ความวิปโยคสุดพรรณนาและความยิ่งใหญ่คือชาตากรรมแห่งความรักของฉันที่มีต่อเธอ Unsagbares Leid und Größe ist das Schicksal meiner Liebe für dich. Untoldly sorrowful and great is the destiny of my love for you.
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2548
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
6 พฤศจิกายน 2548
 
All Blogs
 
ดนตรีสำหรับคีย์บอร์ด ของ เบโธเฟน

ดนตรีสำหรับคีย์บอร์ด

วิวัฒนาการของดนตรีคีย์บอร์ด

ดนตรีที่ประพันธ์สำหรับเครื่องดนตรีคีย์บอร์ด ได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงมากเท่าๆกัน ทั้งในด้านเทคโนโลยีและรูปแบบของดนตรีเอง การประพันธ์ดนตรีสำหรับฮาร์พชิดอร์ดในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ และบาโรค (Renaissance and Baroque ages) นั้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ จากดนตรีที่ประพันธ์สำหรับเปียโนในยุคแคลสสิกต่อมา โดยส่วนใหญ่แล้ว เป็นเพราะว่าความแตกต่างทางเทคนิคในเครื่องดนตรีต่างๆนั่นเอง ความเป็นไปได้ในการสำแดงความเชี่ยวชาญต่อเครื่องดนตรี เพิ่มพูนขึ้นด้วยความสมบูรณ์แบบของเปียโนในตอนต้นคริสตศตวรรษที่สิบเก้า และแม้แต่คริสตศตวรรษที่ยี่สิบเองก็นำมาซึ่งทางเลือกต่างๆ ที่มากกว่าด้วยการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีใหม่อื่นๆและอิเล็คทรอนิกส์
ความแตกต่างของดนตรีสำหรับคีย์บอร์ดในยุคต่างๆที่น่าสนใจที่สุด คือคุณภาพของดนตรีและเครื่องดนตรีชนิดต่างๆ และวิธีการต่างๆที่คีตกวีใช้เพื่อเปล่งศักยภาพสูงสุดทางเทคนิคต่างๆของเครื่องดนตรีนั่นเอง

ดนตรีสำหรับเปียโน ของเบโธเฟน

ดนตรีอีกส่วนหนึ่งที่เป็นผลงานหลักของเบโธเฟนคือ ดนตรีที่ประพันธ์ขึ้นมาสำหรับเปียโน ในโซนาตาที่ยิ่งใหญ่ทั้งหมดของเบโธเฟนนั้น มีอยู่สองชิ้นคือ วัลท์ชไตน์ โอพุซ ๕๓ (Waldstein) และ อัพพาซซิโอนาเทอะ โอพุซ ๕๗ (Appasionate) ที่ประพันธ์ขึ้นมาในปี ๑๘๐๔ ซึ่งเป็นปีที่เบโธเฟนเฟนเริ่มลงมือประพันธ์ซิมโฟนีหมายเลขห้าอันลือลั่นกระหึ่มก้องจักรวาล งานคู่นี้ประพันธ์ขึ้นมาสำหรับการบรรเลงเดี่ยวเปียโน (solo piano) แต่ไม่เหมือนกับการประพันธ์แชมเบอร์มิวสิคในยุคคลาสสิก กล่าวคือตั้งแต่ดั้งเดิมนั้น ไม่ได้มีเจตนาให้เป็นการแสดงดนตรี สำหรับผู้ฟังจำนวนน้อยในห้องฟังดนตรีขนาดเล็ก แต่เป็นงานดนตรีที่มีสัดส่วนในแบบ “ดุริยางค์” (symphonic) และเหมาะสำหรับการบรรเลงในโรงแสดงคอนเสิร์ตมากกว่า

ศักยภาพของเปียโนได้มีวิวัฒนาการไปมากแล้ว ตั้งแต่ยุคของโมสาร์ท การปรับปรุงเปียโนแต่แรกเริ่มนั้น มีการเพิ่มประกับโลหะรั้งสายเปียโนเข้าไปในโครงหรือเฟรมของเปียโนให้แข็งแรงขึ้น ทำให้สายเปียโนมีขนาดใหญ่ขึ้นเพราะโครงเปียโนทนแรงเหนี่ยวเค้นจากสายเปียโนได้มากขึ้น ผลที่ได้รับก็คือ เปียโนมีช่วงความกว้างของเสียงดังเบาหรือไดนามิกมากขึ้น และเสียงดังสดใสขึ้น

