Group Blog
 
<<
มกราคม 2564
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
14 มกราคม 2564
 
All Blogs
 
ความรู้ทั่วไปของ กองอาสารักษาดินแดน (อส.)


กองอาสารักษาดินแดน เป็นองค์การที่ขึ้นอยู่ในกระทรวงมหาดไทย มีฐานะเป็นนิติบุคคล ทำหน้าที่คอยรักษาความสงบร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ รวมถึงการรักษาความปลอดภัยในสถานที่สำคัญ และการคมนาคม และยังเป็นกำลังสำรองส่วนหนึ่งที่พร้อมจะเพิ่มเติมและสนับสนุนกำลังทหารได้เมื่อมีการร้องขอทั้งในยามปกติและยามศึกสงครามอีกด้วย

ประวัติความเป็นมาของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน (อส.)
กองอาสารักษาดินแดน ถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดนในปี พ.ศ. 2497 ได้มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้บัญชาการกองอาสารักษาดินแดน โดยตัวหลักการสำคัญในการจัดตั้งก็คือเพื่อให้มีกำลังสำรองไว้ช่วยเหลือประชาชนและประเทศชาติทั้งในยามปกติและสงคราม โดยจะรับสมัครราษฎรที่สมัครใจอาสาเข้ามาเป็นสมาชิกในกองอาสารักษาดินแดน โดยตัวของกองอาสารักษาดินแดนสามารถแบ่งการพัฒนาออกได้เป็น 3 ช่วงระยะ ดังนี้
      - ระยะแรก พ.ศ. 2454 ได้เกิดภาวะสงครามขึ้น โดยในช่วงสมัยนั้นจะมีราษฎรที่ไม่ใช่ทหารรวมตัวกันเพื่อลุกขึ้นต่อสู้กับข้าศึกเพื่อรักษาซึ่งแผ่นดินเอาไว้ อาทิเช่นสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ศึกบางระจัน ชาวบ้านบางระจันที่ไม่ใช่ทหารพยายามต่อสู้กับพม่าจนสิ้นกำลัง
              - สมัยการสู้รบที่เมืองถลาง คุณหญิงจันและนางมุก (ท้าวเทพกษัตรี และท้าวศรีสุนทร)
              - สมัยกู้อิสรภาพเมืองนครราชสีมา โดยการนำของคุณหญิงโม (ท้าวสุรนารี)
              - สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากองเสือป่าขึ้น เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2454 เป็นกองพลอาสาสมัครเพื่ออบรมข้าราชการและประชาชนให้รู้จักรักชาติขึ้น
      - ระยะที่สอง พ.ศ. 2454 – 2497 จะเป็นช่วงเวลาที่ส่งเสริมกองอาสารักษาดินแดนให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้นทั้งในยามปกติและสงคราม โดยมีการนำแนวคิดจากต่างประเทศมาใช้หลังจากมีการจัดตั้งกองเสือป่าขึ้น ต่อมาสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายก รัฐมนตรี ได้มีพระราชบัญญัติกำหนดหน้าที่คนไทยในเวลารบ และพระราชบัญญัติให้อำนาจในการเตรียมการป้องกันประเทศขึ้น เพื่อมีจุดประสงค์ในการฝึกอบรมคนไทยให้รู้จักหน้าที่ในการที่จะป้องกันรักษาประเทศชาติในเวลาสงคราม โดยมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการ
      - ระยะที่สาม พ.ศ. 2497 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดนขึ้นในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2497 ทำให้การดำเนินการด้านพลเรือนอาสานั้นมีรูปแบบและระบบที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนาตามลำดับจนมาถึงปัจจุบัน

ภารกิจหน้าที่ของ กองอาสารักษาดินแดน (อส.)
กองอาสารักษาดินแดน (อส.) แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ประเภทสำรอง ประเภทสามัญ และประเภทกองหนุน ซึ่งมีภารกิจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติกองอาสารักษาดินแดน พ.ศ. 2497 หมวด 2 มาตรา 16 ดังนี้
      - บรรเทาภัยที่เกิดจากธรรมชาติ และการกระทำของข้าศึก
      - ทำหน้าที่ตำรวจรักษาความสงบภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
      - รักษาสถานที่สำคัญ และการคมนาคม
      - ป้องกันการจารกรรม สดับตรับฟัง และรายงานข่าว
      - ทำความช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่ฝ่ายทหารตามที่ทหารต้องการ และตัดทอนกำลังข้าศึก
      - เป็นกำลังสำรองส่วนหนึ่งที่พร้อมจะเพิ่มเติมและสนับสนุนกำลังทหารได้เมื่อจำเป็น
     
      อย่างไรก็ตามภารกิจ สมาชิกกองอาสารักษาดินแดน (อส.) ยังสามารถที่จะปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ของบ้านเมือง ไม่ว่าจะเป็นการปราบปรามยาเสพติด การรักษาความสงบเรียบ การบรรเทาสาธารณภัย การสร้างความปรองดองสมานฉันท์ การบริการประชาชน ทั้งนี้เพื่อความสงบสุขของบ้านเมืองเป็นสำคัญ
https://nine100.com/general-knowledge-of-territorial-guard-volunteer/


Create Date : 14 มกราคม 2564
Last Update : 14 มกราคม 2564 16:12:48 น. 0 comments
Counter : 254 Pageviews.

nhumnoi
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add nhumnoi's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.