LOVE ACTUALLY
Group Blog
 
 
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
12 กันยายน 2551
 
All Blogs
 

คนกทม.ชะลอซื้อสินค้า รับมือศก.-การเมืองวุ่น

สมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย ได้รายงานสรุปผลการวิจัยไทยวิวของปี 2551 ที่ทำการสำรวจต่อเนื่องมาเป็นครั้งที่ 10 จากการสำรวจความคิดเห็นของคนกรุงเทพฯ จำนวน 500 คน
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อสำรวจแนวโน้มความพึงพอใจของคนกรุงเทพฯ ที่มีต่อคุณภาพชีวิต สภาวะทางการเงินในอนาคตอันใกล้ รวมทั้งความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยในช่วงนั้นๆ ซึ่งในครั้งนี้ ได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 16-22 ส.ค. 2551 ผู้ตอบมีอายุ 18 ปีขึ้นไป และมีรายได้ครอบครัวตั้งแต่ 1 หมื่นบาทขึ้นไป
วิริยา วรกิตติคุณ นายกสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ผลการสำรวจในปีล่าสุดระบุว่า คนกรุงเทพฯ ที่เคยคาดหวังว่า การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเมื่อต้นปี 2551 จะทำให้การเมืองนิ่ง และได้รัฐบาลที่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะผลักดันและสร้างบรรยากาศของเศรษฐกิจให้ดีขึ้น
แต่จากการสำรวจทัศนคติของคนกรุงเทพฯ ล่าสุดของสมาคมวิจัยการตลาดแห่งประเทศไทยพบว่า คนกรุงเทพฯ มีความกังวลเพิ่มมากขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่มีสัญญาณบวก
“มีจำนวนผู้ที่แสดงความมั่นใจในสภาวะเศรษฐกิจเพียง 20% ลดลงจากเมื่อครั้งสำรวจในปี 2550 ซึ่งมีจำนวน 27% ทั้งนี้สาเหตุสำคัญที่ทำให้คนกรุงเทพฯ ไม่มั่นใจมาจากสภาวะวิกฤตทางการเมือง การต้องเผชิญกับปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น ราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และที่สำคัญภาครัฐยังไม่มีมาตรการที่ชัดเจนในการรับมือกับเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง”
อย่างไรก็ตาม คนไทยยังมีบุคลิกสบายๆ แบบไทยๆ โดยมีเพียง 32% เท่านั้นที่รู้สึกค่อนข้างเครียดถึงเครียดมากจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ซึ่งวิธีการผ่อนคลายความเครียดของคนกรุงเทพฯ ก็โดยการพักอยู่บ้าน ดูทีวี ฟังเพลง อ่านหนังสือ สวดมนต์ และทำใจ และลดการออกจากบ้าน เพื่อลดภาระเรื่องค่าใช้จ่ายลงไป
ผลวิจัยยังบอกอีกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายในครึ่งปีแรก คนกรุงเทพฯ มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในหมวดอาหาร/เครื่องดื่ม การเดินทาง/พาหนะ รองลงมาคือหมวดการดูแลสุขภาพและการศึกษา แต่ประหยัดมากขึ้นในหมวดเสื้อผ้า/เครื่องประดับ และการบันเทิง นอกจากนี้ก็มีการใช้จ่ายมากขึ้นในหมวดของหนี้สินและการเก็บออม
ส่วนครึ่งปีหลัง มีรายการสินค้าที่มีมูลค่าสูงที่คนกรุงเทพฯ จำนวน 40% วางแผน จะซื้อ โดยโทรศัพท์มือถือและทองคำ เป็น 2 รายการหลักที่มีคนกล่าวว่าจะซื้อมากที่สุด รองลงมาเป็นคอมพิวเตอร์และเครื่องใช้ไฟฟ้า
ทั้งนี้ คนที่มีรายได้มากมีสัดส่วนที่จะซื้อทองคำและคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กมากกว่า ในขณะที่คนที่มีรายได้ระดับกลางและรายได้น้อยมีสัดส่วนที่จะซื้อโทรศัพท์มือถือมากกว่า
“โดยเฉลี่ยคนกรุงเทพฯ ใช้จ่ายเงิน 1 ใน 3 ของรายได้ไปกับหมวดอาหารเครื่องดื่ม รองลงมาเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการพักอาศัย การเดินทาง/พาหนะ และการสื่อสาร/โทรศัพท์ คิดรวมเป็น 27.4%
นอกจากนี้ คนกรุงเทพฯ ยังต้องมีภาระการชำระหนี้คิดเป็น 8.6% ของรายได้ โดยคนที่มีรายได้ต่ำจะมีภาระหนี้สูงถึง 12% ในขณะที่ 7.8% ของรายได้จะถูกนำไปเก็บออม ซึ่งคนที่มีรายได้สูงมีสัดส่วนการเก็บออมถึง 10.5%”
