Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2548
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
9 ตุลาคม 2548
 
All Blogs
 

กระบวนการสังเคราะห์แสงของพืช

การสังเคราะห์แสงของพืชเป็นกระบวนการทางชีวเคมี ที่เปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงานทางเคมี ซึ่งเป็นพลังงานตั้งต้นที่จำเป็นต่อกิจกรรมของพืชในด้านอื่นๆ เช่นระบบการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ การหายใจ การขับถ่าย การเจริญเติบโต เป็นต้น ไม่เพียงเฉพาะพืชที่สามารถสามารถสังเคราะห์แสงได้ เพราะสาหร่ายและแบคทีเรียบางชนิดก็สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงโดยมีคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเป็นธาตุตั้งต้นได้เช่นเดียวกัน การสังเคราะห์แสงของพืชจะเกิดขึ้นที่ส่วนที่เรียกว่า Chloroplast โดยมีกลุ่มรงควัตถุสีเขียวที่เรียกว่า Chlorophyll เป็นตัวขับเคลื่อน ดังนั้นกระบวนการนี้จึงเกิดขึ้นมากที่ใบ แต่แท้ที่จริงแล้วส่วนของลำต้นหรือราก (ที่มีคลอโรฟิลล์) ก็สามารถสังเคราะห์แสงได้ทั้งนั้น ความมหัศจรรย์ของพืชก็คือ มันสามารถสังเคราะห์อาหารได้เองจากองค์ประกอบอนินทรีย์ แทนที่มันจะกินอาหารแบบสัตว์ที่ย่อยอาหารก่อนดูดซึมนำไปใช้

ใต้ใบพืชมีรูเล็กๆ ที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซโดยนำคาร์บอนไดออกไซด์เข้า และปลดปล่อยออกซิเจนออก เรียกว่าปากใบ (Stoma) กระบวนการสังเคราะห์แสงมีการใช้น้ำและคาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบ ใช้แสงเป็นแหล่งพลังงานเปลี่ยนรูปจนได้ผลลัพธ์เป็นน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวและออกซิเจนซึ่งมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่นใช้สำหรับหายใจ

6H2O + 6CO2 → C6H12O6 + 6O2 (ตรงลูกศรต้องมีแสงเป็นตัวทำปฏิกิริยา และเลขธาตุต้องห้อยด้วยนะครับ)




คลอโรฟิลล์ที่ทำหน้าที่เป็นพระเอกในการสังเคราะห์แสงของพืช อยู่บริเวณผิวชั้นกลางของใบพืชที่เรียกชื่อที่ไพเราะเพราะพริ้งว่า Mesophyll โดยบริเวณผิวใบด้านบนจะมีไขมันชั้นบางๆ เคลือบอยู่เพื่อเป็นเกราะป้องกันเซลเหล่านี้ คลอโรฟิลล์มีสีเขียวเพราะมันจะดูดซับแสงสีน้ำเงินกับแดงเอาไว้ทำให้เรามองเห็นใบไม้เป็นสีเขียว แต่แสงที่พืชต้องการใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงจริงๆ แล้วคือแสงสีน้ำเงินและแดง นั่นคือเหตุผลที่เรือนเพาะชำมักใช้ซาแลนสีดำในการกรองความเข้มแสงมากกว่าซาแลนสีเขียวและสีฟ้า

พลังงานที่ได้จากการสังเคราะห์แสงของพืชจะถูกเก็บไว้ในรูปพลังงานทางเคมี เรียกว่า ATP (Adenosine tri-phosphate) คนละตัวกับ ATP Tour นะครับ อันนั้นรู้สึกเขาจะแข่งเทนนิสกันครับ พลังงาน ATP นี้ยังมีความสำคัญที่พืชใช้สำหรับการ form รูปหน่วยพันธุกรรมที่เราเรียกทับศัพท์ว่า DNA

