ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
 
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
17 พฤษภาคม 2554

สามทศวรรษ ลักษณะไทย ตอนที่ ๖

เล่ม ๑ ภูมิหลัง

สังคมไทย ผู้เขียน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

ในบทนำนี้ ท่านผู้เขียนจะได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของชาวไทยและสังคมไทยเพื่อเป็นภูมิหลังในการเข้าใจถึงวัฒนธรรมไทย โดยเฉพาะในทางศิลปและวิถีการดำรงชีวิต โดยจะวิเคราะห์ถึงโครงสร้างของสังคมไทยและการจัดระเบียบทางการเมือง ตั้งแต่ชาวไทยได้มาตั้งหลักแหล่งที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน

ข้อเขียนนี้จะเน้นถึงความสำคัญของสถาบันที่ได้มีบทบาทควบคู่กันโดยตลอดในการเสริมสร้างลักษณะพิเศษของวัฒนธรรมไทยคือ พุทธศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์ การศึกษาเรื่องของพระพุทธศาสนาในสังคมไทย จะต้องแยกออกเป็น ๒ ระดับ คือ อิทธิพลของพุทธศาสนาในฐานะลัทธิทางศาสนาที่มีปรัชญาอันลึกซึ้ง และพุทธศาสนาตามความเข้าใจของชาวบ้านทั่วไป ทั้งพุทธปรัชญาและพุทธศาสนาแบบพื้นบ้าน ได้มีบทบาทอันสำคัญยิ่งในการหล่อหลอมปรัชญาชีวิตของชาวไทยและเป็นบ่อเกิดแห่งความบันดาลใจในการผลิตศิลปแขนงต่าง ๆ ของวัฒนธรรมไทยมาแต่อดีตจนกระทั่งปัจจุบัน

ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ผู้เขียน พิสิฐ เจริญวงศ์

ในเรื่องของความเป็นมาแต่อดีต เมื่อ ๒๐ กว่าปีมานี้(ปี ๒๕๒๕-ผู้เขียน) เมืองไทยได้ชื่อว่าเป็น ดินแดนที่ไม่มีใครรู้จัก คนในเมืองไทยเองก็รู้อดีตของประเทศตนแต่เพียงว่าเคยเป็นถิ่นที่อยู่เดิมของมอญ เขมรและละว้า ส่วนคนไทยนั้นอพยพหนีภัยสงครามจากประเทศจีนตอนใต้ เมื่อประมาณ ๗-๘๐๐ ปีมานี้เอง

ในข้อเขียนเรื่อง ชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ในหนังสือชุดนี้บรรยายถึงอดีตของชุมชนที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน ตั้งแต่ประมาณล้านกว่าปีมาจนถึงเมื่อประมาณ ๑ พันปีที่แล้วมา โดยอาศัยหลักฐานทางวัฒนธรรมซึ่งได้ทำการขุดค้นและศึกษาค้นคว้าตามหลักวิชาโบราณคดีขึ้นเป็นพิเศษในการจัดทำหนังสือชุดนี้

หลักฐานที่เสนอพร้อมภาพประกอบและแผนที่ประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ ภาพจะแสดงให้เห็นชุมชนในเมืองไทยสมัยต่าง ๆ ในแง่ของวิวัฒนาการทางเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่สังคมป่า สังคมบ้านและสังคมเมืองตอนต้น ๆ รวมทั้งแบบแผนการตั้งถิ่นฐานของคนในสิ่งแวดล้อมประเภทต่าง ๆ

ในด้านศิลปะและเทคโนโลยี ข้อเขียนภาคนี้ได้รวบรวมแบบอย่างศิลปกรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์เอาไว้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาพจิตรกรรมบนผนังถ้ำและเพิงผา พร้อมกับเปรียบเทียบกับที่พบในประเทศอื่น ๆ ทั้งใกล้และไกลเมืองไทย ส่วนทางเทคโนโลยีก็ได้ใช้แนวทางวิทยาศาสตร์อธิบายถึงประเภทของวัสดุ ที่มาและวิธีการทำของสิ่งของแต่ละอย่าง ทั้งด้วยความร่วมมือของที่ปรึกษาซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงของสถาบันต่าง ๆ ในโลกอีกด้วย

