Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2563
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
11 มิถุนายน 2563
 
All Blogs
 
ประวัติความเป็นมา องค์การบริหารส่วนจังหวัด

องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) คือหน่วยงานภาครัฐหรือองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเมื่อเทียบกับ เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และยังเป็นหน่วยงานที่มีผู้สนใจสมัครบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่น โดยสอบผ่าน ก.พ.กับ ท้องถิ่น เพื่อปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นจำนวนมาก ไม่แตกต่างจากการสอบบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญสามัญทั่วไป

ประวัติความเป็นมา ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

องค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง ที่จัดตั้งขึ้นทุกจังหวัดเพื่อทำกิจการส่วนจังหวัดที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่การบริหารราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ในปี พ.ศ. 2498 องค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้ถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัดซึ่งเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค

ต่อมาได้มีการประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 ลงวันที่ 29 กันยายน 2515 ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีฐานะเป็นหน่วยการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่ง มีเขตพื้นที่รับผิดชอบครอบคลุมทั้งจังหวัด จัดตั้งขึ้นเพื่อบริการสาธารณประโยชน์ในเขตจังหวัด ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณสุข การอาชีพ รวมทั้งสาธารณูปโภคต่างๆ

โครงสร้างและองค์ประกอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

องค์การบริหารส่วนจังหวัดตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีหน้าที่รับผิดชอบเต็มพื้นที่ของจังหวัด โดยทับซ้อนกับพื้นที่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปเทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ

  1. เป็นองค์กรที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
  2. มีสภาและผู้บริหารระดับท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้ง
  3. มีอิสระในการปกครองตนเอง
  4. มีขอบเขตของการปกครองที่ชัดเจนและเหมาะสม
  5. มีงบประมาณรายได้เป็นของตนเองอย่างเพียงพอ
  6. มีบุคลากรปฏิบัติงานของตนเอง
  7. มีอานาจออกข้อบังคับ ระเบียบ กฎหมายท้องถิ่นภายใต้ขอบเขตของกฎหมายแม่บท
  8. มีการควบคุมดูแลของรัฐ เพื่อประโยชน์และความมั่นคงของรัฐ และประชาชนโดยส่วนรวม

สำหรับ โครงสร้างขององค์การริหารส่วนจังหวัด แบ่งออกเป็น 2 ฝ่ายได้แก่ ฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหาร ดังนี้

  1. ฝ่ายนิติบัญญัติ ได้แก่ สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน จำนวน 24-48 คน ตามจำนวนราษฎรในจังหวัดนั้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้
    • จังหวัดใดมีราษฎรไม่เกิน 500,000 คน มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 24 คน
    • จังหวัดใดมีราษฎร 500,001-1,000,000 คน มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 30 คน
    • จังหวัดใดมีราษฎร1,000,001-1,500,000 คน มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 36 คน
    • จังหวัดใดมีราษฎร1,500,001-2,000,000 คน มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 42 คน
    • จังหวัดใดมีราษฎร มากกว่า 2,000,000 คน มีสมาชิกสภาองค์การ บริหารส่วนจังหวัดได้ 48 คน

การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยกำหนดให้อำเภอเป็นเขตเลือกตั้งเขตหนึ่ง แต่ละอำเภอจะต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอย่างน้อย 1 คน และอำเภอใดมีราษฎรที่คำนวณแล้วจะมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวนเท่าใดก็ให้เป็นตามเกณฑ์จำนวนราษฎรที่อำเภอนั้นมีอยู่ ได้ตามจำนวนสัดส่วนของราษฎรโดยสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง

สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 คน และมีรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด 2 คน ซึ่งได้รับเลือกมาจากสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประธานสภาและรองประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดมีวาระการดำรงตำแหน่งตามอายุของสภา

2.ฝ่ายบริหาร ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทำหน้าที่บริหารกิจการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ภายใต้การควบคุมและตรวจสอบของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้

สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทำหน้าที่เลือกสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดคนหนึ่งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลือกสมาชิกสภา จานวน 2-4 คน เป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ดังนี้

  • สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 24 หรือ 30 คน มีรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 2 คน
  • สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 36 หรือ 42 คน มีรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 3 คน
  • สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 48 คน มีรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้ 4 คน

นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นหัวหน้าของฝ่ายบริหารทำหน้าที่บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งข้าราชการที่ปฏิบัติงานในองค์การบริหารส่วนจังหวัดเรียกว่า “ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด” มีปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการประจำและลูกจ้างขององค์การบริหารส่วนจังหวัด รองลงมาจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

อำนาจหน้าที่ ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

  1. จัดสร้างระบบสาธารณูปโภคที่เทศบาลและ อบต. ทำไม่ได้ เพราะขาดงบประมาณ เช่น สร้างบ่อบำบัดน้ำเสีย
  2. จัดทำโครงการที่เกี่ยวข้องทั้งเทศบาลและ อบต. เช่น การก่อสร้างถนนสายหลัก
  3. การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เช่น จัดรถบรรทุกน้ำ ช่วยเหลือพื้นที่แห้งแล้ง
  4. การใช้ที่ดินเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น เช่น จัดให้มีสถานที่พักผ่อน สวนสาธารณะ
  5. การบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจารีตประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น

องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) คือองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีอยู่ทุกจังหวัด การเปิดสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่น ก.พ.กับท้องถิ่น จะดำเนินการตามขั้นตอนเช่นเดียวกับการสอบบรรจุข้าราชการพลเรือนสามัญ หรือบางกรณี อาจมีการเปิดสอบ ก.พ.ภาคพิเศษโดยการวางแผนร่วมกันระหว่างสำนักงาน ก.พ. และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นหรือส่วนราชการที่เปิดสอบเพื่อต้องบุคลากรในต่ำแหน่งที่ต้องการ

https://gorporonline.com/articles/the-history-provincial-administration-organization/




Create Date : 11 มิถุนายน 2563
Last Update : 12 มิถุนายน 2563 19:20:24 น. 0 comments
Counter : 77 Pageviews.

nhumnoi
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add nhumnoi's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.