ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
16 ตุลาคม 2554

จำจากงานที่ทำ ... จำจากที่ทำงาน ตอนที่ 10

โรงพิมพ์ธนาคารกรุงเทพก็ตั้งสมัยท่านบุญชู โดยมี คุณอุดม สวัสดิโยธิน เป็นผู้จัดการโรงพิมพ์ พิมพ์เอกสารต่าง ๆ ที่ใช้ในธุรกรรมของธนาคารทั้งสิ้น เคยพิมพ์ปฏิทินของธนาคารด้วยหรือไม่ ไม่แน่ใจ แต่เคยพิมพ์เช็คของธนาคารเอง และรับจ้างพิมพ์เช็คของคนอื่นที่พิมพ์สัญลักษณ์ของบริษัทด้วยแน่ ๆ

ที่จำได้ก็พิมพ์เช็คการันตี เช็คบุญบำเพ็ญ เช็คของขวัญฯลฯ

ผมนิยมตัวหัวหน้าอุดม ฯ มากเพราะผมเห็นโรงพิมพ์แห่งเดียวในประเทศไทยที่สะอาดที่สุด ไม่มีเศษกระดาษรกรุงรัง ไม่มีน้ำมันเครื่องหยดตามพื้น แท่นพิมพ์ก็เป็นแท่นออฟเซ็ท (ทันสมัยสุดๆในขณะนั้น) นะครับ ไม่ใช่แท่นฉับแกระ ๆอย่างโบราณ

ขอเอ่ยนามผู้เคยร่วมงานกันไว้สักหน่อยคือ คุณสถียร พิมพ์อาภรณ์ คุณวิสุทธิ์ สุริยะฉาย และ คุณสมศักด์ วงศาโรจน์(ถึงแก่กรรมแล้ว) คนอื่นไม่มีโอกาสพบพานเลย

อีกเรื่องหนึ่งที่ฝ่ายการประชาสัมพันธ์ทำก็คือ ท่านจะให้นักเขียนคอลั่มน์ประจำในหนังสือพิมพ์ไปคุยกับท่านทุกเช้าวันจันทร์ ท่านจะให้แนวคิดแนวเขียนกับท่านเหล่านั้น มี ๓ คน (ขณะเขียนนี้ยังมีชีวิตอยู่ทั้งหมดไม่กล้าเอ่ยชื่อ) แล้วก็ปีหนึ่งท่านจะต้องเดินทางไปต่างประเทศ ท่านก็จะเตรียมไปกล่าวสุนทรพจน์ในงานเลี้ยงอาหารกลางวันหรือค่ำก็แล้วแต่เจ้าภาพจะจัดขึ้น

หลังจากท่านกล่าวสุนทรพจน์แล้ว เราก็จะทำข่าวแจกสื่อมวลชนของไทย พร้อมทั้งต้นฉบับภาษาไทยให้ไปด้วย

อ้อ!ตอนนั้นทุกวันอาทิตย์ จะมีคอลั่มน์ประจำ”ตาพรขอพูดด้วยคน”หน้า ๓ ไทยรัฐ คุณสุพร สมรรถชัยศรี เป็นผู้เรียบเรียงตามแนวที่ท่านจะแนะให้ ซึ่งจะเป็นการพูดถึงชาวไร่ชาวนา ปัญหาของเกษตรกรเท่านั้น ผมเคยต้องเขียนแทน คุณสุพร อยู่ครั้งหนึ่งด้วย (แอบภูมิใจนะ)

ความเป็นนักคิดกว้างคิดไกลไม่มีใครเกินท่านบุญชู ฯ แน่นอน ผมก็ว่าจนบัดนี้ยังหาคนคิดแบบท่านได้ยาก อาจกล้าคิดแต่ไม่กล้าทำก็ได้ ไม่เสี่ยงดีกว่า ที่พูดอย่างนี้ ผมก็มีคำยืนยันจากปัจฉิมวาทะของท่านเองว่า

”ธนาคารเราจะต้องส่งเสริมให้พนักงานระดับบริหาร ออกแสดงความคิดเห็นแสดงเจตนาและแผนงานของธนาคาร ในส่วนที่กำลังดำเนินการอย่างสอดคล้องกับผลประโยชน์ของชาติบ้านเมืองในทุกด้าน ตั้งแต่ด้านเศรษฐกิจทางสังคมทุกแขนง ทั้งการศึกษา ศาสนาตลอดจนศิลปวัฒนธรรม เพื่อย้ำให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้ทราบว่าธนาคารกำลังดำเนินการอะไรที่จะอำนวยประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองอยู่อย่างไร และงานที่กำลังดำเนินอยู่แต่ละกรณีนั้นมุ่งหมายที่จะให้เกิดผลสำเร็จในประการใด

