Group Blog
 
All Blogs
 

*** Phalaenopsis thalebanii Seidenf. ***

สรุปคำตอบเกี่ยวกับ
Phalaenopsis thalebanii Seidenf., Opera Bot. 95: 241 (1988)

1. thalebanii นั้นหมายถึง แหล่งที่กำเนิด หรือชื่อบุคคลตามความเข้าใจของ Seidenfaden
คำตอบ
Seidenfaden นั้น เข้าใจ รับรู้ ว่า thalebanii นั้นหมายถึง แหล่งกำเนิด หรือ สถานที่ ซึ่งก็คือ ทะเลบัน ครับ โดยที่ type origin อยู่ที่ Thaleban Wildlife Sanctuary

2. thalebanii นั้นถ้าหมายถึง แหล่งที่กำเนิด หรือชื่อบุคคล แล้ว การลงท้ายด้วย -ii นั้น มีความหมายว่าอะไร และถูกต้องตามหลักภาษาละตินหรือเปล่า
คำตอบ
ส่วนลงท้าย suffix ‘–ii’ นั้น มีความหมายถึงสถานที่ = in the names of place เพื่อให้แยกแตกต่างจาก in the name of region และบังเอิญหลักการทำให้เป็นละติน (Latinization) ของสถานที่ บางคำนั้น ไปคล้าย กับหลักการ Latinization ของชื่อคน ตามหลัก ICZN และ ICBN ครับ

3. จากข้อ 2 ถ้าหากการลงท้ายคำและการผันคำนั้น ผิด หรือ ถูกต้องนั้น ผิดอย่างไร หรือ ถูกต้องอย่างไรครับ
ตอบ
ส่วนลงท้าย suffix ‘–ii’ นั้น เป็น singular genitive substantive ซึ่งผันถูกต้องตามหลักภาษาละตินครับ ดูอธิบายในข้อ 6 ครับ

4. การตั้งชื่อ thalebanii นั้น ทำถูกต้องหรือ ผิด ตามหลัก code ในส่วนของ Articles และ Recommendation ใน International Code of Botanical Nomenclature ICBN อย่างไร และในข้อไหนครับ
ตอบ
ปัจจุบัน นักพฤกษศาสตร์และนักอนุกรมวิธานพืช ยึด ICBN ฉบับ (VIENNA CODE, 2006) ครับ
ซึ่งการตั้งชื่อ thalebanii นั้น ถูกต้องตาม Article 23 ทุกข้อย่อย แต่ขัดกับ Recommendation 60D แต่ไม่มีผลต่อ Validation ของ epitet เพราะเป็นเพียง Recommendation แต่เป็นข้อแนะนำที่ควรจะปฏิบัติตามเพราะว่า อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจที่สับสนได้ เพราะ ถ้าหากมีลักษณะการลงท้าย คำใน singular genitive substantive เหมือนกับ คำแนะนำ Recommendation 60C และเมื่อเป็นสถานที่ที่รู้จักกันน้อยย่อมกับให้เกิดความสับสนได้ครับ

5. สำหรับขณะนี้การจัดอนุกรมวิธานที่เป็นที่ยอมรับ ณ ขณะนี้ Phalaenopsis thalebanii Seidenf. คืออะไร
ตอบ
Phalaenopsis cornu-cervi (Breda) Blume & Rchb.f. (1860) หรือ อาจจะตอบว่า
Phalaenopsis cornu-cervi f. thalebanii (Seidenf.) Christenson (2001) แต่ชื่อแรกน่าจะถูกต้องกว่า เพราะ อาจจะเป็น แต่ abnormality ซึ่งอาจจะเป็น plasticity ของ Phenotype ซึ่งไม่มี stability และลักษณะ Morphology ที่แตกต่างนั้น ไม่น่าจะมากพอที่จะเป็น forma ได้ ครับ
งาน Monographs ของ Christenson ในปี 2001 นั้น ซึ่งใช้ข้อมูลทาง Morphology เท่านั้นในการวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่ทางอนุกรมวิธาน จากการที่ผมได้อ่านและได้เคยอ่าน บทวิจารณ์ ของ reviewers หนังสือ อ้างอิงเล่มนี้ ก็มีความเห็นตรงกับ reviewers ผู้อื่นว่า เค้าไม่สามารถ ที่จะใช้ศาสตร์ความเข้าใจ ทางอนุกรมวิธานในการสรุป และจัดระดับ การอนุกรมวิธานได้อย่างมีเหตุผลมากพอและมัก จะเป็นการ ใช้ Sensu Stricto เสมอ จนทำให้ หลายๆ taxa แยกกันออกได้ยากเกินกว่า ที่ระดับ taxon นั้นๆควรจะเป็น

6. thalebanii ไม่ว่าจะเป็น substantive หรือ adjective อยากทราบว่า ถ้าผันใน Singular nominative case สะกดอย่างไรครับ ห้องนี้น่าจะตอบด้วยว่า ในข้อ 6 นี้พวกคำว่า chantaburii และ tasanae มาด้วยครับ อิๆ
ตอบ
Thalebanii เป็น Substantive (noun) ซึ่งได้ผันอยู่ในรูป singular genitive
และมี Singular nominative คือ Thalebanium
สรุป
สถานที่ทะเลบัน =
Thalebanium (n. sing. nom. noun)
Thalebanii (n. sing. gen. noun)
ซึ่งต่างจาก ชื่อที่หมายถึง นาย ทะเลบัน ซึ่ง จะมีรูปดังนี้
นาย ทะเลบัน =
Thalebanius (m. sing. nom. noun)
Thalebanii = (m. sing. gen. noun)

