มรดกอะไรที่เหลือไว้ในประวัติศาสตร์ คณะราษฏร ในปัจจุบัน





- ประชาธิปไตย ..... ปัจจุบันจนถึงอนาคต บ้านเมืองไม่ได้มีวี่แววที่จะกลับมาเป็นประชาธิปไตย (ประชาธิปไตยตามหลักสากล บ้านเมืองที่เอาประชาชนเป็นที่ตั้งและมีส่วนร่วมทุกกระบวนการเมืองหลัก)

- รัฐธรรมนูญ ที่มาจากประชาชน ..... รัฐธรรมนูญ 60 ประชาชนไม่ใช่แค่มีส่วนในการร่าง แต่รัฐธรรมนูญปัจจุบันประชาชนไม่ได้ส่วนรับรู้อะไรเกี่ยวรายละเอียดชัดเจนของรัฐธรรมนูญ (รัฐธรรมนูญประชาชนที่สุดคือรัฐธรรมนูญปี 2540 )

- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ยุคอธิการมหาวิทยาลัยคนปัจจุบัน ก็แทบบ่งชี้ ไม่ใช่เป็นมหาวิยาลัยตั้งเพื่อโอกาสการศึกษาของประชาชน(ทุกชนชั้น) ตาม ผู้ประศาสน์การก่อตั้ง ปรีดี พนมยงค์ (แค่เงินค่าสอบ (แค่เงินค่าธรรมเนียมวัดผลภาษาอังกฤษ TU GET คนจนก็สอบเข้าลำบาก)

- ปักหมุด 2475 ก็ถูกเปลี่ยนไพรฟ้าหน้าใสอันเป็นประกาศใหม่ ปักหมุดเก่าสูญหายโดยไม่มีใครรับผิดชอบ

- อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย (ปราบกบฏ) หลักสี่ สัญลักษณ์แห่งชัยชนะแบบเด็ดขาดสุด สำหรับการปราบกบฏบวรเดช(กบฏเจ้า) ถูกทำถนนตัดไป - มา จนถูกย้ายไปในที่สุด

ชนรุ่นหลังก็แทบไม่ได้มีความสัมพันธ์หรือความรู้สึกเกี่ยวข้องอะไรจากคณะราษฏร
1 สืบเนื่องไม่ปรากฏเนื้อหารายละเอียดเด่นชัดในเนื้อหาการเรียน ในการศึกษาภาคบังคับ (แค่หลักการ 6 ประการที่มาของอภิวัฒน์สยาม 2475 คนไทยยังไม่รู้เลย)
2. สืบเนื่องจากวาทกรรมข้อมูลที่ว่า ประเทศไทยไม่พร้อมเป็นประชาธิปไตย คนไทยยังไม่ได้รับการศึกษาเพียงพอสำหรับระบบประชาธิปไตย คนไทยก็นั่งท่องประโยคนี้ที่ดูถูกตนเอง จำว่าเราไม่พร้อม คณะราษฏรเป็นหลุมดำของระบบ แล้วไม่รู้ว่าความพร้อมอยู่ตรงไหน แล้วประเทศที่เข้าสู่ประชาธิปไตย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมัน ก่อนเริ่มประชาธิปไตย เขามีความพร้อมหรือ ทุกประเทศมีกระบวนการเรียนรู้

ดุสิตธานีไม่ใช่เมืองจำลองการเรียนรู้ แต่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ที่อาจารย์ปรีดี ตั้งเป็นการเปิดโอกาสการศึกษา ทำให้กระบวนการเรียนรู้ แต่คนไทยบางกลุ่มก็สามารถหมุนเข็มนาฬิกาย้อนกลับหลัง เหมือนทุกสิงที่คณะราษฏรทำดำรงอยู่ไม่มีอยู่จริง เหตุที่มาของการที่คนไทยไม่เคยรักในประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญ ทั้งที่สิ่งเหล่านี้คือสิ่งทำให้เรามีิสิทธิ เสรีภาพ และเสมอภาคขึ้น...




 

Create Date : 15 เมษายน 2560   
Last Update : 15 เมษายน 2560 21:50:10 น.   
Counter : 1433 Pageviews.  


