ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
 
11 กุมภาพันธ์ 2553
 
All Blogs
 
ถอดรหัสน้ำดื่มเพื่อสุขภาพ

ถอดรหัสน้ำดื่มเพื่อสุขภาพ


ภาพจาก //www.boston.com/

ปริมาณน้ำที่ดื่มในแต่ละวันเป็นสิ่งสำคัญ คนดื่มน้ำน้อยเลือดจะข้น ระบบไหลเวียนของเหลวในร่างกายผิดปกติ ผิวพรรณหยาบกร้าน รวมทั้งอาจเกิดการเจ็บป่วยต่างๆ

แต่หากดื่มน้ำมากเกินไปก็ใช่ว่าจะเป็นผลดี เพราะไตจะทำงานหนัก ส่งผลให้ปวดศีรษะ อาเจียน กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ความดันสูง น้ำหนักมากขึ้น ร่างกายบวมน้ำ รวมถึงอาจส่งผลถึงระบบสืบพันธุ์

แต่ละวันมนุษย์ควรดื่มน้ำปริมาณเท่าไร และดื่มน้ำอะไรถึงจะ
ปลอดภัย เราจะมาถอดรหัสกัน

สูตรคำนวณปริมาณน้ำดื่มที่เหมาะกับคุณ
องค์การอนามัยโลกได้กำหนดสูตรคำนวณปริมาณน้ำดื่มที่เหมาะสมกับน้ำหนักตัวของแต่ละคน ใน แต่ละวันไว้ดังนี้

น้ำหนักตัว (ก.ก.)/2 x 2.2 x30 = … C.C.

(1000 C.C. = 1 ลิตร, 1 ลิตร = 5 แก้ว)

สมมติว่ามีน้ำหนักตัว 55 กิโลกรัม

55/2 x 2.2 x 30 = 1815 C.C. 1815 C.C. = 1.8 ลิตร

1.8 ลิตร = 9 แก้ว

เมื่อทราบปริมาณน้ำดื่มต่อวันแล้ว จะต้องมีเทคนิคในการดื่มน้ำ ให้เกิดประโยชน์กับร่างกายมากที่สุดด้วย เทคนิคง่ายๆ ที่ว่านั้นมีอยู่ 2 ข้อคือ

1. หลังตื่นนอน ก่อนแปรงฟัน ให้ดื่มน้ำทันที 2-5 แก้ว เพื่อช่วยขับของเสียออกจากร่างกาย ควรเป็นน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่น ไม่ใช่น้ำเย็น ที่ต้องดื่มตอนเช้าเพราะเป็นช่วงที่ร่างกายขับสารพิษได้ดีที่สุด

2. ดื่มน้ำแต่น้อยระหว่างรับประทานอาหาร ไม่ควรเกิน 1 แก้ว หลังรับประทานอาหารเสร็จแล้ว 40 นาทีจึงค่อยดื่มน้ำตาม เพื่อให้กระเพาะย่อยอาหารได้เต็มที่ ที่สำคัญไม่ควรดื่มน้ำเย็น เพราะจะไปรบกวนการย่อย
ทุกวันนี้เราดื่มน้ำอะไรกันอยู่

น้ำประปาดื่มได้
ปัจจุบัน น้ำประปาของการประปานครหลวงผ่านการผลิตและควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอนตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก จึงดื่มได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบเดินท่อประปาในบ้าน

ท่อเหล็กมีอายุใช้งานไม่เกิน 5 ปี ที่ปลอดภัยที่สุดคือท่อพลาสติกเพราะไม่เป็นสนิม การต้มน้ำประปาจะช่วยฆ่าเชื้อโรคในน้ำและลดความกระด้างไป
พร้อมกัน ทั้งยังลดกลิ่นคลอรีนได้ด้วย ส่วนน้ำประปาที่ผ่านระบบกรอง ก็ขึ้นอยู่กับตัวกรองที่เลือกใช้ บางบ้านอาจใช้ตัวกรองถ่าน (Activated carbon) และเรซิน (Resin) ซึ่งก็สะอาดเพียงพอใกล้เคียงน้ำบรรจุขวด เว้นแต่ไม่ได้ผ่นขั้นตอนการฆ่าเชื้อด้วยรังสีอัลตร้าไวโอเลตหรือโอโซน

