Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2563
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
4 มิถุนายน 2563
 
All Blogs
 
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญอะไร และมีความเป็นมาเช่นไร ?


 

ระบบข้าราชการพลเรือนนั้น จะมีคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนที่ถูกแต่งตั้งขึ้นมาโดยมีชื่อย่อว่า ก.พ. ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน ปลัดกระทรวงการคลัง ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง รวมถึงตำแหน่งอื่นๆก็ต้องดำเนินการคัดเลือก คัดสรร ด้วยวิธีต่างๆตามกฏหมาย

โดยหน้าที่และอำนาจต่างๆของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนนั้น จะมีดังต่อไปนี้

คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนมีอำนาจหน้าที่ที่สำคัญ คือ

  1. เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐในด้านมาตรฐานค่าตอบแทน การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคลรวมตลอดทั้งการวางแผนกำลังคนและด้านอื่นๆ เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ
  2. รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาปรับปรุงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มค่าครองชีพสวัสดิการ หรือประโยชน์เกื้อกูลอื่นสำหรับข้าราชการฝ่ายพลเรือนให้เหมาะสม
  3. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน เพื่อส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ
  4. ให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังของส่วนราชการ
  5. ออกกฎ ก.พ. และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ รวมตลอดทั้งการให้คำแนะนำหรือวางแนวทางในการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้กฎ ก.พ. เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
  6. ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ รวมตลอดทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่เป็นปัญหา มติของ ก.พ. ตามข้อนี้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
  7. กำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนในกระทรวงและกรม เพื่อรักษาความเป็นธรรมและมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล รวมทั้งตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้ ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานจากส่วนราชการ หรือให้ผู้แทนส่วนราชการ ข้าราชการหรือบุคคลใดๆ มาชี้แจงข้อเท็จจริง และให้มีอำนาจออกระเบียบให้กระทรวง และกรมรายงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ไปยัง ก.พ.
  8. กำหนดนโยบายและออกระเบียบเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาลให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน ตลอดจนจัดสรรผู้รับทุนที่สำเร็จการศึกษาแล้วเข้ารับราชการในกระทรวงและกรมหรือหน่วยงานของรัฐ
  9. ออกข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดการการศึกษาและควบคุมดูแลและการให้ความช่วยเหลือบุคลากรภาครัฐ นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง นักเรียนทุนของรัฐบาล และนักเรียนทุนส่วนตัวที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. ตลอดจนการเก็บเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษา ทั้งนี้ ให้ถือว่าเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษาเป็นเงินรายรับของส่วนราชการที่เป็นสถานอำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ ตามความหมายในกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
  10. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน และการกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน รวมทั้งระดับตำแหน่งและประเภทตำแหน่งสำหรับคุณวุฒิดังกล่าว
  11. กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคล
  12. พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับวัน เดือน ปีเกิดและการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน

ความเป็นมาของระบบข้าราชการพลเรือน

ข้าราชการพลเรือนเป็นระบบที่มีมาอย่างยาวนานในสังคมไทย ซึ่งในอดีตนั้นจะมี มุหนายกเป็นหัวหน้าข้าราชการฝ่ายพลเรือนและมีการแบ่งการบริหารราชการ ส่วนกลางออกเป็นกรม โดยจะแบ่งออกเป็นกรมหลักๆ 4 กรม คือ เวียง วัง คลัง นา และยังมีการตรากฎหมายอัยการตำแหน่งนาพลเรือนในปี พ.ศ. 1998 เพื่อใช้กำหนดสิทธิในหน้าที่และความสัมพันธ์ของระบบข้าราชการพลเรือน

ต่อมาระบบข้าราชการพลเรือนไดเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ขึ้นในปี พ.ศ. 2435 เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ได้ทรงแต้งตั้ง สถาปนากระทรวงขึ้นมาทั้งหมด 12 กระทรวง จนถูกใช้งานมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในยุคของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในปี 2471 ระบบข้าราชการพลเรือนยุคใหม่ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมา ภายใต้การปกครองของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงออกพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนใหม่ขึ้น และให้พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2472 ซึ่งต่อมาจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันข้าราชการพลเรือน โดยในมาตรา 4 ได้กำหนดความหมายของข้าราชการพลเรือนไว้ว่า ข้าราชการพลเรือนหมายถึงผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เข้ารับราชการในกระทรวงทบวงการแผ่นดินฝ่ายพลเรือน เว้นข้าราชการฝ่ายตุลาการและให้รวมทั้งข้าราชการฝ่ายพลเรือนในกระทรวงการทหาร

มาถึงปัจจุบัน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนที่ใช้นั้นจะเป็นของ ปี พ.ศ. 2551 ประกาศใช้ในวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2551 ซึ่งกำหนดความหมายของข้าราชการพลเรือนว่า ข้าราชการพลเรือนหมายถึง บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณในกระทรวง กรมฝ่ายพลเรือน

ประเภทของข้าราชการพลเรือน

ประเภทของข้าราชการพลเรือนมี 2 ประเภท คือ

  1. ข้าราชการพลเรือนสามัญได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้งตามที่บัญญัติไว้ในลักษณะ 4 ข้าราชการพลเรือนสามัญ
  2. ข้าราชการพลเรือนในพระองค์ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนซึ่งรับราชการโดยได้รับบรรจุแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในพระองค์พระมหากษัตริย์ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

ประเภทของตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ

ประเภทของตำแหน่งข้าราชการ นั้นจะมีดังต่อไปนี้

  1. ตำแหน่งประเภทบริหาร ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการและรองหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง กรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ.กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทบริหาร
  2. ตำแหน่งประเภทอำนวยการ ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าส่วนราชการที่ต่ำกว่าระดับกรม และตำแหน่งอื่นที่ ก.พ.กำหนดเป็นตำแหน่งประเภทอำนวยการ
  3. ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตามที่ ก.พ.กำหนดเพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น
  4. ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งประเภทบริหารตำแหน่งประเภทอำนวยการ และตำแหน่งประเภทวิชาการ ทั้งนี้ ตามที่ ก.พ.กำหนด

ระดับตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ มีดังต่อไปนี้

1. ตำแหน่งประเภทบริหาร มีระดับดังต่อไปนี้

  • ระดับต้น
  • ระดับสูง

2. ตำแหน่งประเภทอำนวยการ มีระดับดังต่อไปนี้

  • ระดับต้น
  • ระดับสูง

3. ตำแหน่งประเภทวิชาการ มีระดับดังต่อไปนี้

  • ระดับปฏิบัติการ
  • ระดับชำนาญการ
  • ระดับชำนาญการพิเศษ
  • ระดับเชี่ยวชาญ
  • ระดับทรงคุณวุฒิ

4. ตำแหน่งประเภททั่วไป มีระดับดังต่อไปนี้

  • ระดับปฏิบัติงาน
  • ระดับชำนาญงาน
  • ระดับอาวุโส
  • ระดับทักษะพิเศษ
https://gorporonline.com/articles/what-important-is-the-civil-service-commission/


Create Date : 04 มิถุนายน 2563
Last Update : 4 มิถุนายน 2563 22:13:45 น. 0 comments
Counter : 81 Pageviews.

nhumnoi
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add nhumnoi's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.