Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2563
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
4 มิถุนายน 2563
 
All Blogs
 
Secondment กับภาคราชการ

Secondment คือ การให้ บุคลากร ในหน่วยงานได้ทำการเปลี่ยนจากการทำงานแบบเดิม สถานที่เดิม ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นเป็นการชั่วคราว โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้บุคลากรในองค์กรได้มีโอกาสเรียนรู้งานใหม่ๆ และพัฒนาตนเองรวมถึงความสามารถต่างๆ เพื่อที่จะได้นำความรู้ความสามารถเหล่านั้นกลับมาพัฒนาองค์กร

Secondment กับภาคราชการ

Secondment ในระบบข้าราชการไทยนั้น เป็นอีกหนึ่งทางเลือกเพื่อช่วยในการพัฒนาข้าราชการไทย โดยการให้บุคลากรของหน่วยงานนั้นได้มีโอกาสในการเปลี่ยนจากการทำงานที่ทำอยู่ประจำ ไปทำงานที่หน่วยงานอื่นเป็นชั่วคราว ซึ่งรวมถึงการทำงานภายในหน่วยงานและภายนอกหน่วยงาน โดยจุดประสงค์นั้นก็ทำเพื่อให้บุคลกรได้เรียนรู้งานใหม่ๆ และช่วยให้พัฒนาก้าวหน้าในสายอาชีพนั้นๆไป นอกจากนี้ยังช่วยสร้างเครือข่ายและส่งเสริมความเข้าใจกันระหว่างหน่วยงาน

การย้ายบุคลากรไปปฏิบัติงานอีกหน่วยงานหนึงนั้น จะมีหน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นหน่วยงานกลาง หนรือหน่วยงานภาครัฐในแต่ละแห่งสามารถดำเนินการได้เอง ซึ่งทำให้เปิดโอกาสให้บุคลากรของหน่วยงานนั้นสามารถไปปฏิบัติงานได้ทุกระดับชั้น ตั้งแต่บุคลากรระดับสูงเช่น ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่อาวุโส ไปจนถึงเจ้าหน้าที่ระดับอื่นๆ โดยจำเป็นต้องมีการจัดทำข้อตกลงระหว่างหน่วยงานและบุคคลากรที่ไปปฏิบัติงาน ทั้งในเรื่องของระยะเวลาในการปฏิบัติงาน เงินเดือนและผลประโยชน์อื่นๆ

สำนักงาน ก.พ. เองก็ได้เริ่มทำการศึกษา Secondment และนำแนวคิดของต่างประเทศมาพัฒนาเพื่อ ปรับใช้ตามความเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยเรา ตั้งแต่ปี 2548 โดยได้ออกกฎระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการ โดยการให้ไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นๆในประเทศ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 นับเป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการให้ข้าราชการต่างๆนั้นสามารถ ไปปฏิบัติงานในหน่วยงานอื่นๆทั้งภาครัฐ และเอกชนได้ และต่อมาก็ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนขึ้นใน พ.ศ. 2551 สำนักงาน ก.พ. จึงได้ทำการปรับปรุงระเบียบดังกล่าวเพื่อให้มีสาระสอดคล้องกับพระราชบัญญัติดังกล่าวเพื่อให้มีความยืดหยุ่น และช่วยให้มีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น โดยการออกเป็นระเบียบ ก.พ. ว่าด้วยการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของข้าราชการโดยการให้ไปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นในประเทศ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554 โดยจะมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้

