Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2563
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
4 กรกฏาคม 2563
 
All Blogs
 
อำนาจหน้าที่ โครงสร้างการบริหารและบทบาทหน้าที่ของข้าราชการท้องถิ่น (อบจ.)



อำนาจหน้าที่ โครงสร้างการบริหารและบทบาทหน้าที่ของข้าราชการท้องถิ่น (อบจ.)


องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. คือส่วนราชการที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนในท้องถิ่นนั้น ๆ บทบาทหน้าที่จะถูกกำหนดโดยกฎหมายจัดตั้ง อปท. การสอบท้องถิ่น หรือสอบบรรจุข้าราชการท้องถิ่น นอกจากมีความรู้ตามสาขาวิชาที่ระบุไว้ในคุณสมบัติของผู้สมัครสอบแล้ว ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโครงสร้างการบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และบทบาทหน้าที่ของข้าราชการท้องถิ่นถือเป็นแนวข้อสอบที่เป็นประโยชน์ต่อการสอบท้องถิ่นทั้งภาค ก.ภาค ข.และการสอบสัมภาษณ์

อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)

  1. ตราข้อบัญญัติโดยไม่ขัดหรือแย้งต่อกฎหมาย
  2. จัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด ตามระเบียบที่คณะรัฐมนตรีกำหนด
  3. สนับสนุนสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่นในการพัฒนาท้องถิ่น
  4. ประสานและให้ความร่วมมือในการปฏิบัติหน้าที่ของสภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่นอื่น
  5. แบ่งสรรเงินซึ่งตามกฎหมายจะต้องแบ่งให้แก่สภาตำบลและราชการส่วนท้องถิ่น
  6. อำนาจหน้าที่ของจังหวัดตาม พ.ร.บ. ระเบียบบริหาราาชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 เฉพาะในเขตสภาตำบล
  7. คุ้มครอง ดูแล และบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  8. จัดทำกิจการใด ๆ อันเป็นอำนาจหน้าที่ของราชการส่วนท้องถิ่นอื่นที่อยู่ในเขต อบจ. และ กิจการนั้นเป็นการสมควรให้ราชการส่วนท้องถิ่นอื่นร่วมกันดำเนินการหรือให้ อบจ. จัดทำตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง
  9. จัดทำกิจการอื่น ๆ ที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ อบจ. เช่น พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542

บทบาทหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีเขตพื้นที่ดูแลรับผิดชอบอย่างกว้างขวาง  และมีภารกิจหลักและภารกิจรองที่จะดำเนินการตามบทบาทหน้าที่  ดังนี้

1. ภารกิจหลัก

  • การพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน
  • การจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
  • การส่งเสริม  พัฒนาและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว
  • การจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด  และการประสานการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด
  • การส่งเสริมการกีฬา  จารีต  ประเพณี  ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
  • ผังเมืองรวมจังหวัด
  • การพัฒนาและส่งเสริมอาชีพ
  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
  • การพัฒนาบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัด
  • การป้องกันและส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชน
  • การตรวจสอบและติดตามประเมินผล
  • การส่งเสริมการศึกษา
  • การพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อยโอกาส
  • การแก้ไขปัญหาโรคเอดส์และป้องกันยาเสพติด

2. ภารกิจรอง

  • ส่งเสริมการจัดตั้งตลาดกลาง  หรือศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ของจังหวัด
  • ส่งเสริมการจัดให้มีสวนสาธารณะ  หรือสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
  • การส่งเสริมประชาธิปไตย  ความเสมอภาค  และสิทธิเสรีภาพของประชาชน
  • การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • งานอำนวยการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด
  • การพัฒนาฐานข้อมูลสารสนเทศ
  • สนับสนุนกิจกรรมตามโครงการพระราชดำริ
  • กิจกรรมเมืองไทยใสสะอาด

3. ภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจ

  • การดูแลบำรุงทางหลวงชนบท
  • สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัด
  • โรงเรียน
  • ระบบชลประทาน คลอง

โครงสร้างการบริหารและบทบาทหน้าที่ของข้าราชการท้องถิ่น (อบจ.)

