Group Blog
 
 
พฤษภาคม 2563
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
29 พฤษภาคม 2563
 
All Blogs
 
เส้นทาง สอบบรรจุข้าราชการส่วนท้องถิ่น แนวข้อสอบ ก.พ. ท้องถิ่น ปี 2563 ทุกตำแหน่ง



สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนหรือ ก.พ. โดยทั่วไปจะกำหนดเปิดสอบภาค ก. หรือการสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไปทุกปี แต่เนื่องจาก ปี 2563 เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลกระทบทำให้ ก.พ. ต้องประกาศเลื่อนการสอบหรือการสมัครสอบออกไปโดยไม่มีกำหนดหรือจนกว่าไวรัสโควิด 19 จะผ่านพ้นไป เพื่อให้ผู้ที่เตรียมตัวสมัครสอบได้ใช้วิกฤตให้เป็นโอกาสในการเตรียมความพร้อมเมื่อเปิดสอบอีกครั้ง ก.พ. ออนไลน์ มีข้อมูลแนวข้อสอบ ก.พ. ท้องถิ่น มาอัพเดทให้เป็นความรู้

เส้นทางการสอบบรรจุเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น  
เส้นทางการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น คือการสอบตรงในตำแหน่งต่าง ๆ ตามที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเปิดรับสมัครเป็นประจำทุกปี เส้นทางนี้จะสอบพร้อมกันทั้ง ภาค ก. ภาค ข. และภาค ค. หรืออาจสอบภาค ข และค ซึ่ง ก.พ จะเปิดสอบภาค ก.พิเศษ ให้ในภายหลัง

ความแตกต่างระหว่างการสอบบรรจุข้าราชการท้องถิ่น กับข้าราชการพลเรือน
การสอบบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือน เส้นทางการสอบบรรจุข้าราชการพลเรือน ได้แก่ การสมัครสอบ ก.พ. ภาค ก. หรือการสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไป ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนหรือ ก.พ. จะเปิดสอบเป็นประจำทุกปี เมื่อสอบภาค ก.ผ่านแล้ว ก็จะใช้เป็นเอกสารหลักฐาน(ใบรับรองการสอบผ่านภาค ก ของ ก.พ)ไปสมัครสอบภาค ข.และภาค ค.ในตำแหน่งต่าง ๆ ที่องค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐเปิดรับสมัคร

การสอบ ก.พ. ภาค ก กับการสอบภาค ก.ของท้องถิ่น แตกต่างกันอย่างไร
การสอบเพื่อบรรจุรับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือสอบบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนในตำแหน่งต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐ จะต้องสอบผ่านภาค ก. หรือภาคความรู้ความสามารถทั่วไปทั้ง 2 เส้นทาง แต่ความแตกต่างระหว่างการสอบ ก.พ. ภาค ก.กับการสอบ ภาค ก.ของท้องถิ่น มีดังนี้
         - การสอบผ่านภาค ก ของ ก.พ. เป็นคนละส่วนกันกับการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น จึงไม่สามารถนำ “ใบรับรองการสอบผ่านภาค ก ของ ก.พ” มาใช้กับการสอบของท้องถิ่นได้
         - ผู้ที่สมัครสอบท้องถิ่น จะสอบเหมือนกันหมด คือ สอบภาค ก. และภาค ข และหากผ่าน 60% ก็จะมีสิทธิสอบภาค ค ต่อไป
         - สำหรับผู้ที่เคยสอบผ่านภาค ก.ของท้องถิ่นแล้ว ไม่สามารถนำมาใช้สมัครสอบท้องถิ่นในตำแหน่งอื่น ๆ ได้อีกเพราะภาค ก ของท้องถิ่นในครั้งนั้นหมดอายุไปนานแล้ว
         - การสอบ ก.พ. ภาค ก.จะแตกต่างกับการสอบ ภาค ก.ของท้องถิ่น คือสอบได้แล้วสามารถนำใบรับรองการสอบผ่านภาค ก ของ ก.พ ไปใช้สอบบรรจุรับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ ของหน่วยงานภาครัฐได้ตลอดไป

วิชาและแนวข้อสอบ ก.พ. ท้องถิ่น
สำหรับการสอบบรรจุรับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วิชาและแนวข้อสอบ ก.พ. ท้องถิ่น ที่ใช้ออกข้อสอบทุกตำแหน่ง ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) เป็นการทดสอบโดยวิธีการสอบข้อเขียนแบบปรนัย
         1. ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก) มีรายละเอียด ดังนี้
                - ความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล (คะแนนเต็ม 30 คะแนน)  เป็นการ ทดสอบความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปเหตุผล เช่น 
                         o ความสามารถในการสรุปความ หรือจับประเด็นในข้อความหรือเรื่องราว
                         o ความสามารถในการวิเคราะห์เหตุการณ์หรือสรุปเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจหรือสังคม ด้าน หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียง โมเดลเศรษฐกิจประเทศไทย 4.0 หรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12
                - ความสามารถในการหาแนวโน้มหรือความเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูลหรือ สมมติฐาน
                - ความสามารถในการวิเคราะห์และสรุปเหตุผลอย่างอื่น เช่น สรุปเหตุผลเกี่ยวกับตัวเลข และข้อมูลต่าง ๆ การคิดสรุปหาเหตุผล และอุปมาอุปไมย

