ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
 
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
17 พฤษภาคม 2554

สามทศวรรษ ลักษณะไทย ตอนที่ ๓

มัธยมบท

บ้านซอยสวนพลูของท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมช ผมอยากจะเรียกว่า อาศรม เพราะมันเหมือนมีมนต์ขลัง เมื่อแรกเข้าประตูหน้าบ้านไปก็คล้าย ๆ เข้าไปในสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ ยิ่งพอเข้าไปถึงห้องใต้ถุนเรือนไทย เห็นเจ้าสามสี เสือใบ เสือดำหมอบอยู่ด้านข้างด้านหลังท่านแล้ว ก็มีนักวิชาการที่เป็นลูกศิษย์ของท่านซึ่งล้วนเป็นผู้ทรงภูมิปัญญานั่งรายล้อมเก้าอี้ที่ท่านนั่งด้วยแล้ว ก็ดูเป็นเสน่ห์อีกแบบหนึ่งที่ผมไม่เคยเห็นที่ใดอื่นมาก่อน

ท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมช นั้น นอกจากจะเป็นที่รู้จักกันในประเทศไทยว่าเป็นพหูสูตในเรื่องวัฒนธรรมไทยแล้ว ยังถือว่าท่านก็คือตัวแทนของวัฒนธรรมไทยเลยก็ว่าได้ยิ่งเมื่อท่านหันมาจับวัฒนธรรมไทยเรื่องใดเรื่องนั้นก็ดูมีชีวิตชีวาขึ้นมาทันที อย่างเช่นท่านก่อตั้งโขนธรรมศาสตร์ขึ้นและนำออกแสดงก็เป็นที่โจษขานกันไปทั่วไทย เป็นต้น ตัวท่านเองก็ดำเนินชีวิตตามแบบไทยด้วยรสนิยมอันสูงส่ง

อาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยเป็นอาจารย์สอนวิชาเศรษฐศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสอนวิชาการธนาคารอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ในคณะศิลปศาสตร์ และเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันไทยคดีศึกษาขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก่อนที่สถาบันอื่น ๆ จะได้นำไปจัดตั้งกันทั่วไป ท่านจัดให้มีการสอนวิชาอารยธรรมไทยขึ้นที่คณะศิลปศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษาปีที่ ๑ ได้เรียนถึงภูมิหลังทางศิลปวัฒนธรรมไทยก่อนที่จะย้ายไปศึกษาวิชาอื่นตามถนัดต่อไป

ดังได้กล่าวไว้แล้วว่า เมื่อธนาคารกรุงเทพ ดำริลงมือก่อสร้างอาคารสำนักงานใหญ่ที่ถนนสีลม เวลาก็ล่วงมาถึงปี ๒๕๒๐ ซึ่งก็คาดการณ์ในตอนนั้นไว้ว่าจะเสร็จสมบูรณ์เปิดดำเนินธุรกิจได้ในราวปี พุทธศักราช ๒๕๒๕ อันเป็นปีที่กรุงเทพมหานครจะมีอายุครบรอบ ๒๐๐ ปีพอดี และผลการประสานงานบรรลุจึงได้จัดประชุมขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๒๑

วันนั้น ที่บ้าน อาจารย์ คึกฤทธิ์ ปราโมช ท่านกล่าวกับนักวิชาการทั้งหลายว่า ธนาคารกรุงเทพ โดยคุณบุญชู โรจนเสถียร(กรรมการผู้จัดการใหญ่ในขณะนั้น)ประสงค์จะทำหนังสือแจกในวันเปิดอาคารสูงที่สุดในประเทศไทย(พ.ศ.๒๕๒๕) ธนาคารจะมีงานทางวิชาการอุทิศให้แก่การศึกษาของชาติสักชิ้นหนึ่งและจัดพิมพ์เป็นอนุสรณ์ในอภิลักขิตสมัยนั้นด้วย ซึ่งก็เห็นว่าเรื่องราวและความเป็นมาของชนชาติไทยที่แสดงออกในรูปของศิลปวัตถุธรรม ขนบประเพณี ศิลปะดนตรีตลอดจนศาสนพิธีกรรมต่าง ๆ อันเป็นมรดกต่อเนื่องทางวัฒนธรรมและอารยธรรมที่ก่อประโยชน์ทั้งในทางใช้สอย การสนองอารมณ์และการอำนวยความสะดวกสบายแก่ชีวิตของคนไทยตั้งแต่เกิดจนตายนั้น ประกอบกันเป็น "ลักษณะไทย" ที่ควรแก่การศึกษา น่ารู้ น่าติดตามเป็นอย่างยิ่ง สมควรจะรวบรวมประมวลไว้เป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งของชาติได้อีกทางหนึ่ง