สำหรับเจ้าหน้าที่อื่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่ ข้าราชการส่วนจังหวัด ซึ่งรับเงินเดือนจากงบประมาณขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้าราชการส่วนจังหวัดมีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชา และมีรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกับปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารองจากนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ในส่วนโครงสร้างการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่หรือข้าราชการจังหวัด มีดังนี้

1. สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับราชการทั่วไปของ อบจ. และราชการที่มิได้กำหนดให้เป็นหน้าที่ของกองหรือส่วนราชการใดในองค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยเฉพาะ รวมทั้งกำกับและเร่งรัดการปฏิบัติราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น 4 ฝ่าย ได้แก่

  • ฝ่ายบริหารงานทั่วไป หน้าที่รับผิดชอบ ได้แก่ งานธุรการ งานสารบัญ งานเลขานุการ งานรัฐพิธี งานประชาสัมพันธ์ งานข้อมูลข่าวสารทั่วไป  งานสารสนเทศ งานรักษาความสะอาด งานรักษาความปลอดภัยสถานที่ราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด งานปรับปรุงบูรณะสถานที่ท่องเที่ยว งานประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยว งานอื่น ๆที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย
  • ฝ่าบริหารงานบุคคล หน้าที่รับผิดชอบ ได้แก่ งานการเจ้าหน้าที่และสวัสดิการข้าราชการและลูกจ้าง งานเลขานุการคณะกรรมการองค์การบริหารส่วนจังหวัด งานพัฒนาบุคลากร งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย
  • ฝ่ายนิติการและการพาณิชย์ มีหน้าที่รับผิดชอบ งานนิติการ งานวินัยข้าราชการ, ลูกจ้าง และพนักงานจ้าง งานรับเรื่องราวร้องทุกข์ ร้องเรียนเรื่องทั่วไป งานรักษาความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน งานออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ งานเกี่ยวกับการตราข้อบัญญัติองค์การบริหาร ส่วนจังหวัดที่ไม่ใช่ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย งานจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของ อบจ. งานการดำเนินการทางนิติกรรม สัญญาและการดำเนินการทางกฎหมาย งานดำเนินการกิจการพาณิชย์ งานกิจการขนส่ง งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและที่ได้รับมอบหมาย
  • ฝ่ายสวัสดิการสังคมและการสาธารณะสุข มีหน้าที่รับผิดชอบงานสังคมสงเคราะห์ งานสาธารณูปการ การป้องกันแลบำบัดโรค การจัดตั้งและบำรุงสถานพยาบาล งานคุ้มครองผู้บริโภค งานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและได้รับมอบหมาย

2. กองช่างรับผิดชอบทางด้านงานช่าง

กองช่างมีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานด้านช่าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสำรวจ ออกแบบ การประมาณการ การควบคุม การบำรุงรักษา การปฏิบัติงานของเครื่องจักรกล การจัดทำรายการค่าใช้จ่าย และการประมาณการโครงการตามข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และงานอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย

3. กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

กองการศึกษา มีหน้าที่ความรับผิดชอบด้านการจัดการศึกษาตามอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยครอบคลุมการจัดการศึกษาในสังกัด การสนับสนุน ส่งเสริมการศึกษาในระบบ และนอกระบบ ตั้งแต่ระดับ เด็กเล็ก เยาวชน/ประชาชนทั่วไป และการอนุรักษ์สืบสานเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น การศึกษาวิจัย รวมทั้งการอนุรักษ์ส่งเสริมและสืบสานทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น

4. กองกิจการสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด

มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานของกิจการสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดย การติดตามผลการปฏิบัติตามมติของสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด และงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และสร้างความรู้ความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ตามหลักการปกครองท้องถิ่น ภารกิจสำคัญที่ได้รับมอบหมายตามนโยบายขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

5. กองแผนและงบประมาณ

กองแผนและงบประมาณ  มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับงานวิเคราะห์นโยบายและแผนงาน การจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัด การประมาณการจัดทำแผนพัฒนา การจัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย การติดตามและประเมินผล รวมทั้งงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาของภาคส่วนประชาสังคม และสนับสนุนการพัฒนาตามแนวทางของแผนชุมชน

6. กองคลัง

กองคลัง มีหน้าที่ความรับผิดชอบเกี่ยวกับด้านการคลังขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ครอบคลุมตั้งแต่ การจัดหารายได้ การเบิกจ่าย ควบคุมการรับจ่าย

7. กองส่งเสริมคุณภาพชีวิต

กองส่งเสริมคุณภาพชีวิต  มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน/หมู่บ้าน การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน การเสริมสร้างอาชีพ และการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การเสริมสร้างและเติมเต็มภูมิความรู้ให้กับชุมชน/หมู่บ้าน ให้ดำรงอยู่ภายใต้บริบทที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา

8. กองการเจ้าหน้าที่

กองการเจ้าหน้าที่  มีหน้าที่ความรับผิดชอบงานด้านบุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งเป็นทรัพยากรทางการบริหารที่สำคัญ โดยครอบคลุมตั้งแต่การสรรหา การคัดเลือกบุคลากรขององค์กร การพัฒนาเสริมสร้างทักษะ ศักยภาพบุคลากร รวมทั้งการธำรง รักษาบุคลากรขององค์กร

9. กองพัสดุและทรัพย์สิน

กองพัสดุและทรัพย์สิน มีหน้าที่รับผิดชอบงานเกี่ยวกับการพัสดุขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ตั้งแต่การจัดหาพัสดุ การควบคุมดูแลรักษาพัสดุและทรัพย์สิน การพัฒนาการบริการด้านพัสดุและทรัพย์สิน และงานที่เกี่ยวข้อง

10. กองป้องกันและบันเทาสาธารณภัย

 มีหน้าที่และความรับผิดชอบด้านการป้องกัน เฝ้าระวังสาธารณภัย หรือภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย อัคคีภัย วาตภัย ภัยอากาศหนาว ภัยแล้ง แผ่นดินไหว ดินโคลนถล่ม และปฏิบัติราชการครอบคลุมการสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย หรือภัยธรรมชาติ รวมทั้งประสาน สนับสนุนส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตพื้นที่จังหวัด

การเตรียมตัวสอบบรรจุเป็นข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด

หลักเกณฑ์การสอบบรรจุเข้ารับราชการในองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งเป็นการสอบท้องถิ่นหรือสอบบรรจุรับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนใหญ่เป็นการเปิดรับในตำแหน่งว่างหรือต้องการบุคลากรในตำแหน่งนั้น ๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งหลักเกณฑ์การสอบอาจเปลี่ยนแปลงหรือแตกต่างกันไป สำหรับการเตรียมตัวสอบข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ได้แก่

  1. ติดตามข้อมูลข่าวสารการเปิดสอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือติดตามข่าวการเปิดสอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น ๆ
  2. จัดเตรียมวุฒิการศึกษาตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่สมัครสอบให้ครบถ้วน
  3. การกรอกในใบสมัครสอบ จะต้องเป็นข้อมูลตรงตามความเป็นจริง
  4. ตรวจทานข้อมูลที่กรอกในใบสมัครสอบให้ถูกต้องและสมบูรณ์ก่อนที่จะส่งใบสมัครสอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ
  5. หลักฐานและเอกสารเพื่อใช้แสดงตนเพื่อเข้าห้องสอบและส่งมอบให้เจ้าหน้าที่คุมสอบในการเข้าสอบแข่งขันให้ครบถ้วน ตามที่กำหนดในประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน ฯ หากขาดหลักฐานข้อใดข้อหนึ่งอาจไม่มีสิทธิเข้าสอบ

การสอบท้องถิ่นต้องสอบ ก.พ. ภาค ก.ก่อนหรือไม่

การสอบท้องถิ่นหรือสอบบรรจุเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น ด้านการเตรียมตัวสอบ ไม่จำเป็นต้องสอบผ่าน ก.พ. ภาค ก. มาก่อน เพราะเป็นการสอบคนละส่วน ข้าราชการพลเรือนสามัญจะต้องสอบผ่าน ก.พ.ภาค ก มาก่อนจึงจะสามารถสอบภาค ข และภาค ค.ส่วนข้าราชการท้องถิ่นสามารถสอบภาค ข.และภาค ค.ตามที่ท้องถิ่นเปิดสอบได้ แล้วจึงสอบ ก.พ.พิเศษ หรือสอบภาค ก.ภายหลัง หรืออาจสอบพร้อมกันทั้งภาค ก.และภาค ข ส่วนภาค ค.เมื่อสอบผ่านภาค ก.และข แล้วอาจเรียกสอบในภายหลัง

การสอบท้องถิ่น (อบจ.) ผู้ที่สนใจสามารถติดตามข้อมูลการเปิดรับสมัครได้จากสื่อต่าง ๆ หรือจากเว็บไซต์รับสมัครงาน หรือ เว็บประชาสัมพันธ์ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนั้น ๆ ปัจจุบันการสมัครสอบมีความสะดวกสบายเพราะสามารถยื่นใบสมัครผ่านช่องทางออนไลน์ได้

https://gorporonline.com/articles/authority-role-of-local-government-official/




Create Date : 04 กรกฎาคม 2563
Last Update : 4 กรกฎาคม 2563 18:01:53 น. 0 comments
Counter : 165 Pageviews.

nhumnoi
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add nhumnoi's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.