ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
10 ตุลาคม 2554

จำจากงานที่ทำ... จำจากที่ทำงาน ตอนที่ 6

พูดถึงเรื่องเพลงของธนาคารบ้าง

เพลงธนาคารน่าจะพอแบ่งออกเป็น ๔ ลักษณะ คือ เพลงประจำธนาคาร เดิมมีเพลงชื่อ ธนาคารกรุงเทพ (เทพรักษา) ที่คุณชัยรัตน์ คำนวณขอให้ครูเอื้อ สุนทรสนานแต่งให้ ดูเหมือนจะมีเพลงรำวงด้วย

ต่อมาก็มีเพลงประจำธนาคารเพิ่มขึ้นอีก มี ๒ ภาษา คุณปิติ สิทธิอำนวย ท่านแต่งเป็นภาษาอังกฤษ Quality work Quality service อะไรนั่นแหละครับ ที่เปิดก่อนเวลาทำงาน กับเพลงที่ท่านกรรมการรอง คุณธรรมนูญ เลากัยกุล แต่งไว้หลายเพลง ผู้จัดการสาขาต่างจังหวัดต้องร้องเพลงเหล่านี้ได้ เพราะเมื่อท่านไปเยี่ยมสาขางานเลี้ยงอาหารค่ำต้องร้องเพลงเหล่านั้น

เสียดายที่ผมจำเพลงที่ท่านแต่งไม่ได้จริง ๆ เพลงของท่านรองฯ ธรรมนูญ ท่านมักจะแต่งเนื้อร้อง อาจารย์แมนรัตน์ ศรีกรานนท์แต่งทำนอง ส่วนเพลงของท่านปิติ ตอนหลังท่านมอบให้คุณเดช บุลสุข ทำเพลงอีกหลายเพลงลงแผ่นซีดีไว้ เท่าที่ได้รับแจกมี ๒ ชุด (ผมเกษียณจากธนาคารแล้ว เลยไม่รู้ที่มาที่ไปอะไรเลยครับ)

เพลงลักษณะที่ ๒ ฝ่ายการประชาสัมพันธ์เสนอจัดประกวดเพลงที่จะใช้กับงาน PR โดยให้พนักงานแต่งเนื้อร้อง ใส่ในทำนองที่อาจารย์แมนรัตน์แต่งให้อีกทีหนึ่ง มีหลายเพลง เช่น มาร์ชเพื่อนคู่คิด มารช์พัฒนาธนาคาร มุ่งก้าวไกล บัวหลวง เพื่อนคู่คิดมิตรคู่บ้าน ไทยถิ่นทอง (โฟล์กซอง) สัมพันธ์รัก (โพลก้า) โลกรื่นรมย์(โซล) ตลุงร่วมใจ รำวงเกลียวสัมพันธ์เป็นต้น

เพลงชุดนี้ทำเป็นเทปคาสเซทไว้ ไพเราะมากนะ

ผมเอาลงแผ่นเก็บไว้เอง เพราะไม่รู้จะให้ใครไว้ดี

เอ่ยถึงท่านอาจารย์แมนรัตน์ ศรีกรานนท์(ศิลปินแห่งชาติ) ผมก็คุ้นเคยกับท่านอยู่ก่อนนานมาแล้ว เพราะไปเป็นนักเรียนโรงเรียนการประชาสัมพันธ์ด้วยกัน (ประชาสัมพันธ์ธุรกิจ รุ่นที่ ๑) และหลังจากนั้นไม่นานท่านก็มาทำงานที่ธนาคารกรุงเทพ ก็อยู่ด้วยกันอีก

ผมเคยเขียนเนื้อเพลง สวัสดีปีใหม่ ให้ท่านไปใส่ทำนอง ขับร้องประสานเสียงโดยนักเรียนโรงเรียนดนตรีสยามกลการด้วย

เรื่องนี้มีเบื้องหลัง ที่พอเล่าสั้น ๆ ได้ว่า ในการประชุมคณะกรรมการประชาสัมพันธ์คราวหนึ่ง ผมเป็นเลขานุการ ระหว่างรอการประชุม อาจารย์แมนรัตน์ มาถึงที่ประชุมก็พบอาจารย์ประคิณ ท่านก็เอ่ยปากขอให้อาจารย์ประคิณช่วยเขียนเนื้อเพลงปีใหม่ให้หน่อย ค่อนข้างด่วนเสียด้วย

