Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
28 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 

Clip Climax Mass Comm CMU Sportsday 2008 :: What did they mean








หลังจากที่ไคลแมกซ์การแสดงสปอร์ตเดย์ของคณะการสื่อสารมวลชนปีล่าสุดได้เผยแพร่ ก็ได้รับเสียงคำวิจารณ์เป็นจำนวนมากด้วยเรื่องความเหมาะสมของการกระทำที่ว่าโป๊ไป ซึ่งผมในฐานะรุ่นพี่แม้อยู่ห่าง ๆ แต่ก็ได้ยินเสียนค่อนแขวะมาบ้างว่า เด็กพวกนี้คิดกันไม่เป็นหรอก เอาแต่จะโป๊ จะแรง เรียกเรตติ้ง

ปีที่แล้วผมมีส่วนในการเข้าไปทำอย่างเต็มตัวในฐานะพี่ปีแก่ที่กลับไปช่วยน้อง รวมถึงช่วยออกไอเดีย ช่วยซ้อมต่าง ๆ ถ้าในระบุตำแหน่งก็คงเป็น Co-Producer ได้ โจทย์ใหญ่สำคัญเลยคือเราจะทำเรื่องอะไรกันดี เพราะปีก่อนหน้านั้น การแสดง 'กุหลาบแดง' สร้างชื่อเสียงลือลั่นไปทั่วเชียงใหม่ และคนต่างคาดหวังว่าคณะเราจะมีอะไรแบบนั้นให้ดูอีก

หลังจากคุยกันในทีมงาน โดยมีเฌิ้ธเป็นหัวคิดหลักแล้ว (ซึ่งเฌิ้ธก็เป็นคนเดียวกับที่คิดกุหลาบแดงและโชว์ปีล่าสุด) เราก็ได้ความว่า เราจะทำเรื่องการเมืองกัน เพราะปัญหาเรื่อง 'กีฬาสี' ณ ขณะนั้นก็มาแรงแซงทางโค้งเกินกว่าเรื่องใด ๆ

การแสดงในปีที่แล้วถือว่าแป้กอย่างแรง เพราะคนไม่เก็ทในสิ่งที่สื่อ คือเรียกได้ว่าไม่เข้าใจใน metaphor ที่เราต้องการสื่อเลย รู้แต่ว่าคณะเราทำเรื่องการเมือง ใครเก็ทต่างชื่นชม แต่คนไม่เก็ทก็เม้ามอยไปเรื่อยว่า พวกมึงทำอะไรกัน

พอมาปีนี้เราก็เลยทำอะไรให้มันชัด ๆ ดูง่าย ๆ พร้อมกับไม่ตั้งความหวังแล้วว่าใครจะคิดตามได้หรือไม่ได้ เพราะการคิดว่าคนดูบ้านเราจะเป็น active ก็ดูจะคาดหวังมากเกินไป (ผลที่ออกมาคนก็เม้ามอยกันใหญ่ ฮา ๆ แต่มันเป็นเรื่องธรรมดา)

สิ่งที่จะเอามาให้อ่านนี้ เป็นสคริปท์งานปีที่แล้ว ซึ่งคิดกันเยอะมากทีเดียว หวังว่าทุกท่านที่ดูคลิปแล้วไม่เข้าใจ หรือยังมีข้อสงสัยจากสองปีก่อนจะเห็นประเด็นชัดมากขึ้นนะครับ


