Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2563
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
3 กรกฏาคม 2563
 
All Blogs
 
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเภทตำแหน่งข้าราชการส่วนท้องถิ่น และหน้าที่ความรับผิดชอบ



การสอบเพื่อบรรจุรับราชการ นอกจากการสอบ ก.พ. หรือสอบภาค ก. การสอบท้องถิ่น ก็ถือเป็นอีกหนึ่งเส้นทางสู่อาชีพรับราชการ และข้าราชการท้องถิ่นก็ยังเป็นเส้นทางในฝันของใครหลายคนที่คาดหวังว่าจะทำงานอยู่ใกล้บ้าน ทำงานอยู่ภายในจังหวัดของตนเอง  เพื่อสานฝันให้กับทุกคนที่กำลังเตรียมตัวสอบท้องถิ่น วันนี้ ก.พ.ออนไลน์ มีข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประเภทตำแหน่งข้าราชการท้องถิ่น และหน้าที่ความรับผิดชอบ มาแนะนำเป็นความรู้

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายถึง

องค์การปกครองหรือการปกครองส่วนท้องถิ่น คือหน่วยงานปกครองที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดรูปแบบหนึ่ง และมีอำนาจอิสระ (autonomy) ในการบริหารจากรัฐได้ในระดับหนึ่งตามขอบเขตที่กฎหมายกำหนด ราชการส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย มี 2 รูปแบบ คือ การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป มี 3 ประเภทได้แก่ เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) รูปแบบที่ 2 คือ การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ปัจจุบันมีกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา สำหรับสาระสำคัญของการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่

  1. เป็นหน่วยการปกครองขนาดเล็ก ซึ่งมีกฎหมายรับรองฐานะ
  2. มีอิสระในการบริหารจัดการจากรัฐในขอบเขตที่กฎหมายกำหนด
  3. มีอำนาจในการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นด้วยตัวเอง
  4. มีฐานะเป็นนิติบุคคล
  5. มีอาณาเขตที่แน่นอนชัดเจน
  6. มีสภาท้องถิ่น และ/หรือ ผู้บริหารท้องถิ่น มาจากการเลือกตั้งของประชาชนในเขตพื้นที่

ข้าราชการส่วนท้องถิ่น หมายถึง

ข้าราชการส่วนท้องถิ่น หมายถึง ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยา ซึ่งหลังจากสอบท้องถิ่น และได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการโดยได้รับเงิน เดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำเงินอุดหนุนมาจัดเป็นเงินเดือนของข้าราชการส่วนท้องถิ่น

ประเภทตำแหน่งข้าราชการส่วนท้องถิ่น

ในการกำหนดตำแหน่งหรือประเภทตำแหน่งของข้าราชการท้องถิ่นของไทย ได้มีการปรับเป็นโครงสร้างระดับชั้นงานแบบแท่ง (Broadband) คล้ายกับข้าราชการพลเรือน ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. ตำแหน่งประเภทบริหารจัดการท้องถิ่น

สำหรับตำแหน่งประเภทบริหารจัดการท้องถิ่น ได้แก่ ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรองปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท้องถิ่น ทั้ง อบจ. เทศบาล และ อบต. หรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ตามที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนด แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง

2. ตำแหน่งประเภทอำนวยการท้องถิ่น

ตำแหน่งประเภทอำนวยการท้องถิ่น ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงานระดับฝ่าย ระดับส่วน ระดับกอง ระดับสำนักในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือตำแหน่งระดับที่เรียกชื่ออย่างอื่น ตามที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนด แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง

3. ตำแหน่งประเภทวิชาการ

ตำแหน่งประเภทวิชาการ ได้แก่ ตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนด เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติการ ระดับชำนาญการ ระดับชำนาญการพิเศษ และระดับเชี่ยวชาญ

4. ตำแหน่งประเภททั่วไป

ตำแหน่งประเภททั่วไป ได้แก่ ตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร ตำแหน่งประเภทอำนวยการ และตำแหน่งประเภทวิชาการ ตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนด เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับปฏิบัติงาน ระดับชำนาญการ และระดับอาวุโส

