Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
พฤศจิกายน 2567
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
14 พฤศจิกายน 2567

สวนแต้จิ๋ว : นกจับแมลงหัวเทา



นกจับแมลงที่ผ่านตาใน facebook น่าจะมีอยู่ราวเสิบกว่าชนิด
และสถานที่ที่มีคนพบหลากหลายชนิดที่สุดน่าจะเป็นที่นี่ สวนแต้จิ๋ว
 
เหตุผลที่ผมคิดได้ คือที่นี่ไม่ได้เป็นสวนสาธารณะ
ที่มีการตัดแต่งต้นไม้ให้สวยงามแบบสวนสาธารณะอื่นๆ
ที่นี่จะรกๆ มีต้นไม้ธรรมชาติที่นกสามารถหากินได้
แต่ก็แลกมากับการถ่ายภาพที่ยาก โฟกัสชอบติดมาแต่ใบไม้
 

นกจับแมลงหัวเทา (grey-head canary-flycatcher)
เป็นนกที่มีขนาดเล็กมาก ขนาดของตัวอยู่ที่ 12 เซนติเมตร
มีหัวและอกสีเทามีหงอนสั้น ๆ บริเวณท้ายทอย หลังและปีกสีเหลือง
ท้องสีเหลือง หางสีเหลือง แข้งและตีนสีเหลืองส้ม

ตัวผู้และตัวเมียไม่มีความแตกต่างกัน
สามารถพบได้ตามสวนสาธารณะโดยจะบินโฉบจับแมลง 
นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมหากินรวมกลุ่มกับนกชนิดอื่นบิน 
ในกรุงเทพมีสถานะ นกอพยพผ่าน พบบ่อย 

เป็นนกจับแมลงชนิดที่ 3 ที่ผมถ่ายภาพได้
แม้มันจะมีพฤติกรรมที่ทำให้คนตั้งชื่อมันว่า นกจับแมลง
แต่ในทางพันธุกรรม กลับพบว่ามันไม่เกี่ยวข้องกับนกจับแมลงเลย


นกจับแมลงหัวเทาอยู่ในวงศ์  Stenostiridae ซึ่งเป็น clade ที่ตั้งขึ้นใหม่
 โดยแยกสกุล 
Culicicapa ออกมาจาก
นกจับแมลงโลกเก่าวงศ์ Muscicapidae
โดยนำนกอีแพรดท้องเหลือง (Yellow-bellied Fairy-fantail)
ซึ่งก็พบในประเทศไทย บริเวณดอยอินทนนท์มารวมอยู่ในวงศ์นี้ด้วย



มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Culicicapa ceylonensis
ในภาษาละติน culicis แปลว่า ริ้น และ capere แปลว่า จับ
รวมกันแล้วหมายถึง นกจับริ้น เพราะนกชนิดนี้ชอบบิน
ออกไปโฉบจับแมลงตัวเล็กๆ ที่บินผ่านไปมา เช่น ริ้น เป็นต้น
โดยพบครั้งแรกที่ศรีลังกา จึงได้ชื่อชนิดว่า ceylonensis


นกจับแมลงหัวเทามี 5 ชนิดย่อย กระจายตัวตั้งแต่ปากีสถาน อินเดีย
ศรีลังกา อินโดจีนรวมถึงจีนตอนใต้ คาบสมุทรมาเลย์ ไปจนถึงอินโดนีเซีย
ในประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อย คือ


นกจับแมลงหัวเทาพันธุ์หนือ (C. c. calochrysea)
เป็นนกประจำถิ่นสามารถพบได้ในภาคเหนือ
และภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านตะวันตกเฉียงเหนือของไทย
ส่วนนกที่อาศัยอยู่ในจีนตอนใต้ ในช่วงฤดูหนาวจะอพยพมาที่
ภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก


นกจับแมลงหัวเทาพันธุ์ใต้ (C. c. antioxantha) ชนิดนี้มีหัว
และอกสีเทาคล้ำกว่า ลำตัวส่วนบนสีเขียวมะกอกหม่นกว่า
และลำตัวส่วนล่างสีเหลืองอ่อนกว่า
เป็นนกประจำถิ่นพบในภาคตะวันตก และภาคใต้ทุกจังหวัด ยกเว้นปัตตานี

นกจับแมลงหัวเทา มีเพื่อนร่วมสกุลอีกเพียง 1 ชนิดเท่านั้นคือ 

Citrine canary-flycatcher (Culicicapa helianthea)
ซึ่งนกชนิดนี้คล้ายกันแต่จะมีสีเหลืองทั้งตัว
พบเฉพาะที่ฟิลิปปินส์และเกาะสุลาเวสีของอินโดนีเซียเท่านั้น



Create Date : 14 พฤศจิกายน 2567
Last Update : 6 ธันวาคม 2567 12:28:34 น. 3 comments
Counter : 282 Pageviews.  

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณหอมกร, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณSweet_pills, คุณnewyorknurse, คุณอุ้มสี


 
ช่วงนี้กำลังอพยบหนีหนาวมาจ้า



โดย: หอมกร วันที่: 14 พฤศจิกายน 2567 เวลา:10:12:40 น.  

 
นกจับแมลงฯตัวเล็กๆ น่ารักมากค่ะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 16 พฤศจิกายน 2567 เวลา:0:52:11 น.  

 
มาส่องนกด้วยคนค่ะ


โดย: อุ้มสี วันที่: 20 พฤศจิกายน 2567 เวลา:4:35:20 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 23 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]