เปียโซนาตา ของ ลุดวิก ฟาน เบโธเฟน

เพื่อให้เข้าใจงานของเบโธเฟนมากยิ่งขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งต้องกล่าวถึงงานทั้งหมดของเบโธเฟน แต่เนื่องจากงานของเขามีอยู่เป็นจำนวนมาก (ถึงแม้ว่าจักน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับคีตกวีท่านอื่นๆก็ตาม) จึงใคร่ขอกล่าวถึงพอเป็นตัวอย่างเท่านั้นในงานบางประเภท ในบทนี้จึงขอกล่าวถึงเปียโนโซนาตาของเบโธเฟนสักเล็กน้อยพอเป็นตัวอย่าง
เบโธเฟน ประพันธ์เปียโนโซนาตาไว้ทั้งหมดเท่าที่ทราบกันในปัจจุบัน จำนวน ๓๒ บท ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นงานชั้นนยอดเยี่ยมสำหรับเปียโน อย่างไรก็ตามสำหรับเครื่องดนตรีประเภทลิ่มนิ้วหรือคีย์บอร์ดนั้น เปียโนโซนาตาทั้งหมดของของเบโธเฟน ต่างก็เป็นเสมือนหลักคำสอนไปแล้ว เมื่อเทียบกับทางคริสตศาสนาแล้ว เปียโนโซนาตาทั้ง ๓๒ บทอขงเบโธเฟนถือได้ว่าเป็น “คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธะสัญญาใหม่” (New Testament) หรือสำหรับชาวพุทธแล้ว ก็จักยังเปรียบเทียบได้ว่านี่คือ “พระไตรปิฎก” ซึ่งบรรจุคำสั่งสอนอันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาเอาไว้ให้ศาสนิกชน ได้ยึดเหนี่ยวจิตใจ ถือปฏิบัติเป็นแบบอย่าง ส่วน “คัมภีร์ไบเบิลภาคพันธะสัญญาเก่า” (Old Testament) สำหรับดนตรีประเภทคีย์บอร์ดนั้น ก็คือ “คีย์บอร์ดอารมณ์ดี” ของบาคนั่นเอง (ภาษาเยอรมันว่า Das Wohltemperiete Klavier หรือภาษาอังกฤษว่า The Well-Tempered Clavier) หรือบางทีเราก็รู้จักกันในชื่อว่า “๔๘ บท” ของบาค โดยเฉพาอย่างยิ่งในโลกที่พูดภาษาอังกฤษ

เบโธเฟน เป็นนักคีย์บอร์ด(เปียโน)โดยกำเนิด และเรียนรู้งานของบาคจากเนเฟอะครูคนแรกตั้งแต่ยังเยาว์ สมัยยังอาศัยอยู่ที่เมืองบอนน์ และแรงบันดาลใจจาก “คีย์บอร์ดอารมณ์ดี” ของบาคก็กลายมาเป็นอิทธิพลต่อดนตรีของเบโธเฟนอย่างมากในเวลาต่อมา สังเกตว่าเบโธเฟนประพันธ์เปียโนโซนาตาไว้เป็นจำนวน ๓๒ บท แต่มีเปียโนคอนแชร์โตที่เสร็จสมบูรณ์เพียง ๕ บทเท่านั้น (บทที่หกประพันธ์ไม่สำเร็จ) ก็เนื่องมาจากความหูหนวกนั่นเอง ในสมัยนั้นผู้บรรเลงเดี่ยวเปียโนมักเป็นตัวคีตกวีเอง และการบรรเลงดนตรีแบบคอนแชร์โตนั้น จำเป็นต้องบรรเลงร่วมกับวงดุริยางค์ เมื่อมีอุปสรรคจากความหูหนวกเสียแล้ว เบโธเฟนจึงหันมาทุ่มเทให้กับการประพันธ์เปียโนโซนาตา ซึ่งเป็นงานดนตรีสำหรับการบรรเลงเดี่ยวเครื่องดนตรีโดยนักเปียโนเพียงคนเดียว ถึงแม้ว่าเหตุผลที่แท้จริงจักไม่มีใครทราบก็ตาม เพราะจากหลักฐานสมุดบันทึกหรือจดหมายของเบโธเฟนนั้น แสดงอย่างชัดเจนว่าไม่มีปัญหาในการประพันธ์ดนตรี เพราะเสียงดนตรีที่ประพันธ์นั้นดังชัดเจนอยู่ในหัวของเขาอยู่แล้ว เพียงแต่จดออกมาเป็นตัวโน้ตเท่านั้น เหตุผลที่เป็นไปได้มากกว่าสำหรับการหยุดประพันธ์เปียโนคอนแชร์โต น่าจะเป็นเพราะว่า เบโธเฟนเองเห็นว่า ลำพังเปียโนคอนแชร์โตหมายเลขห้า ก็ยากต่อการเข้าถึงอยู่แล้ว แม้แต่ลูกศิษย์ของเบโธเฟนผู้บรรเลงเดี่ยวเปียโนบทนี้ในรอบปฐมฤกษ์ ก็เกือบเอาตัวไม่รอดในการแสดง แต่ก็ตัดสินใจบรรเลงในนาทีสุดท้าย และเบโธเฟนเองก็พอใจอยู่ส่วนหนึ่ง และมีการนำมาตีความบรรเลงใหม่อย่างสมบูรณ์ภายหลังอีกถึง ๑๕๐ ปีต่อมา เบโธเฟนมองไปไกลถึงในอนาคตอยู่เสมอ ดนตรีของเขาจึงเป็นดนตรีสำหรับอนาคตอย่างแท้จริง คนในยุคปัจจุบันมากยิ่งกว่ามากก็ยังเข้าไปไม่ถึงดนตรีของเขา หรืออาจจักเป็นไปได้ว่าเพราะไม่ทราบจะแต่งให้ใครเล่น เพราะตัวเองก็หูหนวก จึงทำให้หมดแรงบันดาลใจ อีกทั้งเบโธเฟนเองก็สุขภาพไม่ดี เจ็บไข้ได้ป่วยเรื้อรังเป็นเวลานานอยู่เสมอ

