ความวิปโยคสุดพรรณนาและความยิ่งใหญ่คือชาตากรรมแห่งความรักของฉันที่มีต่อเธอ Unsagbares Leid und Größe ist das Schicksal meiner Liebe für dich. Untoldly sorrowful and great is the destiny of my love for you.
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2548
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
6 พฤศจิกายน 2548
 
All Blogs
 
โซนาตา

โซนาตา (อัง. Sonata; ย. Sonate)

ในการศึกษาซิมโฟนีนั้นจำเป็นต้องกล่าวถึงโซนาตาก่อน คำว่าโซนาตามาจากภาษาอิตาเลียนว่า “suonare” มีความหมายว่า “ทำให้เกิดเสียง” ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเครื่องดนตรีที่นำมาเล่นเพื่อทำให้เกิดเสียง ต่างไปจากคันทาทาซึ่งเป็นงานสำหรับการขับร้อง โซนาตา (ตามแบบของไฮย์ดึนและโมสาร์ท และในความหมายที่คีตกวีรุ่นหลังเข้าใจ) เป็นงานบรรเลงดนตรีชนิดหนึ่งที่ประกอบด้วยอนุกรมของดนตรีท่อนต่างๆที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปแล้วประกอบด้วยดนตรีสามหรือสี่ท่อน เราใช้คำๆนี้เมื่อหมายถึงงานดนตรีที่ประพันธ์มาสำหรับเครื่องดนตรีชิ้นเดียวหรือสองชิ้น กรณีที่เป็นงานสำหรับเครื่องดนตรีมากชิ้นกว่านี้ เป็นนัยให้เข้าใจว่าต้องใช้คำอื่นโดยเฉพาะ เช่น ทริโอ ควาร์เทต ควินเทต เซคเทต เซพเทต ออคเทต หรือ โนเนต เป็นต้น (trio, quartet, quintet, sextet, septet, octet, หรือ nonet) ซึ่งหมายถึงจำนวนเครื่องดนตรีที่ใช้ (ตั้งแต่สามชิ้นถึงเก้าชิ้นตามลำดับ) โซนาตาสำหรับการเดี่ยวเครื่องดนตรีและวงดุริยางค์เรียกว่า “คอนแชร์โต” ส่วนโซนาตาสำหรับวงดุริยางค์นั้นก็คือ “ซิมโฟนี” นั่นเอง เพราะฉะนั้นก็เป็นที่ชัดเจนเลยว่า โซนาตาเป็นดนตรีบรรเลงส่วนใหญ่ที่เราได้ยินกัน

โครงสร้างโซนาตา (Sonata-Form)

คำๆนี้ในดนตรีมีความหมายต่างไปจากคำว่าโซนาตาโดดๆ เพราะมันหมายถึงโครงสร้างที่มีรูปแบบที่ชัดเจน คำต่างประเทศที่มีความหมายเหมือนกันก็มี เช่น sonata-allegro form, sonata-form และในภาษาอังกฤษยังมีอีกคำหนึ่งคือ โครงสร้างท่อนที่หนึ่ง (first-movement form) แต่ละคำที่กล่าวมานั้นล้วนแล้วแต่มีความหมายเฉพาะ แต่คำหลังสุดนั้นมีความหมายไม่ใคร่ถูกต้องตรงตัวนัก เพราะว่าไม่เพียงแต่ดนตรีท่อนแรกเท่านั้นที่ใช้โครงสร้างโซนาตา ท่อนอื่นๆก็ยังใช้อยู่ด้วยเช่นกัน หรือแม้แต่งานดนตรีที่มีท่อนเดียวก็ยังใช้โครงสร้างโซนาตานี้อีกด้วย เพราะฉะนั้นหากจะใช้ให้เหมาะสมแล้ว ควรจักเป็นคำว่า “โครงสร้างโซนาตาอาลเลโกร” เพราะว่ารูป-แบบของดนตรีท่อนนี้มีลักษณะพิเศษบรรเลงในท่อนที่มีชีวิตชีวาหรือรวดเร็ว(allegro)นั่นเอง ให้สังเกตว่าไม่เรียกดนตรีท่อนช้าในโครงสร้างนี้ว่าโครงสร้างโซนาตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคริสตศตวรรษที่ ๑๘ “โครงสร้าง โซนาตา” เป็นคำที่ถูกต้อง และคีตกวียุคใหม่นิยมใช้มากกว่า แต่ก็ทำให้สับสนได้ง่ายเช่นเดียวกันกับคำว่า “โซนาตา” ซึ่งหมายถึงดนตรีรวมหมดทุกท่อน