------------------------------


Concept & Script by Shirt 44

คณะการสื่อสารมวลชนได้ส่ง “การแสดงไคลแมก” เข่าร่วมในกิจกรรมงาน “Sport Days” ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) มาแล้ว 2 ครั้ง คือในปี 2549 และ 2550 โดยมีหลักการว่า การแสดงไคลแมก ของเราจะต้องมี รูปแบบ (Form) และ/หรือ เนื้อหา (Content) ที่ใหม่และแตกต่างจากของคณะอื่น ๆ และค้นหาเทคนิคในการนำเสนอใหม่ ๆ เสมอ ซึ่งการแสดงไคลแมกของคณะอื่นนั้นมีรูปแบบและเนื้อหารวมถึงเทคนิคที่ซ้ำซากจำเจ จึงตั้งปณิธานไว้ว่าการแสดงไคลแมกของเราจะขอเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสิ่งใหม่ๆ ขึ้นในการทำการแสดงไคลแมกของคณะต่างๆ หรืออย่างน้อยก็ทำให้ผู้ชมฉุกคิดได้ว่า การแสดงไคลแมกสามารถมีความหลากหลายและกว้างไกล ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะแบบเดิม ๆ เช่น เต้น, ต่อตัว, แปลเพจ ฯลฯ อันไม่นำไปสู่การ “คิดสร้างสรรค์” ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการพัฒนามนุษยชาติ

ในปีนี้ ด้วยสถานการณ์ทางการเมืองอยู่ในสภาวะไม่ปกติ นักศึกษามช. ส่วนใหญ่ในฐานะปัญญาชนของสังคมกลับไม่มีการเคลื่อนไหว แสดงความคิดเห็น หรือมีบทบาทกับเหตุการณ์ดังกล่าว จะมีก็เพียงกลุ่มเล็ก ๆ เท่านั้น แสดงถึงความไม่สนใจหรือตระหนักในหน้าที่ แต่สิ่งที่นักศึกษาสนใจกลับเป็นกิจกรรมที่เน้นความบันเทิงเสียมาก ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ การทุ่มเทกำลังกายกำลังใจและเงินทุนให้กับการแสดงของเชียร์ลีดเดอร์และการแสดงไคลแมกในวัน Sport Days

เราในฐานะนักศึกษาวิชาการสื่อสารมวลชน จึงเห็นโอกาสในวัน Sport Days ที่มีนักศึกษามช.จำนวนมากมาชมการแสดง โดยจะใช้สื่อการแสดงไคลแมกให้เป็นประโยชน์ในการช่วยกระตุ้นความคิดและจิตสำนึกของนักศึกษามช. ให้หันมาสนใจและใส่ใจกับเหตุการณ์บ้านเมืองในขณะนี้บ้าง เราไม่ได้คาดหวังว่าเมื่อดูการแสดงของเราจบแล้วจะลุกขึ้นไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มชุมนุนต่าง ๆ แต่เพียงแค่พรุ่งนี้เช้าหยิบหนังสือพิมพ์ขึ้นมาแล้วเริ่มสนใจอ่านข่าวการเมือง (หลังจากอ่านหน้าบันเทิง) และมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างเพื่อนนักศึกษา (หลังพูดคุยเรื่องดารา) ก็พอ

เนื้อหาของการแสดงคือ นักศึกษามช. กำลังหลงอยู่กับความสนุกสนาน ในขณะที่บ้านเมืองกำลังวิกฤตโดยให้ความสนใจเพียงน้อยนิด (เราไม่ได้ต่อต้านกิจกรรมความบันเทิงของ นศ. แต่อยากให้หันมาสนใจสังคมบ้าง)
รูปแบบของการแสดง จะล้อเลียนการแสดงไคลแมกที่เป็นสูตรสำเร็จของการแสดงไคลแมกของ มช. เช่น การเต้นแรง ๆ (ที่ท่าทางสื่อไปในเรื่องเพศ), การเต้นที่มีการยกตัวคู่เต้น (มีอยู่เพียงไม่กี่ท่าและเห็นซ้ำกันหลายคณะและซ้ำกันหลายปี), การต่อตัวของเชียร์ลีดเดอร์ (ที่ดูไม่มีเหตุผลกับการแสดง), การแปลเพจ ฉายไฟฉายใส่กระดาษแก้ว ถืออุปกรณ์ต่างๆ ของสแตนด์เชียร์ (ที่ซ้ำซากและไม่เข้ากับการแสดง) ซึ่งการแสดงที่ดูไร้สาระนี้จะเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการฉายภาพข่าวทางการเมือง

