มิถุนายน 2556

 
 
 
 
 
 
4
8
10
11
14
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
 
 
All Blog
รู้จักวิถีไกลโคไลซิส (glycolysis)
วันนี้ขอเขียน blog ที่เป็นการเป็นงานหน่อยดีกว่า ขุดเอาความรู้ที่ร่ำเรียนมานานมาเรียงร้อยเป็นบทความก่อนที่จะลืมไปเสียก่อน อิอิ :)

ว่าด้วยเรื่องวิถีไกลโคไลซิสกันหน่อยค่ะ แค่คิดก็ชักจะปวดหัวปวดตับขึ้นมาตงิดๆแล้วสิ เพราะเจ้าวิถีนี้แม้ว่าเราจะคุ้นเคยและรู้จักมันเป็นอย่างดี แต่ถ้าจะให้นั่งนึกจริงๆว่าแต่ละขั้นตอนประกอบด้วยสารใดบ้าง มีเอนไซม์อะไรเป็นตัวเร่งก็คงต้องใช้เวลากันหน่อยละค่ะ T^T



ทำความรู้จักวิถีไกลโคไลซิสแบบคร่าวๆ

วิถีไกลโคไลซิสนั้น ก็คือวิถีการสลายน้ำตาลกลูโคสในร่างกายเราให้ได้เป็นพลังงานเพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมต่างๆนั่นเอง ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่ร่างกายย่อยและดูดซึมคาร์โบไฮเดรตทั้งหลายจนได้เป็นน้ำตาลกลูโคสลำเลียงผ่านกระแสเลือดไปยังเซลล์เรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้นสรุปเลยนะคะว่าการสลายน้ำตาลกลูโคสเกิดขึ้นในเซลล์ค่ะ ว่าแต่.. เกิดขึ้นที่ไหนหว่า..

คำตอบก็คือเกิดที่ไซโทพลาซึมของเซลล์ค่ะ ซึ่งหลังจากผ่านกระบวนการต่างๆจนเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนในไกลโคไลซิสแล้ว สิ่งที่ได้ก็คือพลังงาน ATP สำหรับนำไปใช้จ่าย และได้เป็นสารผลิตภัณฑ์เพื่อนำไปสลายและให้พลังงานในกระบวนการต่อไป ; ซึ่งเราจะยังไม่พูดถึงมันนะคะ เอาไว้ทีหลัง อิอิ



มาเข้าสู่ขั้นตอนละเอียดๆกันดีกว่า เหอๆๆ พร้อมแล้วใช่ไหม!
(สีแดง = เอนไซม์ที่ใช้เร่งปฏิกิริยานะคะ)

 สารตั้งต้น  สารผลิตภัณฑ์
glucose + ATP + hexokinase glucose-6-phosphate + ADP
glucose 6-phosphate + phosphoglucoseisomerase fructose 6-phosphate
fructose 6-phosphate + ATP + phosphofructokinase fructose 1,6-biphosphate + ADP
fructose 1,6-biphosphate aldolase glyceraldehyde 3-phosphate และ dihydroxyacetone phosphate
{ส่วน dihydroxyacetone phosphate  นั้นสามารถเปลี่ยนมาเป็น glyceraldehyde 3-phosphate ได้ดังนี้ค่ะ}

dihydroxyacetone phosphate + triosephosphate isomerase
glyceraldehyde 3-phosphate
glyceraldehyde 3-phosphate + NAD+ + glyceraldehyde phosphate dehydrogenase 1,3 biphosphoglycerate +NADH/H+
1,3 biphosphoglycerate ADP phosphoglycerate kinase 3-phosphoglycerate + ATP
3-phosphoglycerate phosphoglycerate mutase 2-phosphoglycerate
2-phosphoglycerate enolase phosphoenolpyruvate
phosphoenolpyruvate + ADP+ pyruvate kinase pyruvate ATP

อธิบายเพิ่มเติมนะคะ 

glucose 1 โมเลกุลเมื่อถูกเปลี่ยนเป็น glyceraldehyde 3-phosphate และ dihydroxyacetone phosphate แล้ว dihydroxyacetone phosphate ก็จะต้องถูกเปลี่ยนกลับไปเป็น glyceraldehyde 3-phosphate อยู่ดี เท่ากับว่าเราได้ glyceraldehyde 3-phosphate 2 โมเลกุล และสุดท้ายก็จะถูกเปลี่ยนเป็น pyruvate ออกมา 2 โมเลกุลค่ะ

คลิกเพื่อรับชมแผนผัง glycolysis อย่างละเอียด

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ wikipedia นะคะ :)


บทความแนะนำสำหรับคุณ



Create Date : 05 มิถุนายน 2556
Last Update : 7 มิถุนายน 2556 13:35:00 น.
Counter : 12200 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Gushbell
Location :
จันทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]



New Comments