ดนตรีท่อนที่ใช้โครงสร้างโซนาตานั้นมีพื้นฐานมากจากข้อสรุปสองประการ ประการแรกหมายถึง ดนตรีท่อนหนึ่งมีทิศทางและเป้าหมาย ถ้าหากว่า หลังจากบรรเลงในคีย์หลักแล้ว ก็แบ่งดนตรีออกเป็นส่วนๆแล้วนำมารวมกันเข้า และสุดท้ายก็กลับไปบรรเลงในคีย์หลัก เพราะฉะนั้นให้พิจารณาว่าโครงสร้างโซนาตาว่าเป็นดนตรีที่ก่อให้เกิดความน่าทึ่งอย่างกระทันหันระหว่างการบรรเลงในคีย์สองคีย์ที่ขัดแย้งกัน “เค้าโครงดนตรี” (plot) ซึ่งถือว่าเป็นเหตุการณ์ในดนตรี (action) และการเร้าอารมณ์ของผู้ฟังนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นอนุพันธ์(มีรากเหง้า)ของความขัดแย้งนี้ โดยสรุปก็คือ โครงสร้างโซนาตาอาลเลโกรเป็นการสำแดงตัวตนของหลักการที่วางอยู่บนระบบเสียงเมเจอร์และไมเนอร์ ซึ่งเป็นการสถาปนาความแตกต่างระหว่างคีย์นั่นเอง ใช้เป็นจุดอ้างอิงสำหรับเนื้อความดนตรี การแยก และการย้อนกลับมา

ประการที่สอง คือการสรุปว่าทำนองหลักหรือธีมนั้น อาจจักมีพลังเร้นลึกอยู่ที่การปลดปล่อยออกมาผ่านการพัฒนา (development) ของทำนองหลักต่างๆที่เป็นองค์ประกอบของมัน สิ่งที่มีประโยชน์มากที่สุดสำหรับจุดประสงค์นี้ก็คือทำนองหลักที่สั้นและคม ซึ่งมีพลวัตร(โมเมนตัม)และสร้างอารมณ์ความรู้สึก และมีพันธสัญญามากกว่าที่มันสำแดงอภินิหารออกมาเมื่อแรกได้ยิน ดนตรีจัก “พรรณนา” (expose) ทำนองหลักในส่วน (section) แรก และ “พัฒนา” (develop) ในส่วนที่สอง และย้อนกลับมา “ย้ำสรุป” (recapitulate) ในส่วนที่สาม

“การพรรณนา” (exposition)

การพรรณนาเป็นดนตรีท่อนเปิด ที่ดำเนินไปในคีย์ตรงกันข้ามสองคีย์และทำนองหลักต่างๆเกี่ยวข้องของคีย์ทั้งสอง (ทำนองหลักทำนองหนึ่งอาจจักประกอบด้วยความคิดที่เกี่ยวข้องหลายหลากก็ได้ โดยในกรณีดังกล่าวนั้น เรากล่าวถึงมันในลักษณะเป็นกลุ่มของทำนองหลักกลุ่มหนึ่ง) การเปลี่ยนต่อหรือการบริดจ์นั้นกระทำเพื่อแยกดนตรีออกเป็นส่วนๆหรือโมดูล ส่วนทำนองที่สองและการขยายทำนองที่สองนั้น สถาปนาขึ้นมาในคีย์ที่ขัดแย้งกัน ส่วนของดนตรี (section) ที่ใกล้ชิดกันหรือโคดาน้อย (codetta) ของการพรรณนานี้จักบรรเลงอยู่ในคีย์ที่ขัดแย้งกัน ในโครงสร้างโซนาตายุคคลาสสิกนั้น มีการบรรเลงซ้ำกระบวนการพรรณนานี้ คุณภาพการบรรยายถึงเหตุประหลาดที่ต้องการนำเสนอในดนตรีตรงนี้ มีรากเหง้ามาจากเกณฑ์ที่ยอมรับกันจากความจริงที่ว่า ดนตรีจักนำผู้ฟังจากคีย์หลักไปยังคีย์ที่ขัดแย้งกัน

