ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
 
พฤษภาคม 2554
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
17 พฤษภาคม 2554

สามทศวรรษ ลักษณะไทย ตอนที่ ๑๒

ปัจฉิมบท

เมื่อไม่นานมานี้(ก็เป็นปี)คุณอัจฉรา คำเมือง ผู้อุตสาหะ ซึ่งได้ใช้ความสามารถและความวิริยะอันประเสริฐติดตามและประสานงานกับท่านอาจารย์ ดร.คุณนิออน สนิทวงศ์ อย่างใกล้ชิด ก็ปลุกปล้ำต้นฉบับ ฉบับที่ ๒ และที่ ๔ เป็นผลสำเร็จ เหลือเพียงแค่จัดพิมพ์ออกจำหน่ายตามนโยบาย แต่จากผลกระทบทางเศรษฐกิจผันผวนเมื่อ ๔-๕ ปีที่ผ่านมา สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิชก็ประสบภาวการณ์ณ์เช่นเดียวกับธุรกิจอื่น ๆ เช่นกัน ซ้ำร้ายไปกว่านั้นสำนักพิมพ์ยังต้องประสบอัคคีภัยอย่างใหญ่หลวง ทำให้คุณธีระ ต.สุวรรณ ต้องตัดใจขอยกเลิกการจัดพิมพ์ เพราะจำต้องเปลี่ยนสถานภาพของตนเองเป็นผู้รับจ้างเท่านั้น และยินดีที่จะมอบต้นฉบับที่เสร็จเป็นอาร์ตเวอร์คเรียบร้อยแล้ว ให้แก่ผู้ประสงค์จะพิมพ์ตามโครงการของธนาคารกรุงเทพ

ธนาคารกรุงเทพเองก็อยู่ในฐานะลำบากเช่นกัน ผ่านผู้บริหารมาหลายต่อหลายยุคเต็มที
ความผูกพันหรือความเข้าใจรายละเอียดในเอกสารหรือตำราชุดนี้ก็ดูยิ่งห่างไกลออกไปทุกที

มีข้อน่าสังเกตในช่วงนี้ที่อยากจะบอกเล่าไว้ด้วยก็คือ คุณลาภ ณ นคร อดีตผู้จัดการฝ่ายการประชาสัมพันธ์ ธนาคารกรุงเทพ ผู้เริ่มโครงการนี้มาตั้งแต่แรกครั้ง ท่านอาจารย์ขจร สุขพานิช เมื่อปลายปี ๒๕๑๘ และเกษียณอายุงานจากธนาคารไปหลายปี ก็ถึงแก่กรรมลงไปอีกคน

ผมเองต้องถอยห่างออกไปบ้างเพราะหมดภาระหน้าที่ในธนาคาร แม้จะได้รับการว่าจ้างให้ทำงานต่อมาอีกหลายปี จนหนังสือ "ลักษณะไทย" ลุล่วงไปตามเป้าหมายแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่อยู่ในฐานะที่จะไปผลักดันให้หนังสือเล่มที่ ๒ และเล่มที่ ๔ นี้ได้รับการตีพิมพ์เป็นรูปเล่มได้ครบชุด(๔ เล่ม)ได้อย่างไร

เมื่อเร็ว ๆ นี้(เดือนพฤษภาคม ๒๕๔๘)ผมได้มีโอกาสได้พบคุณอัจฉรา คำเมือง ผู้ที่สืบทอดงานนี้อีกครั้งหนึ่ง ไต่ถามได้ความเป็นที่น่ายินดีว่าหนังสือเล่ม ๒ ทัศนศิลป์สำนักพิมพ์ River Book รับไปดำเนินการ และเล่มที่ ๔ ได้รับความเอื้อเฟื้อจากสมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยลูกศิษย์ของ อาจารย์แสงอรุณ รัตกสิกร และ อาจารย์นิจ หิญชีรนันทน์ รับเป็นผู้จัดพิมพ์ให้

แม้จะผิดแผกไปจากความมุ่งหมายเดิมไปบ้างก็ยังดีที่ได้พิมพ์ ซึ่งคงต้องรอต่อไปล่าสุดก็ได้ทราบมาว่าหนังสือ "ลักษณะไทย" ทั้งชุด จะได้รับการตีพิมพ์พร้อมกันทั้ง ๔ เล่ม เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา

ถ้านับเวลานับแต่เริ่มแรกคิดอ่านกันมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ รวมถึงเวลานี้ก็ครบ ๓๐ ปี จึงนับเป็นหนังสือที่รวมนักวิชาการระดับปรมาจารย์ของประเทศไทยไว้ได้มากที่สุด ต้นฉบับที่ยาวมากที่สุด ค่าใช้จ่ายในการเตรียมต้นฉบับแพงที่สุด ใช้เวลาในการจัดพิมพ์นานที่สุด ถ้านับรวมอีก ๒ เล่มที่ยังไม่ได้พิมพ์ก็จะยิ่งนานไปใหญ่ และขอบอกด้วยว่าต้นฉบับที่เป็นอาร์ตเวอร์คแล้วนี้ เป็นหนังสือที่มีคุณค่ามากที่สุด

