เมื่อต้นทุนภายในแท้จริงขก่อเกิดวิกฤติทุนนิยม คือความโลภของมนุษย์

จุดเริ่มต้นในการใช้จิตภายในเป็นแรงขับก่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเริ่มจาก Adam Smith ใช้การอธิบายศาสตร์แห่งแรงจูงใจและการแพร่กระจายทางแนวความคิด โดยความรู้คือผลิตผลของจิตใต้สำนึก โดยจิตประกอบด้วยส่วนสำคัญ ทั้งประสบการณ์และตรรกเหตุผล จิตวิทยาจะอ้างอิงทัศนคติความรู้สึกแทนเหตุผล แต่ทั้งสองสามารถประกอบกัน เช่น การพัฒนาการความนึกคิดจิตใจ ทัศนคติความรู้สึกอาจแตกต่างในหลายทาง การเชื่อในพื้นฐานธรรมชาติมนุษย์

ซึ่งต่อมาถูกต่อยอดโดยแต่ของ Keynes การตัดสินใจจะอิงกับมูลค่าสินทรัพย์และต้นทุนการตัดสินใจ เพราะข้อมูลความรู้ไม่เพียงพอต่อการทำการตัดสินใจ ซึ่งมันมาจากสัญชาติญาณ พฤติกรรมการลงทุนไม่สามารถตัดสินจากการคำนวณแบบมีเหตุผล ถ้าความรู้ข้อมูลอ้างอิงกับอนาคตซึ่งไม่แน่นอน โดยส่วนใหญ่พฤติกรรมที่เป็นบวกเกิดจากทัศนคติที่มองโลกในแง่ดีแทนผลคาดหวังจากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ หรือจะกล่าวมนุษย์เลือกเชื่อความรู้สึกและความต้องการภายใน มากกว่าการคำนวณผลที่ประกอบการที่เป็นไปไดในอนาคต

แล้วนักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญที่สามารถผสานจิตวิทยาเข้ากับวิกฤติทุนนิยมได้อย่างเนียนแท้จนทุกคนต้องกลับอ้างแนวคิดเขาในตอนนี้สำหรับวิฏตเศรษฐกิจ ปัจจุบัน คือ Minsky ได้แรงบันดาลใจจาก Keynes มาศึกษาต่อ ในการร่วมเศรษฐศาสตร์ และจิตวิทยาเข้าด้วยกัน โดยพบว่านวัตกรรมการเงินจะกระตุ้นทางจิตวิทยาเพื่อความไร้เสถียรภาพทางการเงิน

หลักของ Minsky บอกว่าการเกิดวิกฤตการณ์ในระบบทุนนิยมอันมีจุดเริ่มมาจากการเก็งกำไรที่ร้อนแรงนั้นถือเป็นต้นทุนของระบบเลยทีเดียวที่สำคัญคือไม่ได้เกิดจากปัจจัยภายนอกหากแต่เป็นธรรมชาติของระบบ Minsky อธิบายหลักการ2 ข้อของวิกฤตการณ์ในระบบทุนนิยม

1) นำเสนอว่าการที่เศรษฐกิจโตอย่างต่อเนื่องนานๆ ทำให้คนกล้าเสี่ยงมากขึ้น

2) เมื่อคนจำนวนมากได้ลงทุนแบบเสี่ยงแล้วความผิดพลาดในการเก็งกำไรเล็กๆ น้อยๆ ของบุคคลหลายคนจะสร้างผลกระทบใหญ่ต่อระบบ

