Group Blog
 
<<
มกราคม 2550
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
29 มกราคม 2550
 
All Blogs
 
อ้อยปิ้ง (ตอนแรก)



เดือนกุมภาพันธ์หนึ่งเมื่อผมยังเป็นหนุ่มวัยกระเตาะ ผมไปฝึกภาคสนาม ร.ด. ที่เขาชนไก่ คืนหนึ่งขณะที่เราต้องย้ายฐานและเดินทางไกลไปพักแรมอีกที่ ระหว่างทางที่ผมอยู่บนเนินแล้วมองไประยะไกล ผมมองเห็นกลุ่มไฟแดงวาบๆ และควันคละคลุ้ง ในอารมณ์นั้นผมนึกถึงเครื่องบินทิ้งระเบิดลงในหมู่บ้าน ผมจินตนาการว่าผมเป็นผู้กองมิลเล่อร์ในหนังเรื่อง Saving Private Ryan

ผมถามครูฝึกว่าไฟแดงๆ นั่นคืออะไร เขาบอกว่าชาวบ้านกำลังเผาอ้อย ในเวลานั้นผมไม่รู้หรอกครับว่าชาวบ้านเผาอ้อยไปทำไมกัน รู้แต่ว่าคืนนั้นผมหิวน้ำเลยไปหักอ้อยข้างทางมากิน ทำให้ผมรู้ว่าอ้อยที่ส่งโรงงานน้ำตาลนี่เปรี้ยวอิ๊บเป๋ง

อ้อยโรงงานนี่เป็นพืชการเมืองโดยแท้ เพราะแทนที่จะเป็นพืชในสังกัดกระทรวงเกษตรแบบชาวบ้านเขา แต่อ้อยจะอยู่ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกอ้อยในแต่ละปีมากกว่า 6 ล้านไร่ จังหวัดที่ปลูกมากที่สุด 3 อันดับแรกคือกาญจนบุรี นครสวรรค์ และสุพรรณบุรี ปีนี้ผลผลิตอ้อยมีมากถึงเกือบ 12 ล้านตัน ชาวไร่อ้อยไทยปลูกอ้อยได้ประมาณ 9 ตันต่อไร่ ปี 2550 นี้ผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นมากพอสมควรครับ เนื่องจากสภาพฟ้าฝนเอื้ออำนวย ราคาในปีที่ผ่านมาก็จูงใจ อ้อยนี่เป็นพืชง้อให้เกษตรกรปลูกครับ พวกโรงงานน้ำตาลนี่ต้องสนับสนุนเงินทุนให้เกษตรกรปลูก พูดภาษาชาวบ้านเรียก “ปล่อยเกี๊ยว” ไงครับ ปีนี้คณะรัฐมนตรีก็อนุมัติราคาอ้อยขั้นต้นที่ตันละ 800 บาท ที่ 10 C.C.S. เงื่อนไขการตัดเงิน 48 บาทต่อ 1 C.C.S. ที่ลดลง

C.C.S. คืออะไร
อ้อยก็เหมือนสินค้าเกษตรอื่นคือเงื่อนไขการรับซื้อ ราคาจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักสินค้าและคุณภาพ ซึ่งลักษณะทางคุณภาพที่สำคัญของอ้อยก็คือความหวาน C.C.S. เป็นดัชนีวัดค่าความหวานที่สามารถแปลงเป็นน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ได้ ย่อมาจาก Commercial Cane Sugar เป็นเทคนิคการวัดค่าความหวานที่ได้มาจากแนวคิดของออสเตรเลียเขา ค่าหยาบๆ ที่ใช้อ้างอิงคือ 10 ต่อ 1 นั่นคืออ้อยสด 10 ส่วนเมื่อผ่านกระบวนการผลิตแล้วจะได้เป็นน้ำตาล 1 ส่วน

แต่ในชีวิตจริงไม่ได้เป็นเหมือนในทฤษฎีครับ เพราะในกระบวนการผลิต โรงงานจะสูญเสียน้ำตาลไปได้ในระหว่างทาง เช่นประสิทธิภาพลูกหีบน้ำตาล การปะปนน้ำตาลในตะกอนและโมลาส แม้กระทั่งจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในสายการผลิตก็สามารถย่อยน้ำตาล หากคำนวณเป็นตัวเลขแล้วก็ไม่น้อยเลย

ในการผลิตน้ำตาล ดัชนีที่นิยมนำมาพิจารณาในการประเมินศักยภาพของการผลิตและคุณภาพของวัตถุดิบดังนี้

กระบวนการผลิต หากปริมาณน้ำตาลที่ปนอยู่ในโมลาสและชานอ้อยมาก นั่นแสดงว่าสายการผลิตห่วยแตก

วัตถุดิบ พิจารณาจากปริมาณน้ำตาลในรูปของแข็งที่ละลายอยู่ในน้ำอ้อยหรือค่าองศา Brix และปริมาณน้ำตาล Sucrose ในน้ำอ้อยเรียกว่าค่า Pol ครับ

ดังนั้นค่าที่ใช้ในโลกความเป็นจริงคืออ้อยสด 10 จะได้เป็นน้ำตาลเมื่อสิ้นสุดการผลิตแล้ว 0.9 ส่วนเท่านั้นครับ



โม้มาเสียนานอ้อยก็ยังไม่ถูกฌาปนกิจเสียที แต่ตอนนี้เรื่องมันยาวมาก ขอแบ่งเป็น 2 ตอนแล้วกันนะครับ



Create Date : 29 มกราคม 2550
Last Update : 3 กุมภาพันธ์ 2550 20:47:24 น. 3 comments
Counter : 2231 Pageviews.

 
ขอบคุณมากครับ รอตอนต่อไปครับผม


โดย: ป๊อป (Amder ) วันที่: 30 มกราคม 2550 เวลา:10:29:19 น.  

 
แวะมาเยี่ยมน้าโหดค่ะ มาส่งความรักและให้กำลังใจคนขยันทำงาน คิดถึงเสมอ....แอบเข้ามาเพิ่มเติมความรู้อยู่บ่อยๆแต่มะได้เม้นท์ น่ะค่ะ


โดย: noklekkaa (papagearna ) วันที่: 5 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา:15:09:09 น.  

 
แวะมาอ่านค่ะ ได้ความรู้ดีจัง เดี๋ยวย่าแวะไปอ่านตอนสอง


โดย: ดา ดา วันที่: 30 มีนาคม 2550 เวลา:11:38:02 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

น้าโหด
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




Friends' blogs
[Add น้าโหด's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.