หากถามว่าทำไม Thalebanium ต้องลงท้าย –ium
เพราะว่า ยึดหลักการเทียบเคียง การทำชื่อสถานที่ให้เป็นภาษาละติน จากการเปรียบเทียบ กับการแปลงเป็นภาษาละตินในยุคกลางและสมัยใหม่
ในกรณีของ Thaleban นั้นลงท้ายด้วย –an
ซึ่งเทียบได้กับ ถ้าหากลงท้ายในภาษาสมัยใหม่ว่า –an หรือ -ain ในความหมาย in the names of place จะแปลงเป็นละตินโดยลงท้าย -anum หรือ –anium
โดยการเทียบเคียงจึงได้
Thalebanium = Thaleban + ium = Thaleb + an + ium

แต่สำหรับ Chantaburii และ Tasanae นั้น เป็นผลเนื่องจาก การไม่อาจจะไม่มี Recommendation 60C เหมือนใน ICZN อย่างใน ICBN ผมไม่ค่อยแน่ใจจุดนี้เพราะไม่เคยใช้ใช้งาน ICZN ครับ
อีกประการหนึ่งคือ ทั้ง ICBN และ ICZN ก็ไม่ได้ แนะนำการทำชื่อสถานที่ให้เป็นภาษาละติน เพราะมันมีความซับซ้อนกว่า จึงทำให้ Zoologist นั้น นำหลักของการตั้ง specific epitet for person มาใช้กับ สถานที่ ทำให้เกิดความสับสนและผิดหลักธรรมเนียมภาษาละติน แต่ไม่มีผลต่อ Validation ของ ทั้งสอง epitet ครับ

ชื่อ จันทบุรี ที่ใช้ใน Copera chantaburii Asahina, 1984 ซึ่งตั้งโดย Asahina นั้น

จันทบุรี = Chantaburi = Chataburium (n. sing. nom. noun) = Chataburii (n. sing. gen. noun)
หรือ ??? Chataburius (m. sing. nom. noun) = Chataburii (m. sing. gen. noun)
เดาใจเค้าไม่ถูกจริงๆครับ ไม่รู้ว่าเค้าได้นึกถึงหรือเปล่าด้วยครับ เพราะว่า สมัยนี้ คนมีการศึกษาทางตะวันเองก็เรียนภาษาละตินน้อยลงมาก (ชื่อสถานที่ในภาษาละตินส่วนใหญ่จะเป็น Feminine หรือ Neuter มีส่วนน้อยมากที่จะเป็น Musculine)

ถ้าหากยึดตามหลัก latinization ของเดิมแล้ว น่าจะเป็นดังนี้ครับ
จันทบุรี = Chantaburi = Chataburia (f. sing. nom. noun) = Chataburiae (f. sing. gen. noun)
แต่อย่างไรก็ตาม ICZN ไม่อนุญาต ให้ แก้ไขการสะกดดังกล่าวเป็น Copera chantaburiae Asahina, 1984 แน่ครับ

ส่วน Ingerana tasanae (Smith, 1921) Smith ได้แปลง ท่าสาน เป็นละตินดังนี้
ท่าสาน = Tasan = Tasana (f. sing. nom. noun) = Tasanae (f. sing. gen. noun)
แต่ถ้าหากยึดตามหลัก latinization ในความหมายของ in the names of place ตามวิธีของเดิมแล้ว น่าจะเป็นดังนี้ครับ
ท่าสาน = Tasan = Tasanum (n. sing. nom. noun) = Tasani (n. sing. gen. noun)
หรือ
ท่าสาน = Tasan = Tasanium (n. sing. nom. noun) = Tasanii (n. sing. gen. noun)
แต่อย่างไรก็ตาม ICZN ไม่อนุญาต ให้ แก้ไขการสะกดดังกล่าวเป็น Ingerana tasani (Smith, 1921) หรือ Ingerana tasanii (Smith, 1921) แน่ครับ
ถ้านักอนุกรมวานผู้ตั้งชื่อได้ระมัดระวัง ในการที่ไม่ใช้หลักการตั้งชื่อบุคคลมาใช้กับสถานที่ น่าจะทำให้เกิดความสับสนน้อยลงนะครับ แต่จริงๆแล้วก็น่าจะใช้รูป Adjective มากกว่า เพราะว่า อาจจะมีการตั้งชื่อ สกุล genus เป็น ชื่อสถานที่ ซึ่ง ICBN ก็แนะนำไม่ให้ใช้ด้วยเหตุผลนี้ เพราะความหมายมันจะแปลได้สองอย่าง คือ อย่างเช่น
ไทย = Thai = Thaia (f. sing. nom. noun) = Thaiae (f. sing. gen. noun)
อย่างเช่น Seidenfaden ได้ตั้งกล้วยไม้สกุลใหม่ของโลกว่า
Thaia Seiddenf. เอื้องไทย โดยมีเพียงชนิดเดียว คือ Thaia saprophytica Seidenf. เอื้องไทยกินซาก หากจะมีการตั้งชื่อกล้วยไม้ ในสกุล Phalaenopsis โดยใช้คำว่า ไทย นั้น
จะตั้งได้ดังนี้
Phalaenopsis thaiae แบบนี้จะให้ความหายได้สองอย่างคือ หมายถึงกล้วยไม้ชนิดนี้มาจาก ประเทศไทย หรือหมายถึง มีลักษณะ อย่างใดอย่างหนึ่งคล้าย เอื้องไทย ซึ่งมันขัดต่อข้อแนะนำของ ICBN ด้วย
Phalaenopsis thaiana แบบนี้ จะหมายถึงเฉพาะ ประเทศไทยครับ