ระหว่างสนทนาต่อรองกันอยู่นั้น ผมก็แอบเขียนเนื้อเพลงเสร็จนะครับ (มันง่ายเหลือเชื่อ) แล้วผมก็ยื่นแผ่นกระดาษให้อาจารย์ประคิณ ๆ อ่านแล้วส่งต่อไปให้อาจารย์แมนรัตน์ มีคอมเม้นท์เล็กน้อยว่า นี่ไงตรงกับที่ต้องการพอดี เหมาะมากนะ

อาจารย์แมนรัตน์รับไปอ่านเนี้อเพลงบทนั้นแล้วไม่พูดอะไร พับเก็บใส่กระเป๋าเจมส์บอนด์

ผมและไม่มีใครรู้ใจอาจารย์แมนรัตน์ตอนนั้นไปมากกว่านี้ แล้วอยู่ๆก็มีเทปเพลงส่งมาให้ผม ๑๐ ม้วนพร้อมหนังสือขอบคุณผมแนบมาด้วย (ผมเก็บไว้นะ มันเป็นจารึกชีวิตทีเดียว)

เพลงนี้ผมก็แปลงเป็นซีดีแจกเพื่อนฝูง แถมร้องเพลงโศลกให้ไปครั้งหนึ่ง

ลักษณะที่ ๓ คือเพลงไทยเดิม ซึ่งจะแต่งในวาระสำคัญ ๆประกอบด้วยเพลงโหมโรง ได้แก่เพลงโหมโรงรัตนโกสินทร์ แต่งเพื่อใช้บรรเลงในงานฉลอง ๒๐๐ ปีกรุงรัตนโกสินทร์ เพลงโหมโรงมหาราช แต่งถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ

เพลงโหมโรงเทิด สธ. แต่งถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสทรงเจริญพระชันษาครบ ๓ รอบ

ทั้ง ๓ เพลง ท่านอาจารย์มนตรี ตราโมท ศิลปินแห่งชาติ แต่งให้ตามที่ธนาคารขอความอนุเคราะห์

เพลงโหมโรงบัวหลวง อาจารย์เฉลิม บัวทั่ง แต่งให้วงดนตรีไทยสโมสรธนาคารกรุงเทพ เพื่อเป็นที่ระลึก ระหว่างที่ท่านกรุณามาเป็นผู้ควบคุมวง

นอกนั้นก็มีเพลงเถา เช่น เพลงสมโภชพระนคร (เถา) แต่งร่วมงานฉลอง ๒๐๐ ปีกรุงรัตนโกสินทร์ เพลงเทพสมภพ (เถา)อาจารย์มนตรีแต่งในคราวเดียวกับโหมโรงเทิด สธ.

ลักษณะที่ ๔ คือเพลงลูกทุ่ง ซึ่งแต่งขึ้นร่วมสมโภชน์สมเด็จพระเทพรัตน์ฯครบ ๓ รอบพระชนมายุ เช่นกัน คือเพลงสมเด็จพระเทพ (ชื่อเพลงไม่แม่น) เนี้อเพลงขึ้นต้นว่า

เป็นบุญของแผ่นดินไทยนี้ มีกุลสตรีเป็นศรีแผ่นดิน ฯ ...

ครูชลธี ธารทอง ศิลปินแห่งชาติแต่งเนื้อร้องและทำนอง ขับร้องโดยคุณสุนารี ราชสิมา

อีกเพลงหนึ่ง (ชื่อเพลงไม่แม่นอีกเหมือนกัน) คุณเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ แต่งเนี้อร้อง ครูชลธี ธารทอง ใส่ทำนอง คุณจักรพันธ์ อาบครบุรี ขับร้อง ธนาคารจัดแสดงประกอบระบำขึ้นที่ห้องประชุมชั้น ๖ ที่ห้าแยกพลับพลาไชย

เสียดายมากเวลานั้นเทปและวีดีโอยังไม่มีใช้ (555) ตื่นเต้นกันมากนะ

ขอบคุณ คุณเจนภพ จบกระบวนวรรณ ที่จัดให้ตั้งแต่ครั้งนั้น ไม่เคยลืมเลย

ครับ มีอีกเพลงหนึ่งเป็นประวัติศาสตร์ของธนาคาร คือเพลง เจ้าพระยาคอนแชร์โต้

เพลงนี้ทำขึ้นเนื่องในโอกาสเปิดอาคารสำนักงานใหญ่สีลม อาจารย์จำนง รังสิกุล กับผม ไปเชิญให้อาจารย์บรู๊ซ แกสตัน(บุรุษ เกศกรรณ) ลูกศิษย์เพลงไทยของครูบุญยงค์ เกตุคงแต่ง

