ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2550
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
26 พฤศจิกายน 2550
 
All Blogs
 
เคมีสังเคราะห์เพื่อการป้องกันแสงแดด

เคมีสังเคราะห์เพื่อการป้องกันแสงแดด
ผู้เขียน อนันต์ ฉันทประทีป

อันตรายจากแสงแดด
หากกล่าวข้อความข้างต้นนี้หลายคนคงคิดไปถึงอันตรายของแสงแดด ที่ส่องลงส่งมาทำลายผิวหนังของเรา โดยเฉพาะในขณะที่อาบแดดซึ่งเป็นกิจกรรมที่นิยมของชาวต่างชาติ หรือคนไทยบางกลุ่มในสมัยนี้ ตามหลักคิดทางวิชาการนั้นแสงแดดสามารถก่อให้เกิดการสลายตัวของหน่วยโมเลกุลทางเคมีหรือชีวเคมีได้สังเกตจากผิวคนเราเมื่ออาบแดดเป็นเวลานาน สีผิวจะเปลี่ยนสีจนกระทั่งคล้ำมากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นหากปะทะแสงแดดนานขึ้น เซลล์ผิวหนังชั้นบนจะถูกทำลาย และการทำลายจะต่อเนื่องจนกระทั่งถึงผิวหนังชั้นใน หากจะเปรียบเทียบแล้วผิวหนังคนเราก็ไม่ต่างจากวัสดุพอลิเมอร์ ไม่ว่าจะเป็นพลาสติกภัณฑ์ สี สารเคลือบต่างๆ อื่นๆ เหล่านี้ ล้วนมีการเสื่อมสภาพที่รุนแรง เมื่อถูกนำไปใช้งานในสภาวะที่จะต้องปะทะโดยตรงกับแสงแดด

แสงแดดคืออะไร
แสงแดดมาจากดวงอาทิตย์ หากเราจะตอบเฉพาะแค่แหล่งที่มา แต่ในเชิงวิชาการแล้ว แสงแดด คือรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ลงมายังโลกมนุษย์ โดยผ่านชั้นบรรยากาศต่างๆ จนกระทั่งกระทบบนพื้นแผ่นดินหรือน้ำ โดยทั่วไปแสงแดด (Light) จะถูกอธิบายให้มีลักษณะที่มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง รังสีที่มนุษย์สามารถมองเห็น (Visible Radiation) ซึ่งมีความยาวคลื่นระหว่าง 400 ถึง 750 นาโนเมตร

แสง คือ ต้นตอหลักของการสลายตัวของโมเลกุลอินทรีย์
จากข้อความข้างบนนี้ 6 เปอร์เซ็นต์ ของ UV ที่ตกกระทบลงบนผิวโลกนั้นจะเป็นตัวการในรูปพลังงานแสงซึ่งสามารถเข้าไปทำลายพันธะเคมี ประเภทพันธะโควาเลนท์ (Covalent Bond) ในโมเลกุล อินทรีย์สารหรือโมเลกุลพอลิเมอร์ (Polymer) ซึ่งโมเลกุลพอลิเมอร์นี้ก็คือ สิ่งรอบๆ ตัวเรา อาทิเช่น พลาสติกภัณฑ์ สี เนื้อไม้ เนื้อเยื่อ หรือกระทั่งผิวหนังคนเรา ดังที่กล่าวมาแล้ว ในทางวิชาการ กระบวนการ การสลายตัว เนื่องจากมีแสงเป็นตัวกระตุ้นนี้ เรียกว่า “Photo–Oxidation Degradation process” อย่างไรก็ตามจากการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า ก่อนถึงกระบวนการการสลายตัวที่ว่าจะเกิดขึ้น โมเลกุลของพอลิเมอร์แต่ละชนิดจะมีการดูดกลืนแสงในช่วงความยาวคลื่นต่างๆ กัน ตามแต่ชนิดของพอลิเมอร์นั้นๆ

เทคโนโลยีสารเคมีสังเคราะห์เพื่อการป้องกันแสงแดด
จากการที่นักวิทยาศาสตร์พบว่า แสงแดดนั้นแสดงบทบาทเป็นต้นตอหลักทางธรรมชาติที่ก่อให้เกิดกระบวนการสลายอีกประเภทหนึ่งนอกจากการสลายตัวทางชีวภาพ กระบวนการสลายตัวที่เกิดจากแสงแดดจึงนำมาซึ่งการเสื่อมสลายของวัสดุก่อนเวลาอันควร โดยเฉพาะวัสดุพอลิเมอร์ที่ใช้งานในสภาวะที่ต้องปะทะแสงแดด
ดังนั้นจึงมีความพยายามที่จะคิดค้นเพื่อเอาชนะการเสื่อมสภาพนี้ โดยการสังเคราะห์สารเคมีซึ่งสามารถใช้ผสมลงไปในส่วนประกอบของพอลิเมอร์หรือวัสดุนั้นๆ โดยตรง ยังผลให้เกิดความสามารถในการทนแดดและเสื่อมสภาพช้ากว่าที่ควรจะเป็นตามธรรมชาติเป็นเวลาหลายปี เคมีสังเคราะห์ที่ว่านี้ เรียกว่า “Light Stabilizer”

ปัจจุบัน Light Stabilizer สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท เป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. UV Absorber (เคมีดูดแสง)
2. Free radical Scarvenger (สารต่อต้านอนุมูลอิสระ)


ที่มา:วารสารเคมีน่ารู้


Create Date : 26 พฤศจิกายน 2550
Last Update : 26 พฤศจิกายน 2550 21:42:32 น. 0 comments
Counter : 891 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.