บทสรุป 7 ประการ มาตรา 44 กับ ธรรมกาย..



23 วัน ม. 44 ล้อมธรรมกาย คุณได้อะไรจากกิจกรรม หลังจากยุติ เพราะ UN เข้ามาพบเพื่อการกระทำนั้น สรุปให้เป็นประเด็น 7 ประเด็นหลักที่ได้ดังต่อไปนี้

1. ผลาญงบประมาณ ตัดหัวคิวข้าวกล่อง (ตอนหลังละอายใจตัดจาก 80 บาท เหลือ 60)

2. สังเวย 2 ชีวิตภายใต้มาตรา 44 แบบจบแบบปาหมอนทุกครั้ง ที่มีประเด็นกรณีธรรมกายขึ้นมา

3. ไม่ได้มีข้อมูลหรือข่าวเพิ่มเติม สุดท้ายแล้วธัมชโยอยู่ไหน จบแบบ ถอดสมณศักดิ์ ธัมชโย และ ทัตตชีโว เรียกพระแกนนำสำนักแจ้งข้อหา ซ้ำคดีให้พระในวัดธรรมกายเป็นสิบๆคดี ทั้งที่หัวเรื่อง คือเงินมิชอบของสหกรณ์ยูเนียน แทนจะไปล่เบี้ยเอาเงินคืนให้ประชาชนที่เจอโกง เพราะ ธรรมกายคืนเงินแล้วเหลือแต่คดีอาญา กลับไปไล่จับธัมชโยที่รับเงินบริจาคพร้อมคืนเงินนั้นแล้ว

4. ความลำบากการใช้ชีวิตของชาวพื้นที่คลองหลวง ตลอด 23 วันภายใต้ ม. 44

5.สาวกธรรมกายนั่งสวดธรรมจักรกัปปวัฒนสูตร 30 ล้านจบ เพิ่มความศรัทธาของเหล่าสาวกธรรมกายมากขึ้น (จากบทธรรมคำสอนตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า กลายเป็นบทสวดไล่มาร DSI กับ คสช)

6. ประดิษฐคำ"พุทธแท้"ขึ้นมา จากผู้ต่อต้านธรรมกาย เพื่อกีดกัน แตกแยกในความศรัทธาศาสนาพุทธ พร้อมเสียงเย้ยหยันแกนหลักฝ่ายตนเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ จากการล้มเลิกตรวจค้นวัดธรรมกาย

7. ประชาชนรากหญ้า หาเช้ากินค่ำ มองตาดำ กระพริบตาปริบๆ มองรัฐผลาญงบจัดทัพรบวัดธรรมกายวัดเดียวเป็นเรื่องราว แถมมีจุดประเด็นก่อนถอนทัพ จะขึ้นภาษี เพื่อเอาเงินไปสนองสิ่งที่ประชาชนเรียกร้อง (ทั้งตลอดระยะเวลารัฐบาลเข้ามาเน้นตัดสวัสดิการเป็นหลัก) ก่อนพลิกคืนคำไม่ขึ้นภาษี แต่ประชาชนที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ มองรัฐบาลนี้สนองแก้ปัญหาปากท้อง จากกิจกรรมรัฐรบธรรมกาย จับธัมชโยคนเดียว




 

Create Date : 12 มีนาคม 2560   
Last Update : 12 มีนาคม 2560 14:41:36 น.   
Counter : 840 Pageviews.  


ธรรมกาย ทรัพย์สมบัติ อุดมการณ์ และอภิสิทธิชน



  ตอนนี้กรณีธรรมกายถูกเปรียบในหลายกรณี เช่น กรณีเสื้อแดง ราชประสงค์ 53 รัฐใช้กำลังปราบปรามอย่างหนักเด็ดขาด ฟาหลุนกง ของจีน ลัทธิความเชื่ออันเป็นภัยความมงคลที่รัฐจีนไล่กวาดล้างถอนรากถอนโคก หรือกบฏผีบุญ กบฏ ผู้นำมีบุญญาธิการที่พยายามเป็นผู้ปกครองดินแดนส่วนหนึ่งในภาคอีสานของไทยในอดีต....


