Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2563
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
29 พฤษภาคม 2563
 
All Blogs
 
งานในตำแหน่งนิติกร เส้นทางสู่อาชีพ และแนวข้อสอบ นิติกร ก.พ.



การเปิดสอบ ก.พ.ในแต่ละปี เป็นการเปิดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถทั่วไป โดยใช้ แนวข้อสอบ ภาค ก ก.พ ซึ่งผู้สมัครสอบส่วนใหญ่ที่เตรียมความพร้อมในการสอบมาเป็นอย่างดีจะทราบว่า หลักสูตรและวิชาที่ใช้ในการสอบ ภาค ก ก.พ ได้แก่ การคิดคำนวณ การแก้ปัญหาเชิงปริมาณ ความเข้าใจภาษา การใช้ภาษา และวิชาภาษาอังกฤษ เมื่อสอบผ่านขั้นตอนและสามารถสอบ ก.พ ภาค ก. ได้แล้ว ก็มีโอกาสสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนหรือข้าราชการส่วนท้องถิ่นได้หลากหลายตำแหน่ง วันนี้ ก.พ. ออนไลน์ มีตำแหน่งนิติกร พร้อมแนวข้อสอบ นิติกร ก.พ. มาแนะนำ

ตำแหน่งนิติกร คืออะไร
นิติกร คือชื่อตำแหน่งของผู้ที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานด้านกฎหมายในส่วนงานราชการหรือรัฐวิสาหกิจต่างๆ ในบทความความนี้ ตำแหน่งนิติกร ก.พ. ออนไลน์ หมายถึง ข้าราชการพลเรือนที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านกฎหมาย เช่น นิติกร กรมการปกครอง และข้าราชการท้องถิ่นที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านกฎหมายอยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)  เทศบาล และ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) รวมทั้ง ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านกฎหมายอยู่ในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา

หน้าที่และงานในความรับผิดชอบของนิติกร
1. ลักษณะงานด้านกฎหมายในงานข้าราชการพลเรือน
          - การตรวจและปรับยกร่างกฎหมาย เป็นงานที่นิติกรหรือผู้มีหน้าที่ด้านกฎหมายจะต้อง ดำเนินการศึกษารวบรวมปัญหา อุปสรรคในการดำเนินการทางกฎหมายของหน่วยงาน ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องและเอกสารหลักฐานต่าง ๆ และนำมาใช้วิเคราะห์ปรับ ตรวจหรือยกร่างกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ และกฎ
          - การพัฒนาหรือวิจัยกฎหมาย หมายถึงงานที่นิติกรจะต้องดำเนินการค้นคว้า หาข้อมูล ศึกษา วิเคราะห์วิจัย เปรียบเทียบหลักการ แนวความคิด และบทบัญญัติของกฎหมายภายในประเทศ หรือกฎหมายต่างประเทศ หรือกฎหมายระหว่างประเทศตามแผนงานโครงการที่หน่วยงานกำหนดในการพัฒนางานทางด้านกฎหมาย
          - การให้คำปรึกษาและความเห็นทางกฎหมาย ได้แก่ การให้ความเห็นทางกฎหมาย ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบข้อหารือทางด้านกฎหมายของส่วนราชการ หรือให้คำปรึกษาแนะนำ เสนอแนะทางด้านฎหมายเกี่ยวกับการวินิจฉัย ตีความหรือยกร่าง ปรับปรุง แก้ไขกฎหมายของส่วนราชการ และสรุป วิเคราะห์ เสนอความเห็นทางกฎหมาย หรือความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