7. Phalaenopsis thalebanii Seidenf. ออกเสียงที่ถูกต้อง ตาม Classical latin และ Traditional English อย่างไรครับ จะตอบเป็นอักษรไทยหรือ IPA ก็ได้ครับ IPA ให้ทำลง PDF แล้วเซฟเป็น jpg ครับ และกรุณาบอก stress ด้วยครับ
ตอบ

ทะเลบัน = Thaleban 

a. อ่านแบบ Classical Latin
Phalaenopsis thalebanii
= พะลัย’น็อปสิส ทะ’เลบะนี

b. อ่านแบบ Classical Latin แต่อ้างอิงการออกเสียงชื่อ epitet จากภาษาไทย
Phalaenopsis thalebanii
= พะลัย’น็อปสิส ทะเล’บันนี

c. อ่านแบบ Traditional English โดยใช้สำเนียง มาตรฐานแบบอังกฤษ Recieved Pronunciation English
Phalaenopsis thalebanii
= ,แฟลลิ’นอปสิส ,เทย์ลิ’เบย์นิอาย

d. อ่านแบบ Traditional English โดยใช้สำเนียง มาตรฐานแบบอังกฤษ RP English แต่อ้างอิงการออกเสียงชื่อ epitet จากภาษาไทย
Phalaenopsis thalebanii
= ,แฟลลิ’นอปสิส ,ทาลิ’บันนิอาย

e. อ่านแบบ Traditional English โดยใช้สำเนียง แบบอเมริกัน General American English
Phalaenopsis thalebanii 
= ,เฟเลอะ’นาปสิส ,เทย์เลอะ’เบย์นิอาย

f. อ่านแบบ Traditional English โดยใช้สำเนียง แบบอเมริกัน GA English แต่อ้างอิงการออกเสียงชื่อ epitet จากภาษาไทย
Phalaenopsis thalebanii
= ,เฟเลอะ’นาปสิส เทอะ,เลย์’บานนิอาย


ข้อนี้คิดว่าไม่สามารถตอบลงเวปได้ครับ

ยังไงดูใน รูปที่ตอบเป็น IPA International Phonetic Alphabet นะครับ ส่วนส่วนของตัวอักษรไทย คือว่าแค่เทียบเคียงครับ


จบแล้วครับ
คำตอบข้างบนอาจจะมีข้อผิดพลาดได้ครับ ใครที่กรุณาแจ้งด้วยครับจะได้แก้ไขต่อไปครับ






 

Create Date : 26 เมษายน 2551    
Last Update : 29 เมษายน 2551 2:28:08 น.
Counter : 2430 Pageviews.  

An Error


ความผิดพลาดคลาดเคลื่อนย่อมเกิดขึ้นได้ ในงานที่มีปริมาณมากทั้งด้วยข้อมูลและเนื้อหา รวมทั้งเป็นงานที่หลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง งานเขียนจึงมีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอ ทั้งจาก แหล่งข้อมูลอ้างอิง ตัวผู้เขียน การพิมพ์ต้นฉบับ การแก้ไขต้นฉบับ การพิมพ์ หากว่างานเขียนนั้นๆเป็นงานที่ไม่ได้มีการนำไปอ้างอิงมากไปอะไรก็คงจะไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาอะไร หากแต่งานเขียนนั้นเป็นเอกสารอ้างอิงสำคัญที่ผู้เขียนรุ่นหลังนำมาอ้างอิงอยู่เสมอย่อมก่อให้เกิดข้อผิดพลาด
ผลงานของ Gunnar Seidenfaden ที่เกี่ยวกับกล้วยไม้ในเมืองไทยนั้นนับว่าเป็นผลงานที่ยอดเยี่ยมใน Consolidation Phase ได้รวบรวมสายพันธุ์กล้วยไม้ พร้อมภาพวาดประกอบไว้อย่างน่าทึ่ง แต่ก็มีจุดที่ผิดพลาดในเรื่องของการสะกดคำ โดยอาจจะเกิดจากความเข้าใจผิดหรือการจัดผิด อย่างเช่น เขากวาง Phalaenopsis cornu-cervi ซึ่งน่าจะเกิดจากการตีความ ICBN คลาดเคลื่อน จึงทำให้ Seidenfaden ตัด – ออกครับ มีชื่ออีก ตัวหนึ่งคือเหลืองจันท์ Dendrobium friedricksianumนั้น Seidenfaden ก็เขียนด้วยการเติม E เข้าไปอีกหนึ่งตัว เป็น D. friedericksianum แต่เป็นชื่อที่ผิดเพราะชื่อจากการตีพิมพ์ครั้งแรกนั้นไม่มี E (Protologue or original description) ความคลาดเคลื่อนครั้งนี้น่าจะเกิดมาจากแหล่งที่มาของชื่อชนิด (Etymology of epitet) เนื่องจากชื่อนามสกุล (Surname) ทั้ง Friedrick และ Friederick นั้น มีใช้อยู่ทั่วไปในยุโรป โดยเฉพาะกลุ่มประเทศที่พูดภาษาตระกูลเยอรมันนิก (Germanic Languages) อย่างเช่นภาษาเยอรมัน เชค ดัชต์ เดนมาร์ก สวีดิช นอรเวย์ อังกฤษ เป็นต้น แต่เป็นไปได้ที่ในประเทศเดนมาร์คนั้นคงมีแต่ชื่อที่มี E ขั้นอยู่ด้วย จึงทำให้ Seidenfaden คิดว่า protologue นั้นสะกดผิด ซึ่งสามารถเปลี่ยนได้เลย โดยที่ไม่เปลี่ยน Author Citation ตามกฎ ICBN แต่ในที่นี้ไม่ได้ผิดเพราะ Reichenbach ผู้ลูกนั้นไม่ได้สะกดชื่อผิด หากแต่ตั้งชื่อนี้ให้เป็นเกียรติแก่นักพฤกษศาสตร์ชื่อ Friedrick หาใช่นักสัตวศาสตร์ชื่อ Friederick ครับ ดังนั้นชื่อที่ถูกต้องของ เหลืองจันทบูรคือ Dendrobium friedricksianum Rchb.f. 1887 ครับ
อนึ่งชื่อนี้ได้รับการตรวจสอบที่ความถูกต้องจาก Kew (IPNI, Monocot checklist) และ Copenhagen (Pedersen) แล้วครับ




