ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
 
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
17 พฤษภาคม 2554

สามทศวรรษ ลักษณะไทย ตอนที่ ๑

ปฐมบท

คงจะพอมองภาพออกแล้วว่างานทำหนังสือประวัติศาสตร์ฉบับธนาคารกรุงเทพที่ คุณบุญชู โรจนเสถียร ริเริ่มไว้นี้ แม้ท่านจะออกไปเล่นการเมือง ไป - กลับถึง ๒ ครั้ง ก่อนจะจากไปเลย แต่ท่านไม่ได้ทอดทิ้ง ระหว่างที่ไม่ได้ทำงานที่ธนาคารกรุงเทพ ท่านก็ได้มอบหมายให้คุณดำรงค์ กฤษณามระ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ในขณะนั้น เป็นผู้กำกับดูแลงานชิ้นสำคัญนี้อย่างใกล้ชิดโดยมีคุณชาตรี โสภณพนิช และคุณวิระ รมยะรูป รับรู้ ทั้งช่วยติดตามถามหาอยู่เป็นระยะด้วยความห่วงใย

ระหว่างที่การติดต่อประสานงานกันอยู่ ท่านอาจารย์ขจร สุขพานิชถึงแก่กรรมลง งานจุดนี้จึงสะดุดหยุดลงโดยปริยาย คุณพินิจ พงษ์สวัสดิ์จึงเร่งไปทางแอดวานซ์ มีเดียที่ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล
เป็นผู้บริหารอยู่ในตอนนั้น ให้ทำโครงการเสนอธนาคารกรุงเทพโดยเร็ว ซึ่งนักวิชาการประจำการก็คือคุณสุจิตต์ วงษ์เทศ ได้เสนอโครงการโดยมีรายละเอียดที่สำคัญดังต่อไปนี้

โครงการรวบรวมประวัติศาสตร์ในดินแดนไทยก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๐

นำเรื่อง

นานนับศตวรรษที่คนไทยถูกสอนมาว่าประวัติศาสตร์ไทยแบ่งออกเป็นสองช่วงเวลา คือ
ช่วงที่ ๑ ช่วงที่อยู่ในดินแดนจีน และ
๒ ช่วงที่ก่อตั้งอาณาจักรสุโขทัย

ทั้งนี้โดยพยายามที่จะสอนให้เชื่อกันว่า เมื่ออาณาจักรน่านเจ้าถูกทำลายเมื่อ พ.ศ.๑๗๙๗ แล้วคนไทยที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรน่านเจ้า ก็อพยพลงมาตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้นเป็นราชธานี ในที่สุดเราก็จำเป็นต้องยอมรับกันว่าอาณาจักรสุโขทัย เป็นอาณาจักรแรกของไทยในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน

แม้จะมีการศึกษาคนคว้าเรื่องราวของชนชาติไทยมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่มีหนังสือเล่มใดในประเทศไทยที่จะกล่าวอย่างเป็นหลักเกณฑ์ถูกต้องตามเหตุผลและหลักฐานว่าคนไทยได้มีชีวิตอยู่โดยรวมกันเป็นอาณาจักรมาก่อนหน้าอาณาจักรสุโขทัยหลายร้อยหลายพันปีมาแล้ว

เหตุผลง่าย ๆ ที่ควรพิจารณาก็คืออาณาจักรน่านเจ้าถูกทำลายเมื่อ พ.ศ. ๑๗๙๗ แต่อาณาจักรสุโขทัยก่อตั้งขึ้นเมื่อก่อน พ.ศ. ๑๘๐๐ .....เป็นไปได้อย่างไรที่คนไทยจะเดินทางจากดินแดนมณฑลยูนานในประเทศจีนตอนใต้ลงมาถึงสุโขทัย แล้วตั้งอาณาจักรขึ้นมาภายในระยะเวลาไม่ถึง ๓ ปี

แท้ที่จริงนั้น อาณาจักรน่านเจ้าก็หาใช่เป็นอาณาจักรไทยทั้งหมดไม่ หากเป็นอาณาจักรหนึ่งที่มีประชาชนส่วนหนึ่งเป็นเชื้อสายไทย และระยะเวลาที่อาณาจักรน่านเจ้ามีอำนาจอยู่นั้น คนไทยส่วนใหญ่ชมรมกันเป็นอาณาจักรต่าง ๆ กระจัดกระจายกันอยู่ตั้งแต่ภาคเหนือจรดภาคใต้ของดินแดนไทยปัจจุบันแล้ว

แต่เรื่องราวเหล่านี้ไม่ได้มีการเผยแพร่ให้กระจ่างชัด ทำให้คนไทยส่วนมากไม่สามารถทำความเข้าใจกับความเป็นมาของประวัติศาสตร์ไทยอย่างแน่นอนได้ ฉะนั้นต่างก็กล่าวกันรวม ๆ ไปว่า

