ความวิปโยคสุดพรรณนาและความยิ่งใหญ่คือชาตากรรมแห่งความรักของฉันที่มีต่อเธอ Unsagbares Leid und Größe ist das Schicksal meiner Liebe für dich. Untoldly sorrowful and great is the destiny of my love for you.
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2548
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
6 พฤศจิกายน 2548
 
All Blogs
 
ซิมโฟนีหมายเลขหก "แห่งท้องทุ่ง"

ซิมโฟนี หมายเลขหก เอฟเมเจอร์ โอพุซ ๖๘
“แห่งท้องทุ่ง” (Pastorale)

ซิมโฟนีพาสโตราล หรืออ่านออกสำเนียงเยอรมันว่า “พาสโตราเลอะ” หมายเลขหก เป็นซิมโฟนีบทแรกที่ประกอบไปด้วยดนตรีห้าท่อน (movements) แต่การบรรเลงระหว่างท่อนที่สี่และท่อนที่ห้านั้นไม่มีการหยุดระว่างท่อน ซิมโฟนีบทนี้เปิดการแสดงรอบปฐมฤกษ์ ณ โรงมหรสพ อัน แดร์ วีน (An der Wien) ในการแสดงคอนเสิร์ตยักษ์ครั้งหนึ่ง ซึ่งในคริสตศตวรรษที่สิบแปดและที่สิบเก้านั้น ถือว่าเป็นเรื่องพิเศษมาก การบรรเลงประกอบด้วยงานแสดงดนตรีหลายชิ้น การบรรเลงรอบปฐมฤกษ์ของพาสโตราล อยู่ในคอนเสิร์ตเดียวกันกับรอบปฐมฤกษ์ของซิมโฟนีหมายเลขห้า ซึ่งบรรเลงเปิดครึ่งหลังของคอนเสิร์ต และการบรรเลงรอบปฐมฤกษ์ของเปียโนคอนแชร์โตหมายเลขสี่

ถึงแม้ว่านักวิจารณ์แต่เดิมพากันว่าซิมโฟนีบทนี้ยาวมากเกินไปก็ตาม ก็ยังได้รับความนิยมในไม่ช้า ซึ่งนำไปสู่เหตุการณ์ที่เหนือปกติธรรมดา เช่น “การบรรเลงอันน่าพิศวงเร้าใจ” ที่ตลาดเฮย์ในกรุงลอนดอนในปี ๑๘๒๙ ทำให้การแสดงบัลเล่ต์สำเร็จบริบูรณ์ หรือไม่ก็การบรรเลง ณ มาลคาซเตนในเมืองดืซเซลดอร์ฟในปี ๑๘๖๙ พร้อมด้วย “ภาพที่มีชีวิตที่มีต่อดนตรี”

แน่นอนว่าในคริสศตวรรษที่สิบเก้า โลกยังไม่มีวอลต์ ดิสนีย์มาเติมเต็ม คนเราบางคน ก็ยังมีความลำบากในการลบภาพแสนหวานจากการประพันธ์ดนตรีฟานทาซี (Phantasie) ไปจากใจได้!!!

ดนตรีห้องแรกของการเปิดวงที่มีกิตติศัพท์ระบือลือเลื่องที่สุด ของซิมโฟนีบทใดๆก็ตาม ไม่ต้องสงสัยกันเลยว่าเป็นของซิมโฟนีหมายเลขห้า ของ ลุดวิก ฟาน เบโธเฟน อย่างแน่นอน และของพาสโตราล ซึ่งบรรเลงรอบปฐมฤกษ์ถัดต่อมาอีกสองชั่วโมง –ในรายการแสดงใส่หมายเลขผิดเป็นหมายเลขห้า- ก็ได้รับการกล่าวถึงไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ถ้าหมายเลขห้าเริ่มต้นด้วยความรุนแรงสุดๆแล้ว หมายเลขหกนี่เองที่เบโธเฟนเจตนาให้เริ่มด้วยความอ่อนโยนสุดๆเช่นเดียวกัน เสียงของกลุ่มเชลโลและวิโอลาทำเสียงหึ่งครางได้นิ่มนวล ซึ่งเสียงดังกล่าวนี้แม้แต่วงดุริยางค์ชั้นยอดในปัจจุบัน ก็ยังลำบากใจในการบรรเลงให้ออกมาละเมียดละไม วาทยากรหลายๆท่านต่างก็สรรค์หาวิธีการกำกับวงแตกต่างกันออกไป และบนเสียงครางของกลุ่มเชลโลและวิโอลานั้นทำนองหลักสำหรับกลุ่มไวโอลินที่หนึ่งก็ทยอยทอดน่องเข้ามา พร้อมกับกลุ่มไวโอลินที่สองบรรเลงเข้ามาเป็นแนวเสียงประสาน ในตอนที่ดนตรีหยุดสี่หรือห้าวินาที เป็นการพักหยุดอย่างอ่อนโยนตรงคอร์ดซีเมเจอร์ที่ครางยาวพอดี