แต่การสังเคราะห์แสงของพืชในบางช่วงเวลาก็ไม่ต้องการแสง (Dark reaction) ซึ่งจะเกิดขึ้นที่บริเวณปากใบซึ่งสามารถเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์เป็นน้ำตาลได้เช่นเดียวกัน กระบวนการนี้จะใช้พลังงานที่พืชสะสมไว้ในเวลากลางวันในรูป ATP และ NADPH2 ตอนมัธยมปลายใครเรียนสายวิทย์ลองนึกถึงวัฏจักร Calvin ที่กล่าวถึงการเปลี่ยนรูปคาร์บอนไดออกไซด์โดยใช้พลังงาน ATP ในการสร้างน้ำตาล การสังเคราะห์แสงของพืชด้วยวิธีนี้จะได้รูปทางเคมีซึ่งมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ 3 ตัว ซึ่ง 2 ใน 3 นี้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการสร้างโมเลกุลน้ำตาล


ถ้าไม่อยากเครียดจนผมหงอกก่อนวัยอ่านตรงนี้จบก็เปลี่ยนหน้าเถิดครับ เพราะผมกำลังจะอธิบายต่อในเรื่องพืช C3 C4 และ CAM ซึ่งชวนหนักหัวยิ่งนัก

พืชที่สามารถสร้างองค์ประกอบทางเคมีอินทรีย์ที่มีคาร์บอน 3 อะตอม นี้มีชื่อเรียกว่า “พืช C3” พืชกลุ่มนี้สามารถปรับตัวโดยหากอากาศภายนอกมีอุณหภูมิสูงและความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ มันจะปิดปากใบเพื่อรักษาความชื้นภายในต้นพืชไม่ให้ปลดปล่อยออกสู่ภายนอก และนั่นหมายถึงว่า เมื่อใดก็ตามที่ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มีระดับลดต่ำลงมาก มันจะหยุดการสังเคราะห์แสงในทันที ยกตัวอย่างพืชกลุ่มนี้เช่นยาสูบ ถั่วเหลือง และพืชในวงศ์หญ้าเขตกึ่งอบอุ่นเช่นข้าวโอ๊ต ข้าวสาลี หากสภาพอากาศเกิดกระทบแล้ง เราจะสามารถเห็นการพักตัวโดยสามารถมองให้เห็นทางสายตาว่าจะไม่มีการเจริญเติบโตต่อ เพื่อที่มันจะรักษาน้ำที่มีอยู่น้อยไว้ใช้ในการรอดชีวิต พืชกลุ่มที่สามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้โดยวิธีที่มีประสิทธิภาพดีกว่า โดยเฉพาะในภาวะที่มีคาร์บอนไดออกไซด์เบาบางมาก คือการใช้เอนไซม์ในการดักจับ โดยเจ้าเอนไซม์ที่ว่าจะเปลี่ยนรูปคาร์บอนไดออกไซด์ที่จับได้ไว้ในรูปของ Oxaloacetate ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอน 4 อะตอม เราเรียกพืชกลุ่มนี้ว่า “พืช C4” หลังจากนั้นพืชจะค่อยๆ ปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ที่เก็บไว้ในรูปของ Oxaloacetate สู่กระบวนการวัฏจักรของ Calvin เพื่อดำเนินการสังเคราะห์แสงตามปกติตามที่ได้กล่าวมาแล้ว และนี่เองเป็นเหตุผลที่ว่าพืชในกลุ่มนี้ยังสามารถเจริญเติบโตและยังมีสีเขียวอยู่ได้ในภาวะที่ขาดคาร์บอนไดออกไซด์ ตัวอย่างพืช C4 ก็เช่นพืชวงศ์หญ้าเขตร้อนเช่นข้าวโพด ข้าวฟ่างและอ้อยเป็นต้น

