ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
 
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
17 พฤษภาคม 2554

สามทศวรรษ ลักษณะไทย ตอนที่ ๙

เล่มที่ ๓ ศิลปการแสดง

ดนตรี นาฏศิลป์และการละคร
ผู้เขียน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช
อาจารย์มนตรี ตราโมท
ดร.มัทนี รัตนิน


ในทำนองเดียวกับเรื่องทัศนศิลป์ จุดมุ่งหมายของข้อเขียนเกี่ยวกับดนตรีและศิลปการแสดงในหนังสือชุดลักษณะไทยนี้ อยู่ที่การวิเคราะห์เรื่องศิลปการแสดงในฐานะที่เป็นการแสดงออกทางวัฒนธรรมของคนไทยมากกว่าจะวิเคราะห์จากด้านสุนทรียภาพอันบริสุทธิ์

ในหนังสือเล่มนี้จะบรรยายถึงลักษณะของดนตรีไทยเดิม ซึ่งมีระบบการบรรเลงที่มีลักษณะเป็นของตนเองอย่างเด่นชัด

นาฏศิลป์ไทยเดิมและศิลปการแสดงประเภทต่าง ๆ โดยสืบสาวพัฒนาการของศิลปของไทยแขนงนี้ย้อนหลังไปในอดีตเพื่อชี้ให้เห็นว่า แม้ศิลปเหล่านี้จะมีบ่อเกิดมาจากความเชื่อถือทางศาสนาสำคัญ ๆ ที่มีอิทธิพลต่อวิวัฒนาการของศิลปวัฒนธรรมของเหล่าประเทศในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์นี้เป็นอย่างมาก

แต่เช่นเดียวกับพัฒนาการของวัฒนธรรมแขนงอื่น ๆ เมื่อกาลเวลาล่วงไป คุณลักษณะพิเศษของศิลปไทยก็ปรากฏเด่นชัดขึ้นอย่างที่จะหาไม่ได้ในศิลปการแสดงของประเทศและชนชาติอื่น ๆซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากแหล่งวัฒนธรรมเดียวกัน

หนังสือเล่มนี้จะพูดถึงกระบวนการปรับปรุงให้ต้องด้วยสมัยนิยม โดยเฉพาะในเรื่องของนาฏศิลป์และการละครซึ่งดำเนินอยู่โดยไม่หยุดยั้งและช่วยให้ศิลปการแสดงแบบไทยเดิมพัฒนาต่อไปได้ โดยไม่มีการขาดตอน

เมื่อภูมิหลังทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงไป มีการนำความคิดเห็นใหม่ ๆ เข้ามา นาฏศิลป์และนาฏกรรมแบบไทยเดิมก็เริ่มเปลี่ยนบทบาทและหน้าที่จากการแสดงเพื่อความบันเทิงล้วน ๆ ของประชาชนหรือของราชสำนักซึ่งมีพิธีกรรมทางศาสนาเกี่ยวอยู่ด้วยกึ่ง ๆ มาเป็นการแสดงที่สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม

ทัศนคติของคนไทยที่มีต่อนาฏศิลป์และการละครได้เริ่มเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคใหม่ตั้งแต่อิทธิพลตะวันตกได้แพร่ขยายเข้ามาในประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งสร้างเสริมบรรยากาศที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนารูปแบบการแสดง การจัดแสดง การสร้างและการตัดตอนบท การสร้างฉากและเครื่องแต่งกายละคร และการพัฒนาดนตรีที่ประกอบนาฏศิลป์และการละครไปในแนวใหม่ในรัชสมัยต่อมา คือสมัยรัชการที่ ๕ และที่ ๖ สมัยรัชกาลที่ ๕ นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการละครสมัยใหม่ทีเดียว

และในสมัยรัชกาลที่ ๖ นั้นการละครของไทยได้รับการพัฒนาในด้านบทบาททางการเมืองและสังคมเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นแบบอย่างให้แก่การละครในสมัยหลัง คือในสมัยหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ มาจนกระทั่งปัจจุบัน





Create Date : 17 พฤษภาคม 2554
Last Update : 20 พฤษภาคม 2554 18:33:09 น. 0 comments
Counter : 496 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พ คชา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




พยงค์ คชาลัย
เกิด ๒๔๗๘ (น่าจะแก่) จ. ราชบุรี
ตกฝากเวลาพระออกบิณฑบาต(๐๖.๐๐ น.)

