Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2563
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
11 มิถุนายน 2563
 
All Blogs
 
ธรรมาภิบาล (Good Governance) สำคัญอย่างไรต่อระบบราชการ


 

การเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อสอบบรรจุรับราชการ ไม่เฉพาะการเตรียมความรู้ที่ใช้สำหรับสอบ ก.พ.ภาค ก.เท่านั้น แต่หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ก็ต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เพราะเส้นทางการสอบบรรจุอาจเริ่มจากสอบ ภาค ข.ซึ่งเป็นการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง และสอบภาค ค.เพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง พร้อมกันในวันเดียว โดยยังไม่ได้สอบภาค ก. แต่เป็นการเปิดสอบของหน่วยงานหรือส่วนราชการต่าง ๆ ที่ต้องการบุคลากรในตำแหน่งนั้น ๆ แล้วจึงเปิดสอบ ก.พ. พิเศษ หรือเปิดสอบภาค ก.ภายหลัง

ธรรมาภิบาล (Good Governance) คืออะไร

ธรรมาภิบาล (Good Governance) หมายถึง การปกครองที่เป็นธรรม หรือเป็นหลักของการบริหารราชการที่อเรียกว่า “การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี” มีกรอบแนวคิดในการบริหารสาธารณะที่ให้ความสำคัญกับประชาชน ดังนี้

  1. เป็นการบริหารเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชนในทุก ๆ ด้าน
  2. เป็นการบริหารที่ก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
  3. การบริหารมีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
  4. หลักการบริหารไม่มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานที่ยากเกินความจำเป็น
  5. หลักการบริหาร ทำให้มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
  6. เป็นการบริหารที่อำนวยความสะดวกแก่ประชาชน และได้รับการตอบสนองต่อความต้องการ
  7. หลักการบริหารมีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ

การพัฒนาระบบราชการ เพื่อให้เกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) มี ก.พ.ร หรือสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ มีหน้าที่ริเริ่ม ผลักดัน และเสนอแนะนโยบายต่อคณะรัฐมนตรีในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการ และการพัฒนาระบบราชการ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

องค์ประกอบและความสำคัญของธรรมาภิบาล ต่อระบบราชการ

ธรรมาภิบาล คือหลักในการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี ถือเป็นหลักการบริหารเพื่อการอยู่ร่วมกันในบ้านเมืองและสังคมให้เกิดความสงบสุข โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ประการดังนี้

  1. หลักนิติธรรม หมายถึง การตรากฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับและกติกาต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม โดยคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพ ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและสมาชิกในการถือปฏิบัติร่วมกันอย่างเสมอภาค
  2. หลักคุณธรรม หมายถึง การยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม เป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตจนเป็นนิสัย
  3. หลักความโปร่งใส หมายถึง การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ การทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา การทำงานขององค์กรทุกองค์กรมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ และช่วยให้การทำงานของภาครัฐและภาคเอกชนปราศจากการทุจริตคอรัปชั่น
  4. หลักการมีส่วนร่วม หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และแสดงความคิดเห็น โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนมีช่องทางในการเข้ามามีส่วนร่วม ได้แก่ การแจ้งความเห็น การไต่สวน สาธารณะ การประชาพิจารณ์การแสดงประชามติ หรืออื่น ๆ
  5. หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิหน้าที่ ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมืองและการกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลดีและผลเสียจากการกระทำของตนเอง
  6. หลักความคุ้มค่า หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยการรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน

สรุป ความสำคัญของหลักธรรมาภิบาลต่อระบบราชการ

หลักธรรมาภิบาล เป็นแนวคิดสำคัญในการบริหารงานและการปกครอง โดยเฉพาะข้าราชการ เพราะธรรมาภิบาลเป็นการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตั้งมั่นอยู่บนหลักการบริหารงานที่เที่ยงธรรม สุจริต โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้  ดังนั้นหลักธรรมาภิบาลหรือการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี จึงมีความสำคัญต่อระบบราชการเพราะเป็นการการพัฒนาระบบราชการ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดิน ให้สามารถขับเคลื่อนนโยบายต่าง ๆ ไปสู่การปฏิบัติให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ หรือ ก.พ.ร.ทำหน้าที่ผลักดัน และเสนอแนะนโยบายต่อคณะรัฐมนตรี ในเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติราชการ

ความรู้เกี่ยวกับธรรมาภิบาล สำคัญอย่างไรต่อการสอบภาค ข.และภาค ค.