การปรับตัวเพื่อให้ทนต่อสภาพแห้งแล้งของพืชอวบน้ำ เช่นพวกสับปะรดและกระบองเพชร นอกจากมันจะปิดปากใบในเวลากลางวันเพื่อหยุดการคายน้ำแล้ว จะทำให้มันหมดโอกาสในการจับคาร์บอนไดออกไซด์ในเวลากลางวันเพื่อใช้ในกระบวนการสังเคราะห์แสงแบบ Dark reaction อีกด้วย เมื่อเวลากลางคืนมันจึงเปิดปากใบเพื่อดึงเอาคาร์บอนไดออกไซด์เข้ามาเก็บเตรียมไว้ โดยจะเก็บไว้ในรูปกรดอินทรีย์ที่หลากหลายรูป พอถึงเวลากลางวันจึงดำเนินกระบวนการการสังเคราะห์แสงโดยปกติ กรดอินทรีย์ที่สะสมไว้ในเวลากลางคืนจะลดลงโดยพืชจะนำไปใช้ในกระบวนการ Metabolism พืชกลุ่มนี้ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม “พืช CAM” ซึ่งย่อมาจาก Crassulacean Acid Metabolism กล้วยไม้ก็จัดอยู่ในพืช CAM นะครับ

หากจะเปรียบเทียบกับมนุษย์เรา พืชจะทำอาหารที่ใบซึ่งถือเป็นครัว คลอโรฟิลล์อาจหมายถึงแม่ครัวซึ่งมีวัตถุดิบเพียง 2 ตัวคือคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ แสงซึ่งพืชใช้เป็นพลังงานในการเปลี่ยนรูปทางเคมีจึงเป็นเชื้อเพลิงที่แม่ครัวใช้ปรุงอาหาร ส่วนอาหารที่ได้คือน้ำตาลซึ่งพืชใช้สำหรับกิจกรรมต่างๆ เสมือนเป็นสารอาหารที่มนุษย์ต้องการ และที่สำคัญก็คือการปลดปล่อยออกซิเจนออกสู่บรรยากาศให้สิ่งมีชีวิตอื่นได้ใช้หายใจ

เห็นประโยชน์ของพืชต่อโลกของเราแล้ว นอกจากจะไม่ทำลายแล้วเราต้องช่วยกันปลูกนะครับ





 

Create Date : 09 ตุลาคม 2548
32 comments
Last Update : 5 พฤษภาคม 2551 20:18:21 น.
Counter : 8924 Pageviews.

 

อ่า ขอบคุณสำหรับความรู้แล้วก็ภาพสวยๆที่นำมาให้ชมอะนะ ภาพข้างบนโน้นอะ ห่อมากเลยสงสัยจากลัวผิวเสียอะนะ

 

โดย: อินทรีทองคำ 9 ตุลาคม 2548 11:10:27 น.  

 

ต้องทำงานกลางแดดทั้งวัน ถ้าไม่ห่อไว้กลัวว่าตัวจะดำเหมือนเฉาก๊วยจ๊ะ

 

โดย: น้าโหด (น้าโหด ) 9 ตุลาคม 2548 11:42:47 น.  

 

นักวิชาการมาเองเลยเหรอคะ

 

โดย: รักดี 9 ตุลาคม 2548 16:36:06 น.  

 

ขอบคุณครับน้าโหด อ่านแล้ว ต้องรีบกลับไปทบทวน Biology ตอนปีหนึ่งแล้ว คืนอาจารย์หมด เมื่อก่อนนี่จำได้เป็นฉากๆ เดี่ยวนี้รู้สึกเริ่มแก่ จำไม่ได้เลยอะครับ

 

โดย: Paphmania 10 ตุลาคม 2548 23:42:15 น.  

 

เข้ามารับความรู้ครับ
ถ้ามนุษย์สังเคราะห์แสงเองได้บ้างคงจะประหยัดอาหาร+พลังงานไปเยอะนะครับ

 

โดย: สำเภางาม 13 ตุลาคม 2548 0:34:46 น.  

 

มารับความรู้ด้วยคนครับ เข้าใจขึ้นเยอะเลยครับ ขอบคุณครับ

 

โดย: Hexter (Hexter ) 19 ธันวาคม 2548 9:38:22 น.  