เจ็บ เป็นครั้งคราว(เคยหนัก แต่รอด)
ตาย ยังไม่ได้กำหนด(วัน /เวลา)
สมรส หม่าย
บุตร ๒ คน และ หลาน ๒ คน

การศึกษา
ประถมที่ รร.เทศบาล๑ หน้าวัดสัตตนาถ ปริวัตร ราชบุรี
รร.ประชาบาลไพลประชานุกูล วัดบางแคกลาง อ.อัมพวา จ,สมุทรสงคราม (หนีภัยสงครามโลกครั้งที่ ๒)

มัธยม ที่ รร.บำรุงราษฎร์และรร.เบญจมราชูทิศ หลังวัดสัตตนาถฯ จ,ราชบุรี / โรงเรียนทหารม้า(ยานเกราะ)และ
สูงสุด ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิชาการหนังสือพิมพ์ แผนกวารสารศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

การงาน
รับราชการทหาร และเป็นเจ้าหน้าที่สถานีวิทยุยานเกราะ เป็นผู้ควบคุมเสียง เป็นผู้ประกาศ เล่นละครวิทยุ ประจำกองบรรณาธิการนิตยสารยานเกราะ เขียนบทความ เขียนสารคดี เป็นบรรณาธิการผู้ช่วยนิตยสารช่อฟ้าของอภิธรรมมูลนิ ฯลฯ

เข้าทำงานธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่ปี ๒๕๑๒ เป็นเจ้าหน้าที่ตั้งแต่เป็นพนักงานอันดับหนึ่งจนถึงเจ้าหน้าที่บริหารชั้น AVP ในฝ่ายการประชาสัมพันธ์(ยุคบุกเบิก)รวมเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี(และยังช่วยทำอยู่)

มีผลงานที่น่าคุย คือ เสนอก่อตั้งศูนย์สังคีตศิลป์ ที่สร้างชื่อให้ธนาคารได้มาก และ

ร่วมประสานงานโครงการหนังสือ”ลักษณะไทย”
จนบรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรมที่สำคัญ คือ

ธนาคารจัดพิมพ์ทูนเกล้าฯถวายในวโรกาส ๘๐ พรรษามหาราช(นับจากจะพิมพ์เนื่องในวันเปิดอาคารสำนักงานใหญ่ สีลมเมื่อ ปี ๒๕๒๕)
และงานอื่น ๆอีกเยอะมาก
ทั้งยังร่วมก่อตั้งชมรมประชาสัมพันธ์ธนาคารด้วย

งานเขียน
หนังสือชื่อ ๓๖๖ อดีต พิมพ์แจกห้องสมุดประจำจังหวัด
เขียนเรื่องสั้นชื่อ”คำสั่ง”ลงในป๊อกเก็ตบุ๊ค(คงไม่มีใครได้อ่าน)
และเขียนอะไรต่อมิอะไรในหน้าที่การงานเยอะเหมือนกัน

งานพิเศษ ร่วมกับอาจารย์ประจวบ อินอ๊อด สอนวิชาประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ในคณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ หลายปี
รับเชิญบรรยายตามสถาบันการศึกษาหลายแห่งด้วย

เกียรติยศ ได้รับเหรียญกาชาดสรรเสริญชั้น ๒ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ๕ เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน มหาวิทยาธรรมศาสตร์

กีฬา กอล์ฟ (พอเล่นได้ถ้วยบ้างเท่านั้น)
[Add พ คชา's blog to your web]