deeplove
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 14 คน [?]




Group Blog
 
<<
เมษายน 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
7 เมษายน 2551
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add deeplove's blog to your web]
Links
 

 

รู้มั๊ยว่าชื่อเดือนของไทยใครเป็นคนตั้ง






เคยสงสัยมาตลอดว่าชื่อเดือนของไทยเราแต่ละเดือนใครเป็นคนคิดชื่อขึ้น

มา ไม่ว่า มกราคม กุมภาพันธ์ จน ธันวาคม วันนี้ก็เลยได้รู้เมื่อเปิดเวปผู้หญิง

นะคะจึงได้รับคำตอบได้มาว่า สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์

วโรปการ
คือบุคคลที่ตั้งชื่อเดือนเหล่านี้







เริ่มต้นมาจากทรงสนใจและทรงได้ศึกษาเรียนรู้ค้นคว้าเกี่ยวกับปฏิทิน ที่

ปัจจุบันกลายมาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตของคนทุกคน เพราะคนเราต้องอาศัย

ปฏิทินตั้งแต่ลืมตาเกิด ในการดูวัน เวลา นัดหมาย และเป็นสิ่งเตือนความจำ

ในวันสำคัญได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นวันสำคัญทางศาสนา วันสำคัญทาง

โลก กระทั่งวันหยุดต่างๆ


นอกเหนือจากพระราชกรณียกิจในราชการแผ่นดินที่ได้ทรงปฏิบัติจนเกิด

ประโยชน์ต่อแผ่นดินอย่างอเนกอนันต์ในเรื่องของการต่างประเทศแล้ว

สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ สนพระทัยเรื่องของ

โหราศาสตร์
มาตั้งแต่แรก


เมื่อเสด็จไปราชการต่างประเทศในยุโรป ปี 2430 ทรงซื้อหนังสือที่เป็นตำรา

โหราศาสตร์ว่าด้วยสุริยุปราคาจากกรุง เบอร์ลิน
มา 1 เล่ม ภายในเล่มนี้มี

แผนที่ทางสุริยุปราคาอยู่เกือบเต็มทั้งเล่ม


การที่ทรงสนพระทัยในเรื่องโหราศาสตร์นี้ อาจเป็นเพราะทรงได้รับอิทธิพล

ทางความคิดเกี่ยวกับโหราศาสตร์จาก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 4 ซึ่งเป็นพระราชบิดา
ความชำนาญเรื่องโหราศาสตร์ของ สมเด็จฯ

กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ จึงต้องเกี่ยวพันไปกับการตรวจตรา ตรวจสอบ

ดูปฏิทินด้วย เพราะต้องเรียนรู้การคำนวณ วัน เดือน ปี โดยตรง เมื่อต้อง

เกี่ยวข้องกับปฏิทินโดยตรง จึงทำให้เกิดที่มาของชื่อเดือน
ดังที่กล่าวมา


คำว่า "ปฏิทิน" ที่เราใช้ในปัจจุบัน สามารถเขียนได้เป็น "ประติทิน" ภาษา

สันสกฤต หรือ "ประฏิทิน" บาลีแผลง "ประดิทิน" หรือ "ประนินทิน" ก็ได้



การพิมพ์ปฏิทินมีขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ.

2385 ปลายสมัยรัชกาลที่ 3
ขณะนั้นปฏิทินยังคงใช้ตามแบบ "จันทรคติ"

การนับ วัน เดือน ปี ถือการโคจรของดวงจันทร์เป็นหลัก ต่อมาจึงมีวิธีนับวัน

เดือน ปี ตามการหมุนเวียนของโลกรอบดวงอาทิตย์ เรียกว่า "สุริยคติ"


เมืองไทยประกาศใช้ปฏิทินแบบใหม่ตามสุริยคติอย่างเป็นทางราชการใน

สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
แม้เราจะใช้

ปฏิทินตามสุริยคติ แต่ทางจันทรคติเราก็ยังใช้ควบไปด้วย ดังนั้น เมื่อมีการ

เปลี่ยนแปลงจากจันทรคติที่นับตั้งแต่เดือนอ้าย เดือนยี่...ถึง เดือนสิบสอง

มาเป็นแบบสุริยคติ จึงได้มีการกำหนดชื่อเดือนขึ้นมาใหม่โดยสมเด็จฯ

กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงเป็นผู้คิดปฏิทินไทยใช้ตามสุริยคติ ซึ่งนับ