ในจำนวนเปียโนโซนาตาทั้ง ๓๒ บทของเบโธเฟนนั้น ทั้งหมดต่างก็มีความยิ่งใหญ่อยู่ในตัวของมันเอง และทั้งหมดยังคงมีการบรรเลงอยู่ตามโรงแสดงคอนเสริ์ตต่างๆทั่วโลกอยู่เสมอ แต่นำมากล่าวถึงในทีนี้เพียงบทเดียวเท่านั้น เนื่องจากหน้ากระดาษมีจำกัด คือ เปียโนโซนาตา โอพุซ ๑๓ ซีไมเนอร์

พัฒนาการของดนตรีสำหรับคีย์บอร์ด

เปียโนโซนาตา โอพุซ ๑๓ ซีไมเนอร์

เปียโนโซนาตา บทนี้จัดว่าเป็นงานชิ้นหนึ่งที่ไพเราะที่สุดและผู้ฟังชื่นชอบที่สุดของเบโธเฟน มีชื่อเล่นว่า “เวทนา” (Pathétique) ตีพิมพ์ออกจำหน่ายในปี ๑๗๙๙ อันเป็นงานในยุคแรกของเบโธเฟน ที่ยังคงกลิ่นอายคลาสสิกแบบไฮย์ดึนและโมสาร์ทอยู่ ประกอบด้วยดนตรีสามท่อน
ท่อนที่หนึ่ง: กราเฟ; อาลเลโกร ดิ โมลโท เอ คอน บริโอ; ใช้โครงสร้างโซนาตา (Grave; Allegro di molto e con brio)

ท่อนแรกเปิดวงด้วยท่อนนำที่ช้า เสมือนลางบอกเหตุถึงเหตุการณ์ที่จักเกิดขึ้นและดำเนินต่อไป ขัดแย้งกันอย่างน่าทึ่งเร้าใจกับดนตรีส่วนหลัก (part) ของท่อนนี้ ซึ่งบรรเลงอย่างกระชับสั้นและรวดเร็วในโครงสร้างโซนาตา และเค้าโครงของโครงสร้างโซนาตาชัดเจน แต่ต่อไปจักชัดเจนขึ้นโดยการย้อนกลับมาของดนตรีท่อนนำที่ช้า ระหว่างช่วงพรรณนาและช่วงพัฒนาการ (exposition and development) และอีกครั้งหนึ่งในช่วงย้ำสรุป (recapitulation) ความขัดแย้งอันน่าทึ่งที่เกิดจากการใช้ธีมหรือทำนองหลัก คีย์ และเสียงดังเบา ในเปียโนโซนาตาบทนี้ยิ่งใหญ่มากกว่าในงานเปียโนใดๆที่ประพันธ์ขึ้นต้นยุคคลาสสิก