พาสโตราลมีส่วนคล้ายกับซิมโฟนีหมายเลขห้า กล่าวคือเบโธเฟนให้ดนตรีหยุดกึกแทบจักทันที ถึงแม้ว่าในการบรรเลงตอนเปิดวงของซิมโฟนีทั้งสองบทจักแตกต่างกันก็ตาม การบรรเลงดนตรีระดับอุดมคติ –อุดมคติที่ไม่สามารถบรรลุได้- ของพาสโตราลคือสิ่งหนึ่งที่เราไม่ได้ยินในการเริ่มต้นดนตรีโดยสิ้นเชิง ในการเริ่มต้นดนตรีนั้น เราทราบได้อย่างง่ายดายว่ามันเริ่มขึ้นมาแล้ว มันฟังประหนึ่งว่า ดนตรีนั้นดำเนินไปของมันอยู่แล้วทั้งมวล และเราก็เพียงแต่เข้ามาอยู่ในระยะที่ได้ยินเท่านั้น การเริ่มต้นที่ไม่สามารถสำเหนียกได้ในระดับอุดมคติ หรือ สำหรับกรณีนั้น การปิดที่ไม่สามารถสำเหนียกได้ในระดับอุดมคติ เหมือนใน พาเธทิค (Pathétique) ของไชคอฟสกี ที่เป็นแบบฉบับเครื่องมือที่โรแมนติก เบโธเฟนสร้างเครื่องมือนั้นขึ้นมาเช่นเดียวกันในตรงนี้ เพราะสาระที่ต้องการนำเสนอคือ “การตื่นตัวของความรู้สึกที่รื่นรมย์จากการได้มาถึงชนบท” ดนตรีและชนบทมันอยู่ที่นั่นของมันอยู่แล้ว พร้อมจักต้อนรับเรา และเป็นการตื่นตัวของความรู้สึก –และของเบโธเฟน และผ่านพลังแห่งนิมิตภาพของเบโธเฟนและของเรา ก็อ่อนโยนและหวามละมุนเช่นเดียวกัน

เบโธเฟนเป็นหนึ่งในคีตกวีผู้ชื่นชมทิวทัศน์กลางแจ้งที่ยิ่งใหญ่ เช่นเดียวกันกับ ชูแบร์ท มาห์แลร์ และ บาร์ทอค (Schubert, Mahler และ Bartók) การได้สัมผัสกับธรรมชาติถือว่าเป็นเรื่องสำคัญมากกับคีตกวีเหล่านี้ เบโธเฟนออกเดินเที่ยวด้อมๆมองๆรอบๆกำแพงรั้วเป็นระยะเวลานานๆ และใช้เวลาฤดูร้อนในชนบท อยู่กลางแจ้งมากกว่าจับเจ่าอยู่แต่ภายในบ้าน และประพันธ์ดนตรีไว้ในสมอง จากความประทับใจอย่างมีพลังยิ่งต่อชนบท ในปี ๑๘๐๓ ที่ประพันธ์ซิมโฟนีเอโรอิคา(หมายเลขสาม) เบโธเฟนได้ร่างธีมที่หมายไว้ว่าเป็น “เสียงธารน้ำไหล” และเพิ่มเติม “น้ำยิ่งมาก เสียงก็ยิ่งลึก” ไว้แล้ว สิ่งที่เบโธเฟนได้จดบันทึกเคร่าๆไว้นั้นความจริงแล้วก็คือฉากทัศนียภาพ ริ่มฝั่งน้ำ ในซิมโฟนีพาสโตราลนั่นเอง สกอร์เพิ่มแนวความคิดหลายอย่างที่เกิดขึ้นมาในช่วงสามปีให้หลัง

