พฤษภาคม 2556

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
 
 
All Blog
มาทำความรู้จักคาร์โบไฮเดรตกันเถอะ
ถ้าพูดถึงคาร์โบไฮเดรต เชื่อว่าหลายๆคนจะต้องนึกถึงข้าวหรือไม่ก็ขนมปังก่อนเป็นอันดับแรกเลยใช่ไหมคะ นั่นเป็นเพราะคาร์โบไฮเดรตนั้นเป็นสารอาหารที่สามารถพบได้ในอาหารประเภทข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน หรือแม้แต่ขนมหวานที่เราชอบรับประทานก็จัดเป็นสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตทั้งสิ้น

ความสำคัญของคาร์โบไฮเดรตก็คือเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกายที่จะนำมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน โดยคาร์โบไฮเดรต 1 กรัมจะให้พลังงานเทียบเท่ากับโปรตีน 1 กรัม หรือ 4 กิโลแคลอรี่ นอกจากนี้คาร์โบไฮเดรตยังเป็นหนึ่งในส่วนประกอบของสารพันธุกรรมอีกด้วย ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับคาร์โบไฮเดรตอย่างจริงๆจังๆกันดีกว่า :)



คาร์โบไฮเดรตนั้นจัดเป็นสารประกอบอินทรีย์ชนิดหนึ่งซึ่งประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน เราอาจเรียกคาร์โบไฮเดรตได้อีกอย่างหนึ่งว่า "แซคคาไรด์" โดยคาร์โบไฮเดรตที่เรารับประทานเข้าไปอย่างเช่นข้าวและแป้งนั้นจะอยู่ในรูปของ "โพลีแซคคาไรด์" ค่ะ มันจะถูกย่อยที่ปากเป็นอันดับแรกด้วยเอนไซม์ที่มีชื่อว่า amylase หลังจากนั้นก็จะถูกย่อยต่อไปเรื่อยๆและดูดซึมผ่านผนังลำไส้เล็กในรูปของน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวอย่างกลูโคส ฟรุกโตส หรือกาแลกโตส เป็นต้น

น้ำตาลโมเลกุลคู่อย่างเช่นมอลโตสจะย่อยได้กลูโคส 2 โมเลกุล ขณะที่น้ำตาลแลกโตสซึ่งพบในนมจะย่อยได้กลูโคสและกาแลกโตส ส่วนน้ำตาลซูโครสหรือน้ำตาลทรายที่เราใช้ทำขนมจะย่อยได้กลูโคสและฟรุกโตสค่ะ


แม้ร่างกายเราจะสามารถเผาผลาญโปรตีนและไขมันให้เป็นพลังงานสำหรับนำไปใช้ได้ แต่สำหรับเซลล์ประสาทจำเป็นต้องอาศัยพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตซึ่งอยู่ในรูปของน้ำตาลกลูโคสและสารคีโตน ซึ่งร่างกายเรานั้นสามารถสังเคราะห์กลูโคสโดยผ่านกระบวนการ gluconeogenesis ได้ค่ะ โดยอาศัยสารตั้งต้นอย่าง pyruvate, lactate หรือกรดอะมิโนบางชนิด แตะสภาวะนี้มักเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อเรามีการอดอาหารนะคะ



หลังจากที่เรารับประทานข้าวจะพบว่าระดับน้ำตาลในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้นจากปกติที่ 5.5 มิลิโมลาร์ หรือ 100 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิลิตร แต่หลังจากนั้นไม่นานก็จะกลับสู่ปกติโดยอาศัยการควบคุมของฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อน แต่สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาเรื่องการสร้างหรือการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินจะต้องควบคุมเรื่องการรับประทานอาหารเป็นพิเศษค่ะ



ร่างกายของเราจะสะสมคาร์โบไฮเดรตไว้ในรูปของไกลโคเจนที่ตับและกล้ามเนื้อ เมื่อร่างกายต้องการพลังงานก็จะสลายไกลโคเจนผ่านกระบวนการ glycogenolysis ได้เป็นน้ำตาลกลูโคสแล้วนำไปสลายต่อโดยกระบวนการ glycolysis  ผ่าน TCA cycle และ electron transport chain จนได้พลังงานนำไปใช้ต่อไป การรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตรนี้จนมากเกินความจำเป็นของร่างกายสามารถทำให้เราอ้วนได้ค่ะ เพราะมันจะถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นไขมันไปสะสมยังเนื้อเยื่อไขมันทั่วร่างกาย 

สำหรับคราวหน้าเราจะมาเล่าให้ฟังนะคะว่าคาร์โบไฮเดรตนี้เปลี่ยนไปเป็นไขมันได้อย่างไร แต่ทางที่ดีหากไม่อยากอ้วนก็อย่าทานข้าวหรือขนมจนเพลินนะคะ คุณอาจทานเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนอย่างข้าวไม่ขัดสีกับขนมปังโฮลวีทแทนก็ได้ ที่สำคัญคือต้องอย่าลืมออกกำลังกายเป็นประจำด้วยค่ะ :)

อ้างอิงข้อมูล 1, 2, 3



บทความแนะนำ



Create Date : 28 พฤษภาคม 2556
Last Update : 6 มิถุนายน 2556 13:34:17 น.
Counter : 4404 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Gushbell
Location :
จันทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 16 คน [?]



New Comments