สรุปลักษณะดนตรีของท่อนที่หนึ่ง

ทิมเบรอะหรือลักษณะของเสียงดนตรีสำหรับเปียโน มีท่วงทำนองเด่นชัดเป็นโมทีฟประจุด ธีมแรกเน้นเสียงดนตรีไล่ขึ้น ธีมที่สองแสดงความรู้สึกที่รุนแรงกว่า (lyrical) จังหวะสองพยางค์ (duple) ลีลาการบรรเลงหรือเทมโพของดนตรีท่อนนำช้ามาก (Grave) เทมโพหลักของท่อนนี้บรรเลงในลีลาที่เร็วมากและมีความองอาจเร้าใจ (Allegro di molto e con brio) ความกลมกลืนของเสียงประสานหรือฮาร์โมนี (harmony) เกิดจากการใช้โหมดไมเนอร์เป็นหลัก เริ่มต้นด้วยซีไมเนอร์ เปลี่ยนไปเป็นอีแฟล็ตเมเจอร์อย่างมีนัยสำคัญมากที่สุด แล้วจบลงด้วยซีไมเนอร์ การสร้างอารมณ์ดนตรี (texture) ใช้โฮโมโฟนิกเป็นหลัก (homophonic: ใช้เสียงประสานหลายแนวซ้อนคู่ทบไปกับท่วงทำนองหลัก)

ท่อนที่สอง: อดาโจ คันทาบิเล ใช้โครงสร้างโรนโด

(Adagio cantabile)
ดนตรีในท่อนที่สองบรรเลงในลีลาที่ช้าเหมือนกับการร้องเพลง (Adagio cantabile) ใช้คีย์เอแฟล็ตเมเจอร์ที่ขัดแย้งกันกับคีย์หลักของโซนาตาชิ้นนี้ ธีมที่หนึ่งของท่อนนี้ เป็นธีมที่แสดงความอารมณ์รู้สึกเริงร่าที่สุดธีมหนึ่งของเบโธเฟน สำหรับธีมที่สองและที่สามนั้น ท่วงทำนองดนตรีซ้ำมาด้วยการคลอบรรเลงแบบใหม่

ดนตรีในท่อนบรรเลงต่อไป มีธีมอื่นอีกสองธีมนำเสนอมาในคีย์ต่างๆที่ขัดแย้งกัน แต่ละธีมนำหน้าและไล่ตามโดยธีมแรกในคีย์หลักซึ่งเป็นโทนิคคีย์ของดนตรีท่อนนี้ นั่นคือเอแฟล็ต โครงสร้างที่ใช้ในท่อนนี้เป็นโรนโดดังนี้ AABACCAA

สรุปลักษณะดนตรีของท่อนที่สอง

ทิมเบรอะหรือลักษณะของเสียงดนตรีสำหรับเปียโน ท่วงทำนองหลักมีธีมที่หนึ่งแสดงความรู้สึกอย่างรุนแรง และไหลบ่าต่อเนื่องเชี่ยวเหมือนกระแสน้ำ ดนตรีส่วนที่บรรเลงคลอ (accompaniment) เป็นจังหวะเหมือนเพลงร้องอย่างร่าเริง ธีมที่สองเป็นส่วนๆไม่ต่อเนื่องกันและไม่อยู่กับที่ ธีมที่สามรวมกันเป็นกลุ่ม พร้อมด้วยการคลอบรรเลงอย่างเร่งเร้าเขย่าอารมณ์ จังหวะยังเป็นสองพยางค์ (duple) ด้วยลีลาการบรรเลงหรือเทมโพที่ช้าเหมือนการร้องเพลง (Adagio cantabile) ฮาร์โมนีใช้โหมดเมเจอร์เป็นหลัก ส่วน A (section) บรรเลงในคีย์เอแฟล็ตเมเจอร์ ต่อไปส่วน B เป็นโมดูเลชั่น (modulation) หรือการเปลี่ยนผ่านโหมดไมเนอร์ไปยังคีย์อีแฟล็ตเมเจอร์ ดนตรีส่วน C ใช้โมดุลใหม่ในคีย์เอไมเนอร์และอีเมเจอร์ การสร้างอารมณ์ดนตรี (texture) ใช้โฮโมโฟนิกเป็นหลักเหมือนท่อนที่หนึ่ง สำหรับโครงสร้างนั้นใช้โรนโดดังกล่าวข้างบนแล้ว