เบโธเฟนเองเป็นผู้ตั้งชื่อดนตรีท่อนต่างๆทั้งห้าท่อน แต่ทั้งหมดยืมมาจาก Le Portrait musical de la nature (ภาพวาดดนตรีแห่งธรรมชาติ -ภาษาฝรั่งเศส) ซึ่งเป็นซิมโฟนีของ ยุซติน ไฮน์ริช คเนชท์ (Justin Heinrich Knecht) คีตกวีท่านหนึ่งที่เป็นที่ชื่นชอบมากในเวลาต่อมา แต่เพื่อเกรงว่าใครบางคนจักเข้าใจผิดได้ เบโธเฟนเพิ่มเติมบันทึกข้อสังเกตไว้ในการบรรเลงรอบปฐมฤกษ์ของพาสโตราลว่า “เป็นการบรรยายความรู้สึกมากกว่าภาพวาด”

พาสโตราลเป็นการผสมผสานการประมาณจิตใจแห่งความชัดเจนและมโนทัศน์ได้อย่างวิจิตรงดงาม ความชัดเจนดังกล่าวนั้น เช่น เสียงนกในตอนปิดฉาก ริมฝั่งน้ำ ซึ่งเบโธเฟนกำหนดชัดเจนเลยว่าเป็น “นกไนติงเกล” (ฟลู้ท) “นกคุ่ม” (โอโบ) “นกคุกคู” (คลาริเนทสองเลาและยูนิซัน); วงดนตรีหมู่บ้านที่ไม่มีระเบียบในบางครั้งสำหรับการเต้นรำของชาวชนบท; พายุฝนฟ้าคะนอง; บทเพลงคนเลี้ยงแกะชาวบ้านนอก อย่างไรก็ตาม ทุกสิ่งทุกอย่างเหล่านี้ สร้างอารมณ์ความรู้สึกขึ้นมาได้อย่างง่ายเช่นเดียวกับดนตรี –แม้กระทั่งตอนนกร้องในดนตรีตอนที่ใช้โครงสร้างคาเดนซาแบบแคลสิก- เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจได้ว่าอะไรจักดำเนินต่อไป โดยไม่จำเป็นต้องมีคู่มือ เช่นเบโธเฟนบันทึกไว้ในร่างงานว่า “แม้กระทั่งไม่มีการพรรณนาอะไรเลย ก็ยังรู้จักได้ในภาพรวม ... ใครบางคนที่ไม่เคยสัมผัสกับชีวิตชนบท ก็สามารถจินตนาการตัวเองได้ ถึงเจตนาของผู้ประพันธ์”

การเปิดวงของซิมโฟนีบทนี้ เป็นเสียงครางหึ่งๆแทนปี่ถุง (bagpipe) และท่วงทำนองที่ดำเนินทอดน่องไปอย่างสบายๆ อย่างน่ามหัศจรรย์ นี่เป็นบุคลิกลักษณะของซิมโฟนีพาสโตราล –และโดยทั่วไปนั้นไม่ใช่บุคลิกลักษณะของเบโธเฟนเลยโดยสิ้นเชิง- ในดนตรีท่อนนี้เสียงประสานคอยหนุนเนื่องเป็นเวลานานอย่างน่าพิศวง “การพัฒนา” ในแบบนี้เป็นสิ่งพิเศษผิดธรรมดาที่สุด ดนตรีเจ็ดสิบสองห้องในเก้าสิบสี่ห้องแรก ประทานให้กับฌานพินิจของอุปมารูบเดี่ยว ที่แตกอนุพันธ์มาจากดนตรีห้อง(bar)ที่สองของซิมโฟนีบทนี้เอง เบโธเฟนวางไว้ก่อนแล้ว ซ้ำสิบสองครั้งในคีย์บีแฟล็ต ยี่สิบสี่ครั้งในคีย์ดี (เป็นการยกคีย์เพื่อสำแดงสัดส่วนของทัศนียภาพที่ก่อให้เกิดความสดชื่นอย่างน่ามหัศจรรย์เลยทีเดียว!) ต่อจากนั้นหลังดนตรีช่วงต่อท่อนห้องที่สิบ ปรากฏอีกสิบสองครั้งในคีย์จี และยี่สิบสี่ครั้งในคีย์อี นายบาซิล ลาม (Basil Lam) เขียนถึงดนตรีตรงนี้ว่า “ในความเคลื่อนไหวไม่เร่งรีบราวกับการลอยเลื่อยของปุยเมฆฤดูร้อน แต่กระนั้นก็ยังฉับไวราวกับเงาเมฆนั้นตัดผ่านท้องทุ่ง” และยังมีบางคนกล่าวถึงตรงนี้ “เป็นทำนองเดียวอย่างเลอเลิศ” ไว้ว่าเหมือน “ใบไม้บนต้นไม้” อีกทีนะครับ ความอิ่มโชกของท่อนแรกในซิมโฟนีหมายเลขห้า ในจังหวะ “สามสั้นหนึ่งยาว” อันลือลั่นจักบังเกิดขึ้นในใจ เป็นเทคนิคคู่ขนานกับซิมโฟนีพาสโตราล แต่ตรงกันข้ามในผลกระทบที่เกิดจากการสื่อความหมายผ่านดนตรีออกมา

