ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
22 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
ทำไมรุ้งกินน้ำ(Rainbow)จึงมี 7 สี

ทำไมรุ้งกินน้ำ(Rainbow)จึงมี 7 สี



คิดแล้วก็แปลก ทำไมรุ้งถึงต้องมี 7 สี และเกิดขึ้นได้อย่างไรกัน ที่สำคัญไม่ว่าจะอยู่ในมุมใดของโลกเราก็เห็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของรุ้ง ได้ครบ 7 สีเหมือนกัน เรื่องนี้สามารถอธิบายได้ด้วยหลักวิทยาศาสตร์ว่า รุ้งกินน้ำนั้นเกิดจากการหักเหของแสงอาทิตย์ที่ผ่านละอองน้ำ ปรากฏเป็นความสวยงามของรุ้ง 7 สี ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ จริงๆ แล้วแสงจากดวงอาทิตย์ก็มี 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง เพียงแต่ปกติเราจะมองกันไม่เห็น แต่เมื่อแสงเหล่านี้ส่องผ่านเข้าไปในละอองน้ำหรือหยดน้ำ จะเกิดการหักเหของแสงออกมาทำให้เราเห็นได้อย่างชัดเจน โดยแสงสีแดงทำมุมสะท้อน 42 องศา ส่วนแสงสีน้ำเงินทำมุม 40 องศา เราจึงเห็นรุ้ง 7 สี โดยมีสีแดงอยู่ด้านบนและสีม่วงอยู่ด้านล่าง


ตำนานรุ้งกินน้ำ

ชาวเขมรเรียกรุ้งกินน้ำว่า ธนูพระอินทร์เพราะมีรัศมีโค้งข้ามฟ้าเหมือนคันธนู
ที่โก่งจนเต็มที่ ไทยและไทยใหญ่เชื่อตรงกันว่า ถ้าเอามือชี้รุ้งกินน้ำแล้วนิ้วจะด้วน ต้องแก้เคล็ดด้วยการเอามือเช็ดก้น

ชาวมอญเชื่อว่า ถ้าชี้รุ้งกินน้ำแล้วจะโชคร้าย แต่ไม่ได้ระบุว่าจะโชคร้ายอย่างไร ส่วนคนจีนก็เชื่อเช่นเดียวกันว่า รุ้งกินน้ำเกิดขึ้นทางทิศตะวันออก ไม่มีใครกล้าชี้ เพราะการทำเช่นนั้นจะทำให้เกิดโชคร้าย และมักจะทำให้เป็นแผลที่มือที่ชี้นั้น นอกจากนี้ชาวจีนยังเชื่ออีกว่า ถ้าเมื่อใดเกิดมีรุ้ง
กินน้ำ เมื่อนั้นฝนจะหยุดตก

ความจริงแล้วรุ้งกินน้ำเกิดเป็นวง แต่ที่เราเห็นรุ้งกินน้ำเพียงส่วนหนึ่งของวงกลมเท่านั้นก็เพราะขอบโลกบังแสงอาทิตย์เสีย แต่อย่างไรก็ตามผู้โดยสารบนเครื่องบินอาจจะเคยเห็นรุ้งกินน้ำครบทั้งวงแผ่กระจายบนก้อนเมฆ โดยมีเงาของเครื่องบินที่โดยสารไปนั้นเป็นจุดศูนย์กลาง

อัศจรรย์ "รุ้งกินน้ำ"

หลายคนคงเคยเห็น การแสดงแสงสีของธรรมชาติ ที่เป็นรูปโค้งบนท้องฟ้า ประกอบด้วยสีสันต่างๆ รวม 7 สี น่าตื่นตายิ่ง การแสดงที่ว่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อมีฝน .... ใช่แล้วมัน คือ ปรากฎการณ์ของ "รุ้งกินน้ำ"

คำว่า "รุ้งกินน้ำ" ในภาษาอังกฤษ เรียกว่า "Rainbow" ซึ่งมาจากคำย่อย 2 คำ คือ Rain+bow ซึ่งสื่อถึง "โค้งที่เกิดขึ้นเมื่อมีฝน" อย่างไรก็ตาม เราต่างก็ทราบดีว่า เราจะสามารถเห็นรุ้งกินน้ำได้ ไม่ใช่เนื่องจากฝน (ละอองน้ำ) อย่างเดียว แต่ต้องมี แสงอาทิตย์ (จากดวงอาทิตย์) ด้วย