 

Create Date : 08 กรกฎาคม 2549    
Last Update : 8 กรกฎาคม 2549 13:23:57 น.
Counter : 563 Pageviews.  

Phalaenopsis cornu-cervi เขียนอย่างไร



Phalaenopsis cornu-cervi เขียนอย่างไร


เนื่องจาก P. cornu-cervi (Breda) Bl. & Rchb. f. (1860) ส่วนชื่อชนิด epitet นี้มีการใช้สับสนอยู่มาก ว่ามีหรือไม่มี – (hyphen)

เมื่อปี ค.ศ. 1827 Breda ได้ บรรยายไม้ชนิดใหม่จาก เกาะชวา อินโดนีเซีย ในสกุล Polychilos ให้ชื่อว่า Polychilos cornu-cervi Breda (1827) ต่อมาในปี ค.ศ. 1860 Blume และ Reichenbach ผู้ลูก ได้ย้ายสกุล ไม้ชนิดนี้ไปอยู่ สกุล Phalaenopsis โดยยังคง –ไว้ดังเดิม หนังสือเกี่ยวกับกล้วยไม้ภาษาอังกฤษทั่วไปรวมทั้ง (IPNI) The International Plant Name Index ก็ยังคงมี – อยู่ แต่เหตุใดเล่าหนังสือกล้วยไม้ในเมืองไทยหลายเล่ม ไม่ว่าจะเป็นของ อ.อบฉันท์ ไทยทอง อ.นันทิยา และ คุณสลิล เครื่องหมายขีดจึงได้หายไปได้ จากการสืบค้น การอ้างอิงของผู้แต่งหนังสือในเมืองไทยนั้น ทุกท่านล้วนอ้างอิง ท่านเอกอัครราชทูตเดนมาร์คประจำประเทศไทย นักพฤกษศาสตร์วงศ์กล้วยไม้ ที่ได้เขียนหนังสือชุด orchid genera of Thailand ถึง 14 เล่ม และ contributions to the orchid flora of Thailand ถึง 13 เล่มด้วยกัน นับว่าเป็น Flora ที่สมบูรณ์ด้วยภาพประกอบทางพฤกษศาสตร์ที่สวยงามมากครับและสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ในหนังสือชุดนี้นั้น ได้ใช้ P. cornucervi ซึ่งไม่มี – จึงน่าจะเป็นแหล่งต้นกำเนิดของการไม่ใช้ – ในเมืองไทย


แล้วตกลงที่ถูกต้องแล้ว ชื่อนี้ต้องใส่ – หรือเปล่า เราจะหาคำตอบได้ก็ต้องไปดูหลัก ICBN ซึ่งเป็นกฎสากลการตั้งชื่อพฤกษศาสตร์ โดยดูที่ article 23.1 และ 60.9

23.1. The name of a species is a binary combination consisting of the name of the genus followed by a single specific epithet in the form of an adjective, a noun in the genitive, or a word in apposition, or several words, but not a phrase name of one or more descriptive nouns and associated adjectives in the ablative (see Art. 23.6(a)), nor certain other irregularly formed designations (see Art. 23.6(c)). If an epithet consists of two or more words, these are to be united or hyphenated. An epithet not so joined when originally published is not to be rejected but, when used, is to be united or hyphenated, as specified in Art. 60.9.