หลักเกณฑ์และแนวทางในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการท้องถิ่น

การบริหารงานบุคคลของข้าราชการท้องถิ่น มีหลักเกณฑ์และแนวทางในการบริหารงานบุคคล ดังนี้

  1. การสรรหา บรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ หรือการอื่นใดที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการท้องถิ่น เป็นอำนาจของนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งนายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจมอบหมายให้ผู้บังคับบัญชาข้าราชการในตำแหน่งใดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งนั้นเป็นผู้ใช้อำนาจแทนได้
  2. การปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการท้องถิ่นแต่ละประเภทจะมีคณะกรรมการกลางของข้าราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นมากำหนดมาตรฐานทั่วไปของข้าราชการ อาทิ คณะกรรมการกลางข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด คณะกรรมการกลางพนักงานเทศบาล คณะกรรมการกลางพนักงานส่วนตำบล ฯลฯ เป็นต้น  เมื่อคณะกรรมการกลางของข้าราชการท้องถิ่นแต่ละประเภทได้กำหนดมาตรฐานทั่วไปแล้ว คณะกรรมการข้าราชการท้องถิ่นแต่ละประเภทในแต่ละจังหวัดจะนำไปกำหนดหลักเกณฑ์ในการบริหารงานบุคคลในจังหวัดต่อไป
  3. การบริหารงานบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานครจะมีคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร (ก.ก.) ทำหน้าที่กำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการบริหารงานบุคคลของข้าราชการกรุงเทพมหานคร และการบริหารงานบุคคลของข้าราชการเมืองพัทยา จะมีคณะกรรมการพนักงานเมืองพัทยากำหนดหลักเกณฑ์และดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารบุคคลของข้าราชการเมืองพัทยา
  4. มีคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.) ทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานกลางและแนวทางในการรักษาระบบคุณธรรมเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การแต่งตั้งและให้พ้นจากตำแหน่ง การกำหนดโครงสร้างอัตราเงินเดือนและประโยชน์ตอบแทนอื่น ฯลฯ เป็นต้น เพื่อเป็นแนวทางในการกำกับดูแลการบริหารงานบุคคลของข้าราชการท้องถิ่นทุกรูปแบบให้มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นและประชาชนในประเทศเป็นส่วนรวม

หน้าที่ความรับผิดชอบของข้าราชการท้องถิ่น

หน้าที่ความรับผิดชอบของข้าราชการท้องถิ่นแต่ละตำแหน่ง เมื่อสอบท้องถิ่นผ่านและได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่นแล้วจะมีการกำหนดลักษณะงานและความรับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติออกเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้

  1. ด้านบริหารงาน
  2. ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล
  3. ด้านบริหารทรัพยากรและงบประมาณ
  4. ด้านการวางแผน
  5. ด้านการปฏิบัติการ
  6. ด้านการประสานงาน
  7. ด้านการบริการ
  8. และอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

สวัสดิการและความมั่นคงของข้าราชการท้องถิ่น

  1. ข้าราชการท้องถิ่นจะได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำมาจัดเป็นเงินเดือนของข้าราชการท้องถิ่น
  2. ข้าราชการท้องถิ่น มีสวัสดิการที่เป็น “ประโยชน์ตอบแทนอื่น” อันได้แก่
    • เงินตอบแทนอื่น ๆ หรือเงินค่าตอบแทนอื่น ๆ
    • บำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
    • เงินสวัสดิการ หรือเงินอื่นที่ข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นได้รับจากองค์กรปกครอง

ส่วนท้องถิ่น โดยประโยชน์ตอบแทนอื่นของข้าราชการท้องถิ่น จะได้รับเช่นเดียวกันกับข้าราชการพลเรือนและเป็นไปตามที่มีกฎหมายกำหนด อาทิ ค่ารักษาพยาบาล การศึกษาบุตร ทุนการศึกษา ค่าเช่าบ้าน เงินทำขวัญ เงินรางวัล และเงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น ฯลฯ เป็นต้น