“การพัฒนา” (development)

การพัฒนาดำเนินต่อไปโดยบรรเลงในคีย์ประหลาดต่างๆเป็นลำดับ สร้างอารมณ์จากการไม่สามารถหลีกเลี่ยงการกลับมายังคีย์หลักได้ เร้าอุณหภูมิของอารมณ์ขึ้นโดยการแยกดนตรีเป็นส่วนๆหรือโมดูลอยู่เป็นนิจ ผลก็คือเกิดความรู้สึกราวกับไม่หายใจหายคอและความตื่นเต้นขึ้นมา
ในเวลาเดียวกัน คีตกวีดำเนินดนตรีต่อไปเพื่อสำแดงอภินิหารที่เร้นลับอยู่ในทำนองหลักของดนตรี แตกทำนองหลักออกเป็นทำนองย่อยที่เป็นส่วนประกอบของทำนองหลัก แล้วรวมทำนองย่อยเข้าด้วยกันใหม่ในโครงสร้างกระสวน (pattern) ใหม่สด ความขัดแย้งและกิริยาต่างๆที่แสดงออกมาเป็นความสำคัญของการก่อให้เกิดความมหัศจรรย์ใจอย่างกระทันหัน ในการพัฒนานั้นความขัดแย้งจักระเบิดพรวดออกมา กิริยาจักบรรลุถึงความแรงกล้าสุดยอด สาระที่สำคัญของดนตรีที่ก่อให้เกิดความทึ่งดังกล่าวนั้นจักโถมเข้าใส่กันและกันราวกับโลกเกิดการชนกัน อารมณ์จักกลับกลายเป็นอาการเคลื่อนไหว ทำนองหลักจักดัดแปลงหรือแปรรูปไปต่างๆนานา พลิกกลับ (inversion) ยึดขยายออกเป็นส่วนโน้ตที่มีค่ายาวกว่าเดิม (augmentation) หรือหดขมวดเข้าเป็นส่วนโน้ตที่สั้นกว่าเดิม (diminuation) ผสมผสานกับทำนองย่อยอื่นๆ หรือแม้แต่ผสมผสานกับสิ่งใหม่ ถ้ากล่าวว่าโซนาตานั้นสำหรับวงดุริยางค์แล้ว มันก็คือซิมโฟนีนั่นเอง ส่วนย่อยๆของทำนองหลักอาจจักนำเสนอโดยเครื่องดนตรีกลุ่มหนึ่งและใช้เครื่องดนตรีกลุ่มอื่นบรรเลงเลียนแบบ เป็นเสียงสูงหรือว่าลึกต่ำเป็นเสียงเบสส์ โน้ตดนตรีแต่ละห้องคล้ายกับกำเนิดออกมาจากดนตรีที่บรรเลงมาก่อนหน้านั้น โดยกฎที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของ“เหตุและผล”ที่ใส่เข้ามาเพื่อขับเคลื่อนงานทั้งชิ้นและทำให้เกิดพลวัตร (momentum) เป็นเปลวเพลิงสุดแรงกล้าที่ก่อให้เกิดเอกภาพและการเปลี่ยนแปลงสารพัดอย่าง ตรรกและการหลอมรวมทางดนตรีที่ก่อให้เกิดความดูดดื่มประทับใจ เพื่อสร้างสรรค์งานดนตรีขึ้นมา

“การย้ำสรุป” (recapitulation)