การสอบเพื่อบรรจุรับราชการในภาค ข. เป็นการสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง และการสอบภาค ค. เป็นการสอบวัดความเหมาะสมกับตำแหน่งหรือการสอบสัมภาษณ์ เพื่อเข้ารับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ ตามที่หน่วยงานหรือองค์กรนั้น ๆ เปิดสอบ การเรียนรู้หรือทำความเข้าใจกับหลักธรรมาภิบาลหรือ Good Governance จึงมีความสำคัญต่อการสอบภาค ข.และภาค ค. ดังนี้

  • เป็นองค์ความรู้ที่อาจมีอยู่ในการสอบภาค ข.ที่เป็นการสอบข้อเขียนและการสอบสอบภาค ค.หรือการสอบสัมภาษณ์ เนื่องจากเป็นหลักปฏิบัติของข้าราชการในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  • การศึกษาเรียนรู้และทำความเข้าใจกับหลักธรรมาภิบาลหรือ Good Governance นอกจากเป็นองค์ความรู้สำหรับการเตรียมตัวสอบเวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง และการสอบสัมภาษณ์แล้ว ยังบ่งบอกถึงการเตรียมความพร้อมในการเป็นข้าราชการที่ดีในอนาคตอีกด้วย
  • ทำให้ทราบกลยุทธ์การบริหารจัดการที่ดี เช่น การสร้างระบบการบริหารจัดการบ้านเมืองและสังคมที่ดี ต้องดำเนินการร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย ได้แก่
  1. ภาครัฐ ต้องปฏิรูปบทบาทหน้าที่และกระบวนการทำงานให้มีความโปร่งใส ซื่อสัตย์ สุจริต ซื่อตรง มีประสิทธิภาพ 
  2. ภาคธุรกิจหรือภาคเอกชน ต้องปฏิรูปการทำงานโดยยึดกติกาที่โปร่งใส มีความรับผิดชอบต่อลูกค้า และรับผิดชอบต่อสังคม
  3. ภาคประชาชน ต้องตระหนักในสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
  • ความรู้ในหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี นอกจากนำไปใช้กับตำแหน่งหน้าที่เมื่อสอบ บรรจุรับราชการได้แล้ว ยังสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้กับการทำงานทุกรูปแบบรวมถึงการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม

สอบบรรจุรับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องสอบภาค ก.หรือไม่

สำหรับการสอบบรรจุรับราชการโดยทั่วไปต้องสอบ ก.พ. ภาค ก ให้ได้เสียก่อน แต่บางกรณีหน่วยงานต่าง ๆ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจเปิดสอบเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งที่ต้องการ โดยเปิดสอบภาค ข.และภาค ค.ในวันเดียวกันส่วนใหญ่แบ่งเป็นการสอบภาค ข.ในช่วงเช้า และสอบสัมภาษณ์หรือสอบภาค ค. ในช่วงบ่าย  

กรณีสมัครสอบบรรจุรับราชการตามประกาศขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเปิดสอบบุคคลเข้ารับราชการในตำแหน่งที่ต้องการ และการสอบเฉพาะภาค ข.และภาค ค. ซึ่งส่วนใหญ่จะสอบพร้อมกันในวันเดียว โดยผู้สมัครสอบไม่ต้องสอบผ่านก.พ. ภาค ก.มาก่อน แต่จะต้องสอบ ภาค ก.เหมือนกับการสอบบรรจุข้าราชการทั่วไป แต่แตกต่างกันที่เป็นการสอบ ก.พ. พิเศษหรือภาคพิเศษ คือการเปิดสอบโดยการวางแผนร่วมกันระหว่างสำนักงาน ก.พ. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ในส่วนของการเตรียมตัวสอบรวมทั้งรายละเอียดต่าง ๆ จะเหมือนกับการสอบ ก.พ.ภาค ก ทั่วไป แต่ ก.พ.พิเศษ ที่เป็นการสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่น นอกจากวิชาที่ใช้สอบ ก.พ. ภาค ก แล้วจะมีวิชาที่เกี่ยวกับกฎหมายในการปฏิบัติหน้าที่มาออกเป็นข้อสอบเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งวิชา

สอบบรรจุรับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีคอร์สติวสอบหรือไม่

การสอบบรรจุเพื่อรับราชการ สอบเป็นพนักงานของรัฐ หรือการสอบ ก.พ. ภาค ก ภาค ข และภาค ค รวมทั้งการสอบ ก.พ.พิเศษ ต้องมีการเตรียมตัวสอบหรือเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบ เพราะในการเปิดสอบแต่ละครั้งหรือแต่ละสนามสอบจะมีผู้ที่สนใจสมัครสอบเป็นจำนวนมาก ทำให้การแข่งขันสูง โดยเฉพาะคนที่ไม่มีเวลาอ่านหนังสือ

การติวสอบจึงเป็นตัวช่วยหรือทางเลือกที่ดีของคนไม่มีเวลาอ่านหนังสือ ทำให้มีศูนย์ติวสอบเปิดให้บริการเพื่อเป็นเส้นทางลัดให้กับผู้ที่ต้องการสอบบรรจุรับราชการ การสอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็เช่นเดียวกัน ที่มีทั้งติวสอบที่ศูนย์และเป็นคอร์สออนไลน์ สามารถติวสอบอยู่ที่บ้านได้โดยไม่ต้องเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

https://gorporonline.com/articles/how-important-is-good-governance-to-the-bureaucracy/




Create Date : 11 มิถุนายน 2563
Last Update : 11 มิถุนายน 2563 10:25:14 น. 0 comments
Counter : 157 Pageviews.

nhumnoi
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add nhumnoi's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.