มิถุนายน 2556

 
 
 
 
 
 
4
8
10
11
14
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
 
 
All Blog
ประเภทของการออกกำลังกายตามการใช้พลังงาน
ถ้าแบ่งประเภทของการออกกำลังกายตามลักษณะการใช้พลังงาน จะสามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบได้แก่ การออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจนและการออกกำลังกายแบบไม่ใช้ออกซิเจนนั่นเอง ซึ่งคำว่าใช้หรือไม่ใช้ออกซิเจนนั้นไม่ได้หมายถึงการหายใจหรือหยุดหายใจในขณะออกกำลังกายนะคะเพราะคงไม่มีใครสามารถกลั้นหายใจไปด้วยออกกำลังกายไปด้วยได้ :) แต่ออกซิเจนที่พูดถึงนี้คือออกซิเจนที่เซลล์นำไปใช้ขณะมีกิจกรรมต่างๆเกิดขึ้น เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าการออกกำลังกายทั้งสองแบบนี้ได้แก่การออกกำลังกายชนิดใดบ้าง และมีความแตกต่างกันอย่างไรค่ะ



1) การออกกำลังกายแบบไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic exercise)

การออกกำลังกายประเภทนี้เป็นการออกกำลังกายที่ใช้แรงมากและสามารถออกกำลังกายได้ในระยะสั้นๆเท่านั้น ตัวอย่างเช่น การยกน้ำหนักหรือการวิ่งด้วยความเร็วสูงในระยะสั้น เป็นต้น สาเหตุที่เซลล์เกิดการเผาผลาญแบบไม่ใช้ออกซิเจนเป็นเพราะเซลล์ต้องการใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก และการเผาผลาญแบบใช้ออกซิเจนก็ต้องใช้ระยะเวลานาน ไม่สามารถผลิตพลังงานได้ทันความต้องการของเซลล์ แม้ว่าการเผาผลาญแบบไม่ใช้ออกซิเจนจะสามารถผลิตพลังงานได้รวดเร็วแต่ก็ทำให้เกิดของเสียที่เรียกว่ากรดแลคติก (lactic acid, lactate) ขึ้น ซึ่งกรดแลคติคนี้เองที่เป็นตัวการทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า เราจึงไม่สามารถยกน้ำหนักหรือวิ่งเร็วๆติดต่อกันเป็นเวลานานได้

แล้วการออกกำลังกายประเภทนี้ใช้อะไรเป็นแหล่งพลังงาน?

พลังงานที่ใช้ในระหว่างการออกกำลังกายแบบไม่ใช้ออกซิเจนมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันค่ะ ได้แก่ สารฟอสเฟตพลังงานสูง (high energy phosphates) และ พลังงานที่ได้จากกระบวนการไกลโคไลซิส (glycolysis)

- สารฟอสเฟตพลังงานสูง ได้แก่ adenosine triphosphate (ATP) และ creatine phosphate (CP) ซึ่งสารฟอสเฟตพลังงานสูงนี้จะอยู่ในเซลล์กล้ามเนื้อ และเนื่องจากมันมีจำนวนน้อยมากจึงถูกใช้หมดไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเซลล์กล้ามเนื้อจึงต้องอาศัยพลังงานจากแหล่งอื่นแทนด้วยนั่นก็คือน้ำตาลและไกลโคเจนนั่นเอง

- น้ำตาลและไกลโคเจนจะถูกนำมาเผาผลาญเพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานต่อมา โดยกระบวนการที่เรียกว่าไกลโคไลซิส ซึ่งเมื่อถูกเผาผลาญแล้วจะกลายเป็นไพรูเวต (pyruvate) และถูกเปลี่ยนต่อเป็นกรดแลคติคในที่สุด เมื่อความเข้มข้นของกรดแลคติคเพิ่มขึ้นก็จะทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าตามมา

การออกกำลังกายประเภทนี้ถึงแม้ว่าจะไม่มีการดึงเอาไขมันมาเผาผลาญแต่ก็ช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เกิดการเผาผลาญได้ดีเมื่อมีการออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน



2) การออกกำลังกายแบบใช้ออกซิเจน (aerobic exercise)

aerobic exercise หรือ cardio exercise เป็นการออกกำลังกายโดยใช้ออกซิเจนในระบบเผาผลาญด้วย ตัวอย่างเช่นการวิ่ง ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เป็นต้น ซึ่งการออกกำลังกายประเภทนี้จะไม่เน้นความแรงหรือความหนัก แต่จะเน้นเรื่องระยะเวลาที่ใช้ในการออกกำลังกาย

เมื่อเริ่มออกกำลัง เซลล์กล้ามเนื้อจะใช้พลังงานจากไกลโคเจนที่สะสมอยู่โดยเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของน้ำตาลกลูโคสจากนั้นจึงเผาผลาญจนได้พลังงานสำหรับนำไปใช้ และเนื่องจากมีการใช้ออกซิเจนร่วมด้วย ไพรูเวตที่ได้จากกระบวนการไกลโคไลซิสจะถูกส่งเข้าไปเผาผลาญต่อในวัฏจักรเครปส์และเกิดกระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนจนได้เป็นพลังงานต่อไป จะไม่เกิดกรดแลคติคขึ้นเหมือนกับการออกกำลังกายแบบไม่ใช้ออกซิเจน

เมื่อระดับไกลโคเจนในกล้ามเนื้อเริ่มลดต่ำลง ไกลโคเจนในตับก็จะถูกสลายเป็นน้ำตาลกลูโคสแล้วปล่อยสู่กระแสเลือดเพื่อส่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ และหลังจากนั้นก็จะเกิดกระบวนการเผาผลาญไขมันขึ้น การออกกำลังกายประเภทนี้อาจใช้ไกลโคเจนเป็นแหล่งพลังงานก่อนที่จะใช้ไขมันหรือใช้ทั้งสองอย่างควบคู่กันเลยก็ได้ขึ้นกับความแรงของการออกกำลังกาย แต่โดยปกติแล้วหากอยากให้เกิดการเผาผลาญไขมันขึ้นควรออกกำลังกายเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 30 นาที

ดังนั้นเพื่อประโยชน์สูงสุดเราจึงควรออกกำลังกายทั้งสองแบบควบคู่กันไปตามความเหมาะสม เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและเพื่อเผาผลาญไขมันไปด้วย



บทความแนะนำ



Create Date : 09 มิถุนายน 2556
Last Update : 29 มิถุนายน 2556 10:47:11 น.
Counter : 26071 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Gushbell
Location :
จันทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]



New Comments