แสดงครั้งแรกในคืนฉลองพิธีเปิดอาคารสำนักงานใหญ่สีลมเมื่อ ๑๖กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕ และบรรเลงหน้าพระที่นั่ง สมเด็จพระเทพรัตน์ ฯ อีกครั้งที่ห้องประชุมชั้น ๓๐ (วัน เดือนปี เลือนไปหมดแล้ว) จำได้แต่ว่างานนี้มีมอบโล่แก่ศิลปินอาวุโส และแม่เพลงพ่อเพลงหลายท่านครับ

ตามที่ได้เล่าว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จไปทรงดนตรีในรายการสังคีตภิรมย์ สมัยก่อนไม่มีวีดีโอ มีแค่เทป เป็นเทปรีลด้วย จึงบันทึกพระสุรเสียงไว้

ผมก็ได้คิดว่าน่าจะเทิดทูนพระองค์ ก็เลยเสนอขอทำแผ่นเสียงชนิดลองเพลย์รวมเพลงที่ทรงซอด้วงและทรงขับร้องไว้ ได้แก่เพลงโหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์ ทรงซอด้วง เพลงอกทะเล ๓ ชั้น ทรงพระราชนิพนธ์คำร้อง คุณจันทรา สุขะวิริยะ ขับร้อง

นอกนั้นมีเพลงตับมโหรี ซึ่งพระองค์ทรงเป็นต้นเสียง คุณประพจน์ อัศววิรุณห์การ ขับร้อง และยังมี เพลงลาวดำเนินทราย เพลงเต่าเห่ เพลงตับคาวี ที่ทรงขับร้องนำหมู่ แผ่นเสียงนี้ส่งให้หน่วยงานและโรงเรียนต่าง ๆ

มีเก็บอยู่ที่ศูนย์สังคีตศิลป์ จำนวนหนึ่ง

ต้องเก็บไว้ เป็นของโบราณ





Create Date : 10 ตุลาคม 2554
Last Update : 26 ตุลาคม 2554 1:37:46 น. 4 comments
Counter : 2946 Pageviews.  

 
ถ้ายังมีไฟล์เพลงเหล่านี้อยู่อยากให้เอาลงweb ครับ เป็นเพลงเก่าที่มีคุณค่า หาฟังที่ไหนไม่ได้ โดยเฉพาะ เพลงธนาคารกรุงเทพ เทพรักษา เมื่อ 20 ปีก่อนได้ฟังบ่อย แต่เดี๋ยวนี้ไม่มีใครนำมาเปิดเลย. เกรงว่าจะสูญหาย จะเสียดายมากๆ อยากให้ผู้บริหารธนาคาร(รุ่นใหม่) มองเห็นคุญค่าและรวบรวม เพลงเกี่ยวกับธนาคารกรุงเทพ ลงweb เพื่อจะได้หาฟังง่ายขึ้น


โดย: นิกร พนักงานธนาคารกรุงเทพ IP: 171.99.208.144 วันที่: 30 พฤศจิกายน 2557 เวลา:6:04:59 น.  

 
https://youtu.be/ZSWMVBNdQYA
เพลงสัมพันธ์รัก ประพันธ์โดยคุณมัศยามาศ


โดย: พรเทพ จรัสศรี IP: 110.169.3.134 วันที่: 23 พฤศจิกายน 2560 เวลา:11:12:33 น.  

 
ผมมีเทปชุดนี้อยู่ครับ ว่างๆ จะทำคลิปออกมาแบ่งปันให้กับผู้ที่สนใจครับ

....
เพลงลักษณะที่ ๒ ฝ่ายการประชาสัมพันธ์เสนอจัดประกวดเพลงที่จะใช้กับงาน PR โดยให้พนักงานแต่งเนื้อร้อง ใส่ในทำนองที่อาจารย์แมนรัตน์แต่งให้อีกทีหนึ่ง มีหลายเพลง เช่น มาร์ชเพื่อนคู่คิด มารช์พัฒนาธนาคาร มุ่งก้าวไกล บัวหลวง เพื่อนคู่คิดมิตรคู่บ้าน ไทยถิ่นทอง (โฟล์กซอง) สัมพันธ์รัก (โพลก้า) โลกรื่นรมย์(โซล) ตลุงร่วมใจ รำวงเกลียวสัมพันธ์เป็นต้น


โดย: พรเทพ จรัสศรี (อดีตพนักงานธนาคารกรุงเทพ จำกัด IP: 110.169.3.134 วันที่: 23 พฤศจิกายน 2560 เวลา:11:15:43 น.  

