Group Blog
 
All Blogs
 

Conservation Genetics



!!!!! กรุณายึดข้อความตามภาษาอังกฤษนะครับ อิๆๆ เรื่องด้วยผมง่วงขณะแปล !!!!!!1
จากการที่ได้มีเหตุการณ์ถกเถียงในประเด็นการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตหายากโดยเฉพาะกล้วยไม้ป่านั้น โดยที่แต่ละละบุคคลก็มีจุดยืนของตน แต่ดูเหมือนว่าจุดยืนดังกล่าวนั้น ตั้งอยู่บนความเชื่อความนึกคิดที่ยังขาดหลักฐานและเหตุผลยืนยันทางวิทยาศาสตร์อยู่อีกมาก ผมซึ่งได้มีโอกาสได้อ่านวิชาการทางด้านการอนุรักษ์มาบ้างพอสมควร ผมจึงอยากที่จะนำเสนอและเผยแพร่ความรู้และหลักการอนุรักษ์ตามหลักวิทยาศาสตร์ดังนี้

ผมจึงได้นำหลักของพันธุศาสตร์อนุรักษ์มาแปลมาให้อ่านกันนะครับ เพราะความรู้ด้านนี้เป็นความรู้ใหม่ ไม่ได้เป็นที่แพร่หลายนัก โดยเฉพาะในสังคมไทย ยังขาดการให้ความรู้ หลักการ วิชาการ แนวทาง วิสัยทัศน์ และกลวิธี ในการจัดการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวะภาพอยู่อีกมากครับ หวังว่าบทสรุปย่อๆนี้คงจะสร้างความกระตือรือร้น และสนใจในแขนงวิชาทางชีววิทยาที่สำคัญอีกแขนงหนึ่งให้มากขึ้นไป และหวังว่ามันก่อร่างสร้างพลังอนุรักษ์ให้เข้มแข็ง และชาญฉลาดขึ้นในสังคมไทย

Conservation Genetics
พันธุศาสตร์อนุรักษ์

1. The biological diversity of the planet is rapidly being depleted due to direct and indirect consequences of human activities (habitat destruction and fragmentation, over-exploitation, pollution and movement of species into new locations). These reduce population sizes to the point where additional stochastic (chance) events (demographic, environmental, genetic and catastrophic) drive them towards extinction.
ความหลากหลายทางชีวะภาพของพืชนั้นกำลังลดลงอย่างรวดเร็วทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมทางน้ำมือมนุษย์ (อย่างเช่น การทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย การใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือย มลภาวะ การแพร่กระจายพันธุ์ต่างถิ่นเข้าไปในแหล่งใหม่) การลดจำนวนประชากรได้ดำเนินมาถึงจุดที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์อันเนื่องมาจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงต่างๆ (อาทิเช่น การเปลี่ยนแปลงของ ประชากร สิ่งแวดล้อม พันธุกรรม และ ภัยธรรมชาติ)

2. Genetic concerns in conservation biology arise from the deleterious effects of small population size and from population fragmentation in threatened species.
ประเด็นด้านพันธุศาสตร์ของชีววิทยาอนุรักษ์นั้น เกิดขึ้นจากการที่สิ่งมีชีวิตที่ถูกคุกคามมีประชากรจำนวนน้อยและประชากรติดเกาะขาดความต่อเนื่อง ซึ่งมีผลเสียอย่างร้ายแรง

3. The major genetic concerns are loss of genetic diversity, the deleterious impacts of inbreeding on reproduction and survival, chance effects overriding natural selection and genetic adaptation to captivity.
ประเด็นสำคัญทางพันธุศาสตร์ คือการขาดความหลากหลายทางพันธุกรรม ผลเสียของการเกิดเลือดชิดที่มีต่อการขยายพันธุ์และความสามารถในการรอดชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเกิดการคัดเลือกพันธุ์ และการปรับตัวทางพันธุกรรม เพื่อให้เข้ากับการถูกกักขังเพาะเลี้ยง

4. In addition, molecular genetic analyses contribute to conservation by aiding the detection of illegal hunting and trade, by resolving taxonomic uncertainties and by providing essential information on little-known aspects of species biology.
การวิเคราะห์ทางพันธุกรรมระดับโมเลกุลสามารถช่วยงานทางอนุรักษ์ได้โดยใช้เป็นเครื่องมือตรวจสอบ การล่าและการค้าผิดกฎหมาย โดยการหาข้อสรุปทางอนุกรมวิธานในกรณีที่ไม่แน่ใจ และสามารถให้ข้อมูลทางชีววิทยาของแต่ละชนิดพันธุ์ด้วย

5. Inbreeding and loss of genetic diversity are inevitable in all small closed populations and threatened species have, by definition, small and/or declining populations.
สายพันธุ์ที่มีประชากรขนาดเล็กและ/หรือมีการลดจำนวนลง นั้นเรียกว่า ชนิดพันธุ์ที่ถูกคุมคาม ซึ่งจะเกิดการสืบพันธุ์เลือดชิดและการสูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรมอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

