Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2563
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
11 มิถุนายน 2563
 
All Blogs
 
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน้าที่ความรับผิดชอบ ของข้าราชการท้องถิ่น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยงานภาครัฐที่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด เพราะเป็นองค์กรที่กระจายอำนาจการปกครองจากส่วนกลางไปให้ ประชาชนในท้องถิ่นดำเนินการเองภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้และเข้าใจถึงวิธีการปกครองตนเองตามระบอบประชาธิปไตย รวมถึงข้าราชการส่วนท้องถิ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นบุคคลอยู่ในท้องถิ่น ที่สามารสอบบรรจุเข้ารับราชการตามขั้นตอน ผ่าน ก.พ.กับท้องถิ่น หรือสอบภาค ข.และภาค ค.ตามประกาศรับสมัคร แล้วเปิดสอบ ก.พ.พิเศษ เพื่อสอบภาค ก.ภายหลัง

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หมายถึง

การปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นการปกครองที่ยึดหลักการกระจายอำนาจเพื่อประโยชน์ของรัฐและท้องถิ่น เน้นผลประโยชน์ของท้องถิ่นโดยตรง ให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีโอกาสเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ดังนั้น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จึงหมายถึง หน่วยงานของราชการที่รัฐกระจายอำนาจลงมาสู่ระดับท้องถิ่น การดำเนินงานเป็นอิสระจากส่วนกลาง เพื่อทำหน้าที่บริหารจัดการกิจการต่าง ๆ ในท้องถิ่นของตน

โครงสร้างขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2534 มาตรา 70 ได้แบ่งการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่

  1. องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นทุกจังหวัดเพื่อทำกิจการส่วนจังหวัดที่ไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่การบริหารราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
  2. เทศบาล เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นตามหลักเกณฑ์การพิจารณาจัดตั้งเทศบาล แบ่งเป็น
    • เทศบาลตำบล หลักเกณฑ์การเป็นเทศบาลตำบล จะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 12 ล้านบาท (ไม่รวมเงินอุดหนุน) มีประชากรตั้งแต่ 7,000 คนขึ้นไป และอยู่กันหนาแน่นไม่ต่ำกว่า 1,500 คน ต่อตารางกิโลเมตร
    • เทศบาลเมือง ได้แก่ ท้องถิ่นอันเป็นที่ตั้งศาลากลางจังหวัด หรือท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีประชากรตั้งแต่ 10,000 คนขึ้นไป และมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่ซึ่งกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติเทศบาล
    • เทศบาลนคร ได้แก่ ท้องถิ่นชุมนุมชนที่มีประชากรตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป และมีรายได้พอควรแก่การที่จะปฏิบัติหน้าที่ซึ่งกำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยเทศบาล
  3. การปกครองรูปแบบพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา
  4. องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดเล็กที่สุดและอยู่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด จุดมุ่งหมายของการจัดตั้ง อบต. คือ การกระจายอำนาจไปสู่ประชาชนให้ได้มากที่สุด และสามารถพัฒนา อบต. ไปสู่การปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบเทศบาล

ข้าราชการส่วนท้องถิ่น หมายถึง

ข้าราชการส่วนท้องถิ่น หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น หมายถึง ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยา รวมทั้งข้าราชการหรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง ซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งให้ปฏิบัติราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือจากเงินงบประมาณหมวดเงินอุดหนุนของรัฐบาลที่ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

หน้าที่ความรับผิดชอบ ของข้าราชการท้องถิ่น

ข้าราชการท้องถิ่นที่ปฏิบัติงานอยู่ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และการปกครองรูปแบบพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา จะมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติราชการตามนโยบายและแผนงานตามที่นายกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คณะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้กำหนด