อาจารย์พิสิฐ เจริญวงศ์ มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในเรื่องสมัยก่อนประวัติศาสตร์และมีผลงานที่เป็นที่รู้จักกันดีในวงการโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากจะมีประสบการณ์ในการขุดค้นทางโบราณคดีมากมายแล้ว อาจารย์พิสิฐ ยังทำหน้าที่ผู้อำนวยการโครงการขุดค้นร่วมกับนักโบราณคดีต่างชาติที่ขอเข้ามาขุดค้น เรื่องก่อนประวัติศาสตร์ในประเทศไทยหลายคณะและยังได้เข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการระดับนานาชาติที่ยุโรป อเมริกาและอีกหลายประเทศในเอเซีย




Create Date : 17 พฤษภาคม 2554
Last Update : 20 พฤษภาคม 2554 18:30:46 น. 0 comments
Counter : 517 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พ คชา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




พยงค์ คชาลัย
เกิด ๒๔๗๘ (น่าจะแก่) จ. ราชบุรี
ตกฝากเวลาพระออกบิณฑบาต(๐๖.๐๐ น.)

เจ็บ เป็นครั้งคราว(เคยหนัก แต่รอด)
ตาย ยังไม่ได้กำหนด(วัน /เวลา)
สมรส หม่าย
บุตร ๒ คน และ หลาน ๒ คน

การศึกษา
ประถมที่ รร.เทศบาล๑ หน้าวัดสัตตนาถ ปริวัตร ราชบุรี
รร.ประชาบาลไพลประชานุกูล วัดบางแคกลาง อ.อัมพวา จ,สมุทรสงคราม (หนีภัยสงครามโลกครั้งที่ ๒)

มัธยม ที่ รร.บำรุงราษฎร์และรร.เบญจมราชูทิศ หลังวัดสัตตนาถฯ จ,ราชบุรี / โรงเรียนทหารม้า(ยานเกราะ)และ
สูงสุด ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิชาการหนังสือพิมพ์ แผนกวารสารศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

การงาน
รับราชการทหาร และเป็นเจ้าหน้าที่สถานีวิทยุยานเกราะ เป็นผู้ควบคุมเสียง เป็นผู้ประกาศ เล่นละครวิทยุ ประจำกองบรรณาธิการนิตยสารยานเกราะ เขียนบทความ เขียนสารคดี เป็นบรรณาธิการผู้ช่วยนิตยสารช่อฟ้าของอภิธรรมมูลนิ ฯลฯ

เข้าทำงานธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่ปี ๒๕๑๒ เป็นเจ้าหน้าที่ตั้งแต่เป็นพนักงานอันดับหนึ่งจนถึงเจ้าหน้าที่บริหารชั้น AVP ในฝ่ายการประชาสัมพันธ์(ยุคบุกเบิก)รวมเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี(และยังช่วยทำอยู่)

มีผลงานที่น่าคุย คือ เสนอก่อตั้งศูนย์สังคีตศิลป์ ที่สร้างชื่อให้ธนาคารได้มาก และ

ร่วมประสานงานโครงการหนังสือ”ลักษณะไทย”
จนบรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรมที่สำคัญ คือ

ธนาคารจัดพิมพ์ทูนเกล้าฯถวายในวโรกาส ๘๐ พรรษามหาราช(นับจากจะพิมพ์เนื่องในวันเปิดอาคารสำนักงานใหญ่ สีลมเมื่อ ปี ๒๕๒๕)
และงานอื่น ๆอีกเยอะมาก
ทั้งยังร่วมก่อตั้งชมรมประชาสัมพันธ์ธนาคารด้วย

งานเขียน
หนังสือชื่อ ๓๖๖ อดีต พิมพ์แจกห้องสมุดประจำจังหวัด
เขียนเรื่องสั้นชื่อ”คำสั่ง”ลงในป๊อกเก็ตบุ๊ค(คงไม่มีใครได้อ่าน)
และเขียนอะไรต่อมิอะไรในหน้าที่การงานเยอะเหมือนกัน

งานพิเศษ ร่วมกับอาจารย์ประจวบ อินอ๊อด สอนวิชาประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ในคณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ หลายปี
รับเชิญบรรยายตามสถาบันการศึกษาหลายแห่งด้วย

เกียรติยศ ได้รับเหรียญกาชาดสรรเสริญชั้น ๒ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ๕ เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน มหาวิทยาธรรมศาสตร์

กีฬา กอล์ฟ (พอเล่นได้ถ้วยบ้างเท่านั้น)
[Add พ คชา's blog to your web]