วันและเดือนแบบสากล ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายรัชกาลที่ 5
จากนั้นทรงโปรด

เกล้าฯ ให้ใช้เป็นประเพณีบ้านเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2432 เรียกว่า "เทวะ

ประติทิน"
ที่เป็นต้นแบบปฏิทินไทยในวันนี้


สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงคิดตั้งชื่อเดือนมกราคม ถึง

ธันวาคม ที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน โดยทรงใช้ตำราจักรราศี หรือการโคจรของ

ดาวเคราะห์รอบดวงอาทิตย์ในหนึ่งปี ประกอบด้วย 12 ราศี ตามวิชา

โหราศาสตร์มาใช้กำหนดชื่อเดือนทั้ง 12 เดือน


ทั้งนี้แบ่งเดือนที่มี 30 วัน และเดือนที่มี 31 วัน ให้ชัดเจนด้วยการลงท้าย

เดือนต่างกัน คือ คำว่า "ยน" และ "คม" ส่วนคำนำหน้านั้นมาจากชื่อราศีที่

ปรากฏในช่วงเวลานั้นๆ เป็นวิธีนำคำ 2 คำมา "สมาส" กัน คำต้นเป็นชื่อราศี

คำหลังคือคำว่า "อาคม" และ "อายน" แปลว่า "การมาถึง"


อีกทั้งกำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ของไทย คือเดือนเมษายน เดือน 4 ทาง

สุริยคติ แต่เป็นเดือน 5 ทางจันทรคติ ใช้มาจนถึง พ.ศ. 2483 จากนั้นวัน

ที่ 1 มกราคม 2484 จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่แบบสากลนิยมปีแรกของไทยใน

สมัยรัชกาลที่ 6 และทรงใช้คำว่า "ปฏิทิน" แทน "ประติทิน"
มาโดยตลอด

ลงไว้ในประกาศวิธีนับวัน เดือน ปี ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455


สำหรับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ผู้นี้ ใน

หนังสือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ โดย

วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย บอกเล่าไว้อย่างละเอียด แต่ขอสรุปมาเล่าต่ออย่าง

คร่าวๆ คือทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 4 กับ สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา
โดยทรงเป็นพระราช

โอรสลำดับที่ 42 ในรัชกาลที่ 4 ส่วนสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา

นั้นเดิมคือเจ้าจอมมารดาเปี่ยม เกิดในสกุลสุจริตกุล เป็นธิดาของหลวงอาสา

สำแดง และท้าวสุจริตธำรง (นาค) ซึ่งเป็นต้นราชนิกุล "สุจริตกุล" ได้รับ

สถาปนาเป็นเจ้าคุณจอมมารดาในสมัยรัชกาลที่ 5 และได้รับสถาปนาพระอัฐิ

เป็น "สมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา" ในรัชกาลที่ 6


สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงมีพระนามเดิม

ว่า "พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงษ" ประสูติในพระบรมมหาราชวัง เมื่อวันเสาร์

ที่ 27 พฤศจิกายน ปีมะเมีย พ.ศ. 2401 เมื่อทรงพระเยาว์ทรงได้รับการ

ศึกษาแรกเริ่มเยี่ยงลูกหลานเจ้านายทั่วไป โดยศึกษาขั้นต้นเขียน อ่านภาษา

ไทยในสำนัก พระองค์เจ้าหญิงมณี และพระองค์เจ้าหญิงกฤษณา (พระเจ้า

ลูกเธอในรัชกาลที่ 3) ทรงศึกษาภาษามคธ แล้วเข้าชั้นมัธยมศึกษาใน

สำนัก พระยาปริยัติธรรมธาดา (เปี่ยม) จนกระทั่งโสกันต์ จึงผนวชเป็น

สามเณร ไปประทับอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงศึกษาพระธรรมวินัยในสำนัก

สมเด็จกรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงเล่าเรียนภาษาอังกฤษที่โรงเรียน

หลวง ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งขึ้นภายในกรม

ทหารมหาดเล็ก ในพระบรมมหาราชวัง กระทั่งลาผนวช และเข้ารับราชการ


สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ทรงมีคุณูปการอย่างล้นเหลือต่อชาติ

