|
 |
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | |
|
|
 |
10 มิถุนายน 2567
|
|
|
|
มุมลับ : วัดหลักสี่ราษฏร์สโมสร
กลับมาอีกครั้งหลังจากห่างหายไปนานในหัวข้อ มุมลับ ที่เมื่อเราเห็นภาพบางภาพแล้วเกิดอาการ stunning ว่ารูปที่เห็นนั้นมันถ่ายมาจากมุมไหน บางครั้งก็มีคนใจดีที่มาเฉลยให้ มุมถ่ายรูปแบบนี้ในไทย ก็มีด้วยหรือ ?
ได้มุมนี้มาเมื่อนานแสนนาน กว่าจะได้เดินทางมาถึง เพราะข้อจำกัดของการถ่ายภาพนี้คือต้องมีเลนส์ wide angle ซึ่งเราตัดสินใจหลังจากไปวัดนี้ แล้วไม่มีที่ให้ถอยอีกแล้ว Canon RF 16 mm F2.8 คือเลนส์มุมกว้างที่สามารถจับต้องได้
หลวงพ่อโตมหายานถูกสร้างให้ดูใหญ่โตด้วยการล้อมของภูเขาจำลอง ด้วยตาเปล่าเราจะเห็นองค์พระจริงที่ไม่ได้มีขนาดใหญ่เท่าไหร่ แต่ด้วยการใช้เลนส์ไวด์จะช่วยสร้างมุมมองที่สามารถหลอกตา ด้วยการผลักของที่อยู่ใกล้ให้ดูไกลออกไป ทำให้ของนั้นใหญ่เกินจริง
ไปวัดนี้ก็ต้องไปไหว้หลวงพ่อโต ที่เป็นหนึ่งใน bucket list ว่าวันหนึ่งต้องมาถ่ายภาพประเพณีการแห่พระทางน้ำให้ได้ ไปอ่านประวัติของพระพุทธรูปองค์นี้ที่ wiki มา แต่ว่าเรามีข้อสังเกตบางอย่าง ที่อยากจะกล่าวถึง
 วัดสร้างราว พ.ศ. 2480 ซึ่งสัมพันธ์กับคำต่อท้ายว่า ราษฏร์สโมสร เพราะก่อนหน้า พ.ศ. 2475 ไม่เคยมีวัดที่มีการต่อท้ายชื่อแบบนี้ ที่แสดงให้ว่า การสร้างหรือทำนุบำรุงรักษาศาสนสถานนั้น เป็นกิจกรรมที่คนธรรมดาสามัญสามารถร่วมกันทำได้ ประการที่สอง คือพุทธลักษณะของหลวงพ่อโต เคยมีรายการทีวีรายการหนึ่ง ไปถ่ายทำเรื่องหลวงพ่อสำเร็จ พระพุทธรูปชื่อดังของ จ. สระบุรี เห็นแล้วเราก็เอ๊ะว่า คุ้นๆ จัง จนกระทั่งไป post ตั้งคำถามในกลุ่มเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ว่าทำไมถึงคุ้นตากับพระพุทธรูปองค์นี้จัง ก็มีคนมาตอบว่าน่าจะเพราะคล้ายกับหลวงพ่อโตวัดหลักสี่ ถึงนาทีนี้ผมมองว่า หลวงพ่อสำเร็จนั้นคล้ายกับพระบัวเข็ม ที่เป็นศิลปะแบบพม่า ซึ่งเราจะตัดเรื่องหลวงพ่อสำเร็จไปก่อน
กลับมาที่หลวงพ่อโตที่มีประวัติว่า ก่อนที่จะย้ายมาวัดหลักสี่ เดิมอัญเชิญมาจากวัดร้างมาอยู่ที่วัดดอนมะโนรา อ. บางคนที ซึ่งอยู่ไม่ไกลจาก จ. ราชบุรี

พระพุทธรูปแบบพม่าสามารถถ่ายเทไปยังคนล้านนาได้ พระพุทธรูปอาจเดินทางได้ไม่ไกล แต่คนสามารถถ่ายแทลงมาได้ ทำให้นึกถึงพระพุทธรูปที่สานจากไม้ไผ่ ซึ่งมีต้นกำเนิดจากพม่า ปัจจุบันยังเหลือร่องรอยเรื่องนี้อยู่ในสถานที่แห่งหนึ่งใน จ. ราชบุรี
เกาะศาลพระซึ่งมีประวัติบันทึกว่าเพี้ยนมาจากตาสานพระ เรื่องราวของผู้คนที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่ราชบุรีเมื่อ 200 ปีก่อน เหตุการณ์ที่น่าจะใกล้เคียง คือการตีเมืองเชียงแสนเมื่อ พ.ศ. 2347 แล้วแบ่งครัวออกมาเป็น 5 ส่วน ส่วนหนึ่งส่งลงมาที่กรุงเทพฯ
โปรดฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนที่สระบุรีบ้าง ราชบุรีบ้าง นี่เป็นข้อสังเกตุประการหนึ่งถึงความเป็นได้ของการสร้างพระพุทธรูปนี้ หรืออีกความเป็นไปได้หนึ่ง ก็คือสร้างโดยชาวมอญในแถบนี้ ที่ได้รับอิทธิพลโดยตรงมาจากพม่าก็เป็นไปได้
ประการสุดท้ายคือชื่อวัดว่าหลักสี่ เราคงคุ้นเคยกันดี กับชื่อเขตหลักสี่ที่กรุงเทพ ซึ่งอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องหลักสี่ อยากจะให้ไปดูรายการพินิจนคร ที่สามารถบอกเล่าเรื่องราวนี้ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
และทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องราวเพียงคร่าวๆ ที่เราอยากจะเล่าให้ทุกคนฟัง
Create Date : 10 มิถุนายน 2567 |
|
3 comments |
Last Update : 11 มิถุนายน 2567 22:36:33 น. |
Counter : 730 Pageviews. |
 |
|
|
| |
โดย: ทนายอ้วน 10 มิถุนายน 2567 19:19:39 น. |
|
|
|
| |
โดย: หอมกร 11 มิถุนายน 2567 6:44:19 น. |
|
|
|
| |
|
 |
ผู้ชายในสายลมหนาว |
|
 |
|
|