Minsky จึงสรุปความไร้เสถียรภาพทางการเงิน (Financial Instability) เกี่ยวข้องกับวงจรการเงินโดยในพื้นฐานประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหมุนเวียน ดังนี้
ขั้นแรกเรียกว่า Displacement เกิดขึ้นเมื่อนักลงทุนเกิดตื่นเต้นครั้งใหญ่กับบางสิ่งใหม่ เช่น ประดิษฐกรรม เช่น อินเตอร์เน็ต หรือสงคราม หรือการเปลี่ยนแปลงของนโยบายรัฐบาลจากเดิมอย่างแจ้งชัด เป็นต้น
ขั้นตอนที่สองคือ Boom นักลงทุนกู้ยืมมาลงทุนกันครั้งใหญ่ เพื่อหวังผลตอบแทนสูง
ขั้นตอนที่สามคือ Euphoria นักลงทุนเกิดความรู้สึกสุดปลื้ม ผ่อนคลายอย่างมาก นายธนาคารให้กู้ยืมไปทั่ว แม้แต่คนที่ไม่สมควรได้กู้สร้างเครื่องมือทางการเงินใหม่ขึ้นมาเพื่อเพิ่มสินเชื่อ (เช่น ตราสารหนี้แบบใหม่ที่มีการให้กู้ยืมซ้ำบน หลักทรัพย์เดิม securitization หรือการใช้รายได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตมาเป็นหลักทรัพย์กู้ยืมได้) เกิดการเก็งกำไรครั้งใหญ่ขึ้น
ขั้นตอนที่สี่คือ Profit taking มีการหากำไรจากการซื้อขาย ผู้คนสนุกสนานจากการได้เงินจากการเปลี่ยนแปลง
ขั้นตอนที่ห้าคือ Panic แตกตื่น ซึ่งมักเกิดขึ้นโดยมีเหตุการณ์บางสิ่งเกิดขึ้นก่อนหน้าอย่างเฉียบพลัน เช่น ตราสารหนี้มีค่าลดลง กองทุนเงินกู้ ไม่มีเงินจ่าย เมื่อ Panic เกิดขึ้นก็ปั่นป่วนไปทั่ว เพราะเกิดความไม่แน่นอน ผู้มีหนี้ก็ต้องหาเงินมาใช้ หุ้นราคาตก ตราสารหนี้มีค่าใกล้สูญ
ธุรกิจที่ซื้อตราสารหนี้หรือตราสารการเงิน ซึ่งแขวนไว้กับธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งก็ล้มอำนาจซื้อของประชาชนหายไป ธุรกิจเริ่มปลดคนงาน คนว่างงานมากขึ้น
ขั้นตอนสุดท้ายของ Minsky’s Model ก็คือช่วงเวลาของนักลงทุนที่กู้เงินไว้มากเกินไปถูกบังคับให้ขายหุ้น ขายตราสารหนี้ดีๆ ขายธุรกิจ ขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้หนี้ ซึ่งยิ่งทำให้ตลาดการเงินยิ่งปั่นป่วนยิ่งขึ้นและตกต่ำลงเพราะทุกคนกระทำอย่างเดียวกันทุกคนเผชิญปัญหาการขาดสภาพคล่องและเรียกร้องให้ภาครัฐช่วยเหลือสภาวการณ์ ณ จุดนี้เรียกกันในปัจจุบันว่า Minsky Moment
Minsky Moment เป็นสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นไปทั่ว คือ การขาดเงินสดในเกือบทุกภาคการผลิต อันเนื่องมาจากวิกฤตที่เกิดขึ้นโดยเรียงตาม 5 ขั้นตอนดังกล่าวแล้วชื่อเสียงของ Minsky ภายในระบบการเงินนั้นมีกลไกที่จะทำให้เกิดการเก็งกำไรขึ้นเสมอ และถ้ามีการเก็งกำไรยาวนานพอก็จะทำให้เกิดวิกฤตขึ้นได้ Minsky ไม่เชื่อว่าตลาดนั้นมีประสิทธิภาพ (Efficient Market) โดยผู้เกี่ยวพันรู้ข้อมูลอย่างแจ่มชัด กลไกตลาดทำงานอย่างมีประสิทธิภาพหากรัฐไม่เข้าไปแทรกแซงเขาเชื่อว่าเวลาที่ทุกสิ่งดีนักลงทุนชอบเสี่ยง ยิ่งมันดีอยู่นานเท่าใดก็ยิ่งชอบเสี่ยงเพียงนั้นจนกว่าจะถึงจุดเสี่ยงมากเกินไป ซึ่งในขั้นสุดท้ายก็คือ เงินสดที่ได้มาจากทรัพย์สินไม่เพียงพอต่อการจ่ายชำระหนี้ทรัพย์สินเหล่านั้นที่ได้มาด้วยการกู้และการสูญเสียทรัพย์สินที่ได้มาจากการเสี่ยงเหล่านี้ก็จะทำให้มูลค่าทรัพย์สินยิ่งตกลงไปอีกเมื่อผู้ลงทุนถูกบีบให้ขายทรัพย์สินอื่นด้วยเพื่อชำระหนี้ตลาดของทรัพย์สินเหล่านี้ก็จะยิ่งมีราคาดิ่งลงไปเรื่อยๆ เกิดการขาดสภาพคล่องขึ้น

