มิถุนายน 2556

 
 
 
 
 
 
4
8
10
11
14
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
 
 
All Blog
อินซูลินมาจากไหน ทำงานยังไง ต้องรู้
ใจจริงเราอยากจะเขียนเรื่องราวของเจ้าฮอร์โมนตัวนี้มานานแล้วค่ะแล้วก็อยากให้ทุกคนได้ลองอ่านดูด้วย :) เพราะว่าเจ้าฮอร์โมนอินซูลินนี้มันช่างเป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญต่อเราเสียเหลือเกิน น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก โดยเฉพาะคนที่กำลังเป็นเบาหวานหรือมีบุคคลในครอบครัวที่กำลังเป็นโรคนี้อยู่เนี่ยยิ่งต้องทำความรู้จักกับมันเป็นอย่างดี :)

ฮอร์โมนในร่างกายเราเนี่ยมีหลายประเภทด้วยกัน แต่เจ้าอินซูลินเนี่ยจัดเป็นเปปไทด์ฮอร์โมนค่ะ หลั่งมาจากเบต้าเซลล์ในตับอ่อนของเรา (ย้ำนะคะ หลั่งมาจากตับอ่อนไม่ใช่ตับนะ!) บทบาทที่สำคัญของอินซูลินก็คือทำหน้าที่เป็นตัวควบคุมเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตและไขมันในร่างกาย โดยจะไปกระตุ้นให้เซลล์ตับ เซลล์กล้ามเนื้อลาย และเนื้อเยื่อไขมันทั้งหลายดูดซึมน้ำตาลกลูโคสจากกระแสเลือดเข้าไปเก็บไว้ สำหรับเซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้อลายจะเก็บในรูปไกลโคเจน ส่วนเนื้อเยื่อไขมันหรือเซลล์ไขมันเนี่ยจะเก็บในรูปของไตรกลีเซอร์ไรด์ค่ะ



สรุปนะคะ หน้าที่หลักๆของอินซูลินก็คือคอยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงจนเกินไป โดยจะไปยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนอีกตัวที่มีชื่อว่ากลูคากอน (สองตัวนี้จะทำงานตรงข้ามกันค่ะ) ไม่ให้ดึงเอาไขมันมาใช้เป็นแหล่งพลังงาน แต่ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดเริ่มต่ำลง ร่างกายก็เริ่มดึงเอาน้ำตาลที่เก็บสะสมไว้มาใช้โดยจะเกิดกระบวนการที่เรียกว่าไกลโคจิโนไลซิสหรือการสลายไกลโคเจนจากตับและกล้ามเนื้อนั่นเอง

สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับฮอร์โมนอินซูลินจะเกิดอะไรขึ้นล่ะ!?

โรคเบาหวานนั้นแบ่งออกเป็น 2 ชนิดด้วยกันค่ะ ชนิดที่ 1 คือผู้ป่วยไม่สามารถสร้างอินซูลินเองได้ จำเป็นต้องมีการฉีดเข้าไปที่ใต้ผิวหนัง ผู้ป่วยประเภทนี้เมื่อได้รับอินซูลินก็จะสามารถดำรงชีวิตได้ตามปกติค่ะ ส่วนชนิดที่ 2 เนี่ยเกิดจากการที่เซลล์ตับ เซลล์กล้ามเนื้อและเซลล์ไขมันเกิดภาวะดื้ออินซูลินขึ้นและผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเป็นโรคอ้วน ดังนั้นวิธีรักษาจึงต้องควบคุมอาหารและออกกำลังกายไปพร้อมๆกัน



ถ้าผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ได้รับการรักษา ก็จะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง (hyperglycemia) เพราะผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 ไม่มีอินซูลินมาควบคุมระดับน้ำตาล ส่วนผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 นั้นแม้จะผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้แต่เซลล์ก็เกิดภาวะดื้อไม่ตอบสนองต่อฮอร์โมนที่หลั่งมา {อ่านอันตรายของภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ}

ดังนั้นก่อนที่คุณจะเป็นเบาหวานและต้องรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์ คุณควรเริ่มใส่ใจสุขภาพของตัวเองเสียตั้งแต่วันนี้ หากรู้ตัวว่าตัวเองกำลังอ้วนก็ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและออกกำลังกายเสียใหม่ โดยเลือกวิธีลดความอ้วนที่ถูกต้องนะคะ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปฟรีๆและกลับมาอ้วนใหม่อีก

อ้างอิงข้อมูล 1, 2


บทความแนะนำสำหรับคุณ






Create Date : 06 มิถุนายน 2556
Last Update : 6 มิถุนายน 2556 12:18:20 น.
Counter : 3249 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Gushbell
Location :
จันทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]



New Comments