         2. วิชาความรู้พื้นฐานในการปฏิบัติราชการ (คะแนนเต็ม 30 คะแนน) เป็นการทดสอบความรู้  พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายที่ใช้ในการปฏิบัติราชการ เช่น
                - รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
                - พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                - พระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                - พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                - พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                - พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                - พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                - พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542
                - พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีพ.ศ. 2546
                - พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
                - ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

         3. ภาษา เช่น วิชาภาษาไทย (คะแนนเต็ม 20 คะแนน) เป็นการทดสอบความรู้และความสามารถในการใช้ ภาษา เช่น
                - การอ่านจับใจความ
                - การสรุปความการตีความ
                - การขยายความจากข้อความสั้นๆ หรือบทความ
                - การพิจารณาเลือกใช้ภาษาในรูปแบบต่าง ๆ จากคำหรือกลุ่มคำ ประโยคหรือข้อความสั้นๆ
                - การเรียงข้อความ
                - การสะกดคำ
                - การแต่งประโยค และคำศัพท์

         4. วิชาภาษาอังกฤษ (คะแนนเต็ม 20 คะแนน) เป็นการทดสอบความรู้และความสามารถภาษาอังกฤษขั้นพื้นฐาน เช่น
                - ความรู้ความสามารถทางด้านการอ่าน
                - การสรุปความ การตีความ
                - ความเข้าใจสาระสำคัญของข้อความในระดับเบื้องต้น

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ) ปรับเพิ่มหลักสูตรการสอบภาค ก.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ)  ได้ออกหนังสือเวียน แจ้งเกี่ยวกับการหลักสูตรการสอบภาค ก. ก.พ. หรือแจ้งแนวข้อสอบ ก.พ. ท้องถิ่น ที่ต่อไปผู้สมัครสอบภาค ก. จะต้องสอบ “วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการทีดี”  ซึ่งมีคะแนนเต็มถึง 50 คะแนน แยกต่างหากจากหมวดวิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และวิชาภาษาอังกฤษ โดยผู้ที่จะได้ขึ้นบัญชีเป็นผู้สอบผ่านภาค ก. ก.พ. จะต้องได้คะแนนวิชาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ซึ่งประกอบด้วยวิชาความสามารถทั่วไป และวิชาภาษาไทย รวมกันแล้วไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 เฉพาะวิชาภาษาอังกฤษได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 50 และเฉพาะวิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ผู้เข้าสอบจะต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ด้วย
ดังนั้น การสอบ ก.พ. ภาค ก. ต่อไปจึงปรับเพิ่มวิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ โดยวิชาที่ผู้เข้าสอบทุกคนต้องสอบ มีดังนี้
         1. วิชาความสามารถทั่วไป 
         2. วิชาภาษาไทย 
         3. วิชาความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี
              3.1 ระเบียบริหารราชการแผ่นดิน
              3.2 หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
              3.3 วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
              3.4 หน้าที่และความรับผิดในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
              3.5 เจตคติและจริยธรรมสำหรับข้าราชการ
         4. วิชาภาษาอังกฤษ 

ข้อดี ของการปรับเพิ่มหลักสูตรการสอบภาค ก.ของท้องถิ่น
สำหรับการปรับหลักสูตรการสอบ ก.พ. ภาค ก.หรือเปลี่ยนแปลงแนวข้อสอบ ก.พ. ท้องถิ่น โดยเพิ่มเนื้อหาวิชา ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ทำให้มีข้อดีต่อผู้สอบ ดังนี้
         - ช่วยให้ผู้สมัครสอบมีความรู้ความเข้าใจและเป็นผู้มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ราชการในตำแหน่งนั้น ๆ มากขึ้น
         - ส่วนของเนื้อหาวิชาในหลักสูตรที่ ก.พ. เพิ่มเข้ามาในการสอบภาค ก.เกี่ยวข้องกับการรับราชการในตำแหน่งต่าง ๆ เกือบจะทุกหน่วยงาน เช่น การสอบปลัดอำเภอ สรรพกร พัฒนาชุมชน เจ้าพนักงานที่ดิน สรรพสามิต และอื่น ๆ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการสอบในภาค ข (สอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่ใช้เฉพาะตำแหน่ง)
         - ความรู้และลักษณะการเป็นข้าราชการที่ดี ช่วยให้ผู้ที่สมัครสอบเข้ามารับราชการรับรู้กฎหมายเบื้องต้นในการปฏิบัติติงานจริง ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการเป็นข้าราการที่ดี
         - ทำให้การอ่านแนวข้อสอบ ก.พ. ท้องถิ่น ของผู้สมัครสอบเกิดประโยชน์ครอบคลุม กระชับไม่ต้องซื้อแนวข้อสอบหรือซื้อหนังสือหลายเล่ม เพราะอ่านหนังสือสอบ ก.พ. ภาค ก. เพียงครั้งเดียวแต่สามารถใช้ความรู้สอบภาค ข ได้เกือบทุกตำแหน่ง

สำหรับหลักเกณฑ์ใหม่ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ)  ในการปรับเพิ่มหลักสูตรและวิชาที่ใช้สอบ ก.พ. ภาค ก. เริ่มใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป

https://gorporonline.com/articles/local-government-official-examination-route/


Create Date : 29 พฤษภาคม 2563
Last Update : 29 พฤษภาคม 2563 10:49:50 น. 0 comments
Counter : 51 Pageviews.

nhumnoi
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add nhumnoi's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.