LOVE ACTUALLY
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2551
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
6 ตุลาคม 2551
 
All Blogs
 
กัมพูชา ลู่วิ่งใหม่ บิ๊กทุนไทย



เมื่อตลาดโลกยังระส่ำ ตลาดภายในประเทศไม่อาจขยายให้โตไปกว่านี้ทางเลือกที่ดีกว่าของธุรกิจไทยคือขยับไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านที่เศรษฐกิจกำลังขยาย ค่าแรงต่ำ โดยเฉพาะกัมพูชาซึ่งมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 6-7% ต่อปี และในบางปีอาจจะโตถึง 9% ด้วยอัตราเร่งการพัฒนา จนดึงดูนักลงทุนทั่วโลกให้หลั่งไหลเข้าไปในกัมพูชา
กระทั่งอาจจะร้อนแรงแทนที่เวียดนามในกลุ่มทนไทยเองเริ่ม "เห็นโอกาส" และทยอยแผ่เกมรุกใน "ตลาดใหม่" แล้ว
SCG นำทัพฝ่ามรสุมการเมืองระหว่างประเทศ อัดเงินกว่า 6,000 ล้านบาท
ตามติดเบอร์สอง กลุ่มเจริญ ไล่เทคโอเวอร์โรงแรมพ่วงท้ายด้วยการเป็นหุ้นส่วนใหญ่โรงสกัดน้ำมันปาลืฒ
ยังมีกลุ่มสหพัฒน์ ซี.พี.มิตรผล น้ำตาลขอนแก่น เอ็กโก ฯลฯ
ไม่นับกลุ่มสามารถที่ไปชงธุรกิจในกัมพูชามา 20 ปีแล้ว
แม้ภาพลักษณ์ที่ผ่านมาของกัมพูชาจะดูโหดร้ายจากเหตุการณ์สงครามกลางเมืองเมื่อราว 30 กว่าปีก่อน ทว่าเมื่อประเทศกำลังเร่งฟื้นตัว นโยบายภาครัฐในการพัฒนาเศรษกิจไม่ผันผวนนัก อัตราการโตของเศรษฐกิจอยู่ในระดับ 6-7% และค่าแรงยังต่ำ
เป็นเหตุผลสำคัญให้นักลงทุนไทยสนใจเข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชามากขึ้น
จากที่ก่อนหน้านี้ ทุกคนหายใจเข้าออกเป็นเวียดนาม
สันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท) ระบุว่า ในระยะหลังๆ นี้นักลงทุนไทยต่างสนใจและเข้าไปศึกษาลู่ทางการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชามากขึ้น ด้วยปัจจัยของมาตรการภาษีที่จูงใจ และการอำนวยการความสะดวกให้กับนักลงทุน ซึ่งมาตรการดังกล่าวกลุ่มประเทศยุโรปหรืออเมริกาให้ต่อกัมพูชา เช่น GPS และนักลงทุนต่างต้องการอาศัยช่องทางนี้ในการทำธุรกิจ
เหตุผลสำคัญอีกข้อ คือ การลงทุนในเวียดนามมี การแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น เพราะหลายประเทศทั้งที่มาจากฝั่งตะวันออก หรือตะวันตกต่างมุ่งหน้าเข้าไปเวียดนามกันเป็นส่วนใหญ่ ทำให้ในอนาคตต้นทุนการผลิตในเวียดนามมีโอกาสพุ่งสูงขึ้น โยเฉพาะต้นทุนของที่ดิน
"ช่วงหลังๆ มานี้นักลงทุนไทยไปกัมพูชาเยอะมากส่วนใหญ่จะเข้าไปทำธุรกิจด้านโรงแรมหรือท่องเที่ยวเป็นหลัก เพราะกัมพูชามีทรัพยากรด้านท่องเที่ยวเยอะมาก เช่น นครวัด นครธม หรือธรรมชาติต่างๆ"
ส่วนด้านอุตสาหกรรมยังไม่ค่อยมีมาก เพราะแรงงานกัมพูชายังเป็นแรงงานที่ไม่มีฝีมือ แต่ในเรื่องการค้าชายแดนระหว่างกันมีธุรกิจหลากหลายมากและทำกันมานานแล้ว ปีหนึ่งๆ สร้างรายได้จำนวนมหาศาล" สันติกล่าว
ขณะที่ เจริญรัฐ วิไลลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทสามารถ คอเปอร์เรชั่น ซึ่งเข้ไปบุกเบิกทำธุรกิจในกัมพูชามากกว่า 20 ปี กับธุรกิจในสายเทคโนโลยีอื่นๆ (Related Businesses)และผ่านประสบการณ์ร้อนหนางต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเหตุจราจลเผาสถานทูตไทย หรือกรณีมาดๆ อย่างเขาพระวิหารกล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งสองครั้งไม่ได้ส่งผลกระทบใดๆ ต่อการลงทุนของบริษัท