แปลได้คร่าวๆว่า
ชื่อชนิดแบ่งเป็นสองส่วนโดยจะขึ้นต้นด้วยชื่อสกุล แล้วตามด้วยส่วนชื่อชนิด (specific epithet) ซึ่งอาจจะเป็นคำคำเดียว โดยที่อาจจะอยู่ในรูปของคำคุณศัพท์ หรือเป็นคำนามในรูปการกเจ้าของ (Genitive case) หรือเป็นคำในหน่วยอ้างอิงถึงสิ่งเดียวกัน, หรือ อาจจะประกอบด้วยกลุ่มคำ แต่ว่ากลุ่มคำนามและคำคุณศัพท์เหล่านี้ จักต้องไม่อยู่ในรูปการกแหล่งที่มา (Ablative case) และจักต้องไม่ตั้งชื่อที่เข้าเกณฑ์ ในมาตรา 23.6 ซึ่งจัดว่าไม่ใช่ส่วนชื่อชนิด (specific epithet). ถ้าส่วนชื่อชนิดประกอบด้วยคำตั้งแต่สองคำขึ้นไป ให้รวมคำเหล่านี้ติดกันเลย หรือเชื่อมด้วยเครื่องหมายขีด – (Hyphen). ถ้าหากส่วนชื่อชนิดนั้นไม่ได้เชื่อมกลุ่มคำเข้าไว้ด้วยกันตั้งถูกตีพิมพ์ครั้งแรกนั้น ชื่อนี้จะไม่ถูกปฏิเสธ ยังคงใช้ได้อยู่ แต่ให้เชื่อมติดกัน หรือใส่ขีดเชื่อม โดยจะเลือกใช้ตามมารตรา 60.9


60.9. The use of a hyphen in a compound epithet is treated as an error to be corrected by deletion of the hyphen, unless the epithet is formed of words that usually stand independently or the letters before and after the hyphen are the same, when a hyphen is permitted (see Art. 23.1 and 23.3).

การใช้ขีด (Hyphen) แทรกกลางส่วนชื่อชนิดที่เป็นคำประสม (คล้ายสมาส และสนธิ)นั้น ถือว่าผิด และต้องแก้ไขโดยตัดขีดออก, ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว ส่วนชื่อชนิดนั้น จักต้องเป็นรูปแบบคำที่มักจะอยู่อิสระเว้นวรรคแยกกันตามปกติ หรือไม่คำประสมนั้นจักต้องมีอักษรก่อนและหลังขีดเป็นตัวเดียวกัน (เพื่อให้เห็นรากศัพท์เดิมได้ง่าย) สองกรณีหลังนี้ใช้ขีด (hyphen)ได้

Ex. 16. Hyphen to be omitted: Acer pseudoplatanus L. (1753), not A. "pseudo-platanus"; Eugenia costaricensis O. Berg, not E. "costa-ricensis"; Ficus neoëbudarum Summerh. (1932), not F. "neo-ebudarum"; Lycoperdon atropurpureum Vittad. (1842), not L. "atro-purpureum"; Croton ciliatoglandulifer Ortega (1797), not C. "ciliato-glandulifer"; Scirpus sect. Pseudoëriophorum Jurtzev (in Bjull. Moskovsk. Obšc. Isp. Prir., Otd. Biol. 70(1): 132. 1965), not S. sect. "Pseudo-eriophorum".

ตัวอย่างนี้เป็นกรณีที่งดใช้ขีด (Hyphen)จะเห็นได้ว่าตัวอย่างนี้เป็นคำประสม คล้ายสมาส สนธิในภาษาบาลีสันสกฤต จึงต้องเขียนเชื่อกันเลยให้เป็นไปตามหลักภาษา (การที่จะทราบได้คำเหล่านี้อยู่ในรูปสมาสสนธิหรือไม่จำเป็นต้องตรวจสอบจากหนังสืออ้างอิง)

Ex. 17. Hyphen to be maintained: Aster novae-angliae L. (1753), Coix lacryma-jobi L. (1753), Arctostaphylos uva-ursi (L.) Spreng. (1825), Veronica anagallis-aquatica L. (1753; Art. 23.3), Athyrium austro-occidentale Ching (1986).


ตัวอย่างนี้เป็นกรณีที่ให้คงขีดไว้ จะเห็นว่า novae-angliae, lacryma-jobi, uva-ursi และ anagallis-aquatica เป็น วลีคำนาม (Noun Phrase) ในภาษาละติน ส่วน austro-occidentale เป็นคำประสมสนธิ แต่ยังคงขีดไว้เนื่องจากสระที่เชื่อเป็นตัว o เหมือนกันหากไม่ขีดแยกไว้อาจจะดูรากศัพท์ และออกเสียงได้ยาก จึงยังคงขีดไว้ไม่ตัดออก

กฎทั้งสองข้อนี้มีโครงสร้างประโยคที่ค่อนข้างเข้าใจยาก และคลุมเครือ เนื่องจากวลี ‘united or hyphenated’ เนื่องจากการใช้ or นั้นอาจจะทำให้เข้าใจไปได้ว่า ใช้สลับกันได้ทั้งสองแบบ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งตามหลักภาษาและตัวอย่างที่แนบท้ายมา บอกให้รู้ว่าการใส่หรือไม่ใส่ขีดนั้นมีกฎตายตัว ไม่สามารถเปลี่ยนกลับไปมาได้ แต่สามารถแก้ไขจากการบรรยายในครั้งแรกได้
ซึ่งสรุปได้ว่า ถ้า epitet มักจะเป็นคำคำเดี่ยว เป็นคำประสมนั้นต้องเขียนติดกันไปเลย แต่กลุ่มคำนั้นต้องไม่อยู่ในรูป ablative และเชื่อมด้วย –


เราสามารถแยกได้เป็น 2 กรณีที่สามารถทำคนท่านที่ไม่เข้าใจหลักไวยากรณ์ภาษาละตินเข้าใจผิดได้ดังนี้

