ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
มกราคม 2556
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
6 มกราคม 2556
 
All Blogs
 
มหาสงครามโลกครั้งที่ 2 (ตอนที่ 2)

ชนวนระเบิดของสงครามโลกครั้งที่ 2

ชนวนที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ฉนวนโปแลนด์(Polish Corridor) มีชาวเยอรมนีอาศัยอยู่มาก เยอรมนีเสียดินแดนส่วนนี้ให้แก่โปแลนด์ตามสนธิสัญญาแวร์ซาย์ และฉนวนโปแลนด์ยังแบ่งแยกดินแดนเยอรมนีเป็นสองส่วน คือส่วนปรัสเซียตะวันตกและปรัสเซียตะวันออก ฮิตเลอร์ ขอสร้างถนนผ่านฉนวนโปแลนด์ไปปรัสเซียตะวันออก อังกฤษและฝรั่งเศสคัดค้าน ฮิตเลอร์จึงยกเลิกสัญญาที่เยอรมนีจะไม่รุกรานโปแลนด์ และทำสัญญาไม่รุกรานกับสหภาพโซเวียต เยอรมนีเริ่มสงครามด้วยการบุกโปแลนด์ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 แบบสายฟ้าแลบ (Blitzkrieg)

กองทัพเยอรมนีบุกโปแลนด์เมื่อ 1 กันยายน 1939 เนื่องจากโปแลนด์ปฏิเสธที่จะยกเมืองท่า ดานซิก และฉนวนโปแลนด์ในเยอรมนี อังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งมีสัญญาค้ำประกันเอกราชของโปแลนด์ อังกฤษและฝรั่งเศสจึงยื่นคำขาดได้เยอรมันถอนทหารออกจากโปแลนด์ เมื่อฮิตเลอร์ไม่ปฏิบัติตาม ทั้งสองประเทศจึงประกาศสงครามกับเยอรมนี เมื่อเริ่มสงครามนั้น ประเทศคู่สงครามแบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ

1. ฝ่ายอักษะ ได้แก่ เยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่น
2. ฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศสและรัสเซีย

ต่อมาประเทศต่าง ๆ ก็เข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจนสงครามได้แผ่ขยายกลายเป็นสงครามโลก ในปี ค.ศ. 1942 ฝ่ายอักษะ (ญี่ปุ่น เยอรมัน อิตาลี) ได้บุกยึดยุทธภูมิสำคัญคือ รัสเซีย แอฟริกาเหนือ และแปซิฟิก ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเกือบทุกแห่ง โดยเฉพาะญี่ปุ่นซึ่งได้รับชัยชนะมากที่สุดในการยึดครองจักรวรรดิแปซิฟิก ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากอาณานิคมของตะวันตกไม่ตกสู้กับญี่ปุ่นเพื่อชาวยุโรป ซึ่งผิดกับญี่ปุ่นที่ถือประโยชน์จากคำขวัญที่ว่า "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย"

สำหรับสงครามในโลกตะวันออกนั้นเริ่มต้นขึ้นในราว ค.ศ. 1941 เมื่อญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกาที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ ในวันที่ 7 ธันวาคม ปี 1941 สหรัฐอเมริกาจึงประกาศสงครามกับญี่ปุ่น และหลังจากนั้นเพียงไม่กี่วันเยอรมนีและอิตาลีก็ประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกา เนื่องจากทั้งสองประเทศได้ทำสัญญาพันธมิตรกับญี่ปุ่น จึงเท่ากับเป็นแรงผลักดันให้สหรัฐอเมริกาเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเต็มตัว รวมทั้งประเทศต่าง ๆ ในทวีปอเมริกาใต้ต่างประกาศสงครามตามสหรัฐอเมริกาเกือบทั้งสิ้น

เหตุการณ์ของสงครามโลกครั้งที่ 2

- เยอรมนีโจมตีโปแลนด์ เมื่อ 1 กันยายน 1939
- วันที่ 3 กันยายน 1939 อังกฤษและฝรั่งเศสประกาศสงครามกับเยอรมนี

เยอรมนีทำการลบแบบสายฟ้าแลบ ได้ชัยชนะอย่างรวดเร็ว ได้ดินแดนโปแลนด์ เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม เดนมาร์ก และฝรั่งเศส โจมตีอังกฤษ รัสเซีย ทางอากาศ ซึ่งเป็นสงครามทางอากาศที่ยิ่งใหญ่ที่สุด สงครามในระยะแรกสัมพันธมิตรแพ้ทุกสนามรบ