ท่อนที่สาม: อาลเลโกร

ใช้โครงสร้างโรนโด (Allegro)
ดนตรีท่อนที่สามบรรเลงในคีย์ซีไมเนอร์ ซึ่งเป็นคีย์หลักของโซนาตาชิ้นนี้ เปิดท่อนด้วยธีมที่มีชีวิตชีวาสนุกสนานร่าเริงในส่วนสัดส่วนโน้ตสองพยางค์ (duple meter)
ธีมที่สองและที่สามนั้นต่อมาย้ายไปบรรเลงในคีย์อื่นต่างๆกัน การนำเสนอธีมใหม่แต่ละครั้ง จักตามมาด้วยการย้อนกลับมาของธีมที่หนึ่งในโทนิคคีย์ ท่อนที่สามมีโครงสร้างเป็นโรนโดเช่นเดียวกับท่อนที่สอง แต่มาคราวนี้เป็นโครงสร้างที่ยืดขยายยาวออกไป ด้วยการย้อนซ้ำของธีมที่สองสืบเนื่องต่อไปจนจบท่อน โครงสร้างโรนโนของท่อนที่สามเป็นดังนี้ ABACABA

สรุปลักษณะดนตรีของท่อนที่สาม
ทิมเบรอะ (timbre: ลักษณะของเสียงดนตรี) สำหรับเปียโน ท่วงทำนองมีธีมแรกเป็นลักษณะของโน้ตที่ซ้ำกันและเป็นลำดับต่อเนื่องกันไป ธีมที่สองมีลักษณะเฉพาะคือการไล่สเกลเสียง ธีมที่สามมีลักษณะเฉพาะเป็นทางบรรเลงที่ไม่ต่อเนื่องกันในจังหวะยก (syncopation) จังหวะดนตรีใช้ลีลาหรือเทมโพที่บรรเลงอย่างรวดเร็ว (Allegro) ยังเป็นจังหวะสัดส่วนสองพยางค์ ฮาร์โมนีก็ใช้โหมดไมเนอร์เป็นหลัก ส่วน A (section) เป็นคีย์ซีไมเนอร์ ส่วน B แรก อีแฟล็ตเมเจอร์ ส่วน C เป็นคีย์เอแฟล็ตเมเจอร์ ส่วน B ที่สอง เป็นซีเมเจอร์ การสร้างอารมณ์ดนตรี (texture) .ใช้แบบโฮโมโฟนิก (homophonic) เป็นส่วนใหญ่ และสุดท้ายมีโครงสร้างเป็นโรนโด


เปียโนโซนาตา โอพุซ ๕๓ เอฟไมเนอร์ (Appassionate)
“อาพพาซซิโอนาเทอะ”

โซนาตาบทนี้ เบโธเฟนได้พรรณนา (exploit) อย่างเชี่ยวชาญ ถึงอิทธิพลที่เกิดขึ้นได้จากการปรับปรุงคุณภาพของเปียโน เบโธเฟนเป็นนายเปียโนผู้เข้าถึงจิตวิญญาณของเสียงเครื่องดนตรีชนิดนี้ ที่งดงามหรูหราและทรงพลังอย่างยิ่งในมือของนักบรรเลงเปียโนผู้เชี่ยวชาญ

โซนาตาชิ้นนี้ประกอบด้วยดนตรีสามท่อน เร็ว-ช้า-เร็ว โดยไม่มีช่วงชงักหยุดที่มีลักษณะเฉพาะท่อนระหว่างท่อนที่สองและท่อนที่สาม