1. กลุ่มคำ หรือ วลี words that usually stand independently
cornu = horn เป็นคำนาม เพศกลาง ในการกประธาน neut. sing. nom.
cervi = deer, stag เป็น คำนาม เพศชาย ในการกขยาย mus. sing. gen. (cervus = mus. sing. nom.)
รวมเป็นวลี หรือกลุ่มคำ cornu cervi = horn of deer

2. คำประสม compound epithet (สมาสสนธิ)
corn- รากศัพท์ ของ cornu
-i- เสียงเติมใช้เชื่อมคำ
cerv- รากศัพท์ ของ cervus
-us = noun suffix (mus. sing. nom.)
corn-+ i + cerv+ us = cornicervus เป็น คำนาม เพศชาย ในการกประธาน
แต่เมื่อใช่เป็น specific epitet ต้องเปลี่ยน เป็น การกขยาย gen. = cornicervi

สรุปว่า specific epitet ที่เป็นไปได้คือ cornu-cervi หรือ cornicervi

แต่เนื่องจากไม่มีกฎ ICBN ข้อใดอนุญาตให้เปลี่ยนการเขียนคำในลักษณะนี้ได้ จึงยังคงต้องชื่อเดิมที่ถูกต้องคือ Phalaenopsis cornu-cervi (Breda) Bl. & Rchb. f. (1860)

References

-Stearn. Botanical latin. Timber press, 1992
-International Botanical Congress. International Code of Botanical Nomenclature (ST LOUIS CODE),1999




 

Create Date : 08 มิถุนายน 2549    
Last Update : 8 มิถุนายน 2549 23:25:54 น.
Counter : 934 Pageviews.  

Registration of orchids

Registration of orchids
The International Orchid Register
การหารายชื่อลูกผสมกล้วยไม้ต่างๆ
เข้าหน้าแรกนะไอ น้อง

//www.rhs.org.uk/seedlist/registration_orchids.asp

Searching the International Orchid Register
The International Orchid Register can be searched by two methods:
Parentage Search can be used to identify any grexes from particular seed and pollen parents.
Grex Name Search can be used to find the parentage of particular grexes.
ดูตรงบริเวณนี้อะ
จะเห็นว่ามีให้กด สองปุ่ม เลือกเอา
Parentage Search หมายถึงเรารู้ชื่อพ่อแม่ไม้ เราสามารถ หาชื่อลูกได้ (Grex)
Grex Name Search หมายถึงเรารู้ชื่อลูกไม้ (Grex) แล้วต้องการหาชื่อพ่อแม่ไม้
พอเข้าไป Parentage Search จะเห็นช่องว่างดังนี้
For grex name search click here
Seed parent
Pollen parent
Genus:

Genus:

Grex:

Grex:



ให้ใส่ชื่อสกุล ในช่องGenus ของทั้งพ่อและแม่
และใส่ชื่อชนิด (species) หรือชื่อพันธุ์ผสม(Grex) ลงในช่องทั้งพ่อและแม่ (Grex) แล้วกด search ถ้าไม่พบลองสลับ พ่อและแม่ดู เพราะโปรมสลับเค้าไม่สมบูรณ์มักจะหาไม่เจอครับ


ส่วนถ้าเข้าทางGrex Name Search
จะพบช่องดังนี้
For grex parentage search click here




Genus:


Grex:


exact match




ก็ง่ายนิดเดียวใส่ชื่อลูกผสมนั้นๆลงไปให้ถูกต้อง ทั้ง สกุล และชื่อ (Grex) ครับ

ที่สำคัญมากๆๆเลยก็คือตัวสะกดชื่อต้องถูกต้องนะครับ ลองเข้าไปดูนะครับ
ไม่ยากครับ




 

Create Date : 07 มกราคม 2549    
Last Update : 7 มกราคม 2549 21:49:43 น.
Counter : 928 Pageviews.  

ชื่อพืช และกล้วยไม้รองเท้านารี

standby="Loading Microsoft Windows Media Player components..." VIEWASTEXT>
















มาเข้าเรื่องชื่อพืชและกล้วยไม้รองเท้านารีกันนะครับกันเลยนะครับ


1. มีใครเคยสงสัยไหมว่า ชื่อภาษาลาติน และอังกฤษของพืชและกล้วยไม้รองเท้านารีที่เรารักนั้น มีการเรียกและตั้งชื่อกันยังไง อย่างในเหลืองตรัง Paphiopedilum godefroyae เค้าตั้งกันยังไง???


ตอบ

ที่แน่นอนเลยมันต้องมีกฎการตั้งชื่อครับ ในพืชก็มีสองกฎครับ คือ 1. ICBN (International Code of Botanical Nomenclature) หรือกฎสากลตั้งชื่อทางพฤกษศาสตร์นั่นเองครับ 2. ICNCP (International Code of Nomenclature for Cultivated Plants) หรือกฎสากลตั้งชื่อไม้เพาะเลี้ยงครับ



2.ถามว่าแล้วเมื่อไหร่เราจะใช้กฎไหนล่ะครับ???