 

ขอบคุณนะ

 

โดย: nananart IP: 202.28.27.5 14 กุมภาพันธ์ 2549 21:17:54 น.  

 

ขอบมากนะคะที่ให้ความรู้

 

โดย: pim IP: 61.7.147.98 21 กรกฎาคม 2549 11:45:52 น.  

 



ขอบคุณนะคะ ช่วยได้มากทีเดียว ลุคกำลังทำการบ้านเกี่ยวกับเรื่องนี้พอดีเลยค่ะ

 

โดย: ลุค IP: 124.121.137.250 27 กันยายน 2549 0:59:13 น.  

 

goodขอบคุณมากค่ะ

 

โดย: โบกี้ IP: 125.24.172.51 30 พฤศจิกายน 2549 10:48:12 น.  

 

ดีจิงๆที่มีเรื่องนี้ช่วยให้รายงานส่งอาจารย์ทัน

 

โดย: คนอยากรู้มาก IP: 203.170.191.9 10 กุมภาพันธ์ 2550 20:14:55 น.  

 

ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่น่าสนใจนะคะ

 

โดย: yabuki03 IP: 203.114.115.232 7 มิถุนายน 2550 18:45:58 น.  

 

เว็บนี้ก็ดีแต่อยากได้ภาพของพืชGMOsนะช่วยหาให้หน่อยได้ไหมค่ะ
ขอบคุณค่ะ

 

โดย: เนย IP: 222.123.125.175 18 มิถุนายน 2550 18:14:23 น.  

 

ขอบคุณข้อมูลดีๆนครับแต่น่าจะบอกการทดลองเกี่ยวกับคลอโรฟิลล์ด้วยจะดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
เลยนะครับ

 

โดย: ซาตานปราบใต้ IP: 61.91.163.137 25 มิถุนายน 2550 21:26:12 น.  

 

โลกร้อน
ช่วยกันประหยัดพลังงานนะคะ

 

โดย: มุก IP: 203.113.67.70 1 กรกฎาคม 2550 15:46:11 น.  

 

อยากได้วิธีสังเคราะแสงที่เป็นภาษาอังกฤษหาได้ที่ไหนครับ

 

โดย: ฉัตรดนัย IP: 203.155.228.233 28 กรกฎาคม 2550 20:32:05 น.  

 

อยากได้โครงงานการสังเคราะแสงของพืชค่ะ

 

โดย: อ๋อมแอ๋ม IP: 161.246.1.32 31 กรกฎาคม 2550 17:20:13 น.  

 

อย่ากได้การสังเคราะห์แสงของข้าวโพด ช่วยส่งมาให้ห่องครับ tongjaminlove@hotmail.com ขอบคุณครับ

 

โดย: สิทธิชัย ทองแจ่ม IP: 124.157.229.48 26 สิงหาคม 2550 13:44:05 น.  

 

เอาแบบนี้มั้ยครับ ผมอยากให้หาข้อมูลจาก search engine หรือใน text ดูก่อน ถ้าไม่เจอผมยินดีช่วยตามกำลังที่มีอย่างเต็มที่ครับ

ที่โพสต์ถามผมก็ยังงงๆ ครับ โครงงานการสังเคราะห์แสงของพืชคืออะไร ส่วนการสังเคราะห์แสงของข้าวโพดผมพอมีข้อมูลอยู่บ้างครับ แต่อยากรู้จะนำไปใช้ทำอะไร ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของพืชมันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น LAI Leaf Area Index เอย อุณหภูมิเอย คุณภาพแสงเอย ความชื้นในอากาศเอย

ถ้าจะขอลอยๆ เพื่อเอาไปส่งการบ้านคุณครู ต้อขออนุญาใจร้ายนะครับ

 

โดย: น้าโหด 28 สิงหาคม 2550 9:23:25 น.  

 

ขอบคุณสำหรับเนื้อหาที่หั้ยมานะ

 

โดย: ยัยปีศาจ IP: 203.113.40.8 16 กันยายน 2550 12:12:51 น.  