เมื่อดนตรีดำเนินมาถึงการย้ำสรุป นั่นแสดงว่าการเร้าอารมณ์ของดนตรีเริ่มคลี่คลายลงแล้ว และจักย้อนเปลี่ยนกลับไปบรรเลงในคีย์หลัก การเริ่มต้นของส่วนที่สาม (section) หรือการย้ำสรุปนี้ เป็นความรู้สึกสุดยอดทางจิตวิทยาของโครงสร้างโซนาตา (sonata-form) ว่าเป็นจุดหมายของการเดินทางที่กลับบ้านแล้ว ทำนองหลักที่หนึ่งปรากฏเมื่อเราได้ยินครั้งแรกสุด ในคีย์หลัก เป็นการประกาศชัยชนะของเอกภาพและการเปลี่ยนแปลงสารพัดอย่าง เป็นชัยชนะของความต่อเนื่องเหนือการเปลี่ยนแปลง
การย้ำสรุปจักดำเนินตามรอยของการพรรณนาอย่างกว้างๆ ย้อนซ้ำทำนองหลักที่หนึ่งและที่สองในโครงสร้างเก่าไม่มากก็น้อย แต่คราวนี้จักเพิ่มความรุ่มรวยของความหมายซึ่งเป็นแนวทางดำเนินของดนตรีมาแล้ว ที่สำคัญที่สุด ในการย้ำสรุปนั้น ส่วนประกอบต่างๆของดนตรีจักปรองดองกัน คีย์หลักปรากฏชัยชนะออกมา สำหรับเหตุผลนี้ ดนตรีส่วนที่สาม (section) แตกต่างในรายละเอียดที่สำคัญปราการหนึ่งจากช่วงการพรรณนา นั่นก็คือ ตรงนี้คีตกวีคงคีย์หลักไว้ โดยทั่วไปจักยกทำนองหลักที่สอง ซึ่งแต่เดิมเป็นคีย์ที่ขัดแย้งกัน ย้ายมาบรรเลงในคีย์หลัก หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ถึงแม้ว่าทำนองหลักที่สองและการขยายทำนองหลักที่สองจักคลี่ออกมาจากการซ้อนทับตามลำดับในวิธีเดียวกันกับครั้งก่อนก็ตาม ดนตรีตรงนี้ย้ายกลับมาบรรเลงในคีย์หลัก นี่ก็เป็นแนวปฏิบัตินิยมจากดนตรีท่อนที่ได้ยินมาก่อนหน้านั้นในส่วนโคดาน้อย (codetta) ซึ่งในดนตรีมักมีอะไรใหม่ๆใส่เพิ่มเติมเข้าไปเสมอ ท่อนโคดาจักคลายปมของทั้งท่อนออก และประกาศชัยชนะของคีย์หลักด้วยท่อนคาเดนซ์สุดท้ายที่กระปรี้กระเปร่า
กระบวนการต่างๆที่บรรยายมาข้างบนนั้น พอสรุปเป็นเค้าโครงสั้นๆและง่ายๆได้ดังต่อไปนี้

โครงสร้างโซนาตา (Sonata-Allegro Form or Sonata-Form)

การพรรณนา* (exposition) การพัฒนา (development) การย้ำสรุป (recapitulation)
ทำนองหลักที่หนึ่ง (หรือกลุ่มทำนอง-หลัก) และการขยายออกในคีย์หลัก
บริดจ์เชื่อมส่วนแยก
ทำนองหลักที่สอง (หรือกลุ่มทำนอง-หลักที่สอง) และการขยายออกในคีย์ที่ขัดแย้งกัน
โคดาน้อย คาเดนซ์ในคีย์ที่ขัดแย้งกัน เร้าอารมณ์สร้างความรู้สึก กลับไปยังคีย์-หลัก โดย
๑. แยกดนตรีออกเป็นส่วนๆ(โมดูล)ในคีย์ประหลาดๆ
๒. แตกและย่อยทำนองหลักและทำนองย่อยออกเป็นส่วนเล็กๆ
เปลี่ยนต่อกลับไปยังคีย์หลัก ทำนองหลักที่หนึ่ง (หรือกลุ่มทำนอง-หลัก) และการขยายออกในคีย์หลัก
บริดจ์
ทำนองหลักที่สอง (หรือกลุ่มทำนอง-หลัก) และการขยายออกในคีย์หลัก
โคดา คาเดนซ์ ในคีย์หลัก
* หมายเหตุ: การพรรณนาอาจจักนำมาด้วยท่อนนำที่ช้า และคีตกวีในยุคแคลสสิกที่แท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งไฮย์ดึนนั้น ได้วางรากฐานของท่อนโซนาตาอาลเลโกรไว้บนทำนองหลักเดี่ยวๆ ซึ่งปรากฏเป็นครั้งแรกในคีย์หลัก จากนั้นจักเป็นคีย์ที่ขัดแย้งกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อเวลาผ่านไป คีตกวีหลายท่านชอบวางท่อนดนตรีไว้บนพื้นฐานของทำนองหลักในคีย์ที่ขัดแย้งกันมากกว่า

