มกราคม 2563

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
สืบทอดส่งต่ออำนาจเฉพาะสายโลหิต

สืบทอดส่งต่ออำนาจเฉพาะสายโลหิต

ราชวงศ์ฮั่น ผู้ที่จะเป็นฮ่องเต้จะสืบทอดต่อกันมาเฉพาะทางสายเลือดเท่านั้น และได้เฉพาะลูกชายคนโตที่เกิดจากเมียเอกเท่านั้นด้วย คนรองไม่มีสิทธิ์แม้แต่จะคิด ลูกเมียเล็กเมียน้อยไม่ต้องเผยอหน้าอ้าปากเช่นกัน

การตั้งกฎเช่นนี้ ดูเหมือนจะเป็นข้อจำกัดว่า แล้วลูกชายคนโตจากเมียเอกคนนี้ จะเก่งกล้าสามารถ แข็งแรงสมกับตำแหน่งใหญ่โตเช่นนี้หรือไม่ สิ่งที่ได้แน่ ๆ คือ การรู้สิทธิของแต่ละคน จึงไม่ทำให้เกิดการแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน

 

ถ้าเกิดข้อผิดพลาดล่ะ เช่นลูกชายคนโตตายก่อนจะได้สืบครองบัลลังก์ ยังไม่เคยกำหนดกฎเกณฑ์นี้ไว้มาก่อน เพราะยังไม่เคยปรากฏ ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในต้นราชวงศ์หมิง อาศัยแนวคิดคตินิยมดั้งเดิมของชาวจีน ที่ว่าหลานชายคนโตที่เกิดจากลูกชายคนโตนี้แหละที่ควรจะรับสมบัติสืบต่อ

ส่วนมากฮ่องเต้สืบทอดจากพ่อไปสู่ลูกมากกว่าจากพี่ไปสู่น้อง แต่ในบางยุคบางสมัยที่ฮ่องเต้หรือราชวงศ์อ่อนแออาจมีบางคนหาญกล้าตั้งราชวงศ์ใหม่ขึ้นมาแทนที่ ในกรณีที่เกิดพลิกผันเช่นนี้จะเรียกว่ามีการปราบดาภิเษก สถานาราชวงศ์ใหม่ขึ้นมาแทนที่ราชวงศ์เดิมได้

ราชวงศ์ที่ฮ่องเต้เป็นชาวฮั่น การสืบทอดบัลลังก์จะสืบต่ออำนาจจากพ่อไปสู่ลูก เน้นว่าต้องเป็นลูกชายคนโต ไม่ใช่ลูกชายคนที่เก่งที่สุด

ชาวมองโกลไม่คิดเช่นนั้น ราชวงศ์หยวนจะให้ลูกที่เก่งที่สุด หรืออาจเป็นเครือญาติที่เก่งที่สุด มีโอกาสได้ขึ้นครองอำนาจ การแย่งชิงอำนาจระหว่างผู้มีฝีมือจึงเกิดขึ้นเรื่อย ๆ และส่งผลให้ราชวงศ์หยวนอ่อนแอไปเรื่อย ๆ เช่นกัน

ราชวงศ์หยวนคิดเช่นนี้ ทำให้ฮ่องเต้เป็นคนที่เก่งที่สุด ใช่ว่าจะได้ตามสิทธิ์เท่านั้น ฝีมือไม่ต้องพูดถึง ต้องเก่งกล้าเหนือกว่าลูกหลานทุกคน

ทำไม ราชวงศ์หยวนสิ้นราชวงศ์ได้ ในเมื่อมีแต่ฮ่องเต้ที่เก่งกล้าสามารถเท่านั้น ต้องอ่านรายละเอียดต่อไป เพราะขาดช่วงผู้ที่จะก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งฮ่องเต้

ชาวแมนจู ไม่คิดเช่นชาวฮั่น และชาวมองโกล เมื่อมีลูกชายหลายคน ใช่ว่าแต่ลูกคนโตจะได้สิทธิ์ ทุกคนมีสิทธิ์เท่าเทียมกัน ใครมีฝีมือมากที่สุด ย่อมได้อำนาจสูงสุด พ่อจะมีสิทธิ์เลือก แล้วเขียนพินัยกรรม ทำเช่นนี้ จึงพบว่าเกิดศึกสายเลือดระหว่างพี่น้อง อาจจะแม่เดียวกัน หรือต่างแม่ก็เป็นได้

แมนจูคล้ายมองโกลตรงที่ไม่กำหนดเฉพาะลูกชายคนโตที่เกิดจากเมียเอก ต่างกันตรงที่มองโกลให้ลูกหลานแสดงฝีมือแข่งขันชิงดีชิงเด่นกัน คนเก่งสุดจะได้ครองบัลลังก์ แมนจูจะคัดสรรเลือกลูกชายที่เก่งกล้าสามารถที่สุดในสายตาพ่อ แล้วเขียนพินัยกรรมมอบบัลลังก์ให้

คนที่นิยมชมชอบหนังจีน จักร ๆ วงศ์ ๆ จะเคยดูองค์ชายสี่ องค์ชายสิบสี่ สองยุค ทำให้งงได้ ที่แท้คนละช่วง ช่วงหนึ่งองค์ชายสี่ อีกช่วงองค์ชายสิบสี่เก่ง เลยต้องแม่นว่ากำลังอยู่ในรัชสมัยของใครด้วย จะได้เข้าใจทะลุปรุโปร่ง

แต่ละชาติพันธุ์จะมีหลักและกฎเกณฑ์ที่แตกต่างกัน จะว่าใครถูกใครผิด ย่อมยากจะตัดสิน เพราะแต่ละกฎย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อเด่นข้อด้อยต่างกัน




Create Date : 11 มกราคม 2563
Last Update : 11 มกราคม 2563 8:30:45 น.
Counter : 883 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

สมาชิกหมายเลข 4665919
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ดร.พรรณี เกษกมล นักเขียน ข้าราชการบำนาญ ครูซี 9 แนะแนว
New Comments