ตอบ

ชื่อพืชมีตั้งแต่ระดับ อันดับ วงศ์ สกุล ชนิดพันธุ์ ชนิดย่อยแปรผัน แบบสายพันธุ์หรืออาจจะแยกย่อยลงไปอีก ชื่อเหล่านี้ทั้งหมดใช้กฎสากลในการตั้งชื่อทางพฤกษศาสตร์ สรุปคือ ครอบคลุมชื่อของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติทุกชนิด รวมทั้งลูกผสมที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติด้วย


ส่วนกฎสากลตั้งชื่อไม้เพาะเลี้ยง นั้นก็ใช้ตั้งชื่อพืชที่เราเพาะพันธุ์กันขึ้นมาเองครับ ซึ่งจะมีการตั้งชื่อเฉพาะ สกุล (genus) ชื่อชนิดผสม (Grex name) และ ชื่อสายพันธุ์ (Cultivar name) ผมคิดว่าพี่น้องหลายท่านอาจจะมีโอกาสได้ตั้งชื่อพืชก็ได้นะครับ ไม่ว่าจะเป็นพืชที่พบในธรรมชาติ หรือเป็นไม้ที่เราเพาะพันธุ์ และได้ถูกคัดเลือกพันธุ์มาแล้ว ทำให้มีลักษณะที่ดีขึ้น หรือแตกต่างจากที่เคยพบในธรรมชาติครับ


3.หลักของกฎสากลตั้งชื่อทางพฤกษศาสตร์ คร่าวๆมีอะไรบ้างครับ???


ตอบ

ชื่อวิทยาศาสตร์เป็นภาษาลาตินแม้ว่าจะมีรากศัพท์มาจากภาษาอื่นก็ตาม เค้าจะมีหลักการเติม ส่วนข้างท้ายคำให้เป็นภาษาลาตินครับ ชื่อลำดับ วงศ์ และสกุลจะขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ครับ ยกเว้นชื่อชนิดพันธุ์ ชนิดย่อย หรือ สายพันธุ์ จะขึ้นต้นด้วยชื่อสกุลก่อน แล้วเว้นวรรคตามด้วย ชื่อชนิดพันธุ์ ซึ่งขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์เล็ก ถ้ามีชนิดย่อยก็มีตัวย่อ var. หรือ สายพันธุ์ fma.



อย่างเช่นพันธุ์แท้เหลืองขาวชุมพร และเหลืองตรังของเราครับ Paphiopedilum godefroyae (Godefroyae-Lebeuf) Stein (1892)



และอย่างเหลืองตรังหรือเหลืองพังงาที่มีกระเป๋าขาว ก็เรียกว่า Paphiopedilum godefroyae fma. leucochilum (Rolfe) Braem & Chiron (2003) จะเห็นว่าจะมีการให้เกียรติผู้ตีพิมพ์ และปีที่ตีพิมพ์ไว้ด้านหลังด้วย



ลองมาดูตัวอย่างลูกผสมในธรรมชาตินะครับ ไม่แน่ใจนะครับเค้าเรียกรองเท้านารีเกาะช้างรึเปล่านะครับ เป็นลูกผสมคางกบ กับคางกบคอแดง Paphiopedilum x siamense Rolfe (1896) = Paph. callosum x Paph. appletonianum สังเกตได้ว่ามันจะมี x มาไว้หน้าคำชื่อชนิดพันธุ์ครับ ไว้คราวหน้าจะมาอธิบายให้ละเอียดขึ้นนะครับ



การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตที่เกิดตามธรรมชาติ เมื่อเราพบตัวอย่างตัวอย่างที่น่าสนใจว่าจะเป็นไม้ชนิดใหม่ก็พอสรุปการตั้งชื่อได้ดังนี้ครับ



ก. หาข้อมูลเปรียบเทียบคร่าวๆ ถึงความเป็นไปได้ในการเป็นพืชชนิดใหม่ จากหนังสืออ้างอิง

ข. เก็บข้อมูล ถ่ายรูป วัดขนาด ทุกรายละเอียด ทั้งดอก ต้น ใบ ราก แล้ว วาดรูปตัวอย่างทางพฤกษศาสตร์ (Botanical Illustration) เพื่อไว้เปรียบเทียบและนำไปวินิจฉัยในขั้นต่อไปครับ



ค. ค้นหาเอกสารอ้างอิงรายงานดั้งเดิมของชนิดพันธุ์ใกล้เคียง และได้ดูตัวอย่างเดิมด้วย



ง.วิเคราะห์ แล้ววินิจฉัย โดยเปรียบเทียบกับชนิดพันธุ์ใกล้เคียงว่ามันแตกต่างกันอย่างไรมากแค่ไหน และจัดหมวดหมู่ แล้วสรุปว่าควรเป็น สกุลใหม่ ชนิดพันธุ์ใหม่ ชนิดย่อยใหม่ หรือสายพันธุ์ใหม่



จ. ทำตัวอย่างโดยทำเป็นตัวอย่างแห้ง หรือแช่ในแอลกอฮอล์ได้ เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์พืช



ฉ. ตั้งชื่อ โดยใช้ภาษาลาติน ซึ่งจะมีรายละเอียดค่อนข้างมาก ต้องนำมาเล่ากันภายหลังและเขียนบทความส่งตีพิมพ์ในวารสารทางด้านพฤกษศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับ โดยจะต้องรีบตีพิมพ์ให้เร็วที่สุด เพราะจะยึดกฎว่าใครตีพิมพ์ก่อนนั้น ถือเป็นชื่อที่ถูกต้อง (valid) แม้ตีพิมพ์หลังเพียงไม่กี่วันก็จัดเป็นแค่ชื่อซ้ำ