Minsky กล่าวถึง นายธนาคาร นักค้าหลักทรัพย์ นักการเงินกำลังเป็นนักวางเพลิง เพราะวันหนึ่งจะเผาผลาญระบบเศรษฐกิจเพราะจะเกิดการส่งเสริมให้ธุรกิจ และบุคคลกล้าเสี่ยงมากขึ้นจนเกินพอดีเขาเชื่อว่าการเสี่ยงเก็งกำไรจะทำให้เกิดการขึ้นและลงของวงจรหนทางเดียวที่จะหยุดวัฏจักรขึ้นลงก็คือ ภาครัฐต้องเข้ามากำกับควบคุมนักการเงินเหล่านี้ และ Minsky ก็เชื่อในการทำงานของกลไกตลาดแต่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดของภาครัฐ มิฉะนั้น "ผู้เล่น" ทั้งหลายจะช่วยกันสร้างวิกฤตขึ้นโดยไม่รู้ตัว และสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาก็คือความเสี่ยง ซึ่งเป็นญาติอันใกล้ชิดของความโลภ


ข้อเสนอแนะในการนำการเงินในสภาวะอารมณ์ไปต่อยอดเพื่อช่วยป้องกันวิกฤติทุนนิยม มี 2 ข้อเสนอแนะ
1) การลดความสำคัญการปรับดอกเบี้ยระยะสั้น ในการปรับสมดุลเศรษฐกิจ ที่จะไปช่วยการกระตุ้นให้เกิดการเก็งกำไร ธนาคารกลางมักให้ความสำคัญ Fed fund rate เทียบกับ Inflation rate ถ้ามากกว่าก็จะเริ่มขยับปรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นเท่านั้นทั้งนี้ก็เพื่อจะเปลี่ยนค่า Inflation และ Unemployment rate ซึ่งหมายถึง ธนาคารกลางชินกับการจัดการกับสิ่งที่มีค่าต่ำลงเช่น stock หรือ bond แต่กับสิ่งที่สูงขึ้นเช่นสินทรัพย์นั้นจะมองเป็นสัญญาณดีและไม่ทำอะไร เพราะฉะนั้นเศรษฐกิจฟองสบู่ที่ร้อนแรงว่าเหมือนวิ่งมาราธอนที่ความเร็วมากเกินไปและนานเกินไปผลคือจะแตกตัวของฟองสบู่ในช่วงกลางหรือท้ายและกลายเป็นว่าเวลาที่ทำได้สู้การวิ่งแบบผ่อนสั้นผ่อนยาวไม่ได้

2) การเฝ้าระวังภาวะเก็งกำไรเกินควร หรือเรียกว่า สภาวะ “Deflationary Destruction” ที่ถือเป็นต้นทุนภายในระบบ ธนาคารกลางต้องหันมามองเรื่องการเก็งกำไรโดยจับตาดู asset ที่มักมีการเก็งกำไรให้ดีเพื่อแตะเบรกลดความร้อนแรงลง ส่วนการกู้ภัยทางเศรษฐกิจนั้นควรการเข้าช่วยเหลือของรัฐ เนื่องจากการให้กิจการที่ล้มตายไปตามกลไกที่เรียกว่า Creative Destruction ของระบบตลาดเสรีที่มองว่าผู้ที่ล้มหายตายจากถูกแทนที่ด้วยผู้มาใหม่ที่ประสิทธิภาพดีกว่าและเป็น Price of Progress ของระบบ ซึ่งวิกฤติที่ผ่านมาไม่ได้มาจากการแข่งขันแล้วเกิดการชนะหรือพ่ายแพ้ของกิจการเท่านั้น แต่มันเป็นสิ่งที่เกิดจากความเป็นไปของการเก็งกำไรเกินควรที่เรียกว่า Deflationary Destruction ซึ่งเป็น Cost of Capitalism เช่นวิกฤติในญี่ปุ่นปี 1990 เป็นแค่ความฝืดของระบบแต่ไม่พังแบบสหรัฐฯเมื่อปี 1930 เพราะรัฐบาลญี่ปุ่นเข้าพยุงธนาคารไว้แต่สหรัฐฯไม่ได้ทำ อีกทั้งเชื่อในระบบทุนนิยมเสรีและเตือนว่าการสวิงไปสู่ทุนนิยมแบบรัฐเป็นตัวนำนั้นจะนำไปสู่ปัญหาเรื่องประสิทธิภาพของกลไกตลาด