รูปลักษณ์หลักๆของเค้าโครงดังกล่าวข้างบนนั้น นำเสนอในแบบรูปเดียว หรือแบบรูปอื่นๆอย่างนับไม่ถ้วน ในดนตรีท่อนที่ใช้โซนาตาอาลเลโกร กระนั้นก็ตามไม่มีท่อนใดที่แก่นแท้ของดนตรีเหมือนกันอย่างแท้จริง แต่ละท่อนต่างก็มีการคลี่คลายปัญหาที่ไม่เหมือนกันเลย ไม่ว่าจักเป็นลักษณะ อารมณ์ และความสัมพันธ์ของพลังอำนาจ สำหรับศิลปินที่แท้จริง -และมีเฉพาะงานของศิลปินที่แท้จริงเท่านั้นที่ยืนยง- ก่อให้เกิดรูปแบบขึ้นมาตามความต้องการสื่อผ่านดนตรีออกมา ดังนั้น สิ่งที่เห็นอยู่บนแผ่นกระดาษนั้นมันก็เหมือนกับการวางแผนเอาไว้อย่างแน่นอนแล้วจึงคลี่คลายออกมา เมื่อบรรเลงออกมาเป็นเสียงที่ได้ยิน เป็นเค้าโครงสำหรับความแตกต่างกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

วัฏจักรมหัพภาคของโซนาตา

วัฏจักรดนตรีสี่ท่อนของคีตกวียุคแคลสสิก ดังที่ปรากฏในซิมโฟนี คอนแชร์โต โซนาตา ควาร์เทตเครื่องสาย และงานรูปแบบอื่นของดนตรีแชมเบอร์ นั้น กลายเป็นพาหนะสำหรับเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุดของคีตกวีเหล่านั้นไปเสียแล้ว เค้าโครงย่อยต่อไปนี้สรุปให้เห็นแนวปฏิบัติในดนตรียุคแคลสสิก-โรแมนติก อันจักเป็นประโยชน์สำหรับผู้อ่าน เปิดช่องให้จำไว้ว่า โซนาตานั้นไม่ได้มีอะไรมากไปกว่าแบบแผนของดนตรีโดยทั่วไป และไม่จำเป็นต้องประยุกต์ใช้กับงานดนตรีในลักษณะนี้ทุกชิ้น ในซิมโฟนีหมายเลขเก้าของ ลุดวิก ฟาน เบโธเฟน เป็นตัวอย่าง แชร์โซเป็นดนตรีท่อนที่สอง และท่อนช้า(adagio-อดาโจ)ตามมาเป็นท่อนที่สาม

ท่อน

ลักษณะ โครงสร้าง ความเร็ว
ที่หนึ่ง บรรยายเรื่องราวอันน่าทึ่ง โครงสร้างโซนาตา เร็ว (allegro)
ที่สอง ช้าและร่าเริง ทำนองหลักและการแปรแนวบรรเลงต่างๆ

โครงสร้างโซนาตา ABA ช้า หรือ ช้าๆ (andante, adagio, largo)

ที่สาม เหมือนดนตรีเต้นรำ:
มินูเอท (ศ. ๑๘)
แชร์โซ (ศ. ๑๙)
มินูเอท และ ทริโอ
แชร์โซ และ ทริโอ
ค่อนข้างเร็ว (allegretto)
เร็ว (allegro)

ท่อนที่สี่ มีชีวิตชีวา “สุขนาฏกรรม” (ศ. ๑๘) หรือเป็นเรื่องราวที่น่าทึ่งพร้อมกับจบในแบบสำแดงชัยชนะ (ศ. ๑๙) • โครงสร้างโซนาตา
• โรนโด
• ทำนองหลักโรนโด-โซนาตา และการแปรแนวบรรเลงต่างๆ ค่อนข้างเร็ว ร่าเริงสนุกสนาน (allegro, vivace, presto)

ท่อน(movement), ลักษณะ(character), โครงสร้าง(form), ความเร็ว(tempo)

