ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
3 มีนาคม 2552
 
All Blogs
 
จิตสาธารณะหรือจิตสำนึกสาธารณะ(Public Consciousness)

จิตสาธารณะหรือจิตสำนึกสาธารณะ(Public Consciousness)


ท่านเคยอ่านข่าวนี้หรือไม่ ข่าวเรื่องของผู้คนที่ถอดนอตเสาไฟฟ้าเป็นเรื่องที่สะท้อนใจ และสะท้อนปัญหาสังคมยุคนี้ได้เป็นอย่างดี ขอเพียงให้ตัวเองได้รับประโยชน์ แม้จะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนก็ไม่เห็นจะเป็นไร แท้จริงเรื่องนี้เป็นเพียงอีกเรื่องหนึ่งจากกรณีอีกมากมายที่เป็นปัญหาหมักหมมของบ้านเรา ที่ไม่เคยหวงแหนสมบัติของส่วนรวม นอกจากนี้ยังเคยพบเจอป้ายแบบนี้ไหม

"งบประมาณมีจำกัด โปรดใช้อย่างประหยัด"

"โปรดรักษาความสะอาด"

"ห้ามบ้วนน้ำลายลงบนพื้น"

"โปรดทำความสะอาดก่อนออกจากห้องน้ำ"

"ห้ามทิ้งขยะ"

“ปิดน้ำ ปิดไฟ ปิดแอร์ ก่อนออกจากห้อง”

"โปรดอย่าทำลายสิ่งของสาธารณะ"

"โปรดทิ้งขยะลงในถัง"

"ห้ามสูบบุหรี่"

"กรุณาอย่าทิ้งผ้าอนามัยลงในโถส้วม"

"ขึ้นลงชั้นเดียวโปรดใช้บันได"

"ห้ามทิ้งก้นบุหรี่" ฯลฯ

ลึกๆ แล้วป้ายบอกอะไรเรา หลายคนคงไม่ได้ใส่ใจ แต่หลายคนก็เห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่โต หากใครคิดว่าเป็นเรื่องที่ไม่น่าใส่ใจเท่าไร แสดงว่าท่านกำลังขาดสิ่งที่เรียกว่า “จิตสาธารณะ” หรือ “จิตอาสา” ซึ่งจิตสาธารณะนี้ไม่ได้มีบัญญัติชัดๆ ไว้ในคุณธรรม 8 ประการของเด็กไทยเลย ซึ่งน่าจะเพิ่มเข้าไปเป็นอย่างยิ่ง คงจะทำให้ป้ายเหล่านี้ลดลงได้อย่างแน่นอน หลายๆ ท่านคงไม่คุ้นเคยกับคำว่าจิตสาธารณะ หรือจิตสำนึกสาธารณะ เรามาทำความรู้จักกันเถอะว่า จิตสาธารณะ หรือจิตสำนึกสาธารณะ(Public Consciousness) หรือสำนึกสาธารณะ คืออะไร

ราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายของจิตสำนึกทางสังคม หรือจิตสำนึกสาธารณะว่า คือ การตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน หรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่ร่วมสัมพันธ์เป็นกลุ่มเดียวกัน

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ได้ให้ความหมายว่า การรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ มีความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิด เน้นความเรียบร้อย ประหยัดและมีความสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

สรุป จิตสาธารณะหรือจิตสำนึกสาธารณะ คือ

จิตสำนึก (Conscious) เป็นการตระหนักรู้ตัว หรือเป็นจิตส่วนที่รู้ตัว รู้ว่าทำอะไร อยู่ที่ไหน เป็นอย่างไรขณะที่ตื่นอยู่นั่นเอง ส่วนคำว่า สาธารณะ (Public) เป็นการแสดงออกเพื่อสังคมส่วนรวม เป็นการบริการชุมชน ทำประโยชน์เพื่อสังคม ถ้าเป็นสิ่งของก็ต้องใช้ประโยชน์ร่วมกัน เมื่อนำสองคำมารวม หมายถึง การตระหนักรู้ตน ที่จะทำสิ่งใดเพื่อเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม

ในฐานะที่เป็นข้าราชการไทย จิตสำนึกสาธารณะ ซึ่งเป็นสำนึกที่ควรจะต้องมีในตัว ข้าราชการไทยทุกคน สำนึกที่จะกล่าวถึงประกอบด้วย P+U+B+L+I+C= Public= สาธารณะ

1. Professional ทำงานแบบมืออาชีพ ข้าราชการที่คิดใหม่ ทำใหม่จะต้องเป็นข้าราชการอาชีพ (profession) รู้ลึก ในหน้าที่ๆ รับผิดชอบ รู้รอบในงานที่เกี่ยวข้อง การเป็นเพียงอาชีพข้าราชการ ไม่เพียงพอ ต้องเป็นข้าราชการอาชีพให้ได้ ต้องพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา หาความรู้ใหม่เสมอ

2. Unity เอกภาพ ค่านิยมใหม่ต้องเป็นไปในทิศทางของความสามัคคีในหมู่คณะ ไม่กลัวกันได้หน้า หรืออิจฉาริษยา กัน ควรจะฝึกการทำงานเป็นทีม เพราะการที่คนในองค์กรมีเอกภาพ จะช่วยให้การขับเคลื่อนภาระงานเพื่อมวลประชา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีหลายองค์กรที่คนในองค์กรกลัวกันได้ดี เลยไม่มีใครทำอะไร ประชาชนก็ไม่ได้อะไรด้วย แต่ในความเป็นเอกภาพก็ยอมให้มีความแตกต่างได้ แต่อย่าแตกแยก

3. Believe ความเชื่อ ข้าราชการจะต้องทำงานด้วยความเชื่อ เชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้า เชื่อในสิ่งที่ถูกต้อง แล้วยึดให้มั่น ถ้าข้าราชการขาดแล้วซึ่งความเชื่อ การทำงานก็จะขาดพลัง

4. Locally ภูมิปัญญาท้องถิ่น ข้าราชการยุคใหม่จะต้องเป็นผู้ที่เชื่อและศรัทธาในความเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ ของภูมิปัญญาไทย ลดความเชื่อทันสมัยนิยมลง (Modernization) Local wisdom ในด้านต่างๆ จะนำไปสู่การแก้ปัญหา อย่างเป็นระบบและเข้ากับบริบทของสังคมไทย ข้าราชการไทย ต้องเลิกดูถูกภูมิปัญญาของคนในระดับรากหญ้า แล้ว หันไปสู่วิถีของการเรียนรู้ร่วมกัน เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ในชุมชน

5. Integrity ความซื่อสัตย์ ข้าราชการยุคใหม่จะต้องยึดเอาความซื่อสัตย์เป็นที่ตั้ง เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับสังคม คิดดี ทำดี เพื่อชาติ งานทุกชิ้นจะต้องตรวจสอบได้ มีความโปร่งใส

6. Creative สร้างสรรค์ ข้าราชการยุคใหม่จะต้องคิดและทำงานที่สร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรม (innovation) ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นกับสังคม ต้องไม่หยุดนิ่ง ต้องมีความเป็นพลวัต ทั้งนี้ก็เพื่อประชาชนและประเทศชาติ

ถ้าจิตสาธารณะที่ผู้เขียนนำเสนอ เป็นจิตที่เกิดแก่ข้าราชการไทยในภาพรวมเชื่อแน่ว่า ประชาชน จะได้รับแต่สิ่ง ที่ดีจากราชการ ระบบโดยภาพรวมก็จะเข้มแข็ง สังคมไทยก็จะน่าอยู่