ฉากริมฝั่งน้ำของพาสโตราล ยังกว้างขึ้นกว่าเดิม ในท่อนนี้ การใช้วงดุริยางค์กระทำได้อย่างบริสุทธิ์งดงามเป็นพิเศษ น้ำหมุนพลิ้วชัดเป็นระลอกอ่อนโยนพรรณนาเป็นรูปลักษณ์ด้วยโน้ตเขบ็จหนึ่งชั้น โดยกลุ่มไวโอลินที่สองและวิโอลาในขั้นคู่สาม ดนตรีแบบเดียวกันนี้บรรเลงเหมือนกันเป็นขั้นคู่แปดต่ำ โดยใช้เชลโลสองคันเล่นโซโลแบบบอด (muted) เชลโลและเบสส์ที่บรรเลงแบบใช้นิ้วดึงสายเล่นเบสส์โน้ต ซึ่งคลอหนุนด้วยเสียงฮอร์นคู่ บนแบคกราวนด์นี้ ไวโอลินที่หนึ่งบรรเลงเสียงลมพัดมาโหยหวนเป็นท่อนทำนองเล็กๆ ด้วยความปลาบปลื้มปีติอย่างเหลือล้นอ้อยอิ่งอาบแสงแดดจนชุ่มโชก แม้กระทั่งคีตกวีเรืองนามอย่างแบร์ลิโอทส์ (Berlióz) ก็ยังต้องเรียนจากตรงนี้ เพื่อประพันธ์ฉากในท้องทุ่งในซิมโฟนีฟานทาสติกของเขาเอง (Symphonie fantastique ภาษาฝรั่งเศส) ณ การจบแห่งสันติภาพของดนตรีท่อนนี้ เบโธเฟนเริ่มนำเข้าสู่ท่อนคาเดนซ์ที่เกิดแรงบันดาลใจสำหรับฟลู้ท นกคุ่ม และนกคุกคู
ฉากการเต้นรำนำมาซึ่งสาระใหม่ อารมณ์ขัน ในขณะที่สมาชิกนักดนตรีวงหมู่บ้านพยายามอย่างหนักเพื่อรักษาหน้าที่ของตัวเองเอาไว้ การใส่ตำแหน่งจังหวะผิดเล็กน้อย ในตอนยรรยายภูมิประเทศด้วยความชื่นชมนั้น ไพเราะเพราะพริ้งจนได้กลิ่นรวงข้าว หลังจากความสงบเยือกเย็นในดนตรีสองท่อนแรก ทริโอที่เป็นตัวแทนของพื้นดินนั้นชัดเจนเลยว่าเป็นการเต้นรำอย่างหนึ่งที่ผู้เต้นนั้นตบหน้าขาของตัวเอง และพายุก็พัดมาขัดจังหวะของเทศกาลชาวบ้านเสียก่อน สำหรับการพรรณนาถึงสายฝนที่กระหน่ำสาดซัดมา สายฟ้าแลบแสบตาจนบอดพร่า และเสียงอสุนียบาตฟาดเปรี้ยงลงมาอย่างน่าสะพึงกลัว สำหรับนั้นพายุเป็นความคลาสสิกและพลานุภาพมหาศาล และพลังของมันก็มาจากการเลือกใช้เสียงต่างๆในการประพันธ์เท่าที่จำเป็นและความกระชับพิถีพิถันแบบแคลสสิก