อังกฤษและฝรั่งเศสประกาศเข้าร่วมสงคราม ด้านมหาสมุทรแปซิฟิก ญี่ปุ่นบุกแมนจูเรีย(จีน)ในปี ค.ศ.1931 และเสนอแผนการที่จะสถาปนา “วงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา” เพื่อผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและด้านอื่นๆ ญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่ อ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 สหรัฐจึงเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง โดยประกาศสงครามเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร ขณะเดียวกันญี่ปุ่นเปิดสงครามในตะวันออกเฉียงใต้หรือเรียกว่า “สงครามมหาเอเชียบูรพา”

เมื่อเริ่มสงคราม สหรัฐอเมริกาวางตัวเป็นกลาง แต่เมื่อญี่ปุ่นโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ซึ่งเป็นฐานทัพของสหรัฐอเมริกา ในมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 1941 สหรัฐอเมริกาจึงเข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 2 กับอังกฤษและฝรั่งเศส ทำให้ฝ่ายพันธมิตรมีชัยชนะ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 1945

ในระยะแรกของสงครามฝ่ายอักษะได้เปรียบอย่างเห็นได้ชัด แต่หลังจากวัน D-Day (Decision - Day) ซึ่งเป็นวันที่สัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่มอร์มังดี (Nomandy)ประเทศฝรั่งเศสด้วยกำลังพลนับล้านคน เครื่องบินรบ 11,000 เครื่อง เรือรบ 4,000 ลำ วิถีของสงครามจึงค่อย ๆ เปลี่ยนด้านกลายเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรได้เปรียบ

การรบในแปซิฟิก ญี่ปุ่นเป็นคู่สงครามกับสหรัฐอเมริกา สงครามก็ยุติลงอย่างเป็นรูปธรรมด้วยชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรโดยการทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกชื่อลิตเติลบอย ที่เมืองฮิโรชิมา เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 1945 และลูกที่ 2 ชื่อแฟตแมน ที่เมืองนางาซากิ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 1945 และวันที่ 14 สิงหาคม 1945 ประเทศญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ เมื่อญี่ปุ่นเซ็นต์สัญญาสงบศึกกับสหรัฐอเมริกาบนเรือรบมิสซูรี ในวันที่ 14 สิงหาคม 1945

การยุติลงของสงครามโลกครั้งที่ 2

- สัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่ ชายฝั่งแคว้นนอร์มังดี วัน D-DAY
- สงครามโลกในยุโรปสิ้นสุดลงเมื่อกองทัพสัมพันธมิตรบุกเข้าเบอร์ลินในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1944
- เมื่อสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและเมืองนางาซากิ ในวันที่ 6และ 9 สิงหาคม ค.ศ.1945

ใน ค.ศ. 1943 สัมพันธมิตรได้ประชุมกันที่เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ประเด็นสำคัญของการประชุมคือ กองกำลังของสัมพันธมิตรจะบุกเข้าไปถึงใจกลางของเยอรมนีและทำลายกองทัพเยอรมนีลงให้ได้ โดยมีนายพลไอเซนเฮาว์ (Eisenhower) เป็นผู้บัญชาการของสัมพันธมิตรในยุโรปตะวันตก การปฏิบัติการโอเวอร์ลอร์ด (Operation Overlord) นับเป็นการบุกฝรั่งเศสครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ ฝ่ายสัมพันธมิตรประกอบด้วยทหารสหรัฐอเมริกา อังกฤษ แคนาดา และฝรั่งเศส จำนวน 155,000 คน บุกขึ้นฝั่งนอร์มังดี ทางเหนือของฝรั่งเศส ในวันที่ 6 มิถุนายน 1944 เรียกว่าวัน D – Day (Decision Day)


ผลของสงครามโลกครั้งที่สอง

1. มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติ(UN : United Nations)เพื่อดำเนินงานแทนองค์การสันนิบาตชาติ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสันติภาพของโลกและให้กลุ่มสมาชิกร่วมมือช่วยเหลือกัน และสนับสนุนสันติภาพของโลก รวมทั้งการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ซึ่งนับว่ามีความเข้มแข็งกว่าเดิม เพราะสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งและมีกองทหารของสหประชาชาติ

2. ทำให้เกิดสงครามเย็น(Cold War)ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้น ประเทศสหภาพโซเวียต(USSR) ปกครองโดยสมัยสตาร์ลินมีนโยบายขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ไปสู่ ยุโรปตะวันออก และเยอรมนีตะวันออก ซึ่งมีทหารรัสเซียเข้าปลดปล่อยดินแดนเหล่านี้จากอำนาจฮิตเลอร์ในสงครามโลกครั้งที่สอง ขณะที่สหรัฐต้องการสกัดกั้นการขยายตัวดังกล่าว และเผยแผ่การปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะดินแดนอาณานิคมที่ประกาศเอกราช เป็นประเทศใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง จนเกิดสภาวการณ์ที่เรียกว่า สงครามเย็น( Cold War )