บ้านเมือง ทรงบริหารราชการแผ่นดินถึง 3 รัชกาล จากรัชกาลที่ 4 ถึงรัชกาล

ที่ 6 ด้วยพระปรีชาสามารถ สุขุมคัมภีรภาพ ทรงเป็นแบบฉบับแห่งข้าแผ่นดิน

ผู้เทิดทูนองค์พระมหากษัตริย์ไว้ตลอดพระชนม์ชีพ


ทรงเป็นพระบิดาแห่งการต่างประเทศของไทย ทรงดำรงหลายตำแหน่งที่

สำคัญทางราชการ และทรงมีบทบาทสำคัญด้านการทูต เป็นผู้เจรจาข้อ

พิพาทกับฝรั่งเศส ครั้งวิกฤต ร.ศ. 112 ทรงมีพระอัจฉริยภาพในงานพระ

นิพนธ์หนังสือหลายเล่ม


เพื่อเป็นการสดุดีและถวายพระเกียรติคุณ สมเด็จฯ กรมพระยาเทวะวงศ์

วโรปการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้บูรณะตำหนักใหญ่ วังเทวะเวสม์

ไว้เป็นมรดกทางด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์แก่แผ่นดินและเป็นแหล่ง

เรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของไทย






จากบทความเรื่อง "กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ ผู้ตั้งชื่อเดือนของไทย" โดย สุชาฎา ประพันธ์วงศ์








ฉันอยู่ตรงนี้

ปู - ลานนา



จะอยู่ตรงนี้ ถ้าเธอต้องการ

ถ้าเผื่อทางนั้น ทำเธอหมองหม่น

เห็นเธอเสีย ความรู้สึก

ฉันที่รัก เธอกว่าทุกคน ก็ เสียใจ


หากคำว่ารัก มันร้าย กับเธอ มากไป...

บอกมาได้ไหม ให้ฉัน ช่วยซับน้ำตา..

ส่งใจช้ำๆ ของเธอมา ฉันจะรักษา มันด้วยรักจริง


ไม่ได้เคยคิด จะแทนที่ใคร

แต่ถ้าคนไหน ทำเธอทุกข์ทน

ฉันคนนี้ ก็มีสิทธิ์

ฉันก็รัก เธออยู่ทั้งคน หมดทั้งใจ


หากคำว่ารัก มันร้าย กับเธอ มากไป...

บอกมาได้ไหม ให้ฉัน ช่วยซับ น้ำตา...

ส่งใจช้ำๆ ของเธอมา ฉันจะรักษา มันด้วยรักจริง

(ด้วยหัวใจ ที่ เหมือนเดิม)


หากคำว่ารัก มันร้าย กับเธอ มากไป...

บอกมาได้ไหม ให้ฉัน ช่วยซับน้ำตา...

ส่งใจช้ำๆ ของเธอมา ฉันจะรักษา มันด้วยรักจริง


หากคำว่ารัก มันร้าย กับเธอ มากไป...

บอกมาได้ไหม ให้ฉัน ช่วยซับ น้ำตา...

ส่งใจช้ำๆ ของเธอมา ฉันจะรักษามันด้วยรักจริง

(ด้วยหัวใจที่เหมือนเดิม)


ถ้าเธอ มีน้ำตา ถ้าเธอ ต้องช้ำใจ ฉันอยู่ตรงนี้..








 

Create Date : 07 เมษายน 2551
5 comments
Last Update : 7 เมษายน 2551 20:01:18 น.
Counter : 716 Pageviews.

 

มาเก็บความรู้ค่ะ

 

โดย: gluhp 7 เมษายน 2551 12:52:05 น.  

 

ได้ความรู้เยอะเลยค่ะวันนี้

 

โดย: มัยดีนาห์ 7 เมษายน 2551 16:43:07 น.  

 

ได้ความรู้เพิ่มขึ้นอีกแล้วคับ
เรื่องนี้ผมไม่เคยได้รู้มาก่อนเลยนะเนี่ย
ขอบคุณนะคับ ได้ความรู้ดีๆ ที่เป็นความภูมิใจของไทยเราอีก 1 เรื่อง อิอิ
รักนะคับ

 

โดย: AquiraX IP: 58.8.143.63 7 เมษายน 2551 17:15:52 น.  

 

 

โดย: CrackyDong 7 เมษายน 2551 19:26:59 น.  

 

เพิ่งทราบครับ

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ

 

โดย: กระต่ายไม่ขูดมะพร้าว 7 เมษายน 2551 21:10:44 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.