  1. วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพของข้าราชการ ให้มีความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์และมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
  2. ประเภทของหน่วยงานที่จะให้ข้าราชการไปปฏิบัติ ต้องเป็นหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ได้แก่
    1. ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
    2. องค์การระหว่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
    3. หน่วยงานภาคเอกชนที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและได้รับการจัดให้มีดัชนีราคาในตลาดหลักทรัพย์ขนาดใหญ่สุดหนึ่งร้อยอันดับแรก หรือได้รับการจัดอันดับว่ามีธรรมาภิบาลในระดับดีมาก หรือดีเลิศ
    4. หน่วยงานภาคเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไรและมีองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อภารกิจของส่วนราชการต้นสังกัด ตามที่ อ.ก.พ. กรมให้ความเห็นชอบ
    5. การไปปฏิบัติงานในประเทศกับบุคคลซึ่งหัวหน้าส่วนราชการต้นสังกัดเห็นว่ามีองค์ความรู้ในเชิงลึกที่เป็นประโยชน์กับภารกิจของส่วนราชการ และเป็นผู้ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ หรือได้รับรางวัลดีเด่นระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ
  3. คุณสมบัติของข้าราชการ
    1. ข้าราชการพลเรือนสามัญทุกประเภทตำแหน่งซึ่งมีอายุไม่เกินสี่สิบปีบริบูรณ์
    2. รับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี
    3. มีสมรรถนะสอดคล้องกับลักษณะงานที่จะไปปฏิบัติ และมีผลงานเป็นที่ยอมรับของผู้บังคับบัญชา มีความสามารถสูง กระตือรือร้น เรียนรู้ได้เร็วในสภาพแวดล้อมใหม่ มีความประพฤติดีและตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการ เป็นต้น
  4. ระยะเวลาการปฏิบัติงานไม่เกิน 1 ปีในกรณีที่มีเหตุผลความจำเป็นอาจขยายได้อีกไม่เกิน 1 ปี
  5. แนวปฏิบัติ การสั่งให้ข้าราชการไปปฏิบัติงานที่หน่วยงานอื่นตามระเบียบนี้แม้จะมีลักษณะเป็นการพัฒนาแต่ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการเพราะต้องเป็นความประสงค์ร่วมกันระหว่างส่วนราชการต้นสังกัดและข้าราชการ โดยยึดประโยชน์ของทางราชการเป็นหลักขณะเดียวกันข้าราชการก็จะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เพิ่มขึ้นด้วย ข้าราชการยังคงได้รับเงินเดือนจากส่วนราชการต้นสังกัด ค่าตอบแทน สวัสดิการ และสิทธิประโยชน์อื่นจากทางราชการตามกฎหมาย หรือระเบียบว่าด้วยเรื่องนั้นๆ ตลอดจนมีสิทธิได้รับค่าตอบแทน และประโยชน์อื่นจากหน่วยงานอื่นที่ไปปฏิบัติงานตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกัน และยังคงได้รับการพิจารณาเลื่อนเงินเดือน เลื่อนตำแหน่ง รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์เป็นต้น จะเห็นได้ว่าระเบียบนี้สนับสนุนให้ส่วนราชการที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกลส่งข้าราชการผู้มีความรู้ความสามารถได้มีโอกาสไปพัฒนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้กับหน่วยงานภายนอกได้อย่างคล่องตัว แม้ปัจจุบันส่วนราชการต่างๆมีภาระงานค่อนข้างมากการที่จะส่งข้าราชการไปปฏิบัติงานตามระเบียบนี้อาจจะขาดผู้ปฏิบัติงานในช่วงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น แต่จะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าในระยะยาว ซึ่งนับตั้งแต่เริ่มดำเนินการมีส่วนราชการต่างๆส่งข้าราชการไปปฏิบัติงานตามระเบียบนี้แล้วจำนวน 3 ราย ได้แก่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังส่งข้าราชการจำนวน 2 รายไปปฏิบัติงานที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และกรมธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ส่งข้าราชการจำนวน 2 รายไปปฏิบัติงานที่บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย ซึ่งทั้ง 2 ส่วนราชการได้ให้ความเห็นว่าเป็นการเปิดโอกาสให้ข้าราชการได้ไปเรียนรู้งานจากภายนอกและได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติงานดังกล่าวเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถนำความรู้กลับมาพัฒนางานในความรับผิดชอบให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น หากส่วนราชการหรือข้าราชการท่านใดต้องการไปปฏิบัติงานภายนอกหน่วยงานตามระเบียบนี้ก็สามารถติดต่อหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักวิจัยและพัฒนาระบบงานบุคคล สำนักงาน ก.พ. https://www.ocsc.go.th/

https://gorporonline.com/articles/second-with-the-government/


Create Date : 04 มิถุนายน 2563
Last Update : 4 มิถุนายน 2563 21:45:26 น. 0 comments
Counter : 800 Pageviews.

nhumnoi
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add nhumnoi's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.