น้ำดื่มบรรจุขวด
The International Bottled Water Association หรือสมาคมน้ำบรรจุขวดนานาชาติ ได้ให้นิยามของน้ำบรรจุขวดไว้ว่า
1. น้ำดื่ม (Drinking Water) น้ำดื่มในบ้านเรานั้นได้มาจากแหล่งน้ำบาดาลและน้ำประปา ผ่านการกรองชั้นถ่านเพื่อดูดกลิ่น ตามด้วยการผ่านสารเรซินเพื่อลดความกระด้าง ขั้นตอนสุดท้ายคือการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่อาจปนเปื้อนในน้ำด้วยการผ่านแสงอุลตร้าไวโอเลตหรือก๊าซโอโซน ที่เราเรียกกันจนคุ้นเคยว่าน้ำUV หรือน้ำโอโซนนั่นเอง

2. น้ำธรรมชาติ (Natural Water) คือ น้ำใต้ดิน รวมทั้งน้ำพุ(Spring) น้ำแร่(Mineral) น้ำบ่อ(Well) และน้ำพุที่เจาะขึ้นมาจากแหล่งใต้ดิน (Artesian
Well) ไม่นับรวมแหล่งน้ำสาธารณะและน้ำประปา ในการผลิตน้ำธรรมชาติห้ามใช้กระบวนการอื่นใดนอกจากการกรองเศษฝุ่นละอองและการฆ่าเชื้อโรค ด้วยวิธีการผลิตดังกล่าวจึงทำให้น้ำแร่บรรจุขวดมีความใกล้เคียงกับน้ำจากแหล่งกำเนิดมากและการที่น้ำแร่มีคุณสมบัติแตกต่างกันตามแหล่งน้ำธรรมชาตินี้เอง จึงต้องมีการกำหนดค่าปริมาณเกลือแร่ ซึ่งอาจเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของเด็กและสตรีมีครรภ์ที่มีระบบย่อยอาหารไม่ดีเท่าคนทั่วไป เพราะน้ำแร่จะออกฤทธิ์เป็นยาระบายหากมีปริมาณซัลเฟตมากกว่า 600 มิลลิกรัมต่อลิตร (ยกเว้นแคลเซียมซัลเฟต)

3. น้ำเพียวริไฟด์ (Purified Water) เรียกง่ายๆ ว่าน้ำกลั่น เป็นน้ำที่ผลิตด้วย
การกลั่น คือต้มน้ำจนเดือดแล้วระเหยกลายเป็นไอ เมื่อไอน้ำกระทบพื้นผิวที่เย็นจะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ หรืออีกวิธีคือ การใช้กระแสไฟฟ้าแยกเกลือแร่
(Deionization) ที่ปนอยู่ออก แล้วน้ำไปผ่านขั้นตอนการกรองด้วยวัสดุที่มีรูขนาดเล็ก 0.0006 ไมครอน (1 เมตรเท่ากับ 1 ล้านไมครอน) เมื่อแร่ธาตุต่างๆ ถูกกรองออกหมดจะได้น้ำที่บริสุทธิ์มากจนแทบไม่เหลือความกระด้างอยู่เลย แต่ที่จริงแล้วร่างกายคนเราก็ไม่จำเป็นต้องได้รับน้ำบริสุทธิ์ขนาดนั้น
ขวดแบบไหนเหมาะใส่น้ำดื่มขวดที่นิยมใช้บรรจุน้ำดื่มในปัจจุบัน มี 4 ชนิด คือ ขวดแก้วใส ขวดพลาสติกใสและแข็ง (Polystyrene) ขวดพลาสติกเพท (Polyethylene terephthalate, PET) ซึ่งมีลักษณะใสและกรอบ และสุดท้าย ขวดพลาสติกขาวขุ่น (High-densitypolyethylene, HDPE) ขวด 3 ชนิดแรกใช้บรรจุน้ำดื่มได้ดีกว่าขวดพลาสติกสีขาวขุ่น เคยมีการทดลองนำน้ำดื่มบรรจุขวดสีขาวขุ่นไปตั้งกลางแดดนานๆ จะมีกลิ่นของพลาสติกปนมากับน้ำ แม้ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค แต่ก็ทำให้คุณภาพของน้ำลดลง ข้อเสียอีกประการหนึ่งคือขวดขาวขุ่นไม่เหมาะที่จะนำมารีไซเคิล ต่างจากขวดอีกสามชนิดที่รีไซเคิลง่ายและใช้ได้ทนทานกว่า ส่วนวันหมดอายุของน้ำดื่มบรรจุขวดนั้นคือประมาณ 2 ปี นับจากวันผลิตที่ระบุไว้บนฉลาก

ที่มา
//www.sau.ac.th/


Create Date : 11 กุมภาพันธ์ 2553
Last Update : 11 กุมภาพันธ์ 2553 17:54:48 น. 0 comments
Counter : 1590 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.