Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2563
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
3 มิถุนายน 2563
 
All Blogs
 
นายร้อยตำรวจ สายพนักงานสอบสวน และบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ



ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรนอกจากนายร้อยตำรวจที่จบสายตรง คือจบจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจแล้วยังมีนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรจำนวนมาก ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเปิดรับสมัครจากบุคคลภายนอก โดยกำหนดคุณสมบัติตามที่ต้องการเมื่อสอบผ่านแล้วก็จะได้บรรจุเป็นข้าราชการตำรวจปฏิบัติงานในสายงานต่าง ๆ และแต่ละสายงานมีบทบาทหน้าที่อย่างไร บทความนี้ nine100.com มีหน้าที่รับผิดชอบของพนักงานสอบสวน มาแนะนำเป็นความรู้

เส้นทางนายร้อยตำรวจ และบทบาทหน้าที่พนักงานสอบสวน
สำหรับเส้นทางสู่การเป็นนายร้อยตำรวจ เชื่อว่าน้อง ๆ และหลายคนที่มีความฝันต้องการรับราชการตำรวจติดดาวบนบ่า ส่วนใหญ่เตรียมความพร้อมโดยการหาข้อมูลศึกษารายละเอียดต่าง ๆ ทำให้ทราบกันมาบ้างแล้วว่าการเป็นนักเรียนในโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ไม่ใช่เฉพาะต้องจบชั้นมัธยมศึกษาสายวิทย์คณิตย์ และสอบตรงเข้าสู่โรงเรียนเตรียมทหาร 2 ปีก่อนเลือกเหล่าตำรวจเท่านั้น แต่การรับราชการเป็นนายร้อยตำรวจ มีหลายเส้นทาง ดังนี้

1. เลือกเรียนระดับมัธยมปลาย เพื่อสอบตรงเข้าเรียนเตรียมทหาร เหล่าตำรวจ
เส้นทางสายนี้เป็นสายตรงในการสอบนายร้อยตำรวจ การเตรียมตัวหรือเตรียมความพร้อมเริ่มจากเลือกเรียนสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ เมื่อกำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมปลาย ม.4-ม.5 อายุไม่เกิน 15-18 ปี ก็สามารถสมัครสอบเข้าเรียนเตรียมทหารได้ ใช้เวลาเรียน  2 ปี  และเลือกเหล่าตำรวจเพื่อเรียนต่อโรงเรียนนายร้อยตำรวจอีก 4 ปี ตามหลักสูตรที่กำหนด เมื่อจบมาจะได้ติดดาวพระราชทานยศ ร้อยตำรวจตรี (ร.ต.ต.) และรับพระราชทานกระบี่

2. เรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6  สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สอบเข้าโรงเรียนนายร้อย โดยไม่ได้เรียนเตรียมทหาร
สำหรับคนที่เรียนจบระดับมัธยมปลาย หรือ ม.6 สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ที่อายุไม่เกิน 18 ปี สามารถสอบเข้าเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจใช้เวลาเรียน 4 ปี ได้โดยไม่ต้องเรียนเตรียมทหาร 2 ปี  ถือเป็นสายตรงอีกหนึ่งเส้นทางของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร

3. สอบนายร้อยตำรวย โดยใช้โควตานายสิบตำรวจ
เส้นทางที่3 สู่นายร้อยตำรวจ เป็นการสอบนายร้อยตำรวย โดยใช้โควตานายสิบตำรวจ คุณสมบัติของผู้สมัครสอบต้องเป็นนักเรียนนายสิบตำรวจ 1 ปี และอายุไม่เกิน 25 ปี สำหรับเส้นทางสายนี้ โดยจะได้เรียนพร้อมกับนักเรียนเตรียมทหารที่เลือกเหล่าตำรวจและนับรุ่นนายร้อยเหมือนกัน

4. เส้นทาง นายร้อยอบรม
เส้นทางสู่นายร้อยตำรวจสายนี้ เปิดโอกาสให้ข้าราชการตำรวจหรือนักเรียนนายสิบตำรวจที่ไม่สามารถสอบนายร้อยตำรวจได้ เมื่อรับราชการตำรวจและมีวุฒิปริญญาตรีสาขานิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ หรือสาขาอื่น ๆ ที่ระบุไว้ในคุณสมบัติผู้สมัครสอบ ก็สามารถใช้วุฒิการศึกษาดังกล่าวสอบนายร้อยได้ ข้อดีของการสอบนายร้อยอบรม คือสามารถสมัครสอบได้ทุกปีจนกว่าจะสอบได้หรือจนอายุครบ 52 ปี