ในความเห็นไม่ใช่ทั้ง 3 กรณี อย่างแรก ธรรมกายเป็นพื้นที่อิสระ ปกครองตนเอง มีอภิสิทธิเอง โดยมีชนชั้นนำและอำนาจรัฐหนุนมานาน ในแง่พื้นที่ของวัด จึงเป็นพื้นที่ภายใต้อำนาจของธรรมกายมานาน ฉะนั้นจึงไม่ใช่กบฏ หรือเรียกร้องอำนาจเพิ่มตนของสถาบันตนเอง แต่กำลังถูกรัฐทำลายกำจัดอำนาจรัฐเหล่านั้น


อย่างที่สอง ถ้าจะพูดแบบไม่อ้อมค้อม ตรงไปตรงมา เป้าประสงค์ของรัฐในเรื่องธรรมกาย ไม่ใช่การจับธัมชโย (ยืนยันมอบตัวแล้วไม่จบ) ไม่ใช่แนวคิดฐานคติความเชื่อทางพุทธศาสนา (การต่อบุญด้วยการทำทานทรัพย์ มีเต็มไปหมดในเกือบทุกวัดในไทย แค่ธรรมกายสร้างนวัตกรรมบุญทางการเงินขึ้นมาได้)



แต่สิ่งที่รัฐต้องการควบรวมทรัพย์สินและกิจการของธรรมกาย ตรงนี้น่าสนใจ ต่อให้เข้าไปบริหารจัดการกิจการวัดธรรมกายที่คลองหลวงได้ แต่ธุรกรรมต่างๆ คงไปควบรวมจัดการเองหมดยาก ทั้งกิจการสาขาที่ต่างประเทศ และส่วนของเงินต่างๆ ที่ถูกแยกบัญชีอย่างเป็นระบบ เพราะธรรมกายเต็มไปด้วยตัวบริหาร (1 ใน 5 เสือ เป็นนักการเงิน) ทีมงาน และ กลุ่มลูกศิษย์ที่เป็นนักการเงินและนักบริหารธุรกิจ ธรรมกายคือกิจการไม่มีปีประกอบการขาดทุน เคยมีปัญหาเรื่องทรัพย์สิน กรณีธัมชโย โอนที่ดินบริจาคเป็นของตนเอง ฉะนั้นการแยกบัญชีรายได้ต่างๆ คงไม่รวมศูนย์ที่เดียว แต่ถึงอย่างไร แค่ยึดกิจการวัดที่คลองหลวงได้เงินสูง แต่คงดำเนินกิจการต่อไม่ได้ เพราะทำลายองค์กรและฐานลูกค้า


ฉะนั้นธรรมกายจึงไม่เข้าข่ายทั้งเสื้อแดง 53 ฟาหลุนกงในจีน กบฏผีบุญในอดีต จากสองเหตุผลที่ยกมา แต่ศึกธรรมกายจะรุนแรงขึ้น แม้รัฐจะชนะ ยึดวัดได้ แต่นำมาซึ่งความอ่อนแอของรัฐทหาร อันอ่อนแออยู่แล้ว จากความล้มเหลวการบริหาร และปัญหาคอรัปชัน งานนี้จึงยังเป็นปริศนาว่า เผาที่นา จับหนูตัวเดียว จะคุ้มหรือไม่ สิ่งที่ได้มา....




 

Create Date : 26 กุมภาพันธ์ 2560   
Last Update : 26 กุมภาพันธ์ 2560 7:47:47 น.   
Counter : 921 Pageviews.  


วุ่นวายหนอ...ธรรมกาย...



ธรรมกายแสดงภาพสะท้อนของสังคมที่ซับซ้อนวุ่นวายของไทยในปัจจุบัน...

ธรรมกายนำเสนอความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่าง ศาสนา รัฐ อำนาจ ทุน มวลชน การเมือง และอื่นๆ

ธรรมกายตัวแทนทุนนิยมในศาสนา ที่ขายสินค้าความเชื่อ มีความอุปถัมภ์สัมพันธ์เชื่อมโยงที่ดีกับมหาเถรสมาคม

แต่ในตรงข้าม ธรรมกาย ถูกนำเสนอ ในฐานะลัทธิบิดเบือนคำสอน เพื่อระดมทุนทางความเชื่อ สร้างอาณาจักรธุรกิจ เป็นภัยต่อความมั่นคง

ธรรมกายจึงถูกตั้งคำถาม เหตุใดธรรมกายจึงถูกเลือกปฏิบัติในสังคมสองมาตรฐาน ทั้งที่มีหน่วยอื่นที่เกี่ยวข้องศาสนาพุทธไม่ต่างธรรมกายอีกมาก ทำไมต้องคดีเน้นชี้มูลความผิดจุดเล็ก แต่ขยายปฏิบัติการอย่างใหญ่โต

แต่ธรรมกายก็ลืมไป ธรรมกายดำเนินมาตลอด ก็ต่างจากหน่วยอื่น ทั้งระบบอภิสิทธิ (ปิดถนน เดินบิณฑบาตรบนดอกไม้) ธรรมกายอ้างอำนาจ มวลชน อ้างความสัมพันธ์อิงแอบอุปถัมภ์ ธรรมกายจึงแตกต่างจากหน่วยอื่น เพราะธรรมกายสร้างความพิเศษและโดดเด่น (ภาษาช้าวบ้าน ความหมั่นไส้ )

เมื่อดูการพยายามจัดการธรรมกายของรัฐ ที่พยายามระดมพลบุกจับผู้นำ แต่มันไม่ง่ายเหมือนกวาดล้าง ม็อบชาวบ้านบนถนน เพราะธรรมกายมีที่ตั้ง อยู่ในพื้นที่อันกว้างใหญ่ มีมวลชนผู้สูงอายุใส่เสื้อขาว นั่งสวดมนต์เป็นกำแพงมนุษย์ มีพระใส่จีวรล้อมในวงชั้นใน ทั้งเสื้อขาวและจีวรเหลืองเหล่านั้น เป็นสัญลักษณ์ความหมายความบริสุทธิและศักดิ์สิทธิในสังคมไทย

ภาพยนต์ระหว่างรัฐกับธรรมกายจึงเปรียบเหมือนมหากาพย์ไม่จบสิ้น เริ่มต้นระดมกำลังสงคราม จบด้วยการปาหมอน วนไปวนมา เปรียบสังคมไทยที่ไม่มีคำตอบ ชัดเจนของทางออก




 

Create Date : 14 ธันวาคม 2559   
Last Update : 14 ธันวาคม 2559 16:27:34 น.   
Counter : 1026 Pageviews.  


6 ตุลาคม กับสังคมไทย



ปีนี้เป็นปีที่ผมมีความรู้สึกสัมพันธ์ร่วมกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม มากกว่าทุกปี หรือจะเรียกว่า ปีแรกเลยที่หันมาสนใจ 6 ตุลาอย่างจริงจัง ตลอด 2 สัปดาห์ ทั้งอ่านบทความ และฟังเหล่านักวิชาการต่างๆ เกี่ยวกับ 6 ตุลาคม โดยเฉพาะ 2 อดีตนักศึกษาแกนนำ 6 ตุลา อย่าง อาจารย์ ธงชัย วินิจจะกูล และ อาจารย์สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล จึงสามารถสรุปประเด็น ต่างๆ ดังนี้

1. การรับรู้และตีความ 6 ตุลา แม้จะเป็นผู้ร่วมอุดมการณ์ หรือ ร่วมเหตุการณ์เดียวกัน แต่ย่อมมีการตีความ และแปลความหมายต่างกัน ตัวอย่าง 2 เพื่อนรักที่บทบาทสำคัญใน 6 ตุลา ทั้ง ธงชัย วินิจจะกูล และ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ทัั้งสองมีฐานและคำตอบที่ตอบโจทย์ 6 ตุลาที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงไม่แปลก คนเดือนตุลา หลายคน จากซ้าย จึงกลายแกนหลักความคิดทางขวา