          - การร่างสัญญาและการบริหารสัญญา นิติกรต้องพิจารณา ร่าง ตรวจแก้ไขสัญญาที่หน่วยงาน เป็นคู่สัญญาให้ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อก่อให้ประโยชน์สูงสุดแก่ทางราชการ และป้องกันมิให้ราชการต้องเสียเปรียบ
          - การดำเนินการทางวินัย ได้แก่ พิจารณาข้อร้องเรียน ข้อกล่าวหา บัตรสนเท่ห์ การสอบสวนทางวินัย การพิจารณาความผิดและการกำหนดโทษ การสั่งพักราชการ หรือการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน และการลงโทษข้าราชการที่กระทำผิดวินัย
          - การทำสำนวนการไต่สวน สำนวนการสอบสวน หรือสำนวนการสืบสวนจากการร้องเรียน ร้องทุกข์
          - การดำเนินคดีอาญา คดีแพ่ง คดีในศาลปกครอง คดีในศาลรัฐธรรมนูญ หรือคดีอื่น หมายถึงงานที่นิติกรต้องดำเนินการแทนรัฐและหรือหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นโจทก์และเป็นจำเลยเลยในคดี
          - การพิจารณาและตรวจสอบคำอุทธรณ์หรือคำโต้แย้ง หมายถึง การศึกษา วิเคราะห์ ตรวจสอบ กลั่นกรองและให้ความเห็นในเรื่องกฎหมาย กฎ พยาน หลักฐาน ข้อเท็จจริงในคำอุทธรณ์ จัดทำสรุปจำแนกคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ให้คำปรึกษาแนะนำ ตอบข้อหารือปัญหาเกี่ยวกับงานอุทธรณ์แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบุคคลทั่วไปด้วย
          - การเผยแพร่ให้ความรู้ทางด้านกฎหมาย เพื่อสร้างสร้างจิตสำนึกในการปฏิบัติตามกฎหมาย แก่ข้าราชการหรือลูกจ้างภายในและภายนอกหน่วยงาน และภาคเอกชน โดยการจัดทำเอกสาร บทความหรือหนังสือให้ความรู้ จัดทำฐานข้อมูลทางกฎหมายและกฎให้ทันสมัยอยู่เสมอและใช้ได้ง่าย
          - การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง หมายถึง นิติกรต้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานบังคับคดีที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมาย ดำเนินการยึด อายัด จำหน่ายทรัพย์สิน เผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับคดีให้ประชาชนได้เข้าใจ ตลอดจนทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยและการประนอมหนี้รวมถึงการบังคับคดีตามกฎหมายอื่น
          - การดำเนินมาตรการทางปกครอง หมายถึง การเตรียมคำสั่งทางปกครอง การพิจารณาคำสั่งทางปกครอง การออกคำสั่งทางปกครอง การแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งทางปกครอง การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง
         - การดำเนินการเกี่ยวกับการเปรียบเทียบคดี หมายถึง การดำเนินการทุกอย่างที่จำเป็น เพื่อให้การเปรียบเทียบคดีดำเนินไปโดยลุล่วง
          - การเตรียมการระงับข้อพิพาท หมายถึง ดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายและรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำเสนอในกระบวนการหรือขั้นตอนของการระงับข้อพิพาทแต่ละวิธี
          - งานด้านกฎหมายอื่น ที่อ.ก.พ.วิสามัญเฉพาะกิจเกี่ยวกับการรับรองมาตรฐานนักกฎหมายภาครัฐรับรอง