หน้าที่ความรับผิดชอบ ของข้าราชการท้องถิ่นแต่ละตำแหน่งจะระบุเอาไว้ในประกาศรับสมัครของหน่วยงานหรือองค์กรท้องถิ่นว่ามาตรฐานของตำแหน่งนั้นจะต้องใช้ความรู้ความสามารถในการบริหารงาน การดำเนินการ การกำกับ แนะนำ ตรวจสอบ และการปฏิบัติงานอย่างไร เมื่อสอบผ่านตามขั้นตอนของก.พ.กับท้องถิ่น หรือสอบภาค ข.ภาค ค.และ ก.พ.พิเศษ ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่นแล้วจะมีการกำหนดลักษณะงานและความรับผิดชอบที่ต้องปฏิบัติออกเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้

  • ด้านบริหารงาน
  • ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล
  • ด้านบริหารทรัพยากรและงบประมาณ
  • ด้านการวางแผน
  • ด้านการปฏิบัติการ
  • ด้านการประสานงาน
  • ด้านการบริการ
  • และอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

โครงสร้างตำแหน่งของข้าราชการท้องถิ่น

สำหรับการกำหนดตำแหน่งของข้าราชการท้องถิ่น โครงสร้างระดับชั้นสามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

  1. ประเภทบริหารจัดการท้องถิ่น ผู้ที่ทำหน้าที่ด้านบริหารได้แก่ ตำแหน่ง ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและรองปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โครงสร้างการบริหารแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง
  2. ประเภทอำนวยการท้องถิ่น ได้แก่ ตำแหน่งหัวหน้าหน่วยงาน แยกเป็นระดับฝ่าย ระดับส่วน ระดับกอง ระดับสำนักในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โครงสร้างตำแหน่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง
  3. ประเภทวิชาการ ได้แก่ ตำแหน่งที่จำเป็นต้องใช้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญา ตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนด เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น โดยสอบผ่านภาค ก มาก่อนแล้วสอบภาค ข และภาค จากท้องถิ่น หรือสอบ ภาค ข และภาค ค.ก่อนสอบ ก.พ.พิเศษ ที่เปิดสอบโดย ก.พ.กับท้องถิ่น โครงสร้างตำแหน่งแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่
    1. ระดับปฏิบัติการ
    2. ระดับชำนาญการ
    3. ระดับชำนาญการพิเศษ
    4. ระดับเชี่ยวชาญ.
  4. ประเภททั่วไป ได้แก่ ตำแหน่งที่ไม่ใช่ตำแหน่งประเภทบริหาร อำนวยการ หรือประเภทวิชาการ แต่เป็นตำแหน่งการปฏิบัติงานตามมาตรฐานทั่วไปที่คณะกรรมการกลางข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นกำหนด เพื่อปฏิบัติงานในหน้าที่ของตำแหน่งนั้น แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่
    1. ระดับปฏิบัติงาน
    2. ระดับชำนาญการ
    3. ระดับอาวุโส

สวัสดิการของข้าราชการท้องถิ่น

สวัสดิการ คือ ค่าตอบแทนที่ทางราชการจัดให้แก่ราชการในฐานะที่เป็นสมาชิกขององค์กร เพื่อช่วยให้มีความมั่นคงในชีวิต ตลอดจนเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ข้าราชการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและบังเกิดประสิทธิผล โดยสวัสดิการหรือประโยชน์ตอบแทนอื่นของข้าราชการท้องถิ่นที่จะได้รับเช่นเดียวกันกับข้าราชการพลเรือนและเป็นไปตามที่มีกฎหมายกำหนด ได้แก่

  • ค่ารักษาพยาบาล
  • การศึกษาบุตร
  • ทุนการศึกษา
  • ค่าเช่าบ้าน
  • เงินทำขวัญ
  • เงินรางวัล
  • เงินบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น
  • และอื่น ๆ

การสอบบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยงานภาครัฐที่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด และนอกจากมี

บทบาทหน้าที่ในการบริหารนโยบายสาธารณะเพื่อตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นแล้ว ยังมีหน้าที่ในการสรรหา บรรจุและแต่งตั้ง การย้าย การโอน การรับโอน การเลื่อนระดับ การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ หรือการอื่นใดที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการท้องถิ่น

สำหรับการสมัครสอบเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการท้องถิ่น มีขั้นตอนเช่นเดียวกับการสอบบรรจุข้าราชการพลเรือนสามัญทั่วไป แต่อาจมีบางกรณีที่หน่วยงานหรือองค์กรท้องถิ่น เปิดสอบเพื่อรับสมัครบุคคลที่มีความรู้ความสามารถตามตำแหน่งที่ต้องการ โดยคุณสมบัติของผู้สมัครสอบไม่จำเป็นต้องสอบ ก.พ.ภาค ก.ให้ได้ก่อน แต่จะต้องสอบผ่านภาค ข.และภาค ค.จากส่วนกลางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ได้ก่อน แล้ว ก.พ. กับ ท้องถิ่น จะดำเนินการเปิดสอบ ก.พ. พิเศษ หรือสอบภาค ก.ภายหลัง

ควรเตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องการสอบเป็นข้าราชการท้องถิ่น

  1. ติดตามข้อมูลข่าวสารการเปิดสอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาจติดตามจากเว็บไซต์ติวสอบ หรือประกาศหางานรับสมัตรงานจากสื่อต่าง ๆ หรือติดตามข่าวสารจากประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานที่อยู่ในท้องถิ่น
  2. มีคุณสมบัติและวุฒิการศึกษาตรงตามที่กำหนดไว้ในคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งที่สมัครสอบ
  3. การกรอกในใบสมัครสอบ จะต้องเป็นข้อมูลตรงตามความเป็นจริง หากมีการตรวจสอบเอกสารและหรือคุณวุฒิการศึกษาซึ่งผู้สมัครสอบนำมายื่นไม่ตรงหรือไม่เป็นไปตามประกาศรับสมัครสอบ
  4. ตรวจทานข้อมูลที่กรอกในใบสมัครสอบให้ถูกต้องและสมบูรณ์ก่อนที่จะส่งใบสมัครสอบ
  5. ผู้สมัครสอบต้องนำหลักฐานและเอกสารเพื่อใช้แสดงตนเพื่อเข้าห้องสอบและส่งมอบให้เจ้าหน้าที่คุมสอบในการเข้าสอบแข่งขันให้ครบถ้วน ตามที่กำหนดในประกาศรับสมัครสอบแข่งขัน ฯ หากขาดหลักฐานข้อใดข้อหนึ่งอาจไม่มีสิทธิเข้าสอบ
  6. ศึกษารายละเอียดรายวิชาที่ใช้สอบ เพื่ออ่านหนังสือให้ตรงตามวิชาที่ใช้สอบ หรือฝึกทำแบบทดสอบ
  7. ศึกษาหรือทำความเข้าใจกับบทบาทหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และหน้าที่รับผิดชอบของข้าราชการท้องถิ่น เพื่อเตรียมตัวสอบและเตรียมตัวเป็นข้าราชการที่ดีในอนาคต
  8. เลือกสถาบันติวสอบหรือซื้อคอร์สติวสอบออนไลน์ กรณีไม่มีเวลาอ่านหนังสือ หรือเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตนเองในการสอบ ซึ่งปัจจุบันมีสถาบันติวสอบเปิดให้บริการมากมาย

การสอบบรรจุเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการพลเรือนสามัญ ด้านการเตรียมตัวสอบต่างกันที่ ก.พ.กับท้องถิ่น ข้าราชการพลเรือนสามัญจะต้องสอบผ่าน ก.พ.ภาค ก มาก่อนจึงจะสามารถสอบภาค ข และภาค ค.ส่วนข้าราชการท้องถิ่นสามารถสอบภาค ข.และภาค ค.ตามที่ท้องถิ่นเปิดสอบได้ แล้วจึงสอบ ก.พ.พิเศษ หรือสอบภาค ก.ภายหลัง

https://gorporonline.com/articles/local-government-organization-and-responsibility/




Create Date : 11 มิถุนายน 2563
Last Update : 12 มิถุนายน 2563 19:19:45 น. 0 comments
Counter : 52 Pageviews.

nhumnoi
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add nhumnoi's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.