สิ่งที่สร้างความกังวลใจให้แก่คนกรุงเทพฯ 3 ประการหลัก ได้แก่ ภาวะเงินเฟ้อ สินค้าราคาแพงขึ้น 64% การมีเงินไม่เพียงพอในการเลี้ยงชีพ 41% และเศรษฐกิจตกต่ำ/ว่างงาน 36% ซึ่งถือเป็นเรื่องภาวะทางเศรษฐกิจทั้งสิ้น แม้จะมีผลกระทบจากด้านการเมืองบ้างก็ตาม
อย่างไรก็ตาม การทำสำรวจครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนการบุกเข้ายึดทำเนียบรัฐบาลของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเชื่อว่าหากทำการสำรวจตอนนี้ก็น่าจะมีปัจจัยทางการเมืองเพิ่มเข้ามาอย่างแน่นอน
ในงานวิจัยนี้ ยังได้สอบถามถึงความเห็นของคนกรุงเทพฯ ถึงเรื่องของ 6 มาตรการของภาครัฐ ที่ออกมาบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2551 พบว่า คนกรุงเทพฯ 89% รู้จัก “6 มาตรการ 6 เดือน ฝ่าวิกฤตเพื่อคนไทย” ซึ่งในจำนวนนี้มีผู้ที่เชื่อว่า 6 มาตรการโดยรวมจะช่วยคนกรุงเทพฯ ได้พอสมควรถึงมาก ได้คิดเป็นจำนวน 69.3%
มาตรการที่คนกรุงเทพฯ เชื่อว่าจะช่วยได้มากที่สุดคือ การลดค่าใช้จ่ายน้ำประปาของครัวเรือน มีผู้ที่เชื่อว่าช่วยได้พอสมควรถึงมาก จำนวน 69% มาตรการที่ช่วยได้รองลงมาคือ การลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าของครัวเรือน 66% และชะลอการปรับราคาก๊าซหุงต้ม 61% มาตรการที่คนกรุงเทพฯ เชื่อว่าจะช่วยได้น้อยที่สุดคือ การลดค่าใช้จ่ายเดินทางโดยรถไฟชั้น 3
“สิ่งที่น่าเป็นห่วงในช่วงที่เหลือของปี ก็คือการเมืองที่ไม่นิ่ง จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวม และผู้ประกอบธุรกิจหลายรายก็คงจะปรับลดการใช้งบประมาณในการทำตลาด โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจที่ชะลอตัว เช่น อสังหาริมทรัพย์ บันเทิงและท่องเที่ยว ซึ่งทางสมาคมอยากจะแนะนำรัฐบาลว่าควรจะทำให้การเมืองนิ่งให้เร็วที่สุด และพยายามผ่านงบประมาณออกมาใช้ให้เต็มเม็ดเต็มหน่วย”
ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการก็ไม่ควรจะหยุดใช้งบประมาณในการผลักดันตลาด แต่อาจจะปรับมาใช้ให้เหมาะสมมากขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคเองมีความต้องการในการซื้อสินค้าลดลง การเน้นการทำกิจกรรมที่จุดขายเพื่อสร้างยอดจำหน่ายจึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งก็เชื่อว่าหลายธุรกิจคงปรับไปทำกิจกรรมที่จุดขายเพิ่มมากขึ้นในช่วงที่เหลือของปี
วิริยา บอกว่า สถานการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้น และมีท่าทีว่าจะยืดเยื้อนั้น น่าจะส่งผลกระทบต่อเรื่องของภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมอย่างต่อเนื่องทั้งปี ทำให้มองว่าเศรษฐกิจภายในประเทศไทยน่าจะเติบโตไม่ถึง 5% ตามที่รัฐบาลเคยคาดการณ์เอาไว้ ซึ่งหากในปีนี้สามารถผลักดันให้ผ่านตัวเลข 4.5% ไปได้ ก็ถือว่าน่าพอใจแล้ว แต่ก็ต้องยอมรับว่า สถานการณ์ปัจจุบันต้องมองว่าตัวเลขดังกล่าวก็ยังน่าเป็นห่วงอยู่
ความเป็นห่วงดังกล่าวจะหมดไปไม่ได้ถ้ารัฐบาลยังเดินหน้าต่อไม่ได้ เสียงกระหึ่มของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลยังคงอยู่ และประชาชนก็คงหมดอารมณ์ที่จะใช้เงินในการจับจ่ายใช้สอยเช่นกัน!!!--จบ--




 

Create Date : 12 กันยายน 2551
0 comments
Last Update : 12 กันยายน 2551 10:17:28 น.
Counter : 322 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


illuminant
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




1.Cut loss
2.Looking forward
3.Market move by sentiment
4.The crowd usually wrong
5.Stick to the plan
6.Patience
Friends' blogs
[Add illuminant's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.