6. Loss of genetic diversity reduces the ability of populations to adapt in response to environmental change (evolutionary potential). Quantitative genetic variation for reproductive fitness is the primary component of genetic diversity involved.
การสูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรมยิ่งเป็นการลดความสามารถของกลุ่มประชากรที่จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งหมายถึงลดศักยภาพในการวิวัฒนาการนั้นเอง ลักษณะแตกต่างหลากหลายเชิงปริมาณจึงเป็นส่วนประกอบหลักของความหลากหลายทางพันธุกรรมซึ่งมีผลต่อสมรรถภาพการสืบพันธุ์อย่างยิ่ง

7. Inbreeding has deleterious effects on reproduction and survival (inbreeding depression) in almost every naturally outbreeding species that has been adequately investigated.
จากการศึกษาในสิ่งมีชีวิตที่การสืบพันธุ์โดยธรรมชาติแล้วจะไม่มีการสืบพันธุ์ในสายเลือดใกล้ชิดกันนั้น พบว่าเมื่อได้มีการสืบพันธุ์เลือดชิดกันแล้ว จะเกิดผลเสียร้ายแรงต่อการสืบพันธุ์และการรอดชีวิต เรียกว่า แรงกดดันเลือดชิด

8. Genetic factors generally contribute to extinction risk, sometimes having major impacts on persistence.
โดยทั่วไปแล้วปัจจัยทางพันธุกรรมช่วยเพิ่มความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และในหลายครั้งมันเป็นตัวการสำคัญที่มีผลต่อความทนทานต่อการสูญพันธุ์

9. Inbreeding and loss of genetic diversity depend on the genetically effective population size(Ne), rather than on the census size (N).
การสืบพันธุ์เลือดชิดและการสูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรมนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยของขนาดประชากรที่มีศักยภาพทางพันธุกรรม (หมายถึงมีความหลากหลายไม่ได้เป็นพี่น้องท้องเดียวกัน หรือฝาแฝด หรือโคลนเดียวกัน นับเฉพาะที่มีความแตกต่างทางพันธุกรรมกัน) มากกว่า จำนวนประชากรตามสำมะโนจริง (ซึ่งจะนับทุกตัวต้น แม้ว่าจะเป็นพี่น้องฝาแฝด หรือเป็นไม้โคลนเดียวกัน แต่สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเช่นการแบ่งหน่อ มีไหลเรื้อยเป็นต้น ซึ่งจะมีพันธุกรรมเหมือนกันทั้งชุด )

10. The effective population size is generally much less than the census size in unmanaged populations. Often only one-tenth.
ในกลุ่มประชากรที่ไม่ได้มีการจัดการนั้น ขนาดประชากรที่มีศักยภาพทางพันธุกรรมมักจะมีจำนวนน้อยกว่าจำนวนประชากรตามสำมะโนมาก ซึ่งบ่อยครั้งที่มันจะมีจำนวนเพียง 1 ใน 10 เท่านั้น

11. Effective population sizes much greater than 50 (N>500) are required to avoid inbreeding depression and Ne=500-5000 (N=5000-50000) are required to retain evolutionary potential. Many wild and captive populations are too small to avoid inbreeding depression and loss of genetic diversity in the medium term.
เพื่อหลีกเลี่ยงผลจากแรงกดดันเลือดชิดนั้นจำเป็นที่จะต้องมีขนาดประชากรที่มีศักยภาพทางพันธุกรรม มากกว่า 50 {นั่นคือ Ne=50 (N>500)} และถ้าหากต้องการคงศักยภาพในการวิวัฒนาการนั้น Ne=500-5000 (N=5000-50000) มีกลุ่มประชากรหลายกลุ่มของสิ่งมีชีวิตทั้งที่อยู่ในป่าและในที่กักขังเพาะเลี้ยงนั้น มีขนาดประชากรที่เล็กเกินกว่าที่จะหลีกเลี่ยงการเกิดการสืบพันธุ์เลือดชิดและการสูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรมในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

12. The objective of genetic management is to preserve threatened species as dynamic entities capable of adapting to environmental change.
วัตถุประสงค์ของการจัดการทางพันธุกรรมคือเพื่อที่จะอนุรักษ์ชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคามให้เป็นสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงได้ มีความสามารถที่จะปรับตัวเพื่อเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

13. Ignoring genetic issues in the management of threatened species will often lead to sub-optimal management and in some cases to disastrous decisions.