ก่อนหน้านี้หนึ่งคำถามที่ถามมาตลอด ปรากฏการณ์แปลกของคนเดือนตุลา ที่มีประสบการณ์เจอรัฐล้อมปราบ จนเป็นโศกนาฏกรรม นำไปสู่เหตุการณ์หนีเข้าป่า เหตุใด คนเดือนตุลาบางส่วน จึงกลายเป็นแกนหลักกระบวนการคิดทางขวาจัดของอนุรักษ์นิยมในปัจจุบัน จนปีนี้จึงมาทำความเข้าใจ 6 ตุลาอย่างเข้มข้น จึงเข้าใจว่า การรับรู้และตีความ 6 ตุลาของแต่ละคนของเหล่าคนเดือนตุลาต่างกัน เลยส่งผลให้เกิดการยืนคนละฝ่ายของคนเดือนตุลาในปัจจุบันตลอดภายในช่วงเวลาวิกฤติตลอด 10 ปีที่ผ่าน

2. อนึ่งการสนใจ 6 ตุลาปีนี้ แน่นอนย่อมมาจากวิฤติการณ์ประเทศในปัจจุบัน ทำให้เราต้องย้อนกงล้อประวัติศาสตร์กลับไป ณ จุดที่ 6 ตุลา เพื่อหาแบบจำลอง ว่าสังคมไทยมีวิธีบริหารจัดการความขัดแย้งอย่างไร การสิ้นสุดของรัฐบาลฝ่ายขวาอำนาจนิยมใช้เวลาเท่าใด ระยะเวลาประชาธิปไตยจะกลับฟื้นตัวอีกเมื่อใด อย่างไรก็ตามความเหมือนและความต่างจากการเทียบช่วงเวลาอดีตและปัจจุบัน ย่อมอาจให้คำตอบไม่เหมือนกัน เชิงนัยยะ คนเดือนตุลาไม่ได้มีฐานอุดมการณ์เดียวกันแต่ต้น เป็นเพียงปรากฏการณ์เหตุการณ์ทำให้เกิดขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ดังเช่นทุกขบวนการเคลื่อนทางการเมือง พฤษภาทมิฬ / วิกฤติ 49 /พฤษภา 53 / ชัตดาวน์ กรุงเทพ 57 ล้วนก็มาจากเหตุการณ์ปรากฏการณ์การเมือง ไม่ใช่จากฐานคิดอุดมการณื

แต่สิ่งหนึ่งเราแน่ใจคือ สังคมไทยไม่ได้มีวิธีจัดการปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างแบบสังคมมีวุฒิภาวะแบบตะวันตก แต่เพียงใช้วิธีรูปแบบเดิมคือการใช้อำนาจนิยมกด พยายามกลบข้อมูลและความจริงให้กลุ่มชนชั้นนำ เพียงเชื่อว่าชนชั้นนำอยู่ได้ สังคมไทยจึงอยู่ได้ ดังนั้นสังคมไทยไม่เคยอยู่บนพื้นฐานคนเท่ากันมาตลอดในประวัติศาสตร์จนถึงทุกวันนี้ เป็นสังคมชนชั้นที่แบ่งแยวรรณะโดยใช้ต้นทุนสังคมที่เรียกว่า บุญวาสนา ตามแนวคิดพราหมณ์ฉาบด้วยพุทธ แต่การเปรียบเทียบกรณี 6 ตุลากับกรณีศึกษาปัจจุบัน แยกประเด็นดังนี้