การแสดงไคลแมกของเราจึงจะเสนอออกมาในแนวยั่วล้อกิจกรรมของนักศึกษามช. ที่สนุกสนาน ซึ่งกิจกรรมนั้นๆ ก็จะล้อกับเหตุการณ์บ้านเมืองที่ตึงเครียด อุปลักษณ์ (Metaphor) ของการแสดงนี้คือ เด็ก ๆ ที่เล่นเม็ดกระเทียมเสียงดังเปาะแปะอย่างสนุกสนานอยู่ในเต๊นท์ ท่ามกลางสนามรบที่กำลังประจันบานกันอย่างร้อนระอุ

ตัวอย่างอุปลักษณ์ที่ใช้

- คน ๒ ฝ่าย ที่ชักเย่อกันไปมา ไม่มีใครยอมใครและไม่มีใครแพ้ชนะสักที ซึ่งสะท้อนเหตุการณ์ในขณะนี้ที่ คนแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ซึ่งฝ่ายหนึ่งแน่นอนว่าคือ พันธมิตร ส่วนอีกฝ่าย มีหลายกลุ่ม เช่น นปก. นปช. หรือ รัฐบาล ซึ่งต่างฝ่ายต่างก็เรียกร้องให้อีกฝ่ายทำในสิ่งที่ตนต้องการ แต่ต่างฝ่ายก็ไม่มีใครยอมใคร ซึ่งดำเนินยืดเยื้อ ยื้อยุดกันมาเป็นปีแล้ว

- ผู้หญิงชุดขาวตรงกลางบอบช้ำจาก การฉุดกระชาก รุมทึ้ง เหวี่ยง เล่น จากคน ๒ กลุ่ม ผู้หญิงคนนี้ก็คือผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของกลุ่มทั้ง ๒ นั่นก็คือประเทศ ที่ต้องหยุดชะงักและเสียหาย ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม

- การผูกคอฆ่าตัวตายของหญิงสาว เมื่อเธอกระโดดลงจากเก้าอี้ทุกคนก็ล้มลงหมด(ปรับปรุงเพิ่มเติม) นั่นก็คือ การกระทำของคนสองฝ่าย ที่ทำให้เกิดผลเสียต่อประเทศชาติของตัวเอง ก็เหมือนการฆ่าตัวตายชัดๆ ไม่ว่าสุดท้ายใครจะแพ้-ชนะ แต่ว่าประเทศได้เกิดความเสียหายแล้ว และไม่ว่าจะกลุ่มไหนฝ่ายไหน ทุกคนก็เสียหาย(ตาย) ด้วยกันทั้งหมด




 

Create Date : 28 พฤศจิกายน 2552
4 comments
Last Update : 28 พฤศจิกายน 2552 14:41:39 น.
Counter : 1481 Pageviews.

 

แวะมาทักทายค่ะ

 

โดย: CrackyDong 28 พฤศจิกายน 2552 15:34:34 น.  

 

ไม่ค่อยเข้าใจล่ะดอง
ดูต้องการให้อ่านเฉพาะกลุ่ม

 

โดย: grappa 2 ธันวาคม 2552 12:25:24 น.  

 

ใช้ครับ โพสต์ไว้เผื่อใครได้ดูเข้ามาอ่าน

 

โดย: I will see U in the next life. 2 ธันวาคม 2552 16:12:55 น.  

 

นักศึกษามช. กำลังหลงอยู่กับความสนุกสนาน ในขณะที่บ้านเมืองกำลังวิกฤตโดยให้ความสนใจเพียงน้อยนิด (เราไม่ได้ต่อต้านกิจกรรมความบันเทิงของ นศ. แต่อยากให้หันมาสนใจสังคมบ้าง)


อันนี้เป็นข้อสังเกตที่ดีครับ ขนาดผู้ใหญ่ยังไม่ค่อยสนใจเลย

 

โดย: Johann sebastian Bach 7 ธันวาคม 2552 8:02:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


I will see U in the next life.
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add I will see U in the next life.'s blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.