ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย
<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
21 สิงหาคม 2554

เพลงชื่อเขมร

เพลงชื่อเขมร

ผมชอบฟังเพลงไทย ไทยสากลและไทยลูกทุ่ง โดยเฉพาะเพลงของครูเอิ้อ สุนทรสนาน (ที่พึ่งจัดงานครบ ๑๐๐ ปีไปแล้วนั้น) ท่านใช้เพลงไทยเดิมมาปรับให้เป็นเพลงเฉพาะที่อยากเรียกไปเลยว่าเพลงสุนทราภรณ์ ถ้าเกิดมีเพลงแบบนี้อีกก็ให้เรียกว่าเพลงไทยสุนทราภรณ์ ไม่รู้นะว่าใครจะคิดยังไง แต่ที่ผมมีความเป็นห่วง(ห่วงเฉย ๆ)ว่าเพลงไทยเดิมนั้นที่มีชื่อที่ขึ้นต้นว่าเขมรเยอะเกือบถึง ๒๐ เพลง ซึ่งผมค้นมาได้ดังนี้ คือเพลงเขมรไทรโยค เขมรโพธิสัตย์(เถา)เขมรละออองค์ เขมรชนบท(เถา) เขมรทรงดำเนิน เขมรใหญ่(เถา)เขมรน้อย(เถา)เขมรเหลือง(เถา) เขมรปากท่อ(เถา)เขมรเอวบาง(เถา)เขมรปี่แก้ว(สามชั้น) เขมรพวง(เถา)เขมรเลียบนคร(เถา)เขมรพายเรือ(เถา)หรือเขมรอมตึ๊กก็เรียก เขมรภูมิประสาท(เถา)เขมรสุดใจ(เถา)

ผมติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเขมรกับไทยมาตลอด นับตั้งแต่ศาลโลกตัดสินให้เขาพระวิหารเป็นของเขมร แล้วเขายังจะเอาปราสาทอีกหลายแห่งไปเป็นของเขา เช่นปราสาทเขาพนมรุ้ง เป็นต้นส่วนปราสาทตาเมืองทมน่ะเพื่อนส่งทหารมาป้วนเปี้ยนแถวนั้นหลายปีแล้ว (ทหารไทยเราก็ต้องเตรียมรบให้พร้อมสรรพ)เขาจะนำไปขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และเป็นของเขาอีกด้วยย่อยเสียเมื่อไหร่ล่ะ เผลอๆอาจเอาปราสาทหินพิมายอีกต่างหาก

เมื่อเร็ว ๆ นี้พี่แกแอบไปจดทะเบียนการรำไทยนี้เป็นของเขมรไปแล้วด้วย ข้อจริงข้อเท็จเป็นอย่างไรฝากกระทรวงวัฒนธรรมยุคใหม่ติดตามหาความถูกต้องว่าใช่หรือไม่ใช่ต่อไป ส่วนผมยังไม่ได้ข่าวว่าเขมรจะยึดเพลงไทยเดิมไปเป็นของเขา แต่ประมาทไม่ได้นะพระคุณท่านที่เคารพ ผมจึงเสนอให้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องรับไปจดแจ้งกับยูเนสโก้ไว้ก่อนแล้วเปลี่ยนชื่อเพลงทั้งหมดให้เป็นของไทย โดยให้ชื่อเพลงทั้งหมดขึ้นต้นว่าสยาม ทั้งหมด เช่น เพลงเขมรไทรโยค ก็ให้ชื่อว่าสยามไทรโยค สยามละออองค์ ฯลฯมีเพลงนึงที่ไม่ต้องเปลี่ยนคือเพลงเขมรไล่ควาย แต่ให้เรียกใหม่ว่า เพลงควายไล่เขมร แทน

เรื่องนี้ไม่ต้องการให้ใครเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย แต่ถ้าเกิดเป็นไปได้ขึ้นมา ผมจะทำบุญเลี้ยงพระ ๓ รูปเพื่อไถ่บาปให้ท่านผู้แต่งเพลงทั้งหมดครับ

มเหยงค์




 

Create Date : 21 สิงหาคม 2554
1 comments
Last Update : 21 สิงหาคม 2554 3:03:50 น.
Counter : 1632 Pageviews.