 

เขียนเก่งจัง อ่านแล้วอยากอ่านต่อเรื่อยๆ แม้มันจะเป็นเรื่องน่าเบื่อที่เคยเรียนมาตั้งแต่เด็ก แล้วก็ไม่เคยเข้าหัวเลย

ไม่ทราบว่าผู้เขียนเป็นคุณครูรึเปล่าคะ ถ้าใช่ก็ต้องอิจฉานร.ของคุณมากๆเลย เพราะต้องเป็นการเรียนที่สนุกมากแน่ๆ

 

โดย: กบ IP: 130.75.181.166 25 กันยายน 2550 18:30:16 น.  

 

ขอบคุณค่ะ ที่โพส สิ่งดีๆ มีประโยชน์อย่างนี้ ลงเว็ป เพราะถ้าไม่ใช่เว็ปทางวิชาการแล้วหาอ่านได้ยากมากๆ เผอิญว่ากำลังจะสอบ วิชา Physiology ของพืช อ่านไปก็ปวดหัวไป เลยต้องหาข้อมูลอืนๆ ประกอบกับที่อาจารย์สอนด้วย เฮ้อ เหนื่อย

 

โดย: โอ๋ KU64 IP: 158.108.2.8 30 กันยายน 2550 16:45:55 น.  

 

ขอบคุณครับ ผมอยากเป็นครูอยู่เหมือนกัน แต่ถ้าให้สอนเด็กจริงๆ คงต้องบีบคอนัเรียนตายแน่นอน ถ้าสอนแบบฉาบๆ ฉวยๆ ก็พอไหวครับ

เคยเรียนเหมือนกันครับ Plant physio เนี่ย ตอนเรียนยากชิบเป๋ง

 

โดย: น้าโหด 8 ตุลาคม 2550 21:02:49 น.  

 

ดีจังเลย
ขอบคุณค่ะ

 

โดย: คนดีที่รักเธอ IP: 58.137.17.12 24 ตุลาคม 2550 13:26:46 น.  

 

อยากได้ชื่อหญ้าที่เป็นพืช C4 ค่ะ

 

โดย: p IP: 222.123.26.204 29 ตุลาคม 2550 17:08:45 น.  

 

นอกจาก c3 c4 cam แล้ว
ยังมีแบบอื่นอีกมั้ย

 

โดย: เ IP: 161.246.1.36 28 พฤศจิกายน 2550 14:56:41 น.  

 

น่าจะมีอีกเยอะๆนะค่ะ

 

โดย: หวาย IP: 117.47.51.17 3 กุมภาพันธ์ 2551 16:42:31 น.  

 

ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆที่หามาให้เด็กไทยได้ศึกษาค่ะ
ร.ร.ปลายพระยาวิทยาคม

 

โดย: รัตนาวดี แก้วเพ็ง IP: 118.173.52.121 18 กุมภาพันธ์ 2551 17:24:48 น.  

 

มารับความรู้แล้วจ้าขอบคุณนะค่ะ

 

โดย: กวาง รัต- IP: 118.173.52.121 18 กุมภาพันธ์ 2551 17:28:03 น.  

 

มารับความรู้แล้วจ้าขอบคุณนะค่ะ

 

โดย: กวาง รัต- IP: 118.173.52.121 18 กุมภาพันธ์ 2551 17:28:37 น.  

 

สาระดีค่ะจาสอบพรุ่งนี้แล้วเป็นประโยชน์มากค่ะ

 

โดย: JUVON IP: 58.136.198.112 27 กุมภาพันธ์ 2551 10:37:51 น.  

 

ไม่อยากผมหงอกเลยขอดูแต่รูป...

วันก่อนว่าจะถ่ายรูปหนามแก้วมังกรที่ตำมือมาลงบล็อกด้วย แต่ไว้ก่อนดีกว่า...มาเห็นที่นี่ละเจ็บแปร๊บๆ เลยเนี่ย

 

โดย: uter 5 พฤษภาคม 2551 21:40:20 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


น้าโหด
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าโหด's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.