คีตกวีโซนาตายุคแคลสสิกมักมีแนวความคิดเกี่ยวกับดนตรีท่อนต่างๆ (movements) ในลักษณะเป็นวัฏจักร เช่นเดียวกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริงภายในตัวเอง แล้วเชื่อมโดยคีย์แบบเดียวกัน ท่อนที่หนึ่ง ที่สาม และที่สี่บรรเลงในคีย์หลัก แต่ท่อนที่สองในคีย์ที่ขัดแย้ง ในคริสตศตวรรษที่ ๑๙ เกิดการหาแนวทางการเชื่อมต่ออย่างชัดเจนระหว่างดนตรีท่อนต่างๆเข้าด้วยกัน –นั่นก็คือการเชื่อมธีมหรือทำนองหลักเข้าด้วยกัน (themetic connection) ความจำเป็นอย่างนี้สำเร็จลงได้ด้วยโครงสร้างหลักแบบวัฏจักร (cyclical structure) ซึ่งในโครงสร้างนี้จักปรากฏแนวทำนองหลักของดนตรีในท่อนแรกๆขึ้นในท่อนหลังๆ ในลักษณะเป็นถ้อยดนตรีที่คัดมา หรือร้อยเป็นลูกโซ่เข้าด้วยกัน

วัฏจักรโซนาตาสนองตอบความจำเป็นของคีตกวี สำหรับการขยายงานดนตรีบรรเลงแห่งธรรมชาติที่เป็นนามธรรม มันเป็นแหล่งชุมนุมความขัดแย้งของคีย์ และโหมดที่ฝังรากลึกอยู่ในระบบเมเจอร์-ไมเนอร์ ด้วยการหล่อหลอมความรู้สึก อารมณ์ และ ภูมิปัญญา การผสมผสานแห่งการพิจารณาและพฤติการณ์ที่แสดงความเริงร่าออกมาของมัน กล่าวได้เลยว่าวัฏจักรโซนาตานั้นเป็นหนึ่งในโครงสร้างทางศิลปะที่วิจิตรบรรจงและช่างประดิดประดอยที่สุดแห่งมวลมนุษยชาติ

หมายเหตุ

บางส่วนอาจอ่านไม่ต่อเนื่อง ต้องขออภัย เพราะคัดมาจากต้นฉบับเดิมที่เป็นตาราง และผู้เขียนไม่ได้เปลี่ยนรูปแบบไว้ก่อน


Create Date : 06 พฤศจิกายน 2548
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2548 10:44:35 น. 7 comments
Counter : 5949 Pageviews.

 
ผมก็ชอบฟังนะ พวก โซนาต้า ดนตรีมันออกแนวโดดเดียว นุ่มนวล แน่วแน่ดี


โดย: maczy วันที่: 6 พฤศจิกายน 2548 เวลา:12:07:18 น.  

 
ฟังบ่อยเพราะดีค่ะ ฟังสบายๆ


โดย: เตย (terrynop ) วันที่: 6 พฤศจิกายน 2548 เวลา:12:18:42 น.  

 


โดย: เเนน IP: 61.7.137.11 วันที่: 25 มิถุนายน 2549 เวลา:10:34:43 น.  

 

เพราะ


โดย: แป๋ม IP: 58.10.90.136 วันที่: 21 กันยายน 2549 เวลา:13:51:19 น.  

 
ขอบคุณมากน่ะที่ช่วยให้หาเจอน่ะ


โดย: โอปอ IP: 61.7.241.30 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2549 เวลา:18:33:39 น.  

 
ช่วยหาข้อมูลของMoonlight Sonata
ให้ได้ไหมค่ะ
อยากได้รายระเอียด
ในนี้มีแต่ซิมโฟนี
อยากได้ข้อมูลเพลงนี้ค่ะ
ขอบคุณมาก
pieam_tn@hotmail.com


โดย: อิ๋ว IP: 125.25.97.66 วันที่: 22 ธันวาคม 2550 เวลา:2:21:07 น.  

 
อยากไดรูปแบบsonata op 53 Waldstein ของเบโธเฟ่นครับ
ช่วยกรุณาหน่อยนะครับ
ขอบคุณล่วงหน้าครับ


โดย: pong1111_@hotmail.com IP: 222.123.228.160 วันที่: 4 ธันวาคม 2551 เวลา:22:57:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ลุดวิก
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Ich bin nur ein Mensch! Alles Leben ist leiden. Alles ist nichtig!
ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล

Bangkok

Friends' blogs
[Add ลุดวิก's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.