ที่ผมเขียนเรื่องราวของหนังสือ ลักษณะไทยและนำเอาแนวทางดำเนินงานของแต่ละยุคแต่ละท่าน มาลงไว้อย่างครบถ้วน ก็เพื่อท่านผู้อ่านได้ใช้ศึกษาเปรียบเทียบ ที่สำคัญก็เพราะเหลือผมอีกเพียงคนเดียวในธนาคารที่รู้เรื่องราวมาแต่ต้น ถ้าไม่บันทึกไว้ก็จะไม่มีใครรู้ว่า ในบรรณพิภพบ้านเรา มีหนังสือดีที่ได้รับการตีพิมพ์ขึ้นแล้ว โดยธนาคารกรุงเทพ ซึ่งจะได้ชื่อว่าธนาคารทำงานใหญ่หลวงเพื่อชาติและเป็นการทำให้กับ ๒ ผู้ริเริ่มคือ ท่านศาสตราจารย์ พลตรีหม่อมราชวงศ์ คึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรีและนักปราชญ์ไทย ผู้วายชนม์ไปแล้วเมื่อวันที่ ๙ ตุลาคม ๒๕๓๘ และคุณ บุญชู โรจนเถียร อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้สร้างตำนานหนังสือดี ที่ต้องมาถึงอนิจกรรมไปเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๐ อีกโสตหนึ่งด้วย

มเหยงค์
๓๐ มิ.ย.๔๙

หมายเหตุ
ภายหลัง ได้มีการปรับเอาทัศนศิลป์ ซึ่งเป็นภาค ๒ ของ ดร.พิริยะ ไกรฤกษ์ มาเป็นภาคแรก เพื่อให้เหมาะสมกับการจัดพิมพ์ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาส ๘๐ พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว




 

Create Date : 17 พฤษภาคม 2554
0 comments
Last Update : 24 พฤษภาคม 2554 2:36:31 น.
Counter : 724 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


พ คชา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




พยงค์ คชาลัย
เกิด ๒๔๗๘ (น่าจะแก่) จ. ราชบุรี
ตกฝากเวลาพระออกบิณฑบาต(๐๖.๐๐ น.)

เจ็บ เป็นครั้งคราว(เคยหนัก แต่รอด)
ตาย ยังไม่ได้กำหนด(วัน /เวลา)
สมรส หม่าย
บุตร ๒ คน และ หลาน ๒ คน

การศึกษา
ประถมที่ รร.เทศบาล๑ หน้าวัดสัตตนาถ ปริวัตร ราชบุรี
รร.ประชาบาลไพลประชานุกูล วัดบางแคกลาง อ.อัมพวา จ,สมุทรสงคราม (หนีภัยสงครามโลกครั้งที่ ๒)

มัธยม ที่ รร.บำรุงราษฎร์และรร.เบญจมราชูทิศ หลังวัดสัตตนาถฯ จ,ราชบุรี / โรงเรียนทหารม้า(ยานเกราะ)และ
สูงสุด ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิชาการหนังสือพิมพ์ แผนกวารสารศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

การงาน
รับราชการทหาร และเป็นเจ้าหน้าที่สถานีวิทยุยานเกราะ เป็นผู้ควบคุมเสียง เป็นผู้ประกาศ เล่นละครวิทยุ ประจำกองบรรณาธิการนิตยสารยานเกราะ เขียนบทความ เขียนสารคดี เป็นบรรณาธิการผู้ช่วยนิตยสารช่อฟ้าของอภิธรรมมูลนิ ฯลฯ

เข้าทำงานธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่ปี ๒๕๑๒ เป็นเจ้าหน้าที่ตั้งแต่เป็นพนักงานอันดับหนึ่งจนถึงเจ้าหน้าที่บริหารชั้น AVP ในฝ่ายการประชาสัมพันธ์(ยุคบุกเบิก)รวมเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี(และยังช่วยทำอยู่)

มีผลงานที่น่าคุย คือ เสนอก่อตั้งศูนย์สังคีตศิลป์ ที่สร้างชื่อให้ธนาคารได้มาก และ

ร่วมประสานงานโครงการหนังสือ”ลักษณะไทย”
จนบรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรมที่สำคัญ คือ

ธนาคารจัดพิมพ์ทูนเกล้าฯถวายในวโรกาส ๘๐ พรรษามหาราช(นับจากจะพิมพ์เนื่องในวันเปิดอาคารสำนักงานใหญ่ สีลมเมื่อ ปี ๒๕๒๕)
และงานอื่น ๆอีกเยอะมาก
ทั้งยังร่วมก่อตั้งชมรมประชาสัมพันธ์ธนาคารด้วย

งานเขียน
หนังสือชื่อ ๓๖๖ อดีต พิมพ์แจกห้องสมุดประจำจังหวัด
เขียนเรื่องสั้นชื่อ”คำสั่ง”ลงในป๊อกเก็ตบุ๊ค(คงไม่มีใครได้อ่าน)
และเขียนอะไรต่อมิอะไรในหน้าที่การงานเยอะเหมือนกัน

งานพิเศษ ร่วมกับอาจารย์ประจวบ อินอ๊อด สอนวิชาประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ในคณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ หลายปี
รับเชิญบรรยายตามสถาบันการศึกษาหลายแห่งด้วย

เกียรติยศ ได้รับเหรียญกาชาดสรรเสริญชั้น ๒ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ๕ เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน มหาวิทยาธรรมศาสตร์

กีฬา กอล์ฟ (พอเล่นได้ถ้วยบ้างเท่านั้น)
[Add พ คชา's blog to your web]