Apple has lost a visionary and creative genius, and the world has lost an amazing human being.

But his spirit will forever be the foundation of Apple. 6 October 2011

<<
กันยายน 2567
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
23 กันยายน 2567

ศูนย์วิจัยข้าว ปทุมธานี : นกช้อนหอยดำเหลือบ



ในช่วงหน้าฝน นกอพยพไม่มี คนดูนกส่วนหนึ่งก็จะไปที่ ศวขป
ซึ่งเป็นที่ชื่อย่อของ ศูนย์วิจัยข้าว ปทุมธานี  เพื่อไปดูนกน้ำ
โดยเฉพาะนกที่ไม่ค่อยพบในที่อื่นอย่าง
นกโป่งวิด
เป็นนกที่ผมก็อยากจะได้บ้าง ก็ลองไปหาดูกัน
 
เช้าวันหนึ่งเราก็ออกเดินทาง ไปยังสถานที่แห่งนี้ มีนักดูนกไม่มาก
ต่างกระจัดกระจายกันไป เพราะเป็นสถานที่วิจัย
ดังนั้นก็จะมีการจัดการพื้นที่แตกต่างกันไปในแต่ละแปลง
แน่นอนว่า เราหานกหายากไม่ค่อยจะเจอกับเค้า
 
 นกที่ดีที่สุดที่พบในวันนี้คือ
นกช้อนหอยดำเหลือบ (Glossy ibis)
 
หากย้อนกลับไปเมื่อยี่สิบปีก่อน เมื่อพูดถึงนกช้อนหอยในประเทศไทย
ก็จะพูดว่ามีเพียงชนิดเดียวคือ
นกช้อนหอยขาว (Black-headed ibis)
ที่พบได้อย่างยากลำบาก แถวอ่างเก็บน้ำตามแนวชายแดนอีสานใต้
นั่นเพราะแหล่งทำรังในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งสุดท้ายนั้นอยู่ในกัมพูชา

เช่นเดียวกับนกช้อนหอยอีก 2 ชนิด ที่คาดว่าเคยมีถื่นอาศัยในประเทศไทย
และหายสาปสูญไปเมื่อนานมาแล้วนั่นก็คือ นั่นก็คือ
นกช้อนหอยใหญ่ (Giant Ibis)
และ
นกช้อนหอยดำ (White-Shouldered ibis) ที่ยังสามารถพบเห็นได้ที่เขตอนุรักษ์เสียมปัง
ซึ่งเป็นแหล่งสุดท้ายของนกและสัตว์หายากอย่าง นกแร้ง นกฟินฟุต กระทั่งจระเข้สยาม 
ในพื้นที่ป่าสามเหลี่ยมรอยต่อระหว่างประเทศกัมพูชา ลาว และเวียดนาม
 


ในเวลาต่อมาก็มีคนพบ
นกช้อนหอยศักดิ์สิทธิ์ (Sacred ibis) หลุดมาจากซาฟารีเวิร์ล
หลังจากนั้นก็มีรายงานนกช้อนหอยดำเหลือบที่เป็นนกอพยพในประเทศไทย
นานไปก็มาอาศัยทำรังวางไข่ที่บึงบอระเพ็ด ทำให้กลายเป็นนกประจำถิ่นของไทย
และกระจายตัวอย่างกว้างขวางไปทั่วประเทศ รวมถึงจำนวนที่พบเป็นฝูงขนาดใหญ่อีกด้วย

ทั้งโลกมีนกช้อนหอยราว 28 ชนิด นกช้อนหอยดำเหลือบเป็นนกโลกเก่า (old world)
เป็นนกน้ำขนาดตัวกลางๆ ประมาณนกยางเปีย ตามรูปภาพด้านบน
เดิมพบเฉพาะในทวีปแอฟริกาตามแนวเส้นศูนย์สูตร และลงมาทางตะวันออกของทวีป
เมื่อ 200 ปีก่อน พวกมันอพยพตามลมสินค้าไปยังทวีปอเมริกาตรงพื้นที่ชุ่มน้ำฟลอริดา

อีกราว 100 ปี ต่อมา ก็พบนกช้อนหอยดำเหลือบที่ออสเตรเลีย
และ 50 ปีต่อมา พวกมันเริ่มสร้างรังบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดีย
ซึ่งนกกลุ่มนี้น่าจะเป็นประชากรที่อพยพมายังประเทศพม่าและไทยในเวลาต่อมา
และในช่วงเวลาทีเริ่มพบในประเทศไทยนั้น ก็มีรายงานนกช้อนหอยดำเหลือบในยุโรปด้วย

แสดงให้เห็นว่านกข้อนหอยดำเหลือบประสบความสำเร็จในการขยายพันธ์ได้เป็นอย่างดี
จัดอยู่ในสถานะ Less concern ในขณะที่นกช้อนหอยขาวนั้นอยู่ในสถานะเกือบถูกคุกคาม
แต่ปัจจุบันเราพบนกช้อนหอยขาวได้มากขึ้น ซึ่งน่าเป็นประชากรที่อพยพมาจากอินเดีย
เพราะจุดที่พบแรกๆ นั้น คือพื้นที่ภาคกลางไม่ต่างไปจากนกช้อนหอยดำเหลือบ



Create Date : 23 กันยายน 2567
Last Update : 27 กันยายน 2567 13:42:52 น. 3 comments
Counter : 354 Pageviews.  
(โหวต blog นี้) 

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณtuk-tuk@korat, คุณhaiku, คุณปัญญา Dh, คุณหอมกร, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณดอยสะเก็ด, คุณnewyorknurse, คุณอุ้มสี


 
ไปเปิดดูรูปนกช้อนหอยขาว สวยดีค่ะ


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 23 กันยายน 2567 เวลา:20:57:41 น.  

 
การดูภาพถ่ายนกเป๋นความสุข
แต่การไปซุ่มถ่ายน่าจะไม่โอเคจ้า





โดย: หอมกร วันที่: 24 กันยายน 2567 เวลา:6:50:02 น.  

 
นกสวยค่ะพี่
คุ้มค่ากับการ


โดย: อุ้มสี วันที่: 27 กันยายน 2567 เวลา:23:01:49 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

BlogGang Popular Award#20


 
ผู้ชายในสายลมหนาว
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 23 คน [?]




New Comments
[Add ผู้ชายในสายลมหนาว's blog to your web]