โครงการต่างๆ ยังคงเดินหน้าตามปกติ
"กลุ่มสามารถ" เข้าไปลงทุนในกัมพูชามานานมากแล้ว เหตุผลก็เหมือนกับนักธุรกิจทั่วๆ ไป คือ ต้องการเปิดตลาดใหม่ๆ และประเทศเพื่อนบ้านเหล่านี้มีช่องทางและมีการเติบโตได้อีกมา
กัมพูชาในเวลานี้การเติบโตทางเศรษฐกิจถือว่ามีต่อเนื่องเร็วบ้างช้าบ้าง แต่ก็โต เพราะประเทศเขาต้องพัฒนาอีกเยอะ และเราเป็หนนึ่งในนั้นที่มองเห็นโอกาส"
ปัจจุบันกลุ่มสามารถฯ มีการลงทุนในกัมพูชาคิดเป็นมูลค่าราว 1 พันบ้านบาท
โดยมีบริษัทในเครืออย่างเช่น บริษัท แคมโบเดีย แอร์ ทราฟฟิก เซอร์วิสเซส (CATS) ทำธุรกิจด้านศูนย์ให้บริการควบคุมการจราจรทางอากาศครอบคลุมทั่วกัมพูชา
บริษัทกัมปอต พาวเวอร์ เพลนท์ ที่ทำธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าให้แก่โรงงานกัมปอตซิเมนต์ ซึ่งเป็นโรงงานผลิตปูนซีเมนต์คุณภาพสูงในเครือซีเมนต์ไทยหรือ SCG ที่ประเทศกัมพูชา
ส่วนในชั่วโมงนี้ นักลงทุนไทยรายใหญ่สุดในเขมรคงหนีไม่พ้น เครือซิเมนต์ไทยหรือ SCG ซึ่งมีบริษัทกัมปอตซีเมนต์ที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่างเครือซีเมนต์ไทยกับกลุ่มชาวจุฬา (Khaou Chuly Group) บริษัทกัมพูชา เปิดโรงปูนมูลค่า 182 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 6,188 ล้านบาท ตั้งอยู่ในจังหวัดกัมปอต
กัมปอตซีเมนต์ผลิตได้ปีละ 960,000 ตัน แต่ยังสนองตอบความต้องการได้เพียงประมาณ 40% เท่านั้น จึงมีการวางแผนจะขยายการลงทุนเพิ่มอีกราว 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 3,400 ล้านบาท เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตเป็นปีละ 2 ล้านตันในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า
เพื่อรองรับความต้องการภาคการก่อสร้างที่ขยายตัวรวดเร็วมาก
ที่น่าจับตามองอีกรายคือ กลุ่มเจริญฯของเจ้าสัว เจริญ สิริวัฒนภักดี ซึ่งติดโผนักลงทุนอันดับ 2 รองจาก SCG
ชื่อของเจริญ สิริวัฒนภักดี ในเวลานี้ถือว่าเนื้อหอมและเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในกัมพูชา นอกจากจะมีธุรกิจโรงแรมและอสังหาริมทรัพย์แล้ว ยังมีธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานไบโอดีเซล และโรงงานน้ำตาล
ล่าสุดกลุ่มเจริญฯ เข้าไปเทคโอเวอร์โรงแรมอีกแห่งในกรุงพนมเปญ จากปัจจุบันที่มีโรงแรมในเมืองเสียบเรียมแล้ว 2 แห่ง นั่นเป็นเพราะอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการของกัมพูชากำลังมาแรงสุดๆ ในเวลานี้จาก "นครวัด-นครธม"
เมื่อช่วงต้นปี 2551 ที่ผ่านมา ทางกลุ่มยังได้เข้าไปถือหุ้น 70% ในโรงหีบปาล์มน้ำมันแห่งหนึ่งที่จังหวัดสีหนุวิลล์ ซึ่งโรงปาล์มแห่งนี้ยังมีสวนปาล์มกว่า 1 หมื่นไร่ ถือเป็นการลงทุนด้านไบโอดีเซลของกลุ่มเจริญเป็นครั้งแรกและแห่งแรกของกลุ่ม และยังมีโรงน้ำตาลที่จะรองรับธุรกิจ "น้ำมัน" ของ บริษัทอีกด้วย