การจัดการอนุรักษ์สิ่งมีชีวิตที่หายากโดยที่ได้เมินเฉยต่อประเด็นทางด้านพันธุกรรมนั้น บ่อยครั้งที่นำไปสู่การจัดการที่ด้อยคุณภาพและในหลายกรณีก็กับกลายเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดและเกิดผลเสียหายตามมาอย่างมาก

14. The first step in genetic management of a threatened species is to resolve any taxonomic uncertainties and to delineate management units within species. Genetic analyses can aid in resolving these issues.
ขั้นตอนแรกของการจัดการสิ่งมีชีวิตใกล้สูญพันธุ์นั้น คือ การหาข้อสรุปในการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิตที่ยังคลุมเครืออยู่เพื่อที่จะจัดการแยกหน่วยทางพันธุกรรมย่อยในชนิดพันธุ์อย่างเหมาะสม ซึ่งการวิเคราะห์ทางพันธุศาสตร์นั้นสามารถช่วยไขข้อสงสัยนี้ได้

15. Genetic management of threatened species in nature is in its infancy.
ความรู้และข้อมูลในการจัดการสิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์ในธรรมชาตินั้นเพิ่งจะอยู่ในช่วงแบเบาะเท่านั้นเอง

16. The greatest unmet challenge in conservation genetics is to manage fragmented populations to minimize inbreeding depression and loss of genetic diversity. Translocations among isolated fragments or creation of corridors for gene flow are required to minimize extinction risks, but they are being implemented in very few cases. Care must be taken to avoid mixing of different species, subspecies or populations adapted to different environments, as such outbreeding may have deleterious effects on reproduction and survival.
สิ่งใหม่ที่ท้าทายในวงการพันธุศาสตร์อนุรักษ์คือ การจัดการกลุ่มประชากรติดเกาะ เพื่อลดการสืบพันธุ์เลือดชิดและการสูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรม เพื่อที่จะลดความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ จำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายสมาชิกระหว่างประชากรติดเกาะ หรือสร้างทางเชื่อมเกาะประชากรเพื่อให้เกิดการถ่ายเทยีน แต่ว่ามันเป็นวิธีที่ยังถูกนำไปใช้น้อยมาก และสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงคือการผสมนอกคอก ก็อาจจะมีผลเสียต่ออัตราการสืบพันธุ์และอัตราการรอดชีวิตได้ จึงจำต้องหลีกเลี่ยงการปนเป ข้ามชนิดพันธุ์ หรือข้ามชนิดย่อย หรือแม้แต่ข้ามกลุ่มประชากรที่ได้มีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมที่จำเพาะแตกต่างกันออกไปด้วย

17. Genetic factors represent only one component of extinction risk. The combined impacts of all 'non genetic' and genetic threats faced by populations can be assessed using population viability analysis (PVA). PVA is also used to evaluate alternative management options to recover threatened species, and as are search tool.
ปัจจัยทางพันธุกรรมเป็นเพียงส่วนประกอบเดียวของความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ โดยที่เราสามารถประเมินความอยู่รอดของประชากรโดยใช้ปัจจัยทั้งทางพันธุกรรมและอื่นๆๆมาประกอบการพิจารณา ซึ่งสูตรนี้ใช้ในการช่วยประเมินการจัดการสิ่งมีชีวิตที่ใกล้สูญพันธุ์ได้

18. Captive breeding provides a means for conserving species that are incapable of surviving in their natural habitats. Captive populations of threatened species are typically managed to retain 90% of their genetic diversity for 100 years, using minimization of kinship. Captive populations maybe used to provide individuals for reintroduction into the wild.
การกักขังเพาะเลี้ยงช่วยเก็บรักษาชนิดพันธุ์หายากที่ไม่สามารถดำรงอยู่ในแหล่งอาศัยตามธรรมชาติได้นั้น โดยจะเลือกสมาชิกประชากรที่ไม่ใช่เครือญาติใกล้ชิดกันมาเพาะพันธุ์เพื่อรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรมไว้ให้ได้ ร้อยละ 90 ในระยะเวลา 100 ปี โดยที่เราสามารถปล่อยสมาชิกบางตัวหรือต้นกลับคืนสู่ป่าหรือแหล่งกำเนิดได้

19. Genetic deterioration in captivity resulting from inbreeding depression, loss of genetic diversity and genetic adaptation to captivity reduces the probability of successfully reintroducing species to the wild.
การเสื่อมถอยทางพันธุกรรมในการกักขังเพาะเลี้ยงเกิดขึ้นจากการสืบพันธุ์เลือดชิด การสูญเสียความหลากหลายทางพันธุกรรม และการปรับตัวทางพันธุกรรมเพื่อที่จะเข้าสู่การเพาะเลี้ยง ซึ่งมันลดโอกาสการประสบความสำเร็จในการนำมีชีวิตหายากนั้นกลับคืนสู่ป่าหรือแหล่งกำเนิดของมัน

อ้างอิง
Frankham, R.; Ballou, J. D. & Briscoe D. A.. A Primer of Conservation Genetics. CUP, 2004




 

Create Date : 19 มกราคม 2549    
Last Update : 21 มกราคม 2549 12:04:40 น.
Counter : 1796 Pageviews.  


Paphmania
Location :
กรุงเทพ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Paphmania's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.