3. ฝ่ายสัมพันธมิตรชนะ มีการนำอาวุธที่ทันสมัยและระเบิดปรมาณูมาใช้ทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมากกว่าสงครามโลกครั้งที่ 1

4. การเกิดประเทศเอกราชใหม่ๆ (ประเทศที่เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตกต่างประกาศเอกราชของตนเอง ทั่วโลก โดยเฉพาะในเอเชีย และ แอฟริกา และบางประเทศถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน เช่น เยอรมนี เกาหลี เวียดนาม

5. สภาพเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก

6. ความสูญเสียทางด้านสังคมและทางจิตวิทยา

7. เกิดมหาอำนาจของโลกใหม่ คือ สหรัฐอเมริกา และ สหภาพโซเวียต

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งยืดเยื้อยาวนานเกือบ 6 ปียุติลง ลัทธิเผด็จการฟาสซิสต์ในอิตาลี นาซีในเยอรมัน และเผด็จการทหารในญี่ปุ่นก็ล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิง ขณะเดียวกัน ตำแหน่งแห่งที่มหาอำนาจของโลกก็มีการปรับเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ในโลกเสรีหรือโลกประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาได้ก้าวขึ้นสู่ความเป็นอภิมหาอำนาจเหนืออังกฤษและฝรั่งเศส มิใช่เพียงเพราะสหรัฐอเมริกามียุทโธปกรณ์ที่ทรงอานุภาพเท่านั้น แต่เพราะอังกฤษและฝรั่งเศสได้รับความบอบช้ำจากผลพวงของสงครามครั้งนี้อย่างมหาศาล จึงไม่อาจจรรโลงโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจเดิมเอาไว้ได้อีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม สหรัฐอเมริกาก็มิได้เป็นอภิมหาอำนาจเดี่ยวโดยปราศจากคู่แข่ง เพราะอีกขั้วหนึ่งสหภาพโซเวียต(USSR)ก็ได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งมหาอำนาจในค่ายคอมมิวนิสต์ ทั้งยังเป็นแกนนำในการเผยแพร่อุดมการณ์การเมืองแบบสังคมนิยมออกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก

8. เกิดการแบ่งขั้วอย่างชัดเจนของสองมหาอำนาจจนนำไปสู่เกิดสงครามเย็นและการแบ่งกลุ่มประเทศระหว่างโลกเสรีประชาธิปไตยกับโลกคอมมิวนิสต์ สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงด้วยความพ่ายแพ้ของฝ่ายอุดมการณ์ฟาสซิสต์ทั้งในยุโรปและเอเซีย และได้เกิดอุดมการณ์ใหม่ขึ้นเมื่อมีการเผชิญหน้ากันระหว่างสหรัฐ อเมริกาและสหภาพโซเวียต โลกถูกแบ่งแยกออกเป็นสองค่าย กล่าวคือ สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำค่ายประชาธิปไตย ส่วนสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำค่ายคอมมิวนิสต์ ต่างฝ่ายต่างพยายามนำเสนอระบบการเมืองที่ตนยึดมั่น เพื่อให้ประเทศอื่น ๆ รับไปใช้เป็นแม่แบบการปกครอง และพยายามแข่งขันกันเผยแพร่อุดมการณ์ทางลัทธิการเมืองของตนในกลุ่มประเทศที่เกิดใหม่หลังสงคราม เงื่อนไขนี้เองจึงก่อให้เกิดการแข่งขัน ขัดแย้งทางอุดมการณ์การเมืองการปกครอง และค่อย ๆ ลุกลาม รุนแรงจนอยู่ในสภาพที่เรียกว่า “สงครามเย็น” (Cold War)

9. เกิดปัญหาเกี่ยวกับประเทศที่แพ้สงคราม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้เกิดปัญหาขึ้นในกลุ่มประเทศที่แพ้สงคราม เช่น เยอรมนีถูกแบ่งแยกออกเป็นเยอรมนีตะวันตก ให้อยู่ในอารักขาของสัมพันธมิตร ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส ฝ่ายหนึ่ง และเยอรมนีตะวันออกให้อยู่ในความอารักขาของสหภาพโซเวียต จนกระทั่ง ค.ศ. 1949 ฝ่ายสหรัฐอเมริกาได้จัดให้มีการเลือกตั้งเสรีขึ้นในเยอรมนีตะวันตกและตั้งเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน ส่วนสหภาพโซเวียตก็ได้จัดตั้งรัฐสภาประชาชนขึ้นในเยอรมนีตะวันออกและปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ จัดตั้งเป็นสาธารณะรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน ทำให้เยอรมนีถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศ ซึ่งปัจจุบันได้ตกลงมารวมกันเป็นประเทศเยอรมนีนับแต่ปี 1990 เป็นต้นมานอกจากนี้ญี่ปุ่นที่ถูกยึดครองโดยฝ่ายสัมพันธมิตร ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นผู้มีอำนาจเต็มแต่เพียงผู้เดียวในการวางนโยบายครองญี่ปุ่น แต่ยังคงให้ญี่ปุ่นมีรัฐบาลและมีจักรพรรดิเป็นประมุขของประเทศ สหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนอุดมการณ์ของคนญี่ปุ่นให้หันมายอมรับฟังระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยและสันติภาพ ในช่วงที่เกิดสงครามเกาหลีสหรัฐอเมริกาได้เข้าไปช่วยฟื้นฟูพัฒนาเศรษฐกิจญี่ปุ่น และช่วยเหลือให้ญี่ปุ่นเปลี่ยนเป็นประเทศอุตสาหกรรม จนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกในปัจจุบัน

- ตามข้อตกลงปอตสดัม ทำให้เยอรมันถูกแบ่งออกเป็น 4 เขต และถูกยึดครองจากกลุ่มประเทศที่แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ สหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศส ฝ่ายหนึ่ง และสหภาพโซเวียต อีกฝ่ายหนึ่ง

- ความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ของสหภาพโซเวียตกับสหรัฐฯ ส่งผลให้เยอรมันถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ เยอรมันตะวันตก และเยอรมันตะวันออก

10. สหรัฐฯได้เข้าปกครองญี่ปุ่นเป็นเวลานานถึง 6 ปี โดยเข้าร่วมฝ่ายพันธมิตรหลังจากการโจมตีเพิร์ลฮาเบอร์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 ในแถลงการณ์ของสหประชาชาติ เมื่อ 1 มกราคม ค.ศ. 1942 มีประเทศต่างๆ เข้าร่วมฝ่ายพันธมิตรอย่างเป็นทางการจำนวน 26 ประเทศ (แถลงการณ์นี้เป็นพื้นฐานของการก่อตั้งสหประชาชาติในภายหลัง)

11. ประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมได้รับเอกราช บรรดาดินแดนที่เคยเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตกและญี่ปุ่นต่างก็ทยอยกันได้รับเอกราชและแสวงหาลัทธิการเมืองของตนเอง ทั้งในเอเชีย และ แอฟริกา เช่น ยุโรปตะวันออกอยู่ในค่ายคอมมิวนิสต์ ยุโรปตะวันตกเป็นกลุ่มประชาธิปไตย ส่วนในเอเชียนั้นจีนและเวียดนามอยู่ในค่ายคอมมิวนิสต์ แต่การได้รับเอกราชของชาติต่าง ๆ ได้ก่อให้เกิดปัญหามากมาย เช่น

เกาหลีภายหลังได้รับเอกราชภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ถูกแบ่งเป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ และได้ทำสงครามระหว่างกัน ค.ศ. 1950 – 1953 โดยเกาหลีเหนือซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตและจีนคอมมิวนิสต์เป็นผู้รุกรานเกาหลีใต้ องค์การสหประชาชาติได้ส่งทหารสัมพันธมิตรที่นำโดยสหรัฐอเมริกาเข้าปกป้องเกาหลีใต้ไว้ได้ จนต่อมาได้มีการลงนามในสัญญาสงบศึกที่หมู่บ้านปันมุนจอมในเขตเกาหลีเหนือ ปัจจุบันเกาหลีเหนือใต้มีแนวโน้มที่จะรวมกันเป็นประเทศเดียวในอนาคต

เวียดนามต้องทำสงครามเพื่อกู้อิสรภาพของตนจากฝรั่งเศส และถึงแม้จะชนะฝรั่งเศสในการรบที่เดียนเบียนฟูใน ค.ศ. 1954 แต่เวียดนามก็ถูกแบ่งออกเป็นเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ ทั้งสองประเทศได้ต่อสู้กันเพราะความขัดแย้งในอุดมการณ์ที่แตกต่างกันระหว่างคอมมิวนิสต์กับเสรีประชาธิปไตย ในที่สุดเมื่อสหรัฐอเมริกาผู้สนับสนุนเวียดนามใต้ยุติการให้ความช่วยเหลือและถอนทหารกลับประเทศ เวียดนามก็รวมประเทศได้สำเร็จใน ค.ศ. 1975 ในเวลาเดียวกันลาวและกัมพูชาซึ่งปกครองโดยรัฐบาลคอมมิวนิสต์ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองของเวียดนาม แต่สามารถจัดตั้งรัฐบาลของตนเองได้ในเวลาต่อมา


โปรดติดตามตอนที่ 3


Create Date : 06 มกราคม 2556
Last Update : 6 มกราคม 2556 6:47:18 น. 0 comments
Counter : 1243 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.