5. บุคคลภายนอกที่มีความรู้ ความสามารถพิเศษ และคุณสมบัติพิเศษ
เส้นทางสู่นายร้อยตำรวจ สำหรับผู้ที่ผู้มีความรู้ ความสามารถพิเศษ และคุณสมบัติพิเศษ โดยเรียนจบระดับจบปริญญาตรีในสาขาที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องการ และมีการเปิดสอบในแต่ละปี หรือมีความรู้ความสามารถพิเศษ เช่น แพทย์ตำรวจ ตำรวจวิศวะ ตำรวจสารนิเทศ กองพิสูจน์หลักฐาน ฯลฯ รวมถึงนักกีฬาโควตาพิเศษ ก็มีโอกาสรับราชการนายร้อยตำรวจได้เช่นกัน

            นอกจาก 5 เส้นทางสู่การเป็นนายร้อยตำรวจที่มีทั้งนายร้อยตำรวจสายตรง เปิดรับจากบุคคลภายนอกรวมทั้งผู้ที่มีความสามารถพิเศษ การเปิดโอกาสให้นายสิบตำรวจและข้าราชการตำรวจชั้นประทวนที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาวิชาที่ต้องการสามารถสอบนายร้อยตำรวจได้จนอายุ 52 ปี ก็ยังมีอีกหนึ่งเส้นทางของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน หากอายุครบ 52 ปีแล้วยังไม่สามารถสอบนายร้อยตำรวจได้ เมื่อติดยศนายดาบดาบตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติก็มีโครงการเลื่อนไหลติดดาวบนบ่า ขึ้นสัญญาบัตรทันทีโดยไม่ต้องสอบ

พนักงานสอบสวน
           หมายถึง สายงานสืบสวนหรือตำแหน่งพนักงานสอบสวนของสำนักงานตำรวจแห่งยถึง ข้าราชการตำรวจตั้งแต่ยศร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ที่ดำรงตำแหน่งหน้าที่สอบสวนคดีอาญา หรือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(6) ได้บัญญัติให้ความหมายของคำว่า “พนักงานสอบสวน” หมายถึง เจ้าพนักงานที่กฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานในอันที่จะพิสูจน์ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำความผิด

บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงานสืบสวน
            ตำแหน่งงานของข้าราชการตำรวจแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มงาน เช่น กลุ่มงานบริหาร กลุ่มงานอำนวยการและสนับสนุน หรือกลุ่มงานเทคนิค ส่วนตำแหน่งงานและหน้าที่ความรับผิดชอบที่เป็นการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาและอยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด ก็คือสายงานพนักงานสอบสวนและเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มงานอำนวยการและสนับสนุน บทบาทและอำนาจหน้าที่งานสอบสวน เช่น
            - ทำหน้าที่สอบสวนทั้งฝ่ายผู้เสียาหาย ผู้ถูกกล่าวหา และพยาน
            - ทำหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐาน ที่ได้มาจากี่เกิดเหตุ หรือรวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่จะทำได้ เพื่อจะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆอันเกี่ยวกับความผิด
            - ทำสำนวนการสอบสวนเพื่อเสนอฟ้อง ไม่ฟ้อง หรืองดการสอบสวนในคดีอาญาที่เกิดขึ้นไปยังอัยการจังหวัด อัยการคดีเยาวชนและครอบครัวแล้วแต่กรณี
            - พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกผู้เสียหายหรือบุคคลใดซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่าถ้อยคำของเขาอาจเป็นประโยชน์แก่คดี ให้มาตามเวลาและสถานที่ในหมายเพื่อถามปากคำบุคคลนั้น
            - พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกบุคคลซึ่งครอบครองสิ่งของซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐาน ให้ส่งสิ่งของนั้นให้แก่พนักงานสอบสวนได้
พนักงานสอบสวนมีอำนาจค้นเพื่อพบสิ่งของซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยการกระทำผิดหรือได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้
            - พนักงานสอบสวนมีอำนาจจับผู้ต้องได้ 2 กรณี คือ จับโดยมีหมายจับ ม.66 และจับโดยไม่มีหมายจับ ม.78
            - พนักงานสอบสวนมีอำนาจค้นได้ 2 กรณี คือ ค้นโดยมีหมายค้น ม.69 และค้นโดยไม่มีหมายค้น ม.92
            - พนักงานสอบสวนมีอำนาจควบคุมตัว ผู้ต้องหาในกรณี ควบคุมตัวผู้ถูกจับตามที่ผู้จับนำมาส่งควบคุมตัวผู้ถูกจับ ที่ถูกจับตามหมายจับของศาล และควบคุมตัวผู้ต้องหา ที่มิได้มีการจับ หรือออกหมายจับ ฯลฯ

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม 
https://nine100.com/police-inquiry-role/


Create Date : 03 มิถุนายน 2563
Last Update : 3 มิถุนายน 2563 15:04:55 น. 0 comments
Counter : 167 Pageviews.

nhumnoi
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add nhumnoi's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.