ก่อนพุทธศตวรรษที่ ๒๐ นั้นดินแดนไทยปัจจุบันเป็นของขอม มอญ ละว้า หรือชนชาติอื่น ๆ ทั่วไปที่ไม่มีชนชาติไทยรวมอยู่ด้วยเลย

เรามีหน้าที่ที่จะต้องแก้ไขความเข้าใจผิดอันนั้นเพื่อความถูกต้องและเพื่อความภูมิใจในความเป็นคนไทย

เนื้อหาในช่วงต่อมาเป็นแผนงานการดำเนินงานประกอบด้วยรายพระนาม รายนามนักวิชาการในทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี พร้อมทั้งประวัติย่อของแต่ละท่าน รวมถึงขั้นตอนการปฏิบัติ งบประมาณและระยะเวลาทำงาน ซึ่งจะไม่ขอคัดมาเล่า แต่จะเริ่มในตอนที่เป็นสาระสำคัญ(หน้า ๑๐ เป็นต้นไป)



Create Date : 17 พฤษภาคม 2554
Last Update : 20 พฤษภาคม 2554 18:27:58 น. 0 comments
Counter : 605 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พ คชา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




พยงค์ คชาลัย
เกิด ๒๔๗๘ (น่าจะแก่) จ. ราชบุรี
ตกฝากเวลาพระออกบิณฑบาต(๐๖.๐๐ น.)

เจ็บ เป็นครั้งคราว(เคยหนัก แต่รอด)
ตาย ยังไม่ได้กำหนด(วัน /เวลา)
สมรส หม่าย
บุตร ๒ คน และ หลาน ๒ คน

การศึกษา
ประถมที่ รร.เทศบาล๑ หน้าวัดสัตตนาถ ปริวัตร ราชบุรี
รร.ประชาบาลไพลประชานุกูล วัดบางแคกลาง อ.อัมพวา จ,สมุทรสงคราม (หนีภัยสงครามโลกครั้งที่ ๒)

มัธยม ที่ รร.บำรุงราษฎร์และรร.เบญจมราชูทิศ หลังวัดสัตตนาถฯ จ,ราชบุรี / โรงเรียนทหารม้า(ยานเกราะ)และ
สูงสุด ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิชาการหนังสือพิมพ์ แผนกวารสารศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

การงาน
รับราชการทหาร และเป็นเจ้าหน้าที่สถานีวิทยุยานเกราะ เป็นผู้ควบคุมเสียง เป็นผู้ประกาศ เล่นละครวิทยุ ประจำกองบรรณาธิการนิตยสารยานเกราะ เขียนบทความ เขียนสารคดี เป็นบรรณาธิการผู้ช่วยนิตยสารช่อฟ้าของอภิธรรมมูลนิ ฯลฯ

เข้าทำงานธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่ปี ๒๕๑๒ เป็นเจ้าหน้าที่ตั้งแต่เป็นพนักงานอันดับหนึ่งจนถึงเจ้าหน้าที่บริหารชั้น AVP ในฝ่ายการประชาสัมพันธ์(ยุคบุกเบิก)รวมเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี(และยังช่วยทำอยู่)

มีผลงานที่น่าคุย คือ เสนอก่อตั้งศูนย์สังคีตศิลป์ ที่สร้างชื่อให้ธนาคารได้มาก และ

ร่วมประสานงานโครงการหนังสือ”ลักษณะไทย”
จนบรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรมที่สำคัญ คือ

ธนาคารจัดพิมพ์ทูนเกล้าฯถวายในวโรกาส ๘๐ พรรษามหาราช(นับจากจะพิมพ์เนื่องในวันเปิดอาคารสำนักงานใหญ่ สีลมเมื่อ ปี ๒๕๒๕)
และงานอื่น ๆอีกเยอะมาก
ทั้งยังร่วมก่อตั้งชมรมประชาสัมพันธ์ธนาคารด้วย

งานเขียน
หนังสือชื่อ ๓๖๖ อดีต พิมพ์แจกห้องสมุดประจำจังหวัด
เขียนเรื่องสั้นชื่อ”คำสั่ง”ลงในป๊อกเก็ตบุ๊ค(คงไม่มีใครได้อ่าน)
และเขียนอะไรต่อมิอะไรในหน้าที่การงานเยอะเหมือนกัน

งานพิเศษ ร่วมกับอาจารย์ประจวบ อินอ๊อด สอนวิชาประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ในคณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ หลายปี
รับเชิญบรรยายตามสถาบันการศึกษาหลายแห่งด้วย

เกียรติยศ ได้รับเหรียญกาชาดสรรเสริญชั้น ๒ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ๕ เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน มหาวิทยาธรรมศาสตร์

กีฬา กอล์ฟ (พอเล่นได้ถ้วยบ้างเท่านั้น)
[Add พ คชา's blog to your web]