นักลงทุนไทยรายต่อมาที่ตบเท้าไปลงทุนในกัมพูชา คือ บริษัทน้ำตาลขอนแก่น หรือ KSL ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 4 ของไทย ที่ได้รับสัมปทานพื้นที่เพาะปลูกอ้อยจำนวน 1.2 แสนไร่ เป็นเวลา 90 ปี
ชลัช ชินธรรมมิตร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานพัฒนาธุรกิจ บริษัทน้ำตาลขอนแก่น เล่าว่า เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัทและนาคารไทยพาณิชย์ได้ลงนามในสัญญาสนับสนุนสินเชื่อจำนวน 70 ล้านดอลลาร์หรือประมาณ 2.4 พันล้านบาท ให้แก่บริษัทประเทศกัมพูชา เพื่อลงทุนเพาะปลูกอ้อยและสร้างโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ในประเทศกัมพูชา ซึ่งจะช่วยส่งเสริมศักยภาพการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง และรองรับการขยายกิจการด้านการเพาะปลูกอ้อย และก่อสร้างโรงงานน้ำตาล
บริษัทเกาะกงการเกษตร และบริษัทนำตาลเกาะกง เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง 3 พันธมิตร โดยบริษัทน้ำตาลขอนแก่น ถือหุ้นทั้ง 2 บริษัท ในสัดส่วนบริษัทละ 50% ส่วนที่เหลือเป็นการถือหุ้นโดย วี วอง คอร์ปอเรชั่น จากไต้หวัน และ H.E. OKGNA LY YONGPHAT จากกัมพูชา
"KSL มีแผนที่จะทำโครงการเพาะปลูกอ้อยและก่อสร้างโรงงานน้ำตาล ในลาว และกัมพูชาในปี 2552 เพื่อผลิตน้ำตาลจากทั้ง 2 ประเทศไปขายยังสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี" ชลัชให้เหตุผลที่เลือกสร้างโรงงานนำตาลในกัมพูชา
เขาบอกว่าโรงงานน้ำตาลที่กัมพูชามีกำลังการผลิต 1 แสนตันต่อปี คาดว่าในปีหน้าจะส่งออกน้ำตาลได้ราว 4 หมื่นตัน หรือประมาณ 8% (รวมน้ำตาลในลาว) ของกำลังการผลิตน้ำตาลในไทย ซึ่งโรงงานนำตาลในกัมพูชาและลาวจะทำรายได้ให้กับกลุ่มบริษัทประมาณ 20% และในปีนี้คาดว่ารายได้รวมทั้งกลุ่มจะอยู่ที่ประมาณ 1 หมื่นล้านบาท
เขายังคาดว่า ทั้งสองโครงการในลาวและกัมพูชาจะหนุนกำไรปีหน้าให้แต่ระดับพันล้านบาทได้
ด้านบริษัทผลิตไฟฟ้า หรือเอ็กโก้ ก็ให้ความสนใจเข้าไปลงุทนในกัมพูชาเช่นกันโดยธุรกิจที่จะเข้าไปทำคือ โรงไฟ้ฟาที่จังหวัดสีหนุวิลล์ ในสัดส่วน 50% ของกำลังการเจรจากับผู้ร่วมทุนทั้งฝ่ายกัมพูชาและอิตาเลียนไทน หรือ ITD
วิศิษฎ์ อัครวิเนค เล่าว่า โครงการนี้ต้องใช้เงินลงทุน 120-130 เหรียญสหรัฐโดยเขาวางเป้าหมายการผลิตไฟ้ฟาในต่างประเทศ ทั้งลาว เวียดนาม กัมพูชา เพื่อดันกำลังการผลิตไฟฟ้าให้แตะที่ระดับ 30% จากปีนี้ที่ 17-18 %
กลุ่มมิตรผล นับเป็นอีกกลุ่มเข้าไปทำโรงงานน้ำตาล เช่นเดียวกับกลุ่มโรงงานน้ำตาลท่ามะกา ที่เข้าไปทำคอนแทร็คฟาร์มมิ่งกับทางกัมพูชาในเวลานี้
"กัมพูชายังเป็นประเทศที่นักลงทุนไทยหรือนักลงทุนจากชาติอื่นๆ สามารถเข้าไปลงทุนได้อีกมาก
และปัจจุบันนี้ก็กลายเป็นตาดใหม่แทนเวียดนามไปแล้ว เนื่องจากกัมพูชาต้องการการพัฒนาอีกมาก" ประธานสภาอุตสาหกรรมฯ ระบุ
ฉะนั้น ไม่ว่าการเมืองไทยและกัมพูชาจะเป็นอย่างไร ภาคเศรษฐกิจก็ยังคงเดินหน้าเติมที่ ซึ่งเอกชนส่วนใหญ่ให้เหตุผลไปในทิศทางเดียวกันว่ารัฐบาลกัมพูชามี "นโยบายด้านการลงทุนที่ชัดเจน"