จากข้อเสนอแนะ 2 ข้อนี้จึงควรทบทวนกฎกติกาควบคุมระบบเงินโลกใหม่ภายใต้การดูแลรัฐอย่างเข้มงวดตามข้อเสนอแนะก่อนหน้านี้ของ Minsky ที่เสนอแนะการล้มความคิดการจัดการเชิงทุนนิยม ที่ว่ากลไกตลาดทำงานอย่างมีประสิทธิภาพหากรัฐไม่เข้าไปแทรกแซง แต่ผลสุดท้ายเมื่อเศรษฐกิจดีอย่างต่อเนื่อง จะนำไปสู่ความเสี่ยงที่มากขึ้นของนักลงทุน การเก็งกำไรที่มากขึ้นจะถูกชะลอตัว เมื่อถึงจุดเสี่ยงมากเกินไป ซึ่งในขั้นสุดท้ายก็คือ เงินสดที่ได้มาจากทรัพย์สินไม่เพียงพอต่อการจ่ายชำระหนี้ทรัพย์สินเหล่านั้นที่ได้มาด้วยการกู้และการสูญเสียทรัพย์สินที่ได้มาจากการเสี่ยงเหล่านี้ก็จะทำให้มูลค่าทรัพย์สินยิ่งตกลงไปอีกเมื่อผู้ลงทุนถูกบีบให้ขายทรัพย์สินอื่นด้วยเพื่อชำระหนี้ตลาดของทรัพย์สินเหล่านี้ก็จะยิ่งมีราคาดิ่งลงไปเรื่อยๆ เกิดการขาดสภาพคล่องขึ้น นำมาสู่การแย่งถือเงินสดกันเพื่อสร้างความมั่นใจของนักลงทุน นี่ก็คือ Minsky Moment ที่เกิดขึ้น เมื่อเริ่มมีการลดดีกรีการใช้กฎเกณฑ์ ควบคุมระบบการเงินเมื่อ 25 ปีก่อนเพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงาน

Minsky บอกว่า นายธนาคาร นักค้าหลักทรัพย์ นักการเงินกำลังเป็นนักวางเพลิง เพราะวันหนึ่งจะเผาผลาญระบบเศรษฐกิจเพราะจะเกิดการส่งเสริมให้ธุรกิจ และบุคคลกล้าเสี่ยงมากขึ้นจนเกินพอดีเขาเชื่อว่าการเสี่ยงเก็งกำไรจะทำให้เกิดการขึ้นและลงของวงจรหนทางเดียวที่จะหยุดวัฏจักรขึ้นลงก็คือ ภาครัฐต้องเข้ามากำกับควบคุมนักการเงินเหล่านี้

เพราะฉะนั้นการทำงานของกลไกตลาดแต่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดของภาครัฐ มิฉะนั้น "ผู้เล่น" ทั้งหลายจะช่วยกันสร้างวิกฤตขึ้นโดยไม่รู้ตัว และสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาก็คือความเสี่ยง ซึ่งเป็นญาติอันใกล้ชิดของความโลภ

อ้างอิงจาก

The Psychology of financial Markets : Keynes, Minsky and Emotional Finance

ชื่อหนังสือ : The Cost of Capitalism ผู้แต่ง : Robert J. Barbera
สำนักพิมพ์ : เอเซียบุ๊คส์

Book on Top : นิติธร สุวรรณศาสตร์ กรุงเทพธุรกิจ วันพุธที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552




Create Date : 09 เมษายน 2553
Last Update : 9 เมษายน 2553 10:25:47 น. 0 comments
Counter : 1103 Pageviews.  
 
Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

still solo one
 
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




[Add still solo one's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com