พายุแรงกล้าสลายตัวลง ตรงนี้เราจักได้ยินวลีแห่งลำนำ และนำเข้าสู่ท่อนจบของซิมโฟนีบทนี้ “ความรู้สึกขอบคุณ” นั้นบัญชาแด่พระเจ้าโดยตรง เราทราบเรื่องนี้จากหนังสือร่างงาน ซึ่งที่จริงเบโธเฟนเขียนถ้อยคำจากดนตรีมิซซา (Missa หรือ Mass) “gratias agimus tibi” ภาษาละตินซึ่งแปลว่า “เราให้ความขอบคุณมายังท่าน” และจากบันทึกชิ้นหนึ่งที่เบโธเฟนเขียนถึงนายคอนเสิร์ต (concertmaster เป็นคำที่มาจากภาษาเยอรมันว่า Konzertmeister) ในการแสดงคอนเสิร์ตของเบโธเฟนเองในปี ๑๘๐๘ ดนตรีนี้กลับไปสู่ความเรียบง่ายของท่อนที่หนึ่ง แต่เป็นความเรียบง่าย ซึ่ง(ในนาทีสุดท้าย)มีความโชติช่วงชัชวาลย์ที่ใหม่และน่าอัศจรรย์

คำชื่นชมของศิลปิน

เฮคเตอร์ แบร์ลิโอท์ส (Hector Berlioz) คีตกวีเอกชาวฝรั่งเศสในยุคโรแมนติก กล่าวไว้ว่า

“ไม่มีคำถามจากคนเลี้ยงแกะที่แต่งกายง่ายๆสดใส... มันเป็นเรื่องราวแห่งธรรมชาติที่อยู่ในความจริงแสนง่ายของมัน” ภาพทิวทัศน์ที่สุดแสนมหัศจรรย์นี้ คลับคล้ายกับว่าแต้มสีโดยโปแซง(จิตรกรฝรั่งเศส) และวาดโดยมิเกลันเยโล


Create Date : 06 พฤศจิกายน 2548
Last Update : 13 มกราคม 2549 10:35:25 น. 5 comments
Counter : 810 Pageviews.

 
ดีครับเขียนได้ลึกกว่าผมเสียอีก


โดย: Johann sebastian Bach วันที่: 13 พฤศจิกายน 2548 เวลา:23:11:48 น.  

 
โอ้โห ฝีมือการเขียน มิเบาๆๆ ท่านผุ้รู้ๆๆ


โดย: นุ่น IP: 203.151.140.118 วันที่: 25 ธันวาคม 2548 เวลา:20:27:29 น.  

 
อ่านแล้วได้อารมณ์มากๆ เลยค่ะ


โดย: pie IP: 124.120.162.241 วันที่: 10 ธันวาคม 2550 เวลา:23:59:57 น.  

 
แอบมาอ่าน.. ขอบคุณค่ะ


โดย: viee วันที่: 29 กรกฎาคม 2551 เวลา:16:26:09 น.  

 

สวัสดีครับทุกคน รวมถึงเจ้าของบล็อกด้วยครับอิๆ
หวัดดีคับ คุณลุดวิก


คือ ตอนนี้เราพยายามรวบรวมคนที่ใจรักและชอบฟังเพลงคลาสสิค

ย้ำนะครับ เราอยากเปิดโอกาสให้เพื่อนๆคนอื่นได้รู้จักกับดนตรีคลาสสิคมากขึ้น เราจึงอยากรวมคนที่ชอบฟังและมาร่วมแบ่งปันความรู้ให้กับคนอื่นๆ ใครที่สนใจจะร่วมเป็นเครือข่ายสมาชิกชุมนุมคนรักดนตรีคลาสสิค กรุณาเข้าไปที่

//sites.google.com/site/thailandclassicalmusicfanclub/home

add mail ไปหาผมหน่อย
Classic_music.music@hotmail.com

และช่วยวางชื่อเว็บเราไว้ในเว้บ/บล็อกคุณ เพื่อรวมกลุ่มเครือข่าย
ช่วยโพสด้วยว่า คุณ คือ
สมาชิกเครือข่ายชุมนุมคนรักดนตรีคลาสิค
ขอบคุณครับ มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับเราในการสร้างชุมชนคนรักดนตรีคลาสสิค เรารอทุกคนอยู่ ^__^


โดย: ชุมนุมคนรักดนตรีคลาสสิค IP: 222.123.1.183 วันที่: 8 เมษายน 2553 เวลา:23:26:39 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ลุดวิก
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Ich bin nur ein Mensch! Alles Leben ist leiden. Alles ist nichtig!
ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล

Bangkok

Friends' blogs
[Add ลุดวิก's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.