 
ผมมีต้นฉบับครบครับ


โดย: นายศิขิน พงษพิพัฒน์ IP: 171.99.155.160 วันที่: 25 เมษายน 2567 เวลา:16:09:18 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พ คชา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




พยงค์ คชาลัย
เกิด ๒๔๗๘ (น่าจะแก่) จ. ราชบุรี
ตกฝากเวลาพระออกบิณฑบาต(๐๖.๐๐ น.)

เจ็บ เป็นครั้งคราว(เคยหนัก แต่รอด)
ตาย ยังไม่ได้กำหนด(วัน /เวลา)
สมรส หม่าย
บุตร ๒ คน และ หลาน ๒ คน

การศึกษา
ประถมที่ รร.เทศบาล๑ หน้าวัดสัตตนาถ ปริวัตร ราชบุรี
รร.ประชาบาลไพลประชานุกูล วัดบางแคกลาง อ.อัมพวา จ,สมุทรสงคราม (หนีภัยสงครามโลกครั้งที่ ๒)

มัธยม ที่ รร.บำรุงราษฎร์และรร.เบญจมราชูทิศ หลังวัดสัตตนาถฯ จ,ราชบุรี / โรงเรียนทหารม้า(ยานเกราะ)และ
สูงสุด ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิชาการหนังสือพิมพ์ แผนกวารสารศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

การงาน
รับราชการทหาร และเป็นเจ้าหน้าที่สถานีวิทยุยานเกราะ เป็นผู้ควบคุมเสียง เป็นผู้ประกาศ เล่นละครวิทยุ ประจำกองบรรณาธิการนิตยสารยานเกราะ เขียนบทความ เขียนสารคดี เป็นบรรณาธิการผู้ช่วยนิตยสารช่อฟ้าของอภิธรรมมูลนิ ฯลฯ

เข้าทำงานธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่ปี ๒๕๑๒ เป็นเจ้าหน้าที่ตั้งแต่เป็นพนักงานอันดับหนึ่งจนถึงเจ้าหน้าที่บริหารชั้น AVP ในฝ่ายการประชาสัมพันธ์(ยุคบุกเบิก)รวมเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี(และยังช่วยทำอยู่)

มีผลงานที่น่าคุย คือ เสนอก่อตั้งศูนย์สังคีตศิลป์ ที่สร้างชื่อให้ธนาคารได้มาก และ

ร่วมประสานงานโครงการหนังสือ”ลักษณะไทย”
จนบรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรมที่สำคัญ คือ

ธนาคารจัดพิมพ์ทูนเกล้าฯถวายในวโรกาส ๘๐ พรรษามหาราช(นับจากจะพิมพ์เนื่องในวันเปิดอาคารสำนักงานใหญ่ สีลมเมื่อ ปี ๒๕๒๕)
และงานอื่น ๆอีกเยอะมาก
ทั้งยังร่วมก่อตั้งชมรมประชาสัมพันธ์ธนาคารด้วย

งานเขียน
หนังสือชื่อ ๓๖๖ อดีต พิมพ์แจกห้องสมุดประจำจังหวัด
เขียนเรื่องสั้นชื่อ”คำสั่ง”ลงในป๊อกเก็ตบุ๊ค(คงไม่มีใครได้อ่าน)
และเขียนอะไรต่อมิอะไรในหน้าที่การงานเยอะเหมือนกัน

งานพิเศษ ร่วมกับอาจารย์ประจวบ อินอ๊อด สอนวิชาประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ในคณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ หลายปี
รับเชิญบรรยายตามสถาบันการศึกษาหลายแห่งด้วย

เกียรติยศ ได้รับเหรียญกาชาดสรรเสริญชั้น ๒ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ๕ เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน มหาวิทยาธรรมศาสตร์

กีฬา กอล์ฟ (พอเล่นได้ถ้วยบ้างเท่านั้น)
[Add พ คชา's blog to your web]