เราในฐานะที่เป็นครูจะทำอย่างไรเพื่อให้ผู้เรียนทุกคนมีจิตสาธารณะ ปัจจุบันบางโรงเรียนมีครูผู้สอนบางวิชาที่ให้ผู้เรียนถือคล้ายสมุดบันทึกความดี และให้ครูลงลายมือชื่อและเขียนว่าผู้เรียนคนนั้นทำประโยชน์อะไร พร้อมลงชื่อรับรอง เป็นสิ่งที่ดีมากค่ะที่มีความพยายามให้นักเรียนได้ทำความดี แต่รู้สึกว่า นักเรียนจะไม่ได้ทำความดีด้วยตัวเองแต่ทำเพราะครูจะให้คะแนนจากรายการที่ทำประโยชน์ต่อสาธารณะแล้วมีครูรับรอง พูดง่ายๆก็คือผู้เรียนถูกบังคับให้ทำความดี และครูก็ถูกบังคับให้ลงชื่อรับรอง ดูแล้วไม่เต็มใจทั้งสองฝ่าย ก็เป็นการบังคับนี่นาและมีผลประโยชน์ของนักเรียนเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย พอนักเรียนได้คะแนนแล้ว ก็จบการทำความดี งานนี้คงจะไม่เป็นความรู้ที่คงทนเป็นแน่ แล้วถ้าหาก ไม่มีคะแนนเข้ามาเกี่ยวข้องได้หรือเปล่า ในความเห็นส่วนตัว น่าจะได้ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือทั้งผู้บริหารและครูทั้งโรงเรียน โดยอาจจัดทำเป็นนโยบายของโรงเรียนว่าโรงเรียนจะต้องสร้างให้ทุกคนมีจิตสาธารณะ โดยแจกสมุดบันทึกความดี เล่มจิ๋ว ขนาดและความหนาให้เหมาะสมกับการพกพาของนักเรียนแต่ต้องไม่สร้างภาระเพิ่มเติมให้แก่นักเรียน ให้นักเรียนเก็บติดตัวตลอดเวลาที่อยู่ในโรงเรียน เมื่อครูพบผู้เรียนทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ เช่น ปิดไฟ ปิดพัดลม เมื่อไม่มีผู้ใช้แล้ว เก็บขยะ ช่วยครูถือของโดยมิได้เรียกใช้ เป็นต้น ครูก็ขอสมุดบันทึกความดีจากผู้เรียนและเขียนชื่นชมและลงชื่อรับรองให้ โดยผู้เรียนไม่ต้องร้องขอให้ครูรับรอง ถ้าหากว่าครูทุกคนทำเช่นนี้ทุกครั้งที่พบเห็นผู้เรียนทำความดี ก็จะทำให้ผู้เรียนพยายามทำความดีกันมากขึ้น และขอความร่วมมือจากครูที่ปรึกษาที่ละห้องเรียน คัดเลือกผู้เรียนที่ทำความดีที่หลากหลาย โดยดูหลักฐานจากสมุดบันทึกความดีที่ทำมาตลอดภาคเรียน/ปีการศึกษา มาเป็นคนดีที่มีจิตสาธารณะของโรงเรียน รับรางวัลในที่ประชุมผู้ปกครองหรือหน้าเสาธง หรือในงานที่ทางโรงเรียนจัดขึ้น ที่จะเป็นการประกาศให้รู้ว่า ผู้เรียนคนนี้เป็นคนดี สมควรแก่การยกย่อง

แต่ กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จในวันเดียว ฉันใด การทำให้ผู้เรียน(เกือบ)ทุกคนมีจิตสาธารณะ ก็คงไม่สามารถทำได้ใน 1 ภาคเรียน/ปีการศึกษา ฉันนั้น ฉะนั้นต้องทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปและทำอย่างต่อเนื่อง นอกเหนือจากการที่แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้พยายามพาผู้เรียนออกไปช่วยบำเพ็ญประโยชน์ในชุมชนภายนอกโรงเรียน เช่น การปลูกป่า การจัดกิจกรรมกับเด็กกำพร้า เด็กตาบอด เก็บขยะริมรั้ว หรือในสนามสาธารณะ เป็นต้น

ท้ายที่สุดนี้ก็ขอเป็นกำลังใจให้คุณครูทุกท่านได้พยายามอดทนสร้างนักเรียนให้มี “จิตสาธารณะ” ได้ประสบความสำเร็จเพื่ออนาคตของประเทศไทยเราจะได้มีคุณภาพในทุกๆด้านต่อไป

อ้างอิง

//gotoknow.org/blog/articlerrpol/215483

//www.geocities.com/psothailand/publicmind.html

//sar.hatyaiwit.ac.th/articles.php?lng=th&pg=1097

//www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9510000035970


Create Date : 03 มีนาคม 2552
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2552 12:40:26 น. 0 comments
Counter : 2259 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.