ความรู้เกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น

  1. หลักการสำคัญ ของบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น คือการกำหนดสิทธิประโยชน์ให้ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ได้รับเช่นเดียวกับข้าราชการพลเรือน/ทหาร ตาม พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการพ.ศ. 2494
  2. กำหนดให้ข้าราชการ อบจ. พนักงานเทศบาล พนักงานเมืองพัทยา และพนักงานส่วนตำบล (ยกเว้น กทม.) มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ
  3. หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับบำเหน็จบำนาญปกติ ได้แก่
    • บุคคลที่ไม่มีสิทธิ ได้แก่ ผู้ที่ถูกไล่ออกจากราชการ หรือผู้ซึ่งมีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญไม่ครบหนึ่งปีบริบูรณ์ ฯลฯ
    • ระยะเวลาราชการที่ใช้ในการพิจารณา กรณีออกตามเหตุ 4 เหตุ
    • กรณี ไม่ถึง 10 ปีบริบูรณ์ มีสิทธิได้รับบำเหน็จ
    • กรณี 10 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป มีสิทธิได้รับบำนาญ
    • กรณีมีสิทธิได้บำนาญ จะขอรับบำเหน็จแทนบำนาญก็ได้
    • กรณี ไม่ได้ออกจากราชการด้วย 4 เหตุ ถ้าออกจากราชการเพราะลาออก ต้องมีเวลาราชการสำหรับคำนวณ บำเหน็จบำนาญ ครบ 10 ปี จึงจะมีสิทธิได้รับบำเหน็จ
    • เป็นสิทธิเฉพาะตัวโอนไม่ได้
  4. บำเหน็จบำนาญเหตุทดแทน จ่ายให้แก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งออกจากราชการเพราะเลิกหรือยุบตำแหน่ง หรือไปดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือซึ่งมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิด
  5. สิทธิการรับบำเหน็จบำนาญด้วยเหตุผลทดแทนจ่ายให้แก่ ผู้ซึ่งออกจากราชการเพราะ
    • เลิกหรือยุบตำแหน่ง
    • ไปดำรงตำแหน่งการเมือง
    • ทางราชการมีคำสั่งให้ออกโดยไม่มีความผิด
    • หมายเหตุ การออกจากราชการของข้าราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเพื่อทดแทนนี้จะมีได้ก็แต่กรณีที่ทางราชการสั่งให้ออกจากทางราชการเท่านั้นไม่ใช่ลาออกด้วยใจสมัครของตนเอง
  6. บำเหน็จบำนาญเหตุทุพพลภาพ จ่ายให้แก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งเจ็บทุพพลภาพ ซึ่งแพทย์ทางราชการรับรองได้ตรวจแสดงความเห็นว่าไม่สามารถที่จะรับราชการในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไป
  7. บำเหน็จบำนาญเหตุสูงอายุ
    • จ่ายให้แก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นผู้มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว หรือ
    • จ่ายให้แก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ประสงค์จะลาออกจากราชการให้ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ลาออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุสูงอายุได้
  8. บำเหน็จบำนาญเหตุรับราชการนาน
    • จ่ายให้แก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งมีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญครบ 30 ปีบริบูรณ์แล้ว หรือ
    • จ่ายให้แก่ข้าราชการส่วนท้องถิ่นที่มีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ 25 ปี บริบูรณ์ ประสงค์จะลาออกจากราชการให้ผู้มีอำนาจสั่งอนุญาตให้ลาออกจากราชการเพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุรับราชการนานได้

การสอบท้องถิ่น เมื่อสามารถสอบผ่านและได้รับการบรรจุแต่งตั้งเป็นข้าราชการท้องถิ่น โดยจะมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการตามนโยบายและแผนงานที่นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้กำหนด

https://gorporonline.com/articles/local-goverment-official-and-responsibilities/




Create Date : 03 กรกฎาคม 2563
Last Update : 3 กรกฎาคม 2563 12:14:20 น. 0 comments
Counter : 149 Pageviews.

nhumnoi
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add nhumnoi's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.