ช. รอการวิเคราะห์จากนักพฤกษศาสตร์โดยรวมว่า ที่เราตีพิมพ์ไปนั้นถูกต้องไหม เพราะบ่อยครั้ง ที่มีการตีพิมพ์เป็น ชนิดพันธุ์ใหม่ (New species) แต่ต่อมาถูกจัดและปรับไปเป็นแค่ ชนิดย่อย (variation) หรือไม่ก็เป็นการวินิจฉัยซ้ำกับชนิดพันธุ์เดิมไปเลย ทั้งนี้เนื่องจากทฤษฎีการแบ่งชนิดพันธุ์ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ซึ่งในปัจจุบันยังใช้แต่รูปลักษณะภายนอกในการจำแนก แต่ในอนาคตน่าจะมีการใช้หลักฐานทางพันธุกรรม (DNA)มากขึ้น



ข้อสังเกต


การตั้ง และการปรับเปลี่ยนชื่อวิทยาศาสตร์ เป็นงานรับผิดชอบโดยนักพฤกษศาสตร์โดยตรง แม้ว่าบ่อยครั้งที่ นักเพาะเลี้ยงอย่างเราๆจะสามารถ เสนอตั้งชื่อโดยการตีพิมพ์ได้ แต่สุดท้ายก็จำเป็นต้องได้รับการยอมรับจากนักพฤกษศาสตร์ด้วย



4.หลักของกฎสากลตั้งชื่อไม้เพาะเลี้ยง คร่าวๆมีอะไรบ้างครับ???



ตอบ



กฎสากลตั้งชื่อไม้เพาะเลี้ยงอยู่ภายใต้กฎสากลตั้งชื่อทางพฤกษศาสตร์ เมื่อยามที่ต้องใช้ชื่อลาตินที่มีอยู่เดิม ซึ่ง กฎนี่จะตั้งชื่อเพียงสามระดับคือ 1. ชื่อสกุล (Genus) 2. ชื่อชนิดพันธุ์ (species) หรือ ชื่อชนิดผสม (grex name) และ 3.ชื่อสายพันธุ์ปลูก (Cultivar) หรือต้นเดียวกันจากเมล็ดเดียวกัน (Clone)



1. อธิบายเพิ่มเติมนะครับ เริ่มจาก ชื่อสกุลก่อนนะครับ หากเราผสม กล้วยไม้ต่างสกุลลองยกตัวอย่าง รองเท้านารีของไทยเรา Paphiopedilum Pfitzer (1886) ผสมกับรองเท้ารีของอเมริกาใต้ Phragmipedium จะได้ Phragmipaphium (1936)



2. ต่อไปมาดูชื่อเกร็กซ์ (Grex name) นะครับ ก็คือชื่อตัวที่สองเหมือนชื่อชนิด แต่มันเป็นลูกผสม เราจะใช้ชื่อขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ครับ



อย่างเช่น Paph. glaucophyllum x Paph. primulinum จะเห็นว่ามันก็เป็นสกุลเดียวกันคือ Paph. แต่เราก้ต้องตั้ง ชื่อเกร็กซ์ ใหม่ โดยได้เป็น Paphiopedilum Pinocchio



หรืออย่าง Paph. callosum x Paph. lawrenceum ก็จะได้ Paph. Maudiae



หรืออย่าง Paph. Maudiae x Paph. Tadao Takahashi ก็จะได้ Paph. Nightwing



เราจะสังเกตได้ว่าชื่อเกร็กซ์นั่นอาจจะเป็นภาษาลาตินหรือเป็นภาษาปัจจุบันก็ได้โดยอาจจะมีหลายคำ แต่ก็ไม่ควรเกิน 3 คำ โดยที่หลักการของการตั้งนั้น ผู้เลี้ยงต้องเพาะเลี้ยงจนไม้ผสมคู่ใหม่นั้นออกดอกแรกให้เห็นก่อน แล้วตั้งชื่อเตรียมตีพิมพ์และส่ง ชื่อไม้ไปจดทะเบียนที่ สำนักงานจดทะเบียนสากล IRA (International Registration Authority) ซึ่งอยู่ในสังกัดของ ราชกสิกรรมสมาคม แห่งสหราชอาณาจักร RSH (Royal Horicultural Society, London) ซึ่งก็จะมีค่าธรรมเนียมต่างๆด้วยครับ แล้วต้องรอการรับรองชื่อว่า ชื่อนี้ถูกต้องตามกฎ ชื่อนี้ไม่เคยมีใครจด และ ชื่อนี้ไม่ซ้ำกับที่เคยมาจดก่อนแล้ว



3. สุดท้ายมาดูชื่อพันธุ์ปลูกเลี้ยงดูนะครับ ซึ่งมันใช้เรียก สายพันธุ์ที่จำเพาะ โดยเฉพาะพวกที่สวยงาม โดยจริงแล้วคือชื่อต้น ที่มาจากเมล็ดเดียวกัน อย่างในเมืองไทยก็มี ช่องอ่างทองเผือกต้นตาเหลือครับ แต่ถ้าตามหลักสากลเค้าจะใส่ลูกน้ำตัวเดียวรอบคำชื่อพันธุ์ปลูกนี้ อย่างเช่น ขาวสตูลต้นซูปเปอร์บัม Paph niveum ‘Superbum’ หรืออย่าง Paph Maudiae ‘Magnificum’



Paphmania


paph_album@yahoo.com target=_blank>paph_album@yahoo.com




 

Create Date : 28 สิงหาคม 2548    
Last Update : 27 เมษายน 2551 22:56:46 น.
Counter : 1603 Pageviews.  


Paphmania
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]


ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Paphmania's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.