Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2556
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
18 สิงหาคม 2556
 
All Blogs
 
แหนแดงกับการตรึงไนโตรเจนของพืช




บรรยากาศโลกมีก๊าซไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบอยู่ 78% โดยประมาณ ในวัฏจักรของไนโตรเจน ไนโตรเจนจะเปลี่ยนรูปไปมาระหว่างอินทรีย์ไนโตรเจนและอนินทรีย์ไนโตรเจนในรูปแอมโมเนีย ไนเตรท ไนไตรท์และก๊าซ พืชกลุ่มหนึ่งสามารถทำงานร่วมกับจุลินทรีย์ในการดักจับไนโตรเจนที่อยู่ในอากาศให้กลายมาอยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ได้ ลำพังพืชไม่มีกลไกในการตรึงไนโตรเจนได้ด้วยตัวมันเองนะครับ แต่มันต้องทำงานร่วมแบบเกื้อกูลกับจุลินทรีย์ซึ่งโดยมากก็เป็นพวกแบคทีเรีย กลุ่มของจุลินทรีย์ที่สามารถตรึงไนโตรเจนมีดังนี้ครับ

1) แบคทีเรียที่ทำงานร่วมกับพืชตระกูลถั่ว ที่ปมรากพืชตระกูลถั่วมีแบคทีเรียชนิดที่สามารถตรึงก๊าซไนโตรเจนให้ลงมาอยู่ที่ดินได้ เรารู้จักกันดีก็เช่นพวกไรโซเบียมและอโซไรโซเบียม

2) จุลินทรีย์ที่ทำงานร่วมกับพืชที่ไม่ใช่พืชตระกูลถั่ว จุลินทรีย์ที่มีความสามารถตรึงไนโตรเจนที่อาศัยร่วมกับพืชมี 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ 1) สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว ที่อาศัยอยู่ในโพรงใบของแหนแดง สามารถนำมาใช้ไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสดก่อนการปลูกข้าว และ 2) แอคติโนมัยซีท เป็นแบคทีเรียกลุ่มหนึ่งที่อาศัยร่วมกับพืชยืนต้นและสามารถตรึงไนโตรเจนได้เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างพืชกลุ่มนี้เช่น สนประดิพัทธ์

3) จุลินทรีย์อิสระที่ไม่ได้อาศัยร่วมกับพืชก็สามารถตรึงไนโตรเจนจากอากาศเพื่อการอยู่รอดของมันเช่น สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวในสกุล Anabaenopsis, Rivularia, Calothrix (ยังมีอีกหลายสกุล) นอกจากนี้ยังมีแบคทีเรียที่สังเคราะห์แสงเองได้ ที่น่าจะพอคุ้นหูคือพวก Clostridium ซึ่งเป็นเชื้อสาเหตุของโรคบาดทะยัก

ทีนี้กลับมาเรื่องแหนแดง แหนแดงเป็นเฟินน้ำกลุ่มหนึ่งครับ มีถิ่นอาศัยดั้งเดิมในเขตร้อนในทวีปเอเซีย แอฟริกา และอเมริกา ทางพฤกษศาสตร์จัดแหนแดงอยู่ในสกุล Azolla ปัจจุบันมี 7 ชนิด (species) แหนแดงสืบพันธุ์ได้แบบอาศัยเพศ (สร้างสปอร์) และแบบไม่อาศัยเพศคือการแบ่งหน่อ คุณสมบัติที่วิเศษของมันคือในโพรงใบ (Leaf cavity) จะเป็นช่องที่สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวชนิด Anabaena azolla อาศัยอยู่ ซึ่งมันจะตรึงเอาไนโตรเจนจากอากาศโดยการรีดิวซ์ไนโตรเจนก๊าซให้อยู่ในรูปแอมโมเนีย โดยมีเอนไซม์ไนโตรจีเนสเป็นตัวช่วยในกระบวนการ การตรึงไนโตรเจนนี้จะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อในน้ำมีปริมาณไนโตรเจนเข้มข้นอยู่เพียงเบาบาง คือถ้าน้ำมีปริมาณไนโตรเจนละลายในน้ำอยู่มากแล้วสาหร่ายนี้จะมีตรึงไนโตรเจนจากอากาศน้อยมาก ปริมาณไนโตรเจนที่สามารถตรึงได้จึงขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมหลายปัจจัยเช่น แสง อุณหภูมิ คุณภาพน้ำ



Create Date : 18 สิงหาคม 2556
Last Update : 18 สิงหาคม 2556 13:07:59 น. 0 comments
Counter : 6191 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

น้าโหด
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าโหด's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.