"รุ้งกินน้ำ"...เกิดขึ้นได้อย่างไร

รุ้งกินน้ำมีสีสันต่างๆ เกิดจากปรากฎการณ์ระหว่างแสงกับหยดน้ำที่ล่องลอยปะปนอยู่ในอากาศ เมื่อเรามองด้วยตาเปล่าแสงอาทิตย์จะเป็นสีขาว แต่ในความเป็นจริงนั้นแสงอาทิตย์ประกอบด้วยแสงสีต่างๆ 7 สีอันได้แก่ สีม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสดและสีแดง เมื่อแสงอาทิตย์กระทบกับผิวของหยดน้ำฝนก็จะเกิดการหักเหของแสงแยกออกเป็นสีสันต่างๆ โดยที่แสงนี้เหล่านี้จะสะท้อนผิวด้านในของหยดน้ำหักเหอีกครั้งเมื่อสะท้อนออก ส่วนมากแสงจะสะท้อนเป็นรุ้งตัวเดียว แต่ในบางครั้งแสงจะสะท้อนถึง 2 ครั้งก็เท่ากับว่าจะทำให้เกิดรุ้งกินน้ำขึ้นถึง 2 ตัว

จะมองหา "รุ้งกินน้ำ" ได้ที่ไหน และเมื่อใด ?
หลังฝนตก และมีแดดออก ถ้าเกิดรุ้งกินน้ำบนท้องฟ้า รุ้งกินน้ำจะอยู่ด้านตรงกันข้ามกับดวงอาทิตย์ และอยู่ด้านเดียวกับละอองน้ำ (ละอองฝน) ดังนั้น เวลาจะมองหารุ้งกินน้ำ ให้หันหลังให้ดวงอาทิตย์เสมอ กระบวนการเกิดรุ้งกินน้ำในธรรมชาติ

แสงเดินทางมาถึงหยดน้ำ
แสงเกิดการหักเห เนื่องจากมีการเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่มีความหนาแน่นต่างกัน (จากอากาศสู่น้ำ) โดยแสงสีน้ำเงินจะหักเหมากกว่าแสงสีแดง
แสงเกิดการสะท้อนภายในหยดน้ำ เนื่องจากผิวภายในของหยดน้ำ มีความโค้งและผิวคล้ายกระจก แสงเกิดการหักเห จากภายในหยดน้ำผ่านสู่อากาศอีกครั้ง เมื่อดูโดยรวม มุมสะท้อนของแสงสีแดง คือ 42 องศา ในขณะที่มุมสะท้อนของ แสงสีน้ำเงิน คือ 40 องศา


ภาพแสดงการเกิดรุ้ง จากการหักเห และการสะท้อนของลำแสง ในหยดน้ำ

รุ้งมี 7 สี : ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด(ส้ม) แดง :
รุ้งประกอบด้วยสีมากมาย ไล่เรียงตั้งแต่สีม่วงจนกระทั่งถึงสีแดง รุ้งเกิดจากแสงอาทิตย์ จึงมีสีครบเต็มสเปคตรัม โค้งรุ้งกินน้ำจะมีขนาดใหญ่ เมื่อดวงอาทิตย์อยู่ใกล้ขอบฟ้า เช่น ตอนเช้า หรือ ตอนเย็น .......โดยปกติ รุ้งกินน้ำไม่สามารถเกิดเต็มวงได้ เนื่องจากมีพื้นดินมาบังเอาไว้ อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากข้อจำกัดในการเกิดรุ้งกินน้ำ เราอาจพูดได้ว่า เราสามารถเห็นรุ้งกินน้ำเต็มวงได้ หากอยู่บนเครื่องบิน ที่บินอยู่เหนือกลุ่มของละอองน้ำ หรือ ยืนอยู่บนยอดเขา มองลงไปในหุบเขาที่มีละอองน้ำ เป็นต้น

รุ้งกินน้ำจะมี อยู่ 2 ชนิด คือ

1. รุ้งปฐมภูมิ เกิดจากแสงตกกระทบหยดน้ำทางขอบบน เกิดการหักเห 2 ครั้ง สะท้อนกลับหมด 1 ครั้ง โดยจะเห็นเป็นสีต่าง ๆ กันมีสีแดงอยู่บนและมีสีม่วงอยู่ล่างสุด จะเกิดเป็นรุ้งตัวล่าง (มีสีเข้มกว่าตัวล่าง)

2. รุ้งทุติยภูมิ เกิดจากแสงตกกระทบหยดน้ำทางขอบล่าง เกิดการหักเห 2 ครั้ง สะท้อนกลับหมด 2 ครั้ง โดยจะเห็นเป็นสีต่าง ๆ กันมีสีม่วงอยู่บนและมีสีแดงอยู่ล่างสุด จะเกิดเป็นรุ้งตัวบน




ที่มา
//dek-d.com/board/view.php?id=1132029
//www.geozigzag.com/phpbb3/viewtopic.php?f=11&p=1205
//www.tlcthai.com/webboard/view_topic.php?table_id=1&cate_id=121&post_id=24218


Create Date : 22 พฤษภาคม 2553
Last Update : 22 พฤษภาคม 2553 11:46:09 น. 0 comments
Counter : 14449 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.