2.1 6 ตุลา กับ พฤษภา 53 นี้เป็นเหตุการณ์คู่ขนานที่มักถูกใช้ศึกษาเป็นกรณีศึกษาประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ จุดประเด็นเปรียบที่เหมือนกัน คือ นักศึกษา กับ เสื้อแดง / แขวนคอ กับ เผาบ้านเผาเมือง นำมาสู่เหตุการณ์ล้อมปราบ มีการสังหารหมู่ขึ้นในพื้นที่เมืองขึ้น หลังเหตุการณ์ทั้งสองเหตุการณ์ สังคมกระแสหลักไม่ได้ต้องการจะพูดถึงเหตุการณ์นั้น ที่แน่นอนคือ ผู้ที่เสียชีวิตทั้งสองเหตุการณ์คงไม่มีวันได้รับการยอมรับความเป็นธรรมแน่นอน สิ่งทีน่าสนใจจากอาจารย์ธงชัย คือการบ่งชี้ข้อมูลว่า ญาติส่วนใหญ่ของผู้เสียชีวิต 6 ตุลา ไม่อยากจะพูดถึงหรือเกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ จึงเป็นเหตุการณ์ "ลืมยาก แต่ไม่อยากจำ" กรณี พฤษภา 53 แม้มีกระบวนการที่ญาติหรือผู้เกี่ยวข้องผู้เสียชีวิต ทั้งในและต่างประเทศ พยายามสร้างกระบวนการเพื่อให้เกิดความรับผิดชอบ แต่อย่างไรก็ตามก็บ่งชี้ว่ากระบวนการที่เกิดขึ้นเป็นเพียงกระแสรองแบบหยิบย่อยในสังคม ห่างไกลจากเป้าหมายที่ต้องการ อันนี้ผมมีความเห็นสอดคล้องกับอาจารย์ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลจึงสรุปว่า 40 ปี 6 ตุลา ประเทศไทยมีพัฒนาขึ้น แต่เล็กน้อยมากไม่มีนัยยะสำคัญ ฉะนั้นเป้าหมายของการที่สังคมไทยจะไปถึงจุดภราดรภาพนี้เป็นสิ่งที่ยาก จุดเริ่มต้นคงต้องทำให้สังคมไทยเป็น "สังคมเห็นหัวคน" (โดยเฉพาะกลุ่มคนชายขอบ) ก่อนจะไปถึงระดับสังคม "คนเท่ากัน"

3. หลังจากนี้จากกรณีศึกษา 6 ตุลา อะไรจะสามารถนำมาเรียนรู้สำหรับคำตอบปัญหาในสังคมปัจจุบัน เมื่อพิจารณาปัญหาความขัดแย้งในสังคมปัจจุบัน มีความเป็นเชิงซ้อนของปัญหา การขยายตัวแยกฝ่ายความขัดแย้งมากกว่า หลัง 6 ตุลา เหตุการณ์เข้าป่า เป็นเพียงกลุ่มย่อยของสังคม ที่ถูกบีบให้เป็นคนชายขอบกลุ่มย่อย ก่อน พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ใช้นโยบาย 66/23 เรียก คนตุลากลับเข้าเมือง (จาก 19 ถึง 23 เป็นระยะเวลา 6 ปี) แต่เมื่อพิจารณาปัจจุบัน กลุ่มคนที่ถูกบีบให้เป็นชายขอบ ไม่ได้หนีเข้าป่า แต่อยู่ในสังคมทั่วไป แถมมีฐานมวลชนที่จำนวนมหาศาล สำหรับปัจจัยจำนวนนัยสำคัญ ที่ทำให้พรรคการเมืองที่ฝ่ายอนุรักษ์นิยม ไม่ต้องการ ชนะเลือกตั้ง ช่วงสองสามเดือนนี้ มีการเสนอทางสถาปัตยกรรมทางสังคม ให้สร้างฉันทามติสังคมหลักขึ้นมาก

แต่อย่างไรก็ตามจากข้อสรุปที่ผมเสนอจากข้อที่ 2 เหตุการณ์ขัดแย้งทางการเมืองไทย มาจากมายาคติปรากฏการณ์การเมือง ที่นำมาสู่ความเชื่อคนละด้าน จากการเสพข้อมูลที่ไม่เหมือนกัน ไม่ใช่ฐานคิดอุดมการณ์คิดที่ต่างกัน การที่เราจะไปสู่ฉันทามติแบบสังคมอารยะแบบตะวันตก สหรัฐอเมริกา หรือ เยอรมัน หลังยุค นาซี จึงเป็นไปแทบไม่ได้ ยิ่งพื้นฐานประกอบขึ้นมาจากสภาพแวดล้อมและการศึกษาของสังคมไทย ห่างไกลจากระบบหลักการและเหตุผล แต่ถ้าเราเชื่อว่าสังคมไทยมีการเรียนรู้ กระบวนการเรียนรู้มีอยู่จริง คงอาจมีความหวังสู่การเปลี่ยนแปลงนำสู่สังคมภราดรภาพ หรือ คนเท่ากัน เหตุการณ์ 6 ตุลา หรือ พฤษภา 53 ก็จะไม่เกิดซ้ำอีก...




 

Create Date : 06 ตุลาคม 2559   
Last Update : 6 ตุลาคม 2559 20:07:22 น.   
Counter : 1062 Pageviews.  


1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  

still solo one
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add still solo one's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com