คณาจารย์ที่นั่งกันอยู่ ณ ที่นั้นก็รับเป็นเสียงเดียวที่จะร่วมกันสานแนวคิดของอาจารย์ให้บรรลุผล และออกจะดีใจที่ธนาคารกรุงเทพ มีความคิดริเริ่มเช่นนั้น บรรดานักวิชาการที่ไปร่วมกันที่บ้านท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมชในวันนั้นเท่าที่จำได้ ประกอบด้วยอาจารย์ ดร.นิออน สนิทวงศ์ อาจารย์แสงอรุณ รัตกสิกร ดร.สุเมธ ชุมสาย อาจารย์ โชติ กัลยาณมิตร อาจารย์นิจ หิญชีระนันทน์ อาจารย์พิสิฐ เจริญวงศ์ และ อาจารย์ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ เป็นต้นทางด้านธนาคารกรุงเทพ ก็มีคุณลาภ ณ นคร คุณพินิจ พงษ์สวัสดิ์ คุณนฤพนธ์ ดุริยพันธ์และผู้เขียน(ซึ่งต่อมามีคุณพงษ์พันธ์ หฤทัยถาวรเข้าร่วมงานอีกคนหนึ่ง)

บรรยากาศในวันนั้นออกจะสบายๆ ทุกคนพูดคุยกันออกความคิดเห็นกันอย่างอิสระ เป็นเวลานานนับเป็นชั่วโมง ๆ คุยกันกระทั่งชื่อของหนังสือ ซึ่งในตอนนั้นมีผู้เสนอชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Thailand Through Culture (มองประเทศไทยผ่านทางวัฒนธรรม)

และในท่ามกลางที่ชุมนุมวันนั้นอาจารย์แสงอรุณ ยังได้เอ่ยถามขึ้นมาดัง ๆ ว่า ได้ข่าวว่าอาจารย์(คึกฤทธิ์)จะไปเป็นรัฐบาลไม่ใช่หรือ แล้วงานนี้จะทำอย่างไร ท่านอาจารย์คึกฤทธิ์ก็ตอบด้วยอารมณ์ดีว่า ก็ดีซิ ผมจะได้ให้พวกคุณใช้เฮลิคอบเตอร์ไปสำรวจโบราณสถานทั่วประเทศได้เลย

เรื่องชื่อของหนังสือก็เหมือนกันเดิมทีคิดไว้เป็นภาษาอังกฤษ แต่ยังหาชื่อภาษาไทยเหมาะ ๆ ไม่ได้สักที คงเรียกเป็นภาษาอังกฤษเรื่อยมา ก็มีบางท่านเสนอให้เรียกว่า ประเทศไทยจากหลักฐานทางวัฒนธรรม ก็ไม่มีใครรับ

วันหนึ่งที่บ้านอาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็มีผู้ถามเรื่องชื่อขึ้น ท่านก็ตอบแบบไม่ได้คิดไว้ล่วงหน้ามาก่อนเลยว่าก็ชื่อ "ลักษณะไทย" ก็ลงตัวนับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ในที่สุดก็นำไปสู่การสรุปให้ทุกท่านไปวางแผน กำหนดประเด็นหรือเนื้อหากำหนดระยะเวลาตลอดถึงค่าใช้จ่ายทุกอย่างไปเสนอท่านในเวลาต่อมา

ทางด้านธนาคารกรุงเทพ ก็เตรียมตั้งรับและเตรียมค่าตอบแทนนักวิชาการการเบิกจ่ายและประสานงานกับคุณทำเนียบ(ทอม) เชื้อวิวัฒน์ ซึ่งเป็นช่างภาพอิสระ ที่เป็นที่ยอมรับในฝีมือของไทยในยุคนั้น เป็นผู้ถ่ายภาพทั้งหมดตามโครงการ (ขอบอกคร่าว ๆ ไว้ตรงนี้ว่า ค่าดำเนินการครั้งนี้เกือบ ๑๐ ล้านบาท ค่าถ่าย ค่าล้างอัดภาพ อีก ๑ ล้านบาทเศษ )