2. ลักษณะงานด้านกฎหมายในงานปกครองส่วนท้องถิ่น
          - ทำหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงและเอกสารหลักฐานตลอดจนกฎหมาย ที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาดำเนินการทางกฎหมายด้านต่าง ๆ 
          - การร่างหรือแก้ไขเพิ่มเติมเทศบัญญัติ  กฎ  ระเบียบ  และข้อบังคับ 
          - การสอบสวนตรวจพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับวินัยพนักงาน การพิจารณาความผิดและการกำหนดโทษ การสั่งพักราชการ หรือการสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน การลงโทษข้าราชการที่กระทำผิดวินัย และการร้องทุกข์หรืออุทธรณ์ 
          - การวินิจฉัยปัญหากฎหมาย  การดำเนินการทางคดี  การดำเนินการเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่ง 
          - จัดทำนิติกรรมหรือเอกสารที่มีผลผูกพันทางกฎหมายและปฏิบัติหน้าที่อื่นที่ได้รับมอบหมาย

เส้นทางความก้าวหน้าในสายงาน นิติกร
ความก้าวหน้าในการรับราชการ
1. ตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่งในสายงานนิติกร เส้นทางความก้าวหน้าในสายงาน มี
ชื่อเรียกและระดับของตำแหน่งต่าง ๆ ดังนี้
          - นิติกร    ระดับปฏิบัติการ
          - นิติกร    ระดับชำนาญการ
          - นิติกร    ระดับชำนาญการพิเศษ
          - นิติกร    ระดับเชี่ยวชาญ
          - นิติกร    ระดับทรงคุณวุฒิ
2. ตำแหน่งนิติกร ปฏิบัติการ สามารถเลื่อนตำแหน่งเป็นระดับชำนาญการได้ โดยหากมีฒิปริญญาตรีจะใช้เวลา 6 ปี แต่หากมีวุฒิปริญญาโทใช้เวลา 4 ปี และเมื่อครองตำแหน่งระดับชำนาญการครบ 4 ปีแล้ว จะสามารถเลื่อนตำแหน่งเป็นชำนาญการพิเศษ หรือจะเลือกสอบคัดเลือกขึ้นเป็นหัวหน้าฝ่าย (อำนวยการต้น) ก็ได้เช่นกัน
3. นิติกร ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ จะได้รับเงินเพิ่มสำหรับตำแหน่งที่มีเหตุพิเศษตำแหน่งนิติกร (พ.ต.ก.) ด้วย
4. สายงานนิติกรและตำแหน่งนิติกรเป็นที่ต้องการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5. ตำแหน่งนิติกร จะเติบโตในสายงานของตนเอง ไม่มีการนำผลงานเปรียบเทียบกับตำแหน่งอื่น
6. สวัสดิการประโยชน์เกื้อกูลต่าง ๆ รวมทั้งความก้าวหน้าในหน้าที่ การเลื่อนขั้นเงินเดือนการเติบโตในสายงาน เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ

ความก้าวหน้าในสายอาชีพอื่น
สำหรับความก้าวหน้าในสายงานนิติกร ซึ่งคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งก็คือต้องเป็นผู้ที่
จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี  หรือคุณวุฒิอย่างอื่นที่เทียบได้ในระดับเดียวกันในสาขาวิชานิติศาสตร์ และคนที่จบนิติศาสตร์ส่วนใหญ่ก็จะต้องทำงานทุกด้านที่เกี่ยวกับกฎหมาย โดยจะดูแลงานเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมายองค์กรและระหว่างหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นทั้งภาครัฐและเอกชน หากพลาดโอกาสในการสอบบรรจุรับราชการในตำแหน่งนิติกร ก็ยังสามารถก้าวหน้าในสายสายอาชีพต่าง ๆ ได้ดังนี้
1. นักกฎหมายประจำบริษัท (In House Lawyer) เป็นพนักงานประจำของบริษัทโดยรับเงินเดือนและมีสวัสดิการต่าง ๆ ตามระเบียบของบริษัทนั้น ๆ ทำหน้าที่ไม่แตกต่างไปจากนิติกรขององค์กรภาครัฐ เช่น ให้คำปรึกษาและความเห็นทางกฎหมาย การร่างสัญญาและการบริหารสัญญาของบริษัทเพื่อรักษาผลประโยชน์ของบริษัท หรือการเผยแพร่ให้ความรู้ทางด้านกฎหมายแก่พนักงาน และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ
2. ที่ปรึกษากฎหมาย (Law Firm) เป็นอาชีพที่แตกต่างจากนักกฎหมายประจำบริษัท เพราะไม่ได้รับเงินเดือนประจำ แต่ทำงานในสายงานนิติกร เช่น รับเป็นที่ปรึกษากฎหมายให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย ให้แก่องค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน หรือบริษัท ห้างร้านต่าง ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากร โดยได้รับผลตอบแทนตามเงื่อนไขหรือข้อตกลงของหน่วยงานนั้นๆ
3. ประกอบอาชีพเป็นครู / อาจารย์ ด้านกฎหมาย สามารถรับสอนพิเศษหรือเป็นครูอาจารย์สอนกฎหมายในสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งรับเป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่วกับกฏหมาย
4. นักวิชาการด้านกฎหมาย หากมีความเชี่ยวชาญมาก ๆ ในด้านใดเป็นพิเศษหรือเลือกศึกษาเพิ่มเติม อาจวิเคราะห์เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายทำหน้าที่เป็นนักวิชาการด้านกฎหมาย เช่น เขียนหนังสือ ตำรา หรือบทความวิชาการให้ความรู้ด้านกฎหมายลงตามสื่อต่าง ๆ
5. ทนายความ สำหรับคนที่เรียนจบด้านนิติศาสตร์ หากต้องการทำอาชีพทนายความ ก็จะต้องผ่านการอบรมจากสภาทนายความก่อน และเมื่อผ่านแล้วก็จะได้ใบอนุญาตว่าความ หรือตั๋วทนาย สามารถประกอบอาชีพทนายความและรับว่าความได้ทั่วราชอาณาจักร

สนใจอ่านข้อมูลเพิมเติมได้จาก  https://gorporonline.com/articles/job-in-law-position-career-path/

 


Create Date : 29 พฤษภาคม 2563
Last Update : 29 พฤษภาคม 2563 10:52:29 น. 0 comments
Counter : 3329 Pageviews.

nhumnoi
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add nhumnoi's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.