การเผยแพร่เจตนาและความคิดอย่างที่ได้ชี้แนะนี้ จำเป็นต้องทำเป็นประจำต่อเนื่องกันเป็นนิจและอย่างมีแผน จึงจะบังเกิดผลในทางสร้างความเข้าใจเจตนารมณ์ที่ธนาคารเรามี และผูกพันอยู่กับประโยชน์ของสังคมประชาชาติอย่างแน่นแฟ้น เด่นชัด เป็นที่ยอมรับว่าเป็นองค์กรที่สมควรได้รับการส่งเสริมให้มีบทบาทในการพัฒนามากขึ้นไม่ควรที่จะคิดยับยั้งบทบาทหรือทำลายอย่างที่คิดกันอีกต่อไป”

ข้อความที่เป็นตัวเอนข้างบนนี้ เป็นบทปัจฉิมวาทะที่ท่านกล่าวบนเวทีชั้น ๓๐ ในคราวเปิดอาคารสำนักงานใหญ่สีลม ขณะท่านออกไปเล่นการเมืองแล้ว และเป็นการพูดกับเจ้าหน้าที่ระดับบริหารเป็นครั้งสุดท้าย



Create Date : 16 ตุลาคม 2554
Last Update : 17 ตุลาคม 2554 2:25:54 น. 0 comments
Counter : 687 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พ คชา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




พยงค์ คชาลัย
เกิด ๒๔๗๘ (น่าจะแก่) จ. ราชบุรี
ตกฝากเวลาพระออกบิณฑบาต(๐๖.๐๐ น.)

เจ็บ เป็นครั้งคราว(เคยหนัก แต่รอด)
ตาย ยังไม่ได้กำหนด(วัน /เวลา)
สมรส หม่าย
บุตร ๒ คน และ หลาน ๒ คน

การศึกษา
ประถมที่ รร.เทศบาล๑ หน้าวัดสัตตนาถ ปริวัตร ราชบุรี
รร.ประชาบาลไพลประชานุกูล วัดบางแคกลาง อ.อัมพวา จ,สมุทรสงคราม (หนีภัยสงครามโลกครั้งที่ ๒)

มัธยม ที่ รร.บำรุงราษฎร์และรร.เบญจมราชูทิศ หลังวัดสัตตนาถฯ จ,ราชบุรี / โรงเรียนทหารม้า(ยานเกราะ)และ
สูงสุด ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิชาการหนังสือพิมพ์ แผนกวารสารศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

การงาน
รับราชการทหาร และเป็นเจ้าหน้าที่สถานีวิทยุยานเกราะ เป็นผู้ควบคุมเสียง เป็นผู้ประกาศ เล่นละครวิทยุ ประจำกองบรรณาธิการนิตยสารยานเกราะ เขียนบทความ เขียนสารคดี เป็นบรรณาธิการผู้ช่วยนิตยสารช่อฟ้าของอภิธรรมมูลนิ ฯลฯ

เข้าทำงานธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่ปี ๒๕๑๒ เป็นเจ้าหน้าที่ตั้งแต่เป็นพนักงานอันดับหนึ่งจนถึงเจ้าหน้าที่บริหารชั้น AVP ในฝ่ายการประชาสัมพันธ์(ยุคบุกเบิก)รวมเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี(และยังช่วยทำอยู่)

มีผลงานที่น่าคุย คือ เสนอก่อตั้งศูนย์สังคีตศิลป์ ที่สร้างชื่อให้ธนาคารได้มาก และ

ร่วมประสานงานโครงการหนังสือ”ลักษณะไทย”
จนบรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรมที่สำคัญ คือ

ธนาคารจัดพิมพ์ทูนเกล้าฯถวายในวโรกาส ๘๐ พรรษามหาราช(นับจากจะพิมพ์เนื่องในวันเปิดอาคารสำนักงานใหญ่ สีลมเมื่อ ปี ๒๕๒๕)
และงานอื่น ๆอีกเยอะมาก
ทั้งยังร่วมก่อตั้งชมรมประชาสัมพันธ์ธนาคารด้วย

งานเขียน
หนังสือชื่อ ๓๖๖ อดีต พิมพ์แจกห้องสมุดประจำจังหวัด
เขียนเรื่องสั้นชื่อ”คำสั่ง”ลงในป๊อกเก็ตบุ๊ค(คงไม่มีใครได้อ่าน)
และเขียนอะไรต่อมิอะไรในหน้าที่การงานเยอะเหมือนกัน

งานพิเศษ ร่วมกับอาจารย์ประจวบ อินอ๊อด สอนวิชาประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ในคณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ หลายปี
รับเชิญบรรยายตามสถาบันการศึกษาหลายแห่งด้วย

เกียรติยศ ได้รับเหรียญกาชาดสรรเสริญชั้น ๒ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ๕ เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน มหาวิทยาธรรมศาสตร์

กีฬา กอล์ฟ (พอเล่นได้ถ้วยบ้างเท่านั้น)
[Add พ คชา's blog to your web]