็น อันประกอบด้วยภูเขา ลำห้วยและป่าสน ชาวไทยที่ลงหลักปักเรือนในภาคต่าง ๆ ของประเทศ ได้ผลิตรูปแบบของศิลปกรรมท้องถิ่นขึ้นมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นสภาพของแต่ละท้องถิ่นและนี่เอง ที่ทำให้ศิลปพื้นบ้านของไทยอุดมไปด้วยรูปแบบของศิลปกรรมหลากหลายที่ต่างก็มีลักษณะของตนเอง

แม้ว่าจะมีวิวัฒนาการมาจากมรดกทางวัฒนธรรมไทยสายเดียวกัน เราสามารถหยั่งได้จากผลิตผลทางศิลปและหัตถกรรมพื้นบ้านเหล่านี้ถึงความฉลาดไหวพริบของผู้ผลิตในการแก้ปัญหาให้ลุล่วงไปเป็นเปลาะๆ

ตามธรรมชาติ ความงามอันเกิดจากความรู้แจ้งในเป้าหมายที่ผู้ผลิตปรารถนา ความเข้าใจในข้อจำกัด
ของสภาพธรรมชาติแวดล้อมซึ่งทำให้ศิลปพื้นบ้านของไทยมีลักษณะที่เรียบง่าย ประณีตและงดงามอย่างสุภาพ อันเป็นลักษณะนิสัยอันแท้จริงของชาวบ้านไทย

เป็นที่ตระหนักดีว่า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีปัจจุบัน ความเจริญของการคมนาคมและสื่อมวลชนกำลังมีอิทธิพลอย่างมากต่องานศิลปกรรมพื้นบ้าน และได้ลิดรอนความมีชีวิตชีวาของศิลปกรรมแขนงนี้ไปแล้วมากต่อมากในประเทศเพื่อนบ้านของเรา จึงหวังว่าข้อเขียนนี้จะบันทึกเรื่องราวของศิลปพื้นบ้าน และงานช่างฝีมือของชาวไทยไว้ในช่วงที่ยังทรงความงามบริสุทธิ์ไว้ได้ทันเวลา ก่อนที่วิญญาณแท้จริงของศิลปแบบนี้จะดับสูญไป

อาจารย์แสงอรุณ รัตกสิกร ผู้เขียนในภาคนี้ด้วยใจรักงานด้านนี้ อาจารย์แสงอรุณ ได้ขอลาพักการสอนจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นเวลา ๑ ปีเพื่ออุทิศเวลาทั้งหมดในการจัดทำเรื่องศิลปและหัตถกรรมพื้นบ้านในข้อเขียนชุดนี้ จนกระทั่งถึงแก่กรรมอย่างกะทันหันที่บ้านด้วยโรคหัวใจวายเฉียบพลัน ทั้ง ๆที่ไม่เคยมีอาการป่วยไข้ใด ๆ มาก่อนหน้านี้เลย

อาจารย์นิจ หิญชีระนันทน์ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและได้ไปศึกษาต่อชั้นปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยคอร์แนลล์ สหรัฐอเมริกา สำเร็จวิชาการผังเมือง เป็นผู้สนใจอย่างยิ่งในปัญหาสภาวะแวดล้อมและการสงวนรักษาศิลปวัฒนธรรมไทยทุก ๆ ด้านและได้มีส่วนอย่างมากในการจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของชาติ




Create Date : 17 พฤษภาคม 2554
Last Update : 22 พฤษภาคม 2554 1:40:35 น. 0 comments
Counter : 497 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พ คชา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




พยงค์ คชาลัย
เกิด ๒๔๗๘ (น่าจะแก่) จ. ราชบุรี
ตกฝากเวลาพระออกบิณฑบาต(๐๖.๐๐ น.)

เจ็บ เป็นครั้งคราว(เคยหนัก แต่รอด)
ตาย ยังไม่ได้กำหนด(วัน /เวลา)
สมรส หม่าย
บุตร ๒ คน และ หลาน ๒ คน

การศึกษา
ประถมที่ รร.เทศบาล๑ หน้าวัดสัตตนาถ ปริวัตร ราชบุรี
รร.ประชาบาลไพลประชานุกูล วัดบางแคกลาง อ.อัมพวา จ,สมุทรสงคราม (หนีภัยสงครามโลกครั้งที่ ๒)

มัธยม ที่ รร.บำรุงราษฎร์และรร.เบญจมราชูทิศ หลังวัดสัตตนาถฯ จ,ราชบุรี / โรงเรียนทหารม้า(ยานเกราะ)และ
สูงสุด ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิชาการหนังสือพิมพ์ แผนกวารสารศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

การงาน
รับราชการทหาร และเป็นเจ้าหน้าที่สถานีวิทยุยานเกราะ เป็นผู้ควบคุมเสียง เป็นผู้ประกาศ เล่นละครวิทยุ ประจำกองบรรณาธิการนิตยสารยานเกราะ เขียนบทความ เขียนสารคดี เป็นบรรณาธิการผู้ช่วยนิตยสารช่อฟ้าของอภิธรรมมูลนิ ฯลฯ

เข้าทำงานธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่ปี ๒๕๑๒ เป็นเจ้าหน้าที่ตั้งแต่เป็นพนักงานอันดับหนึ่งจนถึงเจ้าหน้าที่บริหารชั้น AVP ในฝ่ายการประชาสัมพันธ์(ยุคบุกเบิก)รวมเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี(และยังช่วยทำอยู่)

มีผลงานที่น่าคุย คือ เสนอก่อตั้งศูนย์สังคีตศิลป์ ที่สร้างชื่อให้ธนาคารได้มาก และ

ร่วมประสานงานโครงการหนังสือ”ลักษณะไทย”
จนบรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรมที่สำคัญ คือ

ธนาคารจัดพิมพ์ทูนเกล้าฯถวายในวโรกาส ๘๐ พรรษามหาราช(นับจากจะพิมพ์เนื่องในวันเปิดอาคารสำนักงานใหญ่ สีลมเมื่อ ปี ๒๕๒๕)
และงานอื่น ๆอีกเยอะมาก
ทั้งยังร่วมก่อตั้งชมรมประชาสัมพันธ์ธนาคารด้วย

งานเขียน
หนังสือชื่อ ๓๖๖ อดีต พิมพ์แจกห้องสมุดประจำจังหวัด
เขียนเรื่องสั้นชื่อ”คำสั่ง”ลงในป๊อกเก็ตบุ๊ค(คงไม่มีใครได้อ่าน)
และเขียนอะไรต่อมิอะไรในหน้าที่การงานเยอะเหมือนกัน

งานพิเศษ ร่วมกับอาจารย์ประจวบ อินอ๊อด สอนวิชาประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ในคณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ หลายปี
รับเชิญบรรยายตามสถาบันการศึกษาหลายแห่งด้วย

เกียรติยศ ได้รับเหรียญกาชาดสรรเสริญชั้น ๒ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ๕ เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน มหาวิทยาธรรมศาสตร์

กีฬา กอล์ฟ (พอเล่นได้ถ้วยบ้างเท่านั้น)
[Add พ คชา's blog to your web]