ชั่วโมงนี้ กัมพูชาจึงเป็นขุมทรัพย์แห่งใหม่ของนักลงทุนจากทั่วโลกรวมทั้งไทย
ไทยลงทุนผ่านบีโอไอกัมพูชา "หมื่น" ล้านบาท
จากข้อมูลการลงทุนของบีโอไอ กัมพูชา หรือ CIB (Cambodian Investment Board) พบว่าในช่วงปี 2537-2550 มีเอกชนไทยลงทุนผ่านบีโอไอกัมพูชาเกือบ 10ล000 ล้านบาท คิดเป็นจำนวนทั้งสิ้น 65 โครงการ
แม้จะยับไม่มากเท่านักลงทุนจากเกาหลี และจีน แต่ก็มีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
ส่งศักดิ์ ลิมบานเย็น ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาปัจจัยสนับสนุนการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่าปัจจุบันนักลงทุนไทยหลายรายให้ความสนใจลงลงทุนในประเทศกัมพูชาเนื่องจากค่าแรงถูกกว่าไทย 3-4 เท่าตัว และแนวโน้มเศรษฐกิจขยายตัวดี
โดยกลุ่มผู้ลงทุนเหล่านั้น ก็เช่นกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่มเจริญสิริวัฒนภักดี เจ้าของบริษัทเบียร์ช้างกลุ่มซีพี กลุ่มสหพัฒน์ เป็นต้น
"เหตุผลที่คนไทยเข้าไปลงทุนส่วนหนึ่งคือ ค่าแรงที่ถูกกว่าในไทยหลายเท่าตัว และสิทธิพิเศษ GSP ที่กัมพูชาได้รับ ทำให้นักลงทุนใช้เป็นช่องทางในการกระจายสินค้าไปยังอเมริกาหรือประเทศในแถบยุโรป
และกัมพูชายังเปิดให้นักบงทุนจากต่างประเทศถือหุ้นได้ 1005 ส่งศักดิ์กล่าว
ทั้งนี้ในส่วนของค่าแรงที่ถือเป็นจุดเด่น ค่าแรงในกัมพุชาเฉลี่ยอยู่ที่ 2,000 บาทต่อเดือน ขณะที่ไทยเฉลี่ย 6,000-8,000 บาท
ประเภทของธุรกิจที่ไทยเข้าไปลงทุนมากที่สุดในช่วงปี 2537-2550 มีมูลค่า 9,771.6 ล้านบาท เป็นการลงทุนในสาขาเกษตรกรรม คิดเป็นมูลค่า 1,390.6 ล้านบาท รวม 12 โครงการ สาขาอุตสาหกรรมมูลค่า 1,802 ล้านบาท รวม 25 โครงการ สาขาสาธารณูปโภคพื้นฐาน 13 โครงการ มูลค่า 2,213.4 ล้านบาทและอุตสหากรรมการท่องเที่ยว 15 โครงการ มูลค่า 4,365.6 ล้านบาท
สำหรับประเทศที่เข้าไปลงทุนในกัมพูชามาก คือ จีน เกาหลี เวียดนาม ไต้หวัน ส่วนหใญ่จะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค การแปรรูปอาหารเกษตร โรงพยาบาล สิ่งทอ
"ปัจจุบันบีโอไอจะเน้นสนับสนุนเอสเอ็มอีไทยไปลงทุนในกัมพูชามากกว่าธุรกิจรายใหญ่ที่สามารถเอาตัวรอดเองได้ เพราะต้นทุนการผลิต ถูกกว่าไทยมาก
" ส่งศักดิ์ กล่าว
ส่งศักดิบอกว่า ในแถบประเทศเพื่อนบ้าน นักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนในเวียดนามเป็นอัน 1 รองลงมาได้แก่ กัมพูชา ลาว และพม่าตามลำดับ
เศรษฐกิจกัมพูชา "วันนี้" โตต่อเนื่อง
หลังกัมพูชาเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสังคมนิยมมาเป็นประชาธิปไตย ส่งผลให้ความต้องการทางด้านสินค้าอุปโภคและบริโภค รวมทั้งด้านการบริหารเพิ่มมากขึ้น
เท่ากับเปิดโอกาสให้กัมพุชามีการิตดต่อกับต่างชาติมากยิ่งขึ้น
รัฐบาลกัมพูชาจึงกำหนดนโยบายที่มุ่งหวังพัฒนาศักยภาพทางการเกษตร การท่องเที่ยว และส่งเสริมให้มีการลงทุนจากต่างชาต
โดยกำหนยุทธศาสตร์ต่างๆ เพื่อเพิ่มรายได้ของประเทศและดำเนินมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