 

แกนี่เพี้ยนว่ะ

 

โดย: ออออ IP: 115.67.130.233 6 เมษายน 2556 23:24:31 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


พ คชา
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




พยงค์ คชาลัย
เกิด ๒๔๗๘ (น่าจะแก่) จ. ราชบุรี
ตกฝากเวลาพระออกบิณฑบาต(๐๖.๐๐ น.)

เจ็บ เป็นครั้งคราว(เคยหนัก แต่รอด)
ตาย ยังไม่ได้กำหนด(วัน /เวลา)
สมรส หม่าย
บุตร ๒ คน และ หลาน ๒ คน

การศึกษา
ประถมที่ รร.เทศบาล๑ หน้าวัดสัตตนาถ ปริวัตร ราชบุรี
รร.ประชาบาลไพลประชานุกูล วัดบางแคกลาง อ.อัมพวา จ,สมุทรสงคราม (หนีภัยสงครามโลกครั้งที่ ๒)

มัธยม ที่ รร.บำรุงราษฎร์และรร.เบญจมราชูทิศ หลังวัดสัตตนาถฯ จ,ราชบุรี / โรงเรียนทหารม้า(ยานเกราะ)และ
สูงสุด ที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิชาการหนังสือพิมพ์ แผนกวารสารศาสตร์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

การงาน
รับราชการทหาร และเป็นเจ้าหน้าที่สถานีวิทยุยานเกราะ เป็นผู้ควบคุมเสียง เป็นผู้ประกาศ เล่นละครวิทยุ ประจำกองบรรณาธิการนิตยสารยานเกราะ เขียนบทความ เขียนสารคดี เป็นบรรณาธิการผู้ช่วยนิตยสารช่อฟ้าของอภิธรรมมูลนิ ฯลฯ

เข้าทำงานธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่ปี ๒๕๑๒ เป็นเจ้าหน้าที่ตั้งแต่เป็นพนักงานอันดับหนึ่งจนถึงเจ้าหน้าที่บริหารชั้น AVP ในฝ่ายการประชาสัมพันธ์(ยุคบุกเบิก)รวมเป็นเวลากว่า ๓๐ ปี(และยังช่วยทำอยู่)

มีผลงานที่น่าคุย คือ เสนอก่อตั้งศูนย์สังคีตศิลป์ ที่สร้างชื่อให้ธนาคารได้มาก และ

ร่วมประสานงานโครงการหนังสือ”ลักษณะไทย”
จนบรรลุผลสำเร็จเป็นรูปธรรมที่สำคัญ คือ

ธนาคารจัดพิมพ์ทูนเกล้าฯถวายในวโรกาส ๘๐ พรรษามหาราช(นับจากจะพิมพ์เนื่องในวันเปิดอาคารสำนักงานใหญ่ สีลมเมื่อ ปี ๒๕๒๕)
และงานอื่น ๆอีกเยอะมาก
ทั้งยังร่วมก่อตั้งชมรมประชาสัมพันธ์ธนาคารด้วย

งานเขียน
หนังสือชื่อ ๓๖๖ อดีต พิมพ์แจกห้องสมุดประจำจังหวัด
เขียนเรื่องสั้นชื่อ”คำสั่ง”ลงในป๊อกเก็ตบุ๊ค(คงไม่มีใครได้อ่าน)
และเขียนอะไรต่อมิอะไรในหน้าที่การงานเยอะเหมือนกัน

งานพิเศษ ร่วมกับอาจารย์ประจวบ อินอ๊อด สอนวิชาประชาสัมพันธ์ธุรกิจ ในคณะนิเทศศาสตร์ ม.กรุงเทพ หลายปี
รับเชิญบรรยายตามสถาบันการศึกษาหลายแห่งด้วย

เกียรติยศ ได้รับเหรียญกาชาดสรรเสริญชั้น ๒ และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น ๕ เบญจมาภรณ์มงกุฏไทย
เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิคณะวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน มหาวิทยาธรรมศาสตร์

กีฬา กอล์ฟ (พอเล่นได้ถ้วยบ้างเท่านั้น)
[Add พ คชา's blog to your web]