ท่อนที่หนึ่ง:
บรรเลงในคีย์เอฟไมเนอร์ ใช้โครงสร้างโซนาตา ตรงนี้เบโธเฟนใช้ช่วงเสียงเปียโนกว้างมาก จากต่ำมากจนถึงสูงมาก ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่เบโธเฟนใช้ในการยึดขยายรูปแบบของดนตรีคีย์บอร์ดออกไปให้ยาวขึ้น
การแผ่ยืดออกสองครั้งในดนตรีท่อนนี้ มีส่วนคล้ายคลึงกับช่วงด้นเปียโน (cadenza) มาก ครั้งที่หนึ่งจบลงตรงท่อนพัฒนาการ (development) และเริ่มนำเข้าสู่ท่อนสรุปย้ำ (recapitulation) และครั้งที่สองจบท่อนย้ำสรุปและเริ่มนำเข้าสู่ท่อนสุดท้าย ที่บรรเลงด้วยโน้ตที่กระชับสั้นและรวดเร็ว (allegro) โคดาตอนจบเป็นท่อนที่ต้องใช้ความสามารถในการบรรเลงอย่างเอกอุสำหรับนักบรรเลงเปียโนผู้เชี่ยวชาญ ดนตรีท่อนนี้วิ่งแข่งออกมาจากจุดรวมอย่างรวดเร็วด้วยพลวัตรของเสียงที่ดังมากมาก (fortissimo dynamics) ทำนองหลักหรือธีมซ้อนทบขึ้นไปในขั้นคู่แปด และเสียงเปียโนบรรเลงออกมาสุกสกาวสดใสที่สุดราวกับเพชรทั้งลูก ต่อจากนี้ไป เป็นการบอกไบ้อย่างหนึ่งตามแบบฉบับของเบเฟน กล่าวคือดนตรีบรรเลงต่อจากจุดสุดยอดของมันไปสู่ความสงบเย็นอารมณ์ ในดนตรีห้องท้ายๆสุด ระดับความดังของเสียงเปียโนลดจากดังมากมาก (fortissimo) ลงเป็นค่อยมากมาก (pinissimo) จนถึงค่อยมากมากมาก (triple piano) ทำนองหลักหรือธีมถีบทะยานออกไปสู่เสียงสูงของคีย์บอร์ด แล้วก็ตกดิ่งเหมือนลูกตุ้มลงสู่ท่อนคาเดนซ์ (cadence) ที่แผ่วราวกับเสียงกระซิบกระซาบเป็นครั้งสุดท้ายต่ำลงไปห้าช่วงคู่แปด
ท่อนที่สอง:
ทำนองหลักหรือธีมบรรยายความรู้สึก และแปรแนวบรรเลงหลายครั้ง (variations) ในคีย์ดีแฟล็ตเมเจอร์



Create Date : 06 พฤศจิกายน 2548
Last Update : 6 พฤศจิกายน 2548 9:43:17 น. 8 comments
Counter : 1092 Pageviews.

 
ประเดิมๆๆ คนแรก ๆๆ555555++


โดย: นุ่น IP: 203.151.140.119 วันที่: 18 ธันวาคม 2548 เวลา:0:02:16 น.  

 
ถ้าแกคนแรกเราก็คน 2


โดย: ชิโนบิ IP: 124.157.181.169 วันที่: 28 พฤษภาคม 2550 เวลา:19:05:03 น.  

 


โดย: num IP: 124.121.65.165 วันที่: 12 กรกฎาคม 2550 เวลา:19:57:26 น.  

 
เยี่ยมครับ


โดย: บีเอส IP: 124.121.67.17 วันที่: 4 สิงหาคม 2550 เวลา:0:23:49 น.  

 
เป้นนักดนตรีในดวงใจเลยล่ะค่ะ บีโทเฟน


โดย: BTP IP: 203.113.70.76 วันที่: 25 กันยายน 2550 เวลา:10:45:40 น.  

 
เราชอบบีโธเฟน เหมือนกับพวกนานแหละ เค้าเป็นกวีที่เก่วมากคนหนึ่งในใจฉันเลย ฉันชอบความพยายามของเขาจริงๆเลยอยากให้เขาอยู่ถึงวันนี้จัง คนบนโลกนี้จะได้เห็นความสามารถของเขาอย่างที่เราได้รู้ยังไงล่ะ
กวีที่ฉันรัก


โดย: buabok IP: 117.47.156.236 วันที่: 15 ธันวาคม 2550 เวลา:10:19:48 น.  

 
ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลดี ๆ ครับ


โดย: DleLantis IP: 117.47.146.94 วันที่: 15 กรกฎาคม 2551 เวลา:6:30:25 น.  

 
อยากได้โน้ตตัวเลขเพลงอินแฮงจังครับ ขอบคูณมากนะคับ


โดย: หนุ่ย IP: 203.172.214.236 วันที่: 7 มกราคม 2552 เวลา:11:08:45 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ลุดวิก
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




Ich bin nur ein Mensch! Alles Leben ist leiden. Alles ist nichtig!
ตรวจผลสลากกินแบ่งรัฐบาล

Bangkok

Friends' blogs
[Add ลุดวิก's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.