เช่น การปรับปรุงกฎหมายด้านเศรษฐกิจ การเพิ่มประสิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนต่างประเทศ การปฏิรูประบบจัดเก็บภาเงินได้และเร่งรัดพัฒนา โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น สนามบิน ถนน ไฟฟ้า ประปา และสาธารณูปโภคต่างๆ ภายใต้ความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย และองค์การพัฒนาแห่งสหประชาชาติ รวมทั้งความช่วยเหลือจากประเทศอื่นๆ
การพัฒนาเศรษฐกิจของกัมพูชาช่วงเริ่มต้นเป็นไปอย่างเชื่องช้า โดยเฉพาะในช่วงที่เอเชียเกิดวิกฤติ "ต้มยำกุ้ง" ในช่วงปี 2540-2541 กัมพูชาต้องเผชิยกับวิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย และความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ ส่งผลให้นักลงทุนต่างประเทศถอนตัวออกจากกัมพูชา
การฟื้นฟูบูรณะและการพัฒนาประเทศจึงยังไม่เห็นผล
แต่หลังจากปี 2542 สถานการณ์การเมืองกัมพูชาเริ่มมีความมั่นคงพอสมควรทำให้ในปี 2547 เศรษฐกิจของกัมพูชาโตสูง ถึง 12.6%
ต่อจากนั้นในช่วงปี 2543-2547 กัมพูชามีอัตราเติบโตทางเศรษฐกิจไทยเฉลี่ย 7.7% ต่อปี
เฉพาะปี 2548 เศรษฐกิจของกัมพูโตถึง 13.3% นับเป็นอัตรการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงที่สุดตั้งแต่เริ่มมีการพัฒนาประเทศ ทั้งที่เผชิญกับปัญหาวิกฤติการณ์น้ำมันเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ
ความสำเร็จดังกล่าวเป็นผลจากการปรับเปลี่ยนคณะรัฐบาล ทำให้การบริหารงานเป็นไปโดยราบรื่นขึ้น
และด้วยเศรษฐกิจของประเทศที่พึ่งพิงเงินลงทุนจากต่งประเทศในสัดส่วนที่สูง รัฐบาลกัมพูชาจึงมีนโยบายสนับสนุนให้นยักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้น
เพื้อสร้างงานและสร้างรายได้ให้กับประชาชนและการขยายตัวทางเศรษฐกิ
ทางการกัมพูช ยังได้ปรับเปลี่ยนกฎระเบียบ การบริหารงานของภาครัฐเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับนักลงทุนต่างชาติ เช่นรัฐบาลกลางกระจายอำนาจการบริหานสู่ "ท้องถิ่น" ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจอนุมัติเงินลงทุนในโครงการที่มีมูลค่าไม่เกิน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
แม้ขณะนี้กัมพูชาจะเผชิญหน้ากับเงินเฟ้อที่รุนแรงที่สุดตั้งแต่ต้นปี โดยอยู่ในระดับสูงถึง 25% แต่ถาดว่าเงินลงทุนจากต่างประเทศ ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น
ทำให้เศรษฐกิจกัมพูชาสามารถขยายตัวอย่างต่อเนื่องได้--จบ--

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ


Create Date : 06 ตุลาคม 2551
Last Update : 6 ตุลาคม 2551 10:21:50 น. 0 comments
Counter : 456 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

illuminant
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




1.Cut loss
2.Looking forward
3.Market move by sentiment
4.The crowd usually wrong
5.Stick to the plan
6.Patience
Friends' blogs
[Add illuminant's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.