Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2563
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
3 มิถุนายน 2563
 
All Blogs
 
นายร้อยตำรวจ สายงานป้องกันปราบปราม และบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ


การเตรียมตัวสอบหรือเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบนายร้อยตำรวจ ทั้งการสอบสายตรงเข้าเรียนเตรียมทหารก่อนเลือกเหล่าตำรวจ หรือสอบเข้าโรงเรียนนายร้อยตำรวจโดยไม่ต้องเรียนเตรียมทหาร ก็เป็นเส้นทางที่สามารถทำได้ สำหรับรายละเอียดการสอบในเส้นทางต่าง ๆ Nine 100.com  ได้แนะนำไว้ในบทความก่อนหน้านี้ ส่วนบทความนี้เรามีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในสายงานป้องกันปราบปราม มานำเสนอเพื่อเป็นความรู้ให้กับว่าที่นักเรียนนายร้อยตำรวจและผู้ที่สนใจ

โครงสร้างสถานีตำรวจ
            สถานีตำรวจ เป็นระดับหน่วยงานหนึ่งของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดในคดีอาญา ภายในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือเขตพื้นที่การปกครอง ตลอดถึงการรับผิดชอบในด้านการงานและการปกครองบังคับบัญชาถัดรองลงไปจากกองบังคับการตำรวจ นครบาล(1-9) หรือตำรวจภูธรจังหวัด บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของสายงานต่าง ๆ ในสถานีตำรวจ แบ่งออกเป็น  5  ลักษณะ ได้แก่

1. งานอำนวยการ
งานด้านอำนวยการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการอำนวยการ การวางแผน การตรวจสอบติดตามและประเมินผลงานที่เกี่ยวกับนโยบาย  ยุทธศาสตร์ และแผนงานของสถานีตำรวจ งานการบริหารบุคลากร งานจเรตำรวจ งานกิจการพิเศษ งานความมั่นคง การศึกษา การฝึกอบรม งานวิชาการ สวัสดิการ การพัฒนา การบริหารจัดการ งบประมาณ การเงิน การพัสดุ การพลาธิการและ สรรพวุธ การส่งกำลังบำรุง รวมทั้งลักษณะงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนประกอบของงานดังกล่าว เพื่อส่งเสริมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจ

2. งานปกครองป้องกัน
งานด้านปกครองป้องกัน มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน  อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผล ตลอดจนปฏิบัติงานในด้านการป้องกันอาชญากรรมและรักษาความสงบเรียบร้อย งานคณะกรรมการตรวจสอบ และติดตามการบริหารงานตำรวจ งานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้องหรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อมิให้เกิดอาชญากรรมขึ้นในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ

3. งานจราจร
งานด้านจราจร มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน  อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล  ตรวจสอบและประเมินผลงานด้านการควบคุมจราจร จัดการและบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับจราจร งานจราจรตามโครงการพระราชดำริ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาด้านการจราจร ในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ ตลอดจนพื้นที่ที่มีการจราจรต่อเนื่องกัน

4. งานสืบสวนปราบปราม
งานด้านสืบสวนปราบปราม มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน  อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผล ตลอดจนปฏิบัติงานในด้านการสืบสวนปราบปราม อาชญากรรม การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติที่มีโทษทางอาญาทุกฉบับตลอดจนองค์กรหรือเครือข่ายที่อยู่เบ้องหลัง รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่อมิให้เกิดอาชญากรรมขึ้นในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ

5. งานสืบสวนสอบสวน
งานด้านสืบสวนสอบสวน มีหน้าที่เกี่ยวกับการวางแผน  อำนวยการ สั่งการ ควบคุม กำกับ ดูแล ตรวจสอบติดตามและประเมินผลด้านการสืบสวนสอบสวนคดีอาญา การมีความเห็น การให้ความเห็นชอบ หรือการเห็นแย้งในคดีอาญา การอุทธรณ์ ฎีกา หรือการขอให้พิจารณาคดีใหม่ รวมทั้งงานที่มีลักษณะเกี่ยวข้อง หรือเป็นส่วนประกอบของงานนี้ เพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนในการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาให้บังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในเขตอำนาจการรับผิดชอบหรือพื้นที่ปกครองของสถานีตำรวจ

บทบาทหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ
            ตำรวจ ถือเป็นหน่วยงานหลักที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม และจับกุมผู้กระทำผิด และยังทำหน้าที่ทั้งด้านการปกครอง คอยสอดส่องดูแลทุกข์สุข ตลอดจนสวัสดิภาพของประชาชน บทบาทหน้าของข้าราชการตำรวจนับว่ามีภาระหนัก และต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่สูง ดังนั้น การสอบนายร้อยตำรวจจึงต้องเตรียมความพร้อมในทุก ๆ ด้าน ต้องมีความรู้ ความสามารถ มีความเข้มแข็ง อดทนและมีความเสียสละ ในการปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่ ดังนี้
            1. หน้าที่ผู้รักษากฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกฎหมายที่มีลักษณะทางอาญาซึ่งมีการกำหนด โทษ ผู้ฝ่าฝืนเอาไว้ เพื่อป้องกันสังคมไม่ให้เกิดอันตรายจากการกระทำเหล่านั้น หากมีการฝ่าฝืนก็กำหนดบทลงโทษไว้ หน้าที่ของตำรวจจึงต้องป้องกันไม่ให้มีผู้กระทำผิด หากฝ่าฝืนหรือทำผิดกฎหมายก็มีหน้าที่ต้องจับกุมมาดำเนินคดี ฟ้องร้องตามขั้นตอนกฎหมายต่อไป
            2. หน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อย หมายถึง การที่ตำรวจจะต้องตรวจตราดูแลความสงบเรียบร้อยของประชาชน หากมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันจะทำให้เกิดผลกระทบกระเทือนถึงความสงบเรียบร้อยเป็นปกติของประชาชน แม้สิ่งนั้นจะเป็นการผิดกฎหมายหรือไม่ผิดกฎหมายก็ตาม ตำรวจจะต้องเข้าไปป้องกัน เข้าแก้ไข บำบัดช่วยให้เกิดความสงบเรียบร้อย หรือบรรเทาความร้ายแรงลงและแก้ไขเหตุการณ์ให้กลับสู่ความสงบเรียบร้อยโดยเร็ว
            3. หน้าที่ป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน การป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นการป้องกันอันตรายทุกอย่างเท่าที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของตำรวจ ไม่เฉพาะเป็นการป้องกันจากโจรผู้ร้ายเท่านั้น การปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจมีหลายประการ ที่เป็นการป้องกันชีวิตและร่างกายรวมทั้งทรัพย์สินของประชาชนไม่ให้เป็นอันตราย หรือเกิดความเสียหายจากการกระทำทั้งของตนเองและผู้อื่นทำหน้าที่ควบคุมการจราจรเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อประชาชน
            4. มีหน้าที่ในการสืบสวน การสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจทำได้ทั้งก่อนหน้าที่จะมีการกระทำผิด เพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำผิดเกิดขึ้น และสอบสวนภายหลังที่มีการกระทำผิดขึ้นแล้ว เป็นการบรรเทาความเสียหาย โดยการติดตามเอาทรัพย์คืนมาหรือนำผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมาย
            5. หน้าที่ให้บริการแก่ประชาชน การให้บริการประชาชนเป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องให้ความสะดวกแก่ประชาชน เช่น การไกลเกลี่ยข้อพิพาทซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้คู่กรณีตัดสินใจทำร้ายกันได้ หรือการช่วยเหลือพลัดหลงเป็นการป้องกันเด็กจากกลุ่มมิจฉาชีพ เป็นต้น

            นอกจากหน้าที่ของตำรวจตามที่กล่าวมาแล้ว ยังมีหน้าที่อื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ในยามศึกสงครามหรือเกิดความไม่สงบ ตำรวจต้องทำหน้าที่เป็นตำรวจสนามทำการรบ หรือควบคุมสถานการณ์ความไม่สงบให้เข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็วหรือป้องกันให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด และการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจที่จะสามารถทำให้การปฏิบัติงานเกิดความสำเร็จได้นั้น ส่วนหนึ่งจำเป็นต้องมาจากปัจจัยส่วนบุคคบล ความรู้ความสามารถ ความพยายามส่วนบุคคล และปัจจัยสภาพแวดล้อม เช่น การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานและผู้ร่วมงาน ดังนั้น นักเรียนนายร้อยตำรวจหรือผู้ที่เตรียมตัวสอบนายร้อยตำรวจ จึงนอกจากมีความรู้ความสามารถแล้ว ยังต้องเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ เรียนรู้บทบาทหน้าที่เป็นอย่างดี เพื่อความก้าวหน้าในวิชาชีพของตนเอง

สายงานป้องกันปราบปราม และบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ
            ภารกิจสำคัญของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายป้องกันและปราบปรามที่มีหน้าที่หลักในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยตรง บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของสายงานป้องกันปราบปราม ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม โดยปฏิบัติหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น
            - การตรวจตรา การตรวจท้องที่ การลาดตระเวนในพื้นที่รับผิดชอบ
            - การระงับแก้ไขก่อนก่อนจะมีการกระทำผิด ที่อาจก่อให้เกิดเหตุร้ายหรือเหตุรุนแรงขึ้น
            - การระงับ การปราบปรามเมื่อเกิดการกระทำผิดร้ายแรง หรือเกิดเหตุรุนแรง
            - การจับกุมผู้กระทำผิด
            - การรักษาร่องรอยพยานหลักฐานและสถานที่เกิดเหตุ
            - การค้นตัวบุคคลหรือสถานที่
            - การปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น การควบคุมผู้ต้องหา การลงบันทึกประจำวัน การเก็บรวบรวมสถิติข้อมูล เป็นต้น

           นอกจากนั้น งานและบทบาทหน้าที่ของตำรวจสายงานป้องกันปราบปราม ยังมีหน้าที่เกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือและบริการแก่ประชาชน เช่น
            - การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุหรืออุบัติภัย
            - การให้คำแนะนำข่าวสารหรือข้อมูลแก่แก่ประชาชน เพื่อประโยชน์ในการป้องกันตนเองและช่วยเหลือทางราชการในทางป้องกันปราบปราม

อ่านเพิ่มเติม  https://nine100.com/police-suppression-role/
 


Create Date : 03 มิถุนายน 2563
Last Update : 3 มิถุนายน 2563 15:26:48 น. 0 comments
Counter : 95 Pageviews.

nhumnoi
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




Friends' blogs
[Add nhumnoi's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.