สุดท้ายก็เริ่มสร้างผลงานทางวิชาการต่อไป





Create Date : 17 พฤษภาคม 2554
Last Update : 20 พฤษภาคม 2554 18:29:31 น. 0 comments
Counter : 489 Pageviews.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

พ คชา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




พยงค์ คชาลัย
เกิด ๒๔๗๘ (น่าจะแก่) จ. ราชบุรี
ตกฝากเวลาพระออกบิณฑบาต(๐๖.๐๐ น.)

เจ็บ เป็นครั้งคราว(เคยหนัก แต่รอด)
ตาย ยังไม่ได้กำหนด(วัน /เวลา)
สมรส หม่าย
บุตร ๒ คน และ หลาน ๒ คน

การศึกษา
ประถมที่ รร.เทศบาล๑ หน้าวัดสัตตนาถ ปริวัตร ราชบุรี
รร.ประชาบาลไพลประชานุกูล วัดบางแคกลาง อ.อัมพวา จ,สมุทรสงคราม (หนีภัยสงครามโลกครั้งที่ ๒)

มัธยม ที่ รร.บำรุงราษฎร์และรร.เบญจมราชูทิศ หลังวัดสัตตนาถฯ จ,ราชบุรี / โรงเรียนทหารม้า(ยานเกราะ)และ
สูงสุด ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิชาการหนังสือพิมพ์ แผนกวารสารศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

การงาน
รับราชการทหาร และเป็นเจ้าหน้าที่สถานีวิทยุยานเกราะ เป็นผู้ควบคุมเสียง เป็นผู้ประกาศ เล่นละครวิทยุ ประจำกองบรรณาธิการนิตยสารยานเกราะ เขียนบทความ เขียนสารคดี เป็นบรรณาธิการผู้ช่วยนิตยสารช่อฟ้าของอภิธรรมมูลนิ ฯลฯ

เข้าทำงานธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่ปี ๒๕๑๒ เป็นเจ้าหน้าที่ตั้งแต่เป็นพนักงานอันดับหนึ่งจนถึงเจ้าหน้าที่บริหารชั้น AVP ในฝ่ายการประชาสัมพันธ์(ยุคบุกเบิก)รวมเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี(และยังช่วยทำอยู่)

มีผลงานที่น่าคุย คือ เสนอก่อตั้งศูนย์สังคีตศิลป์ ที่สร้างชื่อให้ธนาคารได้มาก และ

ร่วมประสานงานโครงการหนังสือ”ลักษณะไทย”
จนบรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรมที่สำคัญ คือ

ธนาคารจัดพิมพ์ทูนเกล้าฯถวายในวโรกาส ๘๐ พรรษามหาราช(นับจากจะพิมพ์เนื่องในวันเปิดอาคารสำนักงานใหญ่ สีลมเมื่อ ปี ๒๕๒๕)
และงานอื่น ๆอีกเยอะมาก
ทั้งยังร่วมก่อตั้งชมรมประชาสัมพันธ์ธนาคารด้วย

งานเขียน
หนังสือชื่อ ๓๖๖ อดีต พิมพ์แจกห้องสมุดประจำจังหวัด
เขียนเรื่องสั้นชื่อ”คำสั่ง”ลงในป๊อกเก็ตบุ๊ค(คงไม่มีใครได้อ่าน)
และเขียนอะไรต่อมิอะไรในหน้าที่การงานเยอะเหมือนกัน

งานพิเศษ ร่วมกับอาจารย์ประจวบ อินอ๊อด สอนวิชาประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ในคณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ หลายปี
รับเชิญบรรยายตามสถาบันการศึกษาหลายแห่งด้วย

เกียรติยศ ได้รับเหรียญกาชาดสรรเสริญชั้น ๒ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ๕ เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน มหาวิทยาธรรมศาสตร์

กีฬา กอล์ฟ (พอเล่นได้